สวัสดีครับผม Mr. Leon มาแล้ว เพื่อนๆ เป็นแบบผมไหมครับ สมัยที่เรายังเป็นเด็ก เป็นนักเรียนเราจะรู้สึกสนุกสนานที่จะได้เล่นและคุยเฮฮากับกลุ่มเพื่อน แต่เมื่อเราเติบโตขึ้นมา เพื่อนๆ ก็ทยอยห่างหายไปทีละคนๆ ยิ่งเมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงวัยผู้ใหญ่เต็มตัวกลายเป็นว่าเหลือคนที่สนิทกันอยู่ไม่กี่คน คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ก็คิดแบบนี้ว่าทำไมเมื่อเราเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้วจึงห่างเหินจากเพื่อนไปโดยปริยายและสร้างเพื่อนใหม่ๆ ได้ยากขึ้น
เวลาจะสนทนาอะไรกับใครก็ไม่ลงลึกเกินไปเหมือนสมัยเด็กๆ อาทิตย์ที่แล้วผมพูดเรื่อง หลักการให้คำปรึกษาของญี่ปุ่นที่เรียกว่า 「さしすせそ」 กฎของ "Sa-Shi-Su-Se-So" เพราะคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่อยากก้าวล้ำเข้าไปเกินขอบเขตเฉพาะบุคคล เวลาพูดให้คำแนะนำใครๆ จึงเลือกคำที่มีความหมายกลางๆ เชิงชื่นชม คำง่ายๆ เพราะเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นของตัวเองออกมา การใช้คำเหล่านี้แม้ไม่ได้พูดยืดยาวแต่ก็ได้ประโยชน์มากกว่า ซึ่งแม้จะเป็นคำธรรมดาๆ แต่คนฟังจะรับทราบและเข้าใจถึงสิ่งที่คนพูดจะสื่อและเป็นที่น่าพอใจมากกว่า นั่นคือ
「さ」Sa=「さすが!」Sasuga! เป็นคำยกย่อง ชมเชย เยี่ยมมาก , เก่งมากเลย , เป็นอย่างที่คาดหวังเลย
「し」Shi=「知らなかった!」 Shiranakatta! ไม่รู้มาก่อนเลย!
「す」Su=「すごい!」 Sugoi! น่าอัศจรรย์, ยอดเยี่ยมไปเลย, น่าทึ่งมาก
「せ」Se=「センスいい!」Sensu ii! มีรสนิยมดี, สามัญสำนึกดี , เก่ง ดูดี
「そ」So=「そうなんですか!」So nan desuka! อ๋อ เป็นอย่างนี้นี่เอง
โดยเฉพาะคำว่า 「さすが!」Sasuga! เนี่ยคนญี่ปุ่นใช้บ่อยมาก บางสถานการณ์ก็พูดชมแบบไร้ที่มาที่ไป คือชมไว้ก่อน ทั้งการใช้พูดกับเพื่อนๆ คนในครอบครัว ในสังคมหรือในธุรกิจการงานก็ได้ ใช้เยอะ ใช้บ่อย
ครั้งหนึ่งตอนที่ผมเรียนจบใหม่ๆ ช่วงที่ยังเดินสายหางานแต่ก็หางานไม่ได้ เดินท้อแท้ไปเจอร้านซูชิสายพานแถวสถานีรถไฟใกล้ๆ ที่พัก ผมไม่เคยเข้าร้านนี้มาก่อนเลยวันนั้นนึกอยากกินซูชิขึ้นมาจึงลองดู พอเข้าไปทุกคนก็ดูเหงาๆ ในร้านมีลูกค้าแค่สามคน แต่สายพานก็หมุนวนไปเรื่อยๆ เหมือนไม่มีความหมาย เพราะไม่มีคนในร้าน ผมนั่งหน้าบาร์เมื่อสั่งออเดอร์เป็นซูชิ 平目のエンガワ Hirame Engawa Sushi เชฟก็ทำมาส่งให้ทันทีแล้วเชฟก็พูดขึ้นว่า 「さすが!」