นวนิยายอิงประวัติศาสตร์
ตำนานนักดาบผู้ก่อกำเนิดสำนักนิเท็นอิจิริว และ คัมภีร์ห้าห่วง
บทประพันธ์ของ โยชิกาวะ เออิจิ (1892-1962)
-แปลและเรียบเรียงโดย ฉวีวงศ์ อัศวเสนา
1
มูซาชิได้สติหลังยืนตระหง่านจับจ้องคมดาบที่ก้านดอกโบตั๋นทั้งคู่อยู่เป็นครู่ใหญ่
“โอ๋ โอ๋...ข้าขอโทษ”
นักดาบหนุ่มทรุดตัวลงลูบหัวเด็กหญิงโคจะตัวน้อยที่ยังร้องไห้ด้วยความเสียขวัญ พร่ำคำขอโทษและปลอบโยนไม่หยุด
“ไหน ๆ บอกข้าหน่อยได้ไหมว่าใครเป็นคนตัดดอกไม้นี้มา”
“มีคนให้ข้า”
“ใครรึ”
“คนที่ปราสาท”
“นักดาบที่ปราสาทโคยากิวหรอกรึ”
“ไม่ใช่ คนที่ให้ข้าเป็นผู้หญิง”
“ถ้างั้นก็คงเป็นดอกไม้ที่บานในปราสาทนะ”
“ใช่มั้ง”
“ขอโทษนะ แล้วข้าจะซื้อขนมมาปลอบใจ เอาละ ก้านดอกไม้ยาวพอดีแล้ว เจ้าปักเจกันให้ที”
“อย่างนี้เหรอ”
“ใช่ ใช่ เข้าทีมาก”
ไม่แปลกที่เด็กหญิงโคจะตกใจกลัวจนร้องไห้จ้าอย่างนั้น เพราะอยู่ ๆ ชายใจดีที่ตนกำลังติดแจก็ชักดาบคมกริบฟันขวับราวสายฟ้าฟาดเฉียดฉิวผ่านกายตัวไปอย่างนั้น เด็กหญิงทำตามสั่งอย่างไม่มีกะจิตกะใจแล้ววิ่งหนีออกไปจากห้องทันที ตั้งใจว่าจะไม่เหยียบย่างเข้ามาอีก
ก้านดอกโบตั๋นที่ตกอยู่บนตัก ดึงดูดตาและใจของมูซาชิมากกว่าดอกโบตั๋นที่แย้มกลีบงามอยู่ในแจกัน
รอยตัดบนกิ่งเดิมไม่ใช่รอยกรรไกรและไม่คิดด้วยว่าจะเป็นรอยที่ตัดด้วยมีดสั้น อันก้านของดอกโบตั๋นนั้นอ่อนนัก คมของโลหะที่จะตัดให้ได้รอยเช่นนี้ได้นั้นจะต้องเป็นดาบซามูไรที่แกร่งกล้า ฟาดฟันลงมาด้วยกำลังกายและพลังจิต ไม่ใช่ว่าใครจะทำได้ง่าย ๆ
รอยตัดเล็ก ๆ บนก้านเรียวของดอกโบตั๋นยังเปล่งประกายท้าทายอยู่ตรงหน้า
มูซาชิรับคำท้าและตวัดดาบในมือตัดดูครั้งหนึ่งแล้ว แต่เมื่อเอามาเทียบกันดูก็เห็นความต่าง
แม้ไม่อาจบ่งชี้ได้ว่าต่างกันตรงไหน แต่ต้องยอมรับตรง ๆ ว่าฝีดาบของตนนั้นห่างไกลจากรอยเดิมลิบลับ
ไม่ผิดอะไรกับแกะสลักพระพุทธรูปองค์หนึ่ง แม้จะใช้มีดเล่มเดียวกันแต่ดูจากรอยสลักแล้วย่อมเห็นชัดว่า รอยใดเป็นของครูรอยใดเป็นของศิษย์
แต่เอ๊ะ
มูซาชิฉงนใจ
ขนาดคนสวนยังมีฝีมือถึงเพียงนี้ สำนักดาบของตระกูลยากิวมิยิ่งใหญ่กว่าคำล่ำลือเป็นหลายเท่าหรือ
ใจหนึ่งถ่อมตนว่า
ข้าคิดผิดที่อาจเอื้อมมาท้าทายหมายต่อกร ทั้งที่ฝีมือยังต่ำต้อยยิ่งนัก”
แต่ในที่สุดอีกใจหนึ่งที่เข้มแข็งกว่าก็ชนะ
