xs
xsm
sm
md
lg

ญี่ปุ่นแจกเงินคนละ 1 แสนเยน ใครๆ ก็รับได้เหรอ?!

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สวัสดีครับผม Mr.Leon มาแล้ว ในสถานการณ์ที่โรคโควิด-19 ยังระบาดไปทั่วทุกมุมโลก เป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้หลายคนเกิดความเครียดอย่างต่อเนื่อง และมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจ-ปากท้อง ที่ญี่ปุ่นก็เช่นกัน ทุกคนต้องใช้เงินเป็นปัจจัยในการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ เมื่อเริ่มเกิดภาวะฝืดเคือง จึงเต็มไปด้วยความเครียดและกดดัน ช่วงนี้มีการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องการงาน ที่ทุกคนต่างก็มีหน้าที่ต้องทำในสังคมและบ้างก็รู้สึกหงุดหงิดใจกัน ช่วงนี้จึงเหมือนกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่เจ็บปวด ส่วนในอินเmอร์เน็ตและ SNS ของญี่ปุ่นเองก็มีการพูดคุยในหลายประเด็น มีนักแสดงคนหนึ่งออกมาพูดว่า “ฉันก็ไม่ถึงกับลำบากยากจนนักหรอก แต่ถ้าไม่มีพวกเราก็จะทำให้ญี่ปุ่นสูญเสียวัฒนธรรมนะ (ก็คือเธอคงจะหมายความว่าจ้างฉันเถอะ ให้เงินฉันเถอะ)” ถ้าให้พูดตามตรงต้องบอกว่า “ฉันมีปัญหาโปรดช่วยฉันด้วย” ซึ่งถ้าพูดตรงๆ ก็ไม่เห็นจะเป็นปัญหาอะไร แต่เมื่อพูดแนวที่บอกว่านักแสดงมีความสำคัญระดับวัฒนธรรม ต้องให้นักแสดงได้ทำงานต่อไป ก็ถูกกระแสโจมตีละครับ คงต้องย้อนกลับไปใช้คำว่า 河原乞食 Kawara Kojiki เป็นคำที่ใช้เรียกนักแสดง และนักแสดงคาบูกิสมัยก่อน ซึ่งถ้าพูดถึงปัจจุบันนี้จะเอากลับมาใช้ก็คงไม่ผิดความหมายนัก


ตัวอย่างเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่น ปัญหา “เรื่องของเจ้าของร้านราเมนทงคตสึ” ซึ่งเกิดความเครียดและวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจ เนื่องจากต้องปิดร้านเป็นระยะเวลานานแล้วกลัวว่าจะไม่มีลูกค้าอีก จริงๆ แล้วช่วงนี้ควรจะเป็นช่วงกอบโกย เพราะเป็นช่วงที่ใกล้งานแข่งขันกีฬาโตเกียวโอลิมปิก เจ้าของร้านเองก็เตรียมร้านเตรียมลงทุนไว้มากมาย แต่งานโอลิมปิกก็ต้องเลื่อนออกไปเนื่องด้วยสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 ดังกล่าว และก็ยังคาดการณ์ไม่ได้ว่าจะทำให้มีลูกค้ากลับมาเหมือนเดิมหรือเปล่า หรือจะเป็นอย่างไรในอนาคต เพราะว่าตัวเองก็ต้องมีค่าใช้จ่ายทุกวัน ทำให้เกิดความเครียดและตัดสินใจเผาตัวเองและเผาร้านด้วย สร้างความความหดหู่และรู้สึกว่ามีคนอีกมากมายที่กำลังรู้สึกไร้ความหวังในชีวิตอย่างมาก


อีกตัวอย่างเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจครั้งนี้ คือ การที่นักเขียนและนักเขียนการ์ตูนต่างๆ ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน อย่างเช่นการ์ตูนมังงะเรื่องคุณลุงยอดนักฆ่ามาดขรึม Golgo 13 ที่มีความโด่งดังและเป็นการ์ตูนที่ยังมีการตีพิมพ์ต่อเนื่องยาวนานที่สุดเป็นเวลา 52 ปี ไม่เคยหยุดตีพิมพ์เลย แต่ตอนนี้ก็ขอหยุดตีพิมพ์ชั่วคราวไปแล้วช่วงหนึ่ง จึงมีคนพูดว่าในส่วนของสำนักงานเขียนการ์ตูนก็น่าสงสารน่าจะมีการช่วยเหลือให้ทางสำนักงานการ์ตูนบ้าง