( ´∀`)b'' Sasuga! งงๆ ใช่ไหมครับแค่ผมสั่งซูชิเขาก็ชมผม ผมไม่ต้องถามความหมายแต่เขาบอกว่า ให้ได้รสชาติอร่อยของซูชิของแท้และดั้งเดิมต้องสั่งเมนูนี่แหละ เยี่ยมมาก! นี่ก็เป็นอีกลักษณะของคนญี่ปุ่น ลองนึกภาพถ้าเราสั่งก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กแห้งต้มยำ แล้วแม่ค้าบอกว่า คุณเยี่ยมมากรู้ด้วยว่าต้องกินอะไรถึงอร่อย! มาคิดดูเรื่องแค่นี้ก็ต้องชมด้วย แปลกๆ เขินๆ นะครับ แต่คนญี่ปุ่นจะชินมาก พูดกันเป็นนิสัย
อาทิตย์ก่อนที่เพื่อนผมโทรศัพท์มาพูดคุยปรึกษาปัญหาเรื่องงาน ทำให้ผมนึกถึงตอนที่ผมยังทำงานที่ญี่ปุ่น ที่จริงตอนที่ผมทำงานผมก็ไม่ค่อยมีเพื่อนรุ่นเดียวกันมากนัก แต่ยังมีรุ่นพี่และหัวหน้าที่อาวุโสสักหน่อยยังเมตตาและให้ความเอ็นดูผมบ้าง ยกเว้นหัวหน้าคนหนึ่งที่ไม่ค่อยจะชอบผมเท่าไหร่นัก เขาเป็นหัวหน้างานที่ค่อนข้างแปลกและเข้มงวดกับทุกเรื่อง เช่นเขาจะเรียกพนักงานทุกคนมารวมตัวประชุมตอนเช้าก่อนทำงานทุกวันๆ ละ 5นาที ทุกวันจนทุกคนเบื่อไปตามๆ กัน เค้าแนะนำให้ทุกคนพูดความคิดเห็นของตัวเองออกมาให้พูดความจริงที่ตัวเองคิดออกมาให้ได้ ซึ่งจริงๆ แล้วคนญี่ปุ่นทั่วไปใครจะกล้าพูดอะไรลึกๆ โดยเฉพาะเรื่องงาน ครั้งหนึ่งมีเพื่อนทำงานผิดพลาด ก็วิจารณ์ออกไปตรงๆ ตามที่หัวหน้าคนนั้นสอน กลับกลายเป็นว่าโดนว่ารู้เกินไป โดนหัวหน้าเล่นงานอีก ซึ่งกรณีเช่นนี้ทำให้ผมเข้าใจของความหมายของกฎของ "Sa-Shi-Su-Se-So" ขึ้นมาอย่างมากทีเดียว
นอกจากคนญี่ปุ่นจะไม่ค่อยอยากแสดงความรู้สึกนึกคิดของตัวเองแล้ว ยังรู้สึกว่าเมื่อเราเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวแล้ว หมายถึงอายุประมาณ 30 ปีขึ้นไป ทำไมเราสร้างมิตรภาพใหม่ๆ ได้ยากขึ้นมากเลย ผมเคยอ่านหนังสือที่ได้รับความนิยมเล่มหนึ่งก็เขียนไว้บทหนึ่งเช่นกันว่า "....ยิ่งอายุมากขึ้น เพื่อนๆ เราดูเหมือนจะลดลงปีละ 10%..." ตอนนี้ผมก็เริ่มเห็นจริงด้วยแล้วโดยเฉพาะในสังคมสภาพแวดล้อมในการทำงานแบบนี้ยิ่งทำให้เข้าใจได้จริง ตามปกติผมก็มีเพื่อนน้อยอยู่แล้ว ที่เหลือๆ คบกันอยู่ก็เป็นเพื่อนกันมานานตั้งแต่สมัยเรียน นานทีจะนัดเจอกันที ถ้าเจอกันก็นั่งดื่มกินและพูดคุยสัพเพเหระกันยาวไปทั้งวัน แบบนี้ถ้าชีวิตเราจะเป็นแบบที่หนังสือบอกว่าแต่ละปีๆ เพื่อนจะลดลงปีละ 10% ผมคงจะหมดเพื่อนในไม่กี่ปีนี้กระมัง ,、'`,、('∀`) '`,、'`,、
☆ถ้าลองมาคิดพิจารณาดูว่า ทำไมคนญี่ปุ่นยิ่งอายุเยอะยิ่งสร้างความสัมพันธ์ยากและมีเพื่อนน้อยลง หลักๆ เลยผมคิดว่า