เราจะสู้หรือไม่สู้ฝ่ายนั้นก็ไม่เดือดร้อนอะไร ถ้าแพ้เราก็ยอมคุกเข่าคารวะฐานที่เป็นผู้แพ้ และจะต้องคิดอะไรมากในเมื่อเราได้วางชีวิตไว้เป็นเดิมพันบนวิถีแห่งดาบอยู่แล้ว
กายของมูซาชิร้อนรุ่ม ใจเต้นแรง กล้ามเนื้อทุกส่วนแข็งเกร็งพร้อมสู้ขึ้นมาทุกทีระหว่างที่นั่งสดับฟังเสียงโต้เถียงของใจหนึ่งกับอีกใจหนึ่ง...แต่จะเข้าถึงได้ด้วยวิธีใด
เจ้าของโรงเตี๊ยมแห่งนี้บอกว่า เซกิชูไซปฏิเสธนักดาบฝึกหัดทุกคนที่ขอเข้าพบ แม้แต่คนที่มีหนังสือแนะนำตัวมาก็อย่าหวัง ขณะนี้มูเนโนริผู้เป็นลูกชายไปประจำอยู่ที่เอโดะ ส่วนเฮียวโงะ โทชิโทชิหลานปู่ก็ไปอยู่แดนไกล สำนักดาบยากิวเหลือผู้ที่จะรับคำท้าประลองยุทธ์อยู่เพียงคนเดียวคือเซกิชูไซซึ่งท่านก็เป็นเสียเช่นนี้ แล้วจะทำยังไงดี
“จะต้องมีวิธีอะไรสักอย่าง”
ความคิดวนกลับมาที่เดิม เลือดที่เดือดพล่านค่อยเย็นลงไปบ้าง
มูซาชิเบนสายตาไปที่ดอกไม้สีขาวบริสุทธิ์ในแจกัน
ขณะที่มองดอกไม้อยู่นั้น ใจของนักดาบหนุ่มก็ประหวัดไปถึงใครคนหนึ่งที่งดงามบริสุทธิ์ดั่งโบตั๋นดอกนี้
---โอซือ
ใบหน้าของหญิงผู้มีจิตใจงดงามผ่านเข้ามาในห้วงคิดในยามที่จิตใจกำลังปั่นป่วน
นานเท่าไรแล้วที่เราไม่ได้พบกัน
2
โอซือควบม้ามุ่งหน้ากลับปราสาทโคยากิวด้วยท่วงท่าสง่างาม
“พี่สาว”
เสียงใครคนหนึ่งเรียกพร้อมกับวิ่งขึ้นมาจากดงไม้ด้านล่างหน้าผาและตรงเข้ามาหา
เห็นไกล ๆ ก็รู้ว่าเป็นเด็กชาย
แต่แปลก...เด็กชาวบ้านละแวกนี้ไม่น่ามีใครใจกล้าทำทะเล้นกับหญิงสาว
“พี่สาวนักเป่าขลุ่ย ยังอยู่แถวนี้เหรอ”
เด็กชายเปลือยกายล้อนจ้อน ผมเปียก หนีบม้วนเสื้อผ้าไว้ที่รักแร้ ร้องถามพลางกระโดดขึ้นมาบนหน้าผา
หรี่ตามองขึ้นมาที่โอซือ
“มีม้าขี่เสียด้วย”
“ตายจริง”
โอซือร้องอย่างเหลือเชื่อ
“เจ้านั่งเอง นึกว่าใคร โจทาโร...เจ้าหนูที่เดินร้องไห้แง ๆ อยู่บนทางยามาโตะคนนั้นเอง”
“มากไป ข้าไม่ได้ร้องไห้แง ๆ สักหน่อย”
“ช่างเถอะ ไม่ร้องก็ไม่ร้อง ว่าแต่มาที่นี่ตั้งแต่เมื่อไหร่”
“สองสามวันก่อน”
“มากับใคร”
“กับครูน่ะซี”
“ใช่ ๆ เจ้าเคยบอกว่าเป็นลูกศิษย์นักดาบคนหนึ่ง...แล้ววันนี้เกิดอะไรขึ้น ถึงได้เปลือยกายล่อนจ้อนอย่างนี้”
“พอดีลงไปว่ายน้ำในลำธารข้างล่างโน่น”
“ว่ายได้ไง น้ำเย็นจะตายไป ใครเห็นเข้าจะได้หัวเราะกันเป็นไร”