จากการที่การ์ตูน Golgo 13 พ่ายภัยโควิด-19 ต้องหยุดตีพิมพ์ชั่วคราว ทำให้มีปฏิกิริยาสะท้อนเสียงของนักอ่านเกิดขึ้นมากมาย อาทิ เช่น

・อะไรนะ! Golgo 13 นี่เป็นการ์ตูนที่ผมอ่านในร้านตัดผม ตอนที่เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษานี่ ผ่านไป 25 ปีแล้วยังมีอยู่อีกแน่ะ ยาวนานจริงๆ

・…Golgo 13 พบลิงที่ฟื้นตัวจากโรค Ebola ด้วยตัวเอง จึงเอาเลือดมาทําซีรัม ช่วยรักษาโรค Ebola ได้ แต่ Covid-19 นี่ยังไม่ชนะแน่นอน…

・Golgo 13 คุณเคยบริจาค 20000000000 ดอลลาร์ ให้กับสหประชาชาติมาก่อน ฉันว่า WHO ก็กําลังรอรับการบริจาคอยู่นะ

・Golgo เหมือนว่าจะไม่ไว้วางใจ IT ดังนั้นเขาจะไปที่สํานักงานรัฐบาลเอง ในตอนเช้าวันที่แจกเงิน ด้วยตัวเอง และคงต้องเอาไปเข้าธนาคารที่สวิสเซอร์แลนด์

・รัฐแจกทุกคน แม้แต่พวกต่อต้านสังคม Hansha 反社 งั้น Golgo 13 ก็ไปรับเงินได้ฉลุย!!


เกี่ยวมาตรการแจกเงินของทางรัฐบาลญี่ปุ่น การแจกเงินเยียวยาให้ประชาชนทุกคน รายละ 100,000 เยน เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และเพื่อเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหม่นั้น ในช่วงเวลาดังกล่าวมีประเด็นปัญหาเรื่องวิธีจัดการกับสถานการณ์และเงื่อนไขการรับเงินต่างๆ มากมาย ทั้งเรื่องกลุ่มเป้าหมายและข้อยกเว้นต่างๆ พอมาสรุปโดยมีคำถามว่า “ใครจะได้รับ 100,000 เยนบ้าง?” คำตอบคือ “คนที่มีชื่อพำนักอาศัยอยู่ในญี่ปุ่น คือที่มีชื่อใน 住民票 Jūminhyō”

住民票 Jūminhyō คือ เอกสารรับรองการอยู่อาศัยของผู้อยู่อาศัย ซึ่งจะมีรายละเอียดต่างๆ ของบุคคลที่อยู่อาศัย เช่น ชื่อ, วันเดือนปีเกิด, เพศ, ที่อยู่, วันที่พํานัก, วันที่แจ้งและที่อยู่ก่อนวันที่แจ้ง เป็นต้น ใช้สําหรับเป็นข้อมูลการบริหารราชการของรัฐบาลทั้งในท้องถิ่นและระดับประเทศ เช่น การสํารวจประชากร หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ทะเบียนบ้าน เอกสารแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสถานที่นั่นเอง

นอกจากนั้นยังมีเงื่อนไขที่กำลังคุยกันหลายๆ เรื่อง เช่น

■ กลุ่มเป้าหมายผู้รับเงินและผู้รับที่มีสิทธิคือใครบ้าง

▲ กลุ่มเป้าหมายผู้รับเงินที่จะได้รับเงินได้จริง

▲ เงื่อนไขบุคคลที่ลงทะเบียนบันทึกชื่อในทะเบียนบ้านผู้อยู่อาศัยพื้นฐาน

△ ผู้รับสิทธิประโยชน์

△ หัวหน้าครัวเรือน (เจ้าบ้าน) ต่างๆ เป็นต้น


ซึ่งตอนนี้มีคนญี่ปุ่นและคนต่างชาติที่อาศัยอยู่ที่ญี่ปุ่นมากมาย ที่ยังเป็นประเด็นสงสัยว่าตัวเองมีสิทธิรับเงินไหม ซึ่ง ข้อมูล ณ วันที่ (27 เมษายน ปีที่ 2 ของ Reiwa) บอกว่า

คนญี่ปุ่น ผู้ที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศประมาณ 1 ล้านคน 1% อยู่ในเขตสีเทา

→ คุณไม่สามารถรับเงินได้หากไม่มีชื่อในเอกสารบันทึกถิ่นฐานหรือ ทะเบียนบ้าน

พวกต่อต้านสังคม 0.1% Hansha 反社 (Anti-social) → ยากูซ่าต่างๆ ประมาณ 100,000 คน รับได้ไหม?