●เพราะความอิจฉาที่มีอยู่ในใจ 嫉妬 Shitto เช่น มีเพื่อนที่กลายเป็นคนรวย ก็จะกดดันตัวเองและอึดอัดใจที่จะคบด้วยอย่างสนิทใจ รู้สึกอิจฉากันอยู่ลึกๆ
嫉妬 มาจากคำว่า 「妬み」Netami และ「嫉み」 Sonemi อิจฉาคนที่เหนือกว่าคุณ หรือรู้สึกแนวหึงหวง
「妬み」Netami หรือ "อิจฉาริษยา" ความรู้สึกอิจฉาและเกลียดชังอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นความรู้สึกของความอิจฉาและความเกลียดชัง
「嫉み」Sonemi แนวรู้สึกหึงหวงมากกว่าแต่ก็เป็นความอิจฉาและความเสียใจเกี่ยวกับบุคคลอื่น เป็นความรู้สึกของความอิจฉาปนความเสียใจ
จะเห็นว่าทั้ง 「妬み」Netami และ「嫉み」Sonemi มีอักษรคันจิที่แปลว่า 女 "ผู้หญิง" ประกอบอยู่ด้วยทั้งสองคำเลย ว่ากันว่าสาวญี่ปุ่นมีความอิจฉาลึกๆ ในใจมากกว่าผู้ชายแต่ก็ใช่ว่าเพศชายจะไม่มีอารมณ์อิจฉานะครับ มันอยู่ในสายเลือดไปแล้ว อยู่ยากมากสังคมที่มีความอิจฉาริษยาเช่นนี้
●คิดคำนึงถึงเรื่องคุณและโทษหรือเรื่องผลประโยชน์มากเกินไป
:คือไม่ค่อยมีใครคิดถึงเรื่องการภักดีอย่างยิ่งยวดหรือการยึดมั่นคำสาบานแบบพี่น้องอีกแล้ว ไม่เหมือนวรรณกรรมเรื่องสามก๊ก ตอนที่เล่าปี่กวนอูและเตียวหุยสาบานเป็นพี่น้องกัน ผมขอคัดสรุปย่อข้อความตำนานคำสานบานในสวนท้อ 桃園の誓い จาก Wikipedie ครับ "ในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก คำสาบานในสวนท้อ มีจุดกำเนิดจากการที่เล่าปี่ กวนอูและเตียวหุยได้มีโอกาสพบกันที่ร้านสุราแห่งหนึ่งในเมืองตุ้นกวน โดยต่างมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคืออาสาแผ่นดินเพื่อจับโจรโพกผ้าเหลือง ซึ่งทั้งสามคิดการต้องกัน จึงรวมตัวกันที่สวนดอกไม้หลังบ้านของเตียวหุย และได้บูชาพระแลเทพดาและให้คำสัตย์ต่อกัน จะตั้งสัตย์สัญญาเป็นพี่น้องร่วมท้องกัน เป็นน้ำใจเดียวซื่อสัตย์ต่อกันสืบไปจนวันตาย ฯลฯ ซึ่งซีนนี้ได้รับการเชิดชูและยกย่องเป็นอย่างมาก เพราะเคารพและยกย่องความซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อกัน แต่สมัยนี้ดูจะแตกต่างอย่างสิ้นเชิง แต่ก็คงเป็นเพราะยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย
●ไม่อยากผิดหวังช้ำใจ เมื่อเจอเรื่องที่ไม่เป็นดั่งหวัง เช่น ปัญหาความสัมพันธ์ เรื่องเงิน ความเห็นที่ไม่ตรงกัน การผิดใจกัน
●รู้สึกว่าเวลาที่อยู่อย่างอิสระคนเดียวมีความสุขมากกว่า อยากใช้เวลากับสิ่งที่สำคัญกับชีวิตจริงๆ
●มีเพื่อนสนิทคนเดิมๆ ที่ใจได้ก็เพียงพอ ไม่อยากไปเริ่มต้นสร้างความสัมพันธ์ใหม่ๆ