“ก็ไม่ได้ว่ายจริง ๆ หรอก แค่ลงไปอาบน้ำน่ะ ครูบอกว่าข้าตัวเหม็น เลยมาอาบที่ลำธารไม่อยากเข้าไปแช่น้ำร้อน ๆ ในห้องอาบน้ำ”
“ตลกจัง เจ้าพักที่ไหน”
“วาตายะ”
“วาตายะรึ ฉันเพิ่งไปทำธุระที่นั่นกลับมาเดี๋ยวนี้เอง”
“งั้นเหรอ เสียดายน่าจะแวะมาที่ห้องข้า ย้อนกลับไปไหม”
“ไม่ได้หรอก นายท่านใช้ให้มา”
“งั้นก็ ลาก่อนนะ”
โอซือหันไปบอกว่า
“โจทาโร เจ้ามาเที่ยวที่ปราสาทบ้างสิ”
“ไปได้เหรอ”
โอซือชะงักนิดหนึ่งที่พลั้งปากชวนไปด้วยไมตรีจิต
“ก็ได้ แต่ไม่ใช่ล่อนจ้อนอย่างนั้นนะ”
“ถ้ายุ่งยากนัก ข้าไม่ไปดีกว่า ไม่อยากไปนั่งบีบเนื้อบีบตัวเป็นระเบียบ”
ก็ดีไป...โอซือโล่งอก ยิ้มให้แล้วควบม้ากลับปราสาท ส่งม้าคืนเข้าคอกแล้วกลับไปรายงานเซกิชูไซที่เรือนเล็ก
“โกรธรึ ว่าแล้วเชียว”
เซกิชูไซหัวเราะชอบใจ
“ช่างประไร โกรธได้โกรธไป”
ท่านผู้เฒ่านิ่งไปครู่หนึ่งแล้วจึงนึกอะไรขึ้นมาได้
“แล้วดอกโบตั๋นล่ะ ทิ้งไปแล้วรึ”
และพอโอซือบอกว่าให้เด็กหญิงที่โรงเตี๊ยมไปท่านก็พยักหน้าหงึก ๆ
“เด็นชิจิโรลูกชายท่านโยชิโอกะ คงได้ดูดอกไม้นะ”
“เจ้าค่ะ ตอนรับจดหมายไปเปิดอ่าน”
“แล้วไง”
“เขาส่งคืนให้ดิฉัน”
“ดูรอยตัดที่ก้านหรือเปล่า”
“ไม่เห็นดูนี่เจ้าคะ”
“ไม่ได้ดูรอยตัด แล้วก็ไม่ได้พูดอะไรอย่างนั้นหรือ”
“ไม่เห็นพูดอะไรนี่เจ้าคะ”
เซกิชูไซเปรยขึ้นเหมือนพูดกับข้างฝา
“ดีที่ไม่ได้ให้เข้าพบ เจ้านั่นไม่ได้มีข้าควรแก่การพบปะด้วยสักนิด สำนักโยชิโอกะมีได้แค่รุ่นเดียว มันจบไปกับท่านเค็มโปนั่นแล้ว”
3
โรงฝึกของสำนักดาบยากิวใหญ่โตโอ่โถงเป็นที่สุด สร้างอยู่บนพื้นที่ส่วนหนึ่งบริเวณรอบนอกของปราสาท เซกิชูไซเป็นผู้บูรณะใหม่ทั้งพื้นและเพดานครั้งใหญ่ด้วยวัสดุชั้นดีเมื่ออายุราวสี่สิบ ความเก่าแก่มั่นคงของเสาแต่ละต้นและเงางามของพื้นกระดานยืนยงคงอยู่ราวกับเป็นบันทึกเกียรติภูมิอันเกริกก้องของบรรดานักรบที่เป็นศิษย์ของสำนักแห่งนี้ ในสมัยสงครามระหว่างแว่นแคว้น โรงฝึกใหญ่โตแห่งนี้เปิดกว้างให้บรรดานักรบใช้เป็นที่ชุมนุมกัน
“เบาไป เบาไป ไม่ใช่ฟันด้วยปลายดาบ---ใช้พลังจากภายใน จากภายใน...ใช่ ต้องอย่างนั้น”
โชดะ คิซาเอมอนในชุดฝึกวิชาดาบเต็มยศนั่งกำกับการซ้อมอยู่บนยกพื้นสูงขึ้นไป
“ไม่เข้าท่า เอาใหม่”
ศิษย์สำนักที่กำลังประลองฝีมือกันอย่างดุเดือด ร้อนแรงจนไฟแทบประทุ แต่ละคนเหงื่อไหลไคลย้อยและถูกดุไม่ขาดปากคือซามูไรของตระกูลยากิว