→ สามารถรับเงินได้ เพราะทาง Chief Cabinet Secretary รัฐ อนุมัติและยืนยันมาแล้ว

ชาวต่างชาติที่อาศัยในประเทศญี่ปุ่น 2-3 ล้านคน (2-3%)

→ สามารถรับเงินได้ หากมีชื่ออยู่อาศัยในทะเบียนบ้าน 住民票 Jūminhyō

แต่ปัญหาคือ แล้วคนที่ไม่มีที่อยู่อาศัย Homeless และคนที่ตกเป็นเหยื่อ DV จะทำอย่างไร?


● คนที่ไม่มีที่อยู่อาศัย Homeless(ホームレス)หรือคนไร้บ้าน หมายถึงบุคคลที่ไร้ที่อยู่อาศัย หรือผู้ที่ไม่สามารถหาที่อยู่เป็นของตัวเองได้ ซึ่งอาจจะมาจากหลายสาเหตุ เช่น การถูกทอดทิ้ง หนีออกจากบ้าน หรือหนีหนี้ หรือตกงานและไม่สามารถหางานใหม่ได้ ทำให้ไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าห้องและเงินสำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน คนไร้บ้านในประเทศญี่ปุ่นมักจะใช้กล่องกระดาษมาประกอบเป็นที่อยู่ชั่วคราว และอาศัยอยู่ตามสวนสาธารณะ ริมแม่น้ำ หน้าห้างร้าน หรือสถานีรถไฟ เป็นต้น แน่นอนว่าไม่มีชื่อใน ทะเบียนบ้าน 住民票 Jūminhyō

● ส่วนคนที่ตกเป็นเหยื่อ Domestic Violence (DV) หรือปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ตามที่เคยพูดไปก่อนหน้านี้คือ การกระทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและการทำให้เกิดความทุกข์ทางจิตใจ เช่น การทำร้ายร่างกายหรือทำร้ายสุขภาพจิตของคนในครอบครัว ได้แก่ คู่สมรส พ่อแม่ พี่น้อง ลูก เป็นต้น อาจจะด้วยพฤติกรรมบังคับข่มเหงให้กระทำการใดๆ ที่ไม่เป็นที่พึงพอใจ ส่งผลให้เกิดปัญหาภายในครอบครัว ซึ่งถ้าทางรัฐบาลโอนเงินผ่านทางหัวหน้าครอบครัวดังกล่าว บุคคลอื่นๆ ในบ้านจะเป็นอย่างไร จะได้รับเงินทั่วถึงไหม ซึ่งก็ต้องมีมาตรการรองรับประเด็นนี้ด้วย


ซึ่งบุคคลประเภทดังกล่าวน่าจะเป็นผู้ที่มีความลำบาก แต่จะทำให้การช่วยเหลืออย่างทั่วถึงได้อย่างไร แต่ผู้ที่ไม่มีชื่อบันทึกในทะเบียนบ้าน ก็จะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยาในครั้งนี้อย่างแน่นอน

ตามทฤษฎีหลักการพาเรโต (กฎ 80:20) ที่อธิบายถึง “สิ่งที่สำคัญหรือมีประโยชน์จะมีอยู่เป็นจำนวนที่น้อยกว่าสิ่งที่ไม่สำคัญ หรือไม่มีประโยชน์ซึ่งมีจำนวนที่มากกว่า” เป็นกฎที่แสดงถึงความไม่สมดุล ที่สามารถพบเห็นทั่วไปในชีวิตประจำวัน หรือกล่าวได้ว่าสัดส่วนใดๆ ที่เกิดขึ้นมักจะเป็นอัตราส่วน 80 : 20 แม้ว่ากฎบอกว่ามีปัจจัยที่เป็นส่วนน้อยเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ที่ส่งผลกับผลลัพธ์ส่วนใหญ่จำนวนมากและปัจจัยส่วนอื่นที่เหลือนั้นกลับแทบไม่สามารถสร้างผลลัพธ์หรือผลกระทบอะไรได้เลย จากประเด็นการแจกเงินคนละ 100,000 เยน ดังกล่าว มองดูแล้วน่าจะมีผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับจริงกว่า 80% แต่อย่างไรก็ตาม ประชากรทุกส่วนมีความสำคัญ และทุกส่วนต่างก็ผลักดันและมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน คนที่อาจจได้รับที่คิดเป็น 80% น่าจะได้รับทุกคนอย่างง่ายๆ ส่วนอีก 20% อาจจะต้องพิจารณาเงื่อนไขที่เข้มงวดขึ้นเท่านั้นเอง วันนี้สวัสดีครับ


กำลังโหลดความคิดเห็น