●เกิดความความห่างไกลเพราะมีเทคโนโลยีต่าง ๆ จนย่อโลกไว้ได้แค่ปลายนิ้ว
■ผู้หญิงกับผู้ชายก็แตกต่างกันอีก โดยเฉพาะผู้หญิงญี่ปุ่นนี่ยิ่งสร้างเพื่อนใหม่ได้ยากมากกว่าผู้ชายอีก เพราะความอิจฉานี่เป็นลักษณะเฉพาะตัวของสาวๆ มากกว่าหนุ่มๆ อยู่แล้ว แล้วถ้าไม่อยากให้เกิดความห่างเหินกันมากจนเกินไปเราควรทำอย่างไร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คำแนะนำเรื่องการสร้างเพื่อนเมื่อเราอายุมากขึ้นแล้วนี้ อาจจะไม่เกี่ยวกับนิสัยของคนไทยเพราะว่าคนไทยเป็นคนที่มีจิตมิตรภาพและเป็นกันเองอยู่แล้ว
〇อันดับแรกเลยคือการทักทายด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มและจริงใจแค่กับคนรอบข้างก่อน พูดจาก็ให้ยิ้มแย้มแจ่มใสมองโลกในแง่ดี
〇ต่อมาคือเมื่อพูดคุยปฏิสัมพันธ์กัน หรือมีการสื่อสารจงอย่าคิดว่าจะต้องชนะ จะต้องมีผลประโยชน์ ก็คือให้ใสความเป็นมิตรระหว่างกัน และให้รู้สึกอ่อนน้อมถ่อมตนให้มาก และพยายามรับฟังให้มากกว่าที่จะนำเสนอความคิดเห็นที่แตกแยก
แต่ด้วยสภาพสังคมความเป็นอยู่ และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการสร้างเพื่อนได้น้อยลงอาจจะไม่ใช่ปัญหาก็ได้นะครับ ถ้าเรามีเพื่อนที่มีความเข้าใจกันอยู่แม้เพียงไม่กี่คน เพราะเราอาจจะเห็นว่ามิตรภาพของความเป็นเพื่อนยังลึกเท่าเดิม ใจเราก็ไม่เคยห่างกัน ยังต่อกันติดเสมอ นั่นคืออาจพูดได้ว่าคุณภาพมีความสำคัญมากกว่าปริมาณ เมื่อเราอายุมากขึ้นอาจจะตระหนักได้ว่าต่างก็มีเวลาน้อยลง อะไรคือสิ่งสำคัญ และไม่สำคัญ ก็จะมุ่งที่จะให้คุณค่ากับสิ่งที่สำคัญมากกว่า วันนี้สวัสดีครับ
เวลาจะสนทนาอะไรกับใครก็ไม่ลงลึกเกินไปเหมือนสมัยเด็กๆ อาทิตย์ที่แล้วผมพูดเรื่อง หลักการให้คำปรึกษาของญี่ปุ่นที่เรียกว่า 「さしすせそ」 กฎของ "Sa-Shi-Su-Se-So" เพราะคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่อยากก้าวล้ำเข้าไปเกินขอบเขตเฉพาะบุคคล เวลาพูดให้คำแนะนำใครๆ จึงเลือกคำที่มีความหมายกลางๆ เชิงชื่นชม คำง่ายๆ เพราะเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นของตัวเองออกมา การใช้คำเหล่านี้แม้ไม่ได้พูดยืดยาวแต่ก็ได้ประโยชน์มากกว่า ซึ่งแม้จะเป็นคำธรรมดาๆ แต่คนฟังจะรับทราบและเข้าใจถึงสิ่งที่คนพูดจะสื่อและเป็นที่น่าพอใจมากกว่า นั่นคือ
「さ」Sa=「さすが!」Sasuga! เป็นคำยกย่อง ชมเชย เยี่ยมมาก , เก่งมากเลย , เป็นอย่างที่คาดหวังเลย
「し」Shi=「知らなかった!」 Shiranakatta! ไม่รู้มาก่อนเลย!