สำนักดาบแห่งนี้ไม่ให้ศิษย์ที่เข้าใหม่ใช้ดาบไม้สำหรับฝึก แต่ใช้อาวุธสำหรับฝึกที่เป็นต้นตำรับของสำนักดาบชินงาเกะ คือเป็นถุงหนังบรรจุก้านไม้ไผ่อัดแน่นมีลักษณะเป็นท่อนหนัง ไม่มีกระบังดาบ
ฟันลงมาแหวกอากาศเสียงคว้าบ แม้จะไม่อันตรายเท่าดาบไม้ แต่ถ้าโดนหูเข้าจัง ๆ ก็หลุด โดนจมูกเข้าจัง ๆ ก็แหลกเหมือนลูกทับทิมถูกทุบได้เหมือนกัน การฝึกด้วยท่อนหนังไม่มีการตั้งกฎไว้ว่าฟันตรงนั้นได้ตรงนี้ไม่ได้ ฟาดขาตัดกำลังให้ล้มคว่ำก็ทำได้ ล้มแล้วตามเข้าไปตีซ้ำก็ได้อีก
“ยัง ยังไม่พอ รุกเข้าไปอีก”
การฝึกที่นี่จัดว่าโหดมาก ศิษย์ทั้งคู่จะต้องฟาดฟันกันจนกว่าจะสิ้นแรงกันไปข้างหนึ่ง ยิ่งเป็นพวกศิษย์ใหม่จะยิ่งถูกฝึกอย่างโหดและการพูดจาแต่ละคำล้วนเป็นการก่นด่าเจ็บ ๆ อย่างไม่ไว้หน้าและไร้คำชม จึงเป็นที่เลื่องลือกันทั่วไปในบรรดาซามูไรว่าการที่จะเข้ามาเป็นสังกัดทัพตระกูลยากิวนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ซามูไรเข้าใหม่น้อยคนนักที่จะได้อยู่นาน ดังนั้นคนที่ผ่านการกลั่นกรองหลายขั้นหลายตอนแล้วเท่านั้นจึงจะได้เข้ามาเป็นบริวารของตระกูลนี้
บริวารของตระกูลยากิวทุกคนแม้แต่พวกพลเดินเท้าหรือคนเลี้ยงม้าต่างมีวิชาดาบติดตัวกันทั้งนั้น โชดะ คิซาเอมอนผู้ได้ชื่อว่าเป็นคนสนิทของท่านเซกิชูไซนั้น เป็นนักดาบที่สำเร็จวิทยายุทธ์ขั้นสูงสุดของสำนักดาบชินงาเกะตั้งแต่อายุยังน้อย และเป็นศิษย์เอกที่ได้รับการฝึกสอนจากเซกิชูไซโดยตรง และได้ถ่ายทอดเคล็ดลับเชิงดาบของปรมาจารย์ท่านนี้เอาไว้จนครบ ถ้วน โดยต่อมาได้เสริมกลเม็ดเด็ดพรายของตนเข้าไปและตั้งชื่ออย่างภาคภูมิว่าเป็นชั้นเชิงดาบแนวใหม่ของโชดะ
คิมูระ ซูเกคูโรคนฝึกม้าก็เป็นคนหนึ่งที่มีฝีมือดาบเป็นเลิศ มูราตะ โยโซคนเฝ้าโกดังก็เก่งเคยเป็นคู่ประลองฝีมือที่เอาแพ้เอาชนะกันยากของเฮียวโงะทายาคนหนึ่งของตระกูลยากิวซึ่งตอนนี้อยู่ที่ฮิโงะ เดบูจิ มาโงเบก็เป็นนักดาบเอกอีกคนหนึ่งของตระกูลที่ฝึกวิชาดาบมาตั้งแต่เด็ก แคว้นเอจิเซ็นเคยมาชักชวนเดบูจิไปอยู่ด้วย มูราตะคนเฝ้าโกดังก็เคยถูกตระกูลคีอิชักชวนมาแล้ว แต่ก็ไม่มีใครไปจากตระกูลยากิวแม้ค่าตอบแทนที่ได้รับจากที่นี่จะไม่ได้มากมายอะไรนัก
“มีอะไรหรือ”
โชดะร้องถามคนเฝ้าประตูที่เดินตรงเข้ามา
และพอเห็นโจทาโรที่เดินตามมาข้างหลัง
นักดาบเอกก็เบิกตาโตด้วยความประหลาดใจ
ตำนานนักดาบผู้ก่อกำเนิดสำนักนิเท็นอิจิริว และ คัมภีร์ห้าห่วง
บทประพันธ์ของ โยชิกาวะ เออิจิ (1892-1962)
-แปลและเรียบเรียงโดย ฉวีวงศ์ อัศวเสนา
1
มูซาชิได้สติหลังยืนตระหง่านจับจ้องคมดาบที่ก้านดอกโบตั๋นทั้งคู่อยู่เป็นครู่ใหญ่
“โอ๋ โอ๋...ข้าขอโทษ”
นักดาบหนุ่มทรุดตัวลงลูบหัวเด็กหญิงโคจะตัวน้อยที่ยังร้องไห้ด้วยความเสียขวัญ พร่ำคำขอโทษและปลอบโยนไม่หยุด
“ไหน ๆ บอกข้าหน่อยได้ไหมว่าใครเป็นคนตัดดอกไม้นี้มา”
“มีคนให้ข้า”
“ใครรึ”
“คนที่ปราสาท”
“นักดาบที่ปราสาทโคยากิวหรอกรึ”
“ไม่ใช่ คนที่ให้ข้าเป็นผู้หญิง”
“ถ้างั้นก็คงเป็นดอกไม้ที่บานในปราสาทนะ”
“ใช่มั้ง”
“ขอโทษนะ แล้วข้าจะซื้อขนมมาปลอบใจ เอาละ ก้านดอกไม้ยาวพอดีแล้ว เจ้าปักเจกันให้ที”
“อย่างนี้เหรอ”
“ใช่ ใช่ เข้าทีมาก”
ไม่แปลกที่เด็กหญิงโคจะตกใจกลัวจนร้องไห้จ้าอย่างนั้น เพราะอยู่ ๆ ชายใจดีที่ตนกำลังติดแจก็ชักดาบคมกริบฟันขวับราวสายฟ้าฟาดเฉียดฉิวผ่านกายตัวไปอย่างนั้น เด็กหญิงทำตามสั่งอย่างไม่มีกะจิตกะใจแล้ววิ่งหนีออกไปจากห้องทันที ตั้งใจว่าจะไม่เหยียบย่างเข้ามาอีก
ก้านดอกโบตั๋นที่ตกอยู่บนตัก ดึงดูดตาและใจของมูซาชิมากกว่าดอกโบตั๋นที่แย้มกลีบงามอยู่ในแจกัน
รอยตัดบนกิ่งเดิมไม่ใช่รอยกรรไกรและไม่คิดด้วยว่าจะเป็นรอยที่ตัดด้วยมีดสั้น อันก้านของดอกโบตั๋นนั้นอ่อนนัก คมของโลหะที่จะตัดให้ได้รอยเช่นนี้ได้นั้นจะต้องเป็นดาบซามูไรที่แกร่งกล้า ฟาดฟันลงมาด้วยกำลังกายและพลังจิต ไม่ใช่ว่าใครจะทำได้ง่าย ๆ
รอยตัดเล็ก ๆ บนก้านเรียวของดอกโบตั๋นยังเปล่งประกายท้าทายอยู่ตรงหน้า
มูซาชิรับคำท้าและตวัดดาบในมือตัดดูครั้งหนึ่งแล้ว แต่เมื่อเอามาเทียบกันดูก็เห็นความต่าง
แม้ไม่อาจบ่งชี้ได้ว่าต่างกันตรงไหน แต่ต้องยอมรับตรง ๆ ว่าฝีดาบของตนนั้นห่างไกลจากรอยเดิมลิบลับ
ไม่ผิดอะไรกับแกะสลักพระพุทธรูปองค์หนึ่ง แม้จะใช้มีดเล่มเดียวกันแต่ดูจากรอยสลักแล้วย่อมเห็นชัดว่า รอยใดเป็นของครูรอยใดเป็นของศิษย์
แต่เอ๊ะ
มูซาชิฉงนใจ
ขนาดคนสวนยังมีฝีมือถึงเพียงนี้ สำนักดาบของตระกูลยากิวมิยิ่งใหญ่กว่าคำล่ำลือเป็นหลายเท่าหรือ
ใจหนึ่งถ่อมตนว่า
ข้าคิดผิดที่อาจเอื้อมมาท้าทายหมายต่อกร ทั้งที่ฝีมือยังต่ำต้อยยิ่งนัก”
แต่ในที่สุดอีกใจหนึ่งที่เข้มแข็งกว่าก็ชนะ