「す」Su=「すごい!」 Sugoi! น่าอัศจรรย์, ยอดเยี่ยมไปเลย, น่าทึ่งมาก
「せ」Se=「センスいい!」Sensu ii! มีรสนิยมดี, สามัญสำนึกดี , เก่ง ดูดี
「そ」So=「そうなんですか!」So nan desuka! อ๋อ เป็นอย่างนี้นี่เอง
โดยเฉพาะคำว่า 「さすが!」Sasuga! เนี่ยคนญี่ปุ่นใช้บ่อยมาก บางสถานการณ์ก็พูดชมแบบไร้ที่มาที่ไป คือชมไว้ก่อน ทั้งการใช้พูดกับเพื่อนๆ คนในครอบครัว ในสังคมหรือในธุรกิจการงานก็ได้ ใช้เยอะ ใช้บ่อย
ครั้งหนึ่งตอนที่ผมเรียนจบใหม่ๆ ช่วงที่ยังเดินสายหางานแต่ก็หางานไม่ได้ เดินท้อแท้ไปเจอร้านซูชิสายพานแถวสถานีรถไฟใกล้ๆ ที่พัก ผมไม่เคยเข้าร้านนี้มาก่อนเลยวันนั้นนึกอยากกินซูชิขึ้นมาจึงลองดู พอเข้าไปทุกคนก็ดูเหงาๆ ในร้านมีลูกค้าแค่สามคน แต่สายพานก็หมุนวนไปเรื่อยๆ เหมือนไม่มีความหมาย เพราะไม่มีคนในร้าน ผมนั่งหน้าบาร์เมื่อสั่งออเดอร์เป็นซูชิ 平目のエンガワ Hirame Engawa Sushi เชฟก็ทำมาส่งให้ทันทีแล้วเชฟก็พูดขึ้นว่า 「さすが!」( ´∀`)b'' Sasuga! งงๆ ใช่ไหมครับแค่ผมสั่งซูชิเขาก็ชมผม ผมไม่ต้องถามความหมายแต่เขาบอกว่า ให้ได้รสชาติอร่อยของซูชิของแท้และดั้งเดิมต้องสั่งเมนูนี่แหละ เยี่ยมมาก! นี่ก็เป็นอีกลักษณะของคนญี่ปุ่น ลองนึกภาพถ้าเราสั่งก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กแห้งต้มยำ แล้วแม่ค้าบอกว่า คุณเยี่ยมมากรู้ด้วยว่าต้องกินอะไรถึงอร่อย! มาคิดดูเรื่องแค่นี้ก็ต้องชมด้วย แปลกๆ เขินๆ นะครับ แต่คนญี่ปุ่นจะชินมาก พูดกันเป็นนิสัย
อาทิตย์ก่อนที่เพื่อนผมโทรศัพท์มาพูดคุยปรึกษาปัญหาเรื่องงาน ทำให้ผมนึกถึงตอนที่ผมยังทำงานที่ญี่ปุ่น ที่จริงตอนที่ผมทำงานผมก็ไม่ค่อยมีเพื่อนรุ่นเดียวกันมากนัก แต่ยังมีรุ่นพี่และหัวหน้าที่อาวุโสสักหน่อยยังเมตตาและให้ความเอ็นดูผมบ้าง ยกเว้นหัวหน้าคนหนึ่งที่ไม่ค่อยจะชอบผมเท่าไหร่นัก เขาเป็นหัวหน้างานที่ค่อนข้างแปลกและเข้มงวดกับทุกเรื่อง เช่นเขาจะเรียกพนักงานทุกคนมารวมตัวประชุมตอนเช้าก่อนทำงานทุกวันๆ ละ 5นาที ทุกวันจนทุกคนเบื่อไปตามๆ กัน เค้าแนะนำให้ทุกคนพูดความคิดเห็นของตัวเองออกมาให้พูดความจริงที่ตัวเองคิดออกมาให้ได้ ซึ่งจริงๆ แล้วคนญี่ปุ่นทั่วไปใครจะกล้าพูดอะไรลึกๆ โดยเฉพาะเรื่องงาน ครั้งหนึ่งมีเพื่อนทำงานผิดพลาด ก็วิจารณ์ออกไปตรงๆ ตามที่หัวหน้าคนนั้นสอน กลับกลายเป็นว่าโดนว่ารู้เกินไป โดนหัวหน้าเล่นงานอีก ซึ่งกรณีเช่นนี้ทำให้ผมเข้าใจของความหมายของกฎของ "Sa-Shi-Su-Se-So" ขึ้นมาอย่างมากทีเดียว