เราจะสู้หรือไม่สู้ฝ่ายนั้นก็ไม่เดือดร้อนอะไร ถ้าแพ้เราก็ยอมคุกเข่าคารวะฐานที่เป็นผู้แพ้ และจะต้องคิดอะไรมากในเมื่อเราได้วางชีวิตไว้เป็นเดิมพันบนวิถีแห่งดาบอยู่แล้ว
กายของมูซาชิร้อนรุ่ม ใจเต้นแรง กล้ามเนื้อทุกส่วนแข็งเกร็งพร้อมสู้ขึ้นมาทุกทีระหว่างที่นั่งสดับฟังเสียงโต้เถียงของใจหนึ่งกับอีกใจหนึ่ง...แต่จะเข้าถึงได้ด้วยวิธีใด
เจ้าของโรงเตี๊ยมแห่งนี้บอกว่า เซกิชูไซปฏิเสธนักดาบฝึกหัดทุกคนที่ขอเข้าพบ แม้แต่คนที่มีหนังสือแนะนำตัวมาก็อย่าหวัง ขณะนี้มูเนโนริผู้เป็นลูกชายไปประจำอยู่ที่เอโดะ ส่วนเฮียวโงะ โทชิโทชิหลานปู่ก็ไปอยู่แดนไกล สำนักดาบยากิวเหลือผู้ที่จะรับคำท้าประลองยุทธ์อยู่เพียงคนเดียวคือเซกิชูไซซึ่งท่านก็เป็นเสียเช่นนี้ แล้วจะทำยังไงดี
“จะต้องมีวิธีอะไรสักอย่าง”
ความคิดวนกลับมาที่เดิม เลือดที่เดือดพล่านค่อยเย็นลงไปบ้าง
มูซาชิเบนสายตาไปที่ดอกไม้สีขาวบริสุทธิ์ในแจกัน
ขณะที่มองดอกไม้อยู่นั้น ใจของนักดาบหนุ่มก็ประหวัดไปถึงใครคนหนึ่งที่งดงามบริสุทธิ์ดั่งโบตั๋นดอกนี้
---โอซือ
ใบหน้าของหญิงผู้มีจิตใจงดงามผ่านเข้ามาในห้วงคิดในยามที่จิตใจกำลังปั่นป่วน
นานเท่าไรแล้วที่เราไม่ได้พบกัน
2
โอซือควบม้ามุ่งหน้ากลับปราสาทโคยากิวด้วยท่วงท่าสง่างาม
“พี่สาว”
เสียงใครคนหนึ่งเรียกพร้อมกับวิ่งขึ้นมาจากดงไม้ด้านล่างหน้าผาและตรงเข้ามาหา
เห็นไกล ๆ ก็รู้ว่าเป็นเด็กชาย
แต่แปลก...เด็กชาวบ้านละแวกนี้ไม่น่ามีใครใจกล้าทำทะเล้นกับหญิงสาว
“พี่สาวนักเป่าขลุ่ย ยังอยู่แถวนี้เหรอ”
เด็กชายเปลือยกายล้อนจ้อน ผมเปียก หนีบม้วนเสื้อผ้าไว้ที่รักแร้ ร้องถามพลางกระโดดขึ้นมาบนหน้าผา
หรี่ตามองขึ้นมาที่โอซือ
“มีม้าขี่เสียด้วย”
“ตายจริง”
โอซือร้องอย่างเหลือเชื่อ
“เจ้านั่งเอง นึกว่าใคร โจทาโร...เจ้าหนูที่เดินร้องไห้แง ๆ อยู่บนทางยามาโตะคนนั้นเอง”
“มากไป ข้าไม่ได้ร้องไห้แง ๆ สักหน่อย”
“ช่างเถอะ ไม่ร้องก็ไม่ร้อง ว่าแต่มาที่นี่ตั้งแต่เมื่อไหร่”
“สองสามวันก่อน”
“มากับใคร”
“กับครูน่ะซี”
“ใช่ ๆ เจ้าเคยบอกว่าเป็นลูกศิษย์นักดาบคนหนึ่ง...แล้ววันนี้เกิดอะไรขึ้น ถึงได้เปลือยกายล่อนจ้อนอย่างนี้”
“พอดีลงไปว่ายน้ำในลำธารข้างล่างโน่น”
“ว่ายได้ไง น้ำเย็นจะตายไป ใครเห็นเข้าจะได้หัวเราะกันเป็นไร”
“ก็ไม่ได้ว่ายจริง ๆ หรอก แค่ลงไปอาบน้ำน่ะ ครูบอกว่าข้าตัวเหม็น เลยมาอาบที่ลำธารไม่อยากเข้าไปแช่น้ำร้อน ๆ ในห้องอาบน้ำ”
“ตลกจัง เจ้าพักที่ไหน”
“วาตายะ”
“วาตายะรึ ฉันเพิ่งไปทำธุระที่นั่นกลับมาเดี๋ยวนี้เอง”
“งั้นเหรอ เสียดายน่าจะแวะมาที่ห้องข้า ย้อนกลับไปไหม”
“ไม่ได้หรอก นายท่านใช้ให้มา”
“งั้นก็ ลาก่อนนะ”
โอซือหันไปบอกว่า
“โจทาโร เจ้ามาเที่ยวที่ปราสาทบ้างสิ”
“ไปได้เหรอ”
โอซือชะงักนิดหนึ่งที่พลั้งปากชวนไปด้วยไมตรีจิต
“ก็ได้ แต่ไม่ใช่ล่อนจ้อนอย่างนั้นนะ”
“ถ้ายุ่งยากนัก ข้าไม่ไปดีกว่า ไม่อยากไปนั่งบีบเนื้อบีบตัวเป็นระเบียบ”
ก็ดีไป...โอซือโล่งอก ยิ้มให้แล้วควบม้ากลับปราสาท ส่งม้าคืนเข้าคอกแล้วกลับไปรายงานเซกิชูไซที่เรือนเล็ก
“โกรธรึ ว่าแล้วเชียว”
เซกิชูไซหัวเราะชอบใจ
“ช่างประไร โกรธได้โกรธไป”
ท่านผู้เฒ่านิ่งไปครู่หนึ่งแล้วจึงนึกอะไรขึ้นมาได้
“แล้วดอกโบตั๋นล่ะ ทิ้งไปแล้วรึ”
และพอโอซือบอกว่าให้เด็กหญิงที่โรงเตี๊ยมไปท่านก็พยักหน้าหงึก ๆ
“เด็นชิจิโรลูกชายท่านโยชิโอกะ คงได้ดูดอกไม้นะ”
“เจ้าค่ะ ตอนรับจดหมายไปเปิดอ่าน”
“แล้วไง”
“เขาส่งคืนให้ดิฉัน”
“ดูรอยตัดที่ก้านหรือเปล่า”
“ไม่เห็นดูนี่เจ้าคะ”
“ไม่ได้ดูรอยตัด แล้วก็ไม่ได้พูดอะไรอย่างนั้นหรือ”
“ไม่เห็นพูดอะไรนี่เจ้าคะ”
เซกิชูไซเปรยขึ้นเหมือนพูดกับข้างฝา
“ดีที่ไม่ได้ให้เข้าพบ เจ้านั่นไม่ได้มีข้าควรแก่การพบปะด้วยสักนิด สำนักโยชิโอกะมีได้แค่รุ่นเดียว มันจบไปกับท่านเค็มโปนั่นแล้ว”
3
โรงฝึกของสำนักดาบยากิวใหญ่โตโอ่โถงเป็นที่สุด สร้างอยู่บนพื้นที่ส่วนหนึ่งบริเวณรอบนอกของปราสาท เซกิชูไซเป็นผู้บูรณะใหม่ทั้งพื้นและเพดานครั้งใหญ่ด้วยวัสดุชั้นดีเมื่ออายุราวสี่สิบ ความเก่าแก่มั่นคงของเสาแต่ละต้นและเงางามของพื้นกระดานยืนยงคงอยู่ราวกับเป็นบันทึกเกียรติภูมิอันเกริกก้องของบรรดานักรบที่เป็นศิษย์ของสำนักแห่งนี้ ในสมัยสงครามระหว่างแว่นแคว้น โรงฝึกใหญ่โตแห่งนี้เปิดกว้างให้บรรดานักรบใช้เป็นที่ชุมนุมกัน
“เบาไป เบาไป ไม่ใช่ฟันด้วยปลายดาบ---ใช้พลังจากภายใน จากภายใน...ใช่ ต้องอย่างนั้น”
โชดะ คิซาเอมอนในชุดฝึกวิชาดาบเต็มยศนั่งกำกับการซ้อมอยู่บนยกพื้นสูงขึ้นไป
“ไม่เข้าท่า เอาใหม่”
ศิษย์สำนักที่กำลังประลองฝีมือกันอย่างดุเดือด ร้อนแรงจนไฟแทบประทุ แต่ละคนเหงื่อไหลไคลย้อยและถูกดุไม่ขาดปากคือซามูไรของตระกูลยากิว