นอกจากคนญี่ปุ่นจะไม่ค่อยอยากแสดงความรู้สึกนึกคิดของตัวเองแล้ว ยังรู้สึกว่าเมื่อเราเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวแล้ว หมายถึงอายุประมาณ 30 ปีขึ้นไป ทำไมเราสร้างมิตรภาพใหม่ๆ ได้ยากขึ้นมากเลย ผมเคยอ่านหนังสือที่ได้รับความนิยมเล่มหนึ่งก็เขียนไว้บทหนึ่งเช่นกันว่า "....ยิ่งอายุมากขึ้น เพื่อนๆ เราดูเหมือนจะลดลงปีละ 10%..." ตอนนี้ผมก็เริ่มเห็นจริงด้วยแล้วโดยเฉพาะในสังคมสภาพแวดล้อมในการทำงานแบบนี้ยิ่งทำให้เข้าใจได้จริง ตามปกติผมก็มีเพื่อนน้อยอยู่แล้ว ที่เหลือๆ คบกันอยู่ก็เป็นเพื่อนกันมานานตั้งแต่สมัยเรียน นานทีจะนัดเจอกันที ถ้าเจอกันก็นั่งดื่มกินและพูดคุยสัพเพเหระกันยาวไปทั้งวัน แบบนี้ถ้าชีวิตเราจะเป็นแบบที่หนังสือบอกว่าแต่ละปีๆ เพื่อนจะลดลงปีละ 10% ผมคงจะหมดเพื่อนในไม่กี่ปีนี้กระมัง ,、'`,、('∀`) '`,、'`,、
☆ถ้าลองมาคิดพิจารณาดูว่า ทำไมคนญี่ปุ่นยิ่งอายุเยอะยิ่งสร้างความสัมพันธ์ยากและมีเพื่อนน้อยลง หลักๆ เลยผมคิดว่า
●เพราะความอิจฉาที่มีอยู่ในใจ 嫉妬 Shitto เช่น มีเพื่อนที่กลายเป็นคนรวย ก็จะกดดันตัวเองและอึดอัดใจที่จะคบด้วยอย่างสนิทใจ รู้สึกอิจฉากันอยู่ลึกๆ
嫉妬 มาจากคำว่า 「妬み」Netami และ「嫉み」 Sonemi อิจฉาคนที่เหนือกว่าคุณ หรือรู้สึกแนวหึงหวง
「妬み」Netami หรือ "อิจฉาริษยา" ความรู้สึกอิจฉาและเกลียดชังอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นความรู้สึกของความอิจฉาและความเกลียดชัง
「嫉み」Sonemi แนวรู้สึกหึงหวงมากกว่าแต่ก็เป็นความอิจฉาและความเสียใจเกี่ยวกับบุคคลอื่น เป็นความรู้สึกของความอิจฉาปนความเสียใจ
จะเห็นว่าทั้ง 「妬み」Netami และ「嫉み」Sonemi มีอักษรคันจิที่แปลว่า 女 "ผู้หญิง" ประกอบอยู่ด้วยทั้งสองคำเลย ว่ากันว่าสาวญี่ปุ่นมีความอิจฉาลึกๆ ในใจมากกว่าผู้ชายแต่ก็ใช่ว่าเพศชายจะไม่มีอารมณ์อิจฉานะครับ มันอยู่ในสายเลือดไปแล้ว อยู่ยากมากสังคมที่มีความอิจฉาริษยาเช่นนี้
●คิดคำนึงถึงเรื่องคุณและโทษหรือเรื่องผลประโยชน์มากเกินไป
:คือไม่ค่อยมีใครคิดถึงเรื่องการภักดีอย่างยิ่งยวดหรือการยึดมั่นคำสาบานแบบพี่น้องอีกแล้ว ไม่เหมือนวรรณกรรมเรื่องสามก๊ก ตอนที่เล่าปี่กวนอูและเตียวหุยสาบานเป็นพี่น้องกัน ผมขอคัดสรุปย่อข้อความตำนานคำสานบานในสวนท้อ 桃園の誓い จาก Wikipedie ครับ "ในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก คำสาบานในสวนท้อ มีจุดกำเนิดจากการที่เล่าปี่ กวนอูและเตียวหุยได้มีโอกาสพบกันที่ร้านสุราแห่งหนึ่งในเมืองตุ้นกวน โดยต่างมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคืออาสาแผ่นดินเพื่อจับโจรโพกผ้าเหลือง