สำนักดาบแห่งนี้ไม่ให้ศิษย์ที่เข้าใหม่ใช้ดาบไม้สำหรับฝึก แต่ใช้อาวุธสำหรับฝึกที่เป็นต้นตำรับของสำนักดาบชินงาเกะ คือเป็นถุงหนังบรรจุก้านไม้ไผ่อัดแน่นมีลักษณะเป็นท่อนหนัง ไม่มีกระบังดาบ
ฟันลงมาแหวกอากาศเสียงคว้าบ แม้จะไม่อันตรายเท่าดาบไม้ แต่ถ้าโดนหูเข้าจัง ๆ ก็หลุด โดนจมูกเข้าจัง ๆ ก็แหลกเหมือนลูกทับทิมถูกทุบได้เหมือนกัน การฝึกด้วยท่อนหนังไม่มีการตั้งกฎไว้ว่าฟันตรงนั้นได้ตรงนี้ไม่ได้ ฟาดขาตัดกำลังให้ล้มคว่ำก็ทำได้ ล้มแล้วตามเข้าไปตีซ้ำก็ได้อีก
“ยัง ยังไม่พอ รุกเข้าไปอีก”
การฝึกที่นี่จัดว่าโหดมาก ศิษย์ทั้งคู่จะต้องฟาดฟันกันจนกว่าจะสิ้นแรงกันไปข้างหนึ่ง ยิ่งเป็นพวกศิษย์ใหม่จะยิ่งถูกฝึกอย่างโหดและการพูดจาแต่ละคำล้วนเป็นการก่นด่าเจ็บ ๆ อย่างไม่ไว้หน้าและไร้คำชม จึงเป็นที่เลื่องลือกันทั่วไปในบรรดาซามูไรว่าการที่จะเข้ามาเป็นสังกัดทัพตระกูลยากิวนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ซามูไรเข้าใหม่น้อยคนนักที่จะได้อยู่นาน ดังนั้นคนที่ผ่านการกลั่นกรองหลายขั้นหลายตอนแล้วเท่านั้นจึงจะได้เข้ามาเป็นบริวารของตระกูลนี้
บริวารของตระกูลยากิวทุกคนแม้แต่พวกพลเดินเท้าหรือคนเลี้ยงม้าต่างมีวิชาดาบติดตัวกันทั้งนั้น โชดะ คิซาเอมอนผู้ได้ชื่อว่าเป็นคนสนิทของท่านเซกิชูไซนั้น เป็นนักดาบที่สำเร็จวิทยายุทธ์ขั้นสูงสุดของสำนักดาบชินงาเกะตั้งแต่อายุยังน้อย และเป็นศิษย์เอกที่ได้รับการฝึกสอนจากเซกิชูไซโดยตรง และได้ถ่ายทอดเคล็ดลับเชิงดาบของปรมาจารย์ท่านนี้เอาไว้จนครบ ถ้วน โดยต่อมาได้เสริมกลเม็ดเด็ดพรายของตนเข้าไปและตั้งชื่ออย่างภาคภูมิว่าเป็นชั้นเชิงดาบแนวใหม่ของโชดะ
คิมูระ ซูเกคูโรคนฝึกม้าก็เป็นคนหนึ่งที่มีฝีมือดาบเป็นเลิศ มูราตะ โยโซคนเฝ้าโกดังก็เก่งเคยเป็นคู่ประลองฝีมือที่เอาแพ้เอาชนะกันยากของเฮียวโงะทายาคนหนึ่งของตระกูลยากิวซึ่งตอนนี้อยู่ที่ฮิโงะ เดบูจิ มาโงเบก็เป็นนักดาบเอกอีกคนหนึ่งของตระกูลที่ฝึกวิชาดาบมาตั้งแต่เด็ก แคว้นเอจิเซ็นเคยมาชักชวนเดบูจิไปอยู่ด้วย มูราตะคนเฝ้าโกดังก็เคยถูกตระกูลคีอิชักชวนมาแล้ว แต่ก็ไม่มีใครไปจากตระกูลยากิวแม้ค่าตอบแทนที่ได้รับจากที่นี่จะไม่ได้มากมายอะไรนัก
“มีอะไรหรือ”
โชดะร้องถามคนเฝ้าประตูที่เดินตรงเข้ามา
และพอเห็นโจทาโรที่เดินตามมาข้างหลัง
นักดาบเอกก็เบิกตาโตด้วยความประหลาดใจ