ซึ่งทั้งสามคิดการต้องกัน จึงรวมตัวกันที่สวนดอกไม้หลังบ้านของเตียวหุย และได้บูชาพระแลเทพดาและให้คำสัตย์ต่อกัน จะตั้งสัตย์สัญญาเป็นพี่น้องร่วมท้องกัน เป็นน้ำใจเดียวซื่อสัตย์ต่อกันสืบไปจนวันตาย ฯลฯ ซึ่งซีนนี้ได้รับการเชิดชูและยกย่องเป็นอย่างมาก เพราะเคารพและยกย่องความซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อกัน แต่สมัยนี้ดูจะแตกต่างอย่างสิ้นเชิง แต่ก็คงเป็นเพราะยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย
●ไม่อยากผิดหวังช้ำใจ เมื่อเจอเรื่องที่ไม่เป็นดั่งหวัง เช่น ปัญหาความสัมพันธ์ เรื่องเงิน ความเห็นที่ไม่ตรงกัน การผิดใจกัน
●รู้สึกว่าเวลาที่อยู่อย่างอิสระคนเดียวมีความสุขมากกว่า อยากใช้เวลากับสิ่งที่สำคัญกับชีวิตจริงๆ
●มีเพื่อนสนิทคนเดิมๆ ที่ใจได้ก็เพียงพอ ไม่อยากไปเริ่มต้นสร้างความสัมพันธ์ใหม่ๆ
●เกิดความความห่างไกลเพราะมีเทคโนโลยีต่าง ๆ จนย่อโลกไว้ได้แค่ปลายนิ้ว
■ผู้หญิงกับผู้ชายก็แตกต่างกันอีก โดยเฉพาะผู้หญิงญี่ปุ่นนี่ยิ่งสร้างเพื่อนใหม่ได้ยากมากกว่าผู้ชายอีก เพราะความอิจฉานี่เป็นลักษณะเฉพาะตัวของสาวๆ มากกว่าหนุ่มๆ อยู่แล้ว แล้วถ้าไม่อยากให้เกิดความห่างเหินกันมากจนเกินไปเราควรทำอย่างไร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คำแนะนำเรื่องการสร้างเพื่อนเมื่อเราอายุมากขึ้นแล้วนี้ อาจจะไม่เกี่ยวกับนิสัยของคนไทยเพราะว่าคนไทยเป็นคนที่มีจิตมิตรภาพและเป็นกันเองอยู่แล้ว
〇อันดับแรกเลยคือการทักทายด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มและจริงใจแค่กับคนรอบข้างก่อน พูดจาก็ให้ยิ้มแย้มแจ่มใสมองโลกในแง่ดี
〇ต่อมาคือเมื่อพูดคุยปฏิสัมพันธ์กัน หรือมีการสื่อสารจงอย่าคิดว่าจะต้องชนะ จะต้องมีผลประโยชน์ ก็คือให้ใสความเป็นมิตรระหว่างกัน และให้รู้สึกอ่อนน้อมถ่อมตนให้มาก และพยายามรับฟังให้มากกว่าที่จะนำเสนอความคิดเห็นที่แตกแยก
แต่ด้วยสภาพสังคมความเป็นอยู่ และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการสร้างเพื่อนได้น้อยลงอาจจะไม่ใช่ปัญหาก็ได้นะครับ ถ้าเรามีเพื่อนที่มีความเข้าใจกันอยู่แม้เพียงไม่กี่คน เพราะเราอาจจะเห็นว่ามิตรภาพของความเป็นเพื่อนยังลึกเท่าเดิม ใจเราก็ไม่เคยห่างกัน ยังต่อกันติดเสมอ นั่นคืออาจพูดได้ว่าคุณภาพมีความสำคัญมากกว่าปริมาณ เมื่อเราอายุมากขึ้นอาจจะตระหนักได้ว่าต่างก็มีเวลาน้อยลง อะไรคือสิ่งสำคัญ และไม่สำคัญ ก็จะมุ่งที่จะให้คุณค่ากับสิ่งที่สำคัญมากกว่า วันนี้สวัสดีครับ