สวัสดีครับผม Mr. Leon มาแล้ว ณ สถานการณ์ปัจจุบันทำให้ผมเลือกสรรค์เรื่องราวที่จะนำมาเขียนเล่าได้ยากมากเลยครับ ที่จริงมีเรื่องหลายสิบเรื่องอยากจะเล่าแต่ก็ต้องคิดแล้วคิดอีกว่าจะเหมาะสมไหม ผมได้ปรึกษาเพื่อนคนหนึ่งว่าผมอยากเขียนเรื่องพนักงานบริษัทญี่ปุ่นที่ทำงานหนักจนต้องฆ่าตัวตายตามที่เป็นข่าวไปเมื่อเร็วๆ นี้ แต่เพื่อนบอกว่าอย่าดีกว่า เพราะอธิบายยาก บางทีคนไทยอาจไม่เข้าใจว่าการทำงานหนักแบบญี่ปุ่นนั้นมันเป็นแบบใด
Karoshi 過労死 ศัพท์คำนี้มีทับศัพท์เป็นภาษาอังกฤษว่า Karoshi แปลว่า การทำงานหนักเกินไปจนถึงแก่ชีวิต ปกติเมื่อมีข่าวแนวนี้ คนญี่ปุ่นอ่านแล้วอาจจะไม่ได้เกิดความรู้สึกตกใจนัก เพราะคุ้นชินกับสภาพแวดล้อมสังคมและความกดดันนี้อยู่แล้ว แต่สิ่งที่ผมคิดว่าน่าตกใจกว่า ก็คือการที่คนญี่ปุ่นไม่ตกใจกับเหตุการณ์เช่นนี้นั่นแหละครับ เพราะคล้ายกับว่าสภาพจิตใจมันเย็นชาไปแล้ว ดังนั้นการที่ผมจะอธิบายเรื่องราวและสภาพสังคมลึกๆ ให้เห็นและเข้าใจอย่างง่าย จึงค่อนข้างเป็นเรื่องยากอยู่เหมือนกันครับ
วันนี้จะพูดเกี่ยวกับตัวอย่าง Position talk หรือการแสดงความคิดเห็นส่วนตัวของแต่ละบุคคลผ่านสื่อโซเชี่ยลออนไลน์ต่างๆ อาทิที่ตั้งเป็นกระทู้ แล้วมีคนมาแสดงความคิดเห็นหลากมุมมองเกี่ยวกับข่าวพนักงานบริษัทญี่ปุ่นทำงานหนักจนต้องฆ่าตัวตาย อย่างย่อๆ เรามาค่อยๆ รวบรวมที่มาที่ไปกันครับ
☁สาวที่ฆ่าตัวตายนั้นเป็นเด็กต่างจังหวัดที่มีฐานะทางบ้านปานกลางแต่ไม่ดีมากนัก เพราะอยู่กับแม่สองคน แต่มีความพยายามอย่างมากสามารถสอบเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยโตเกียวได้ ซึ่งที่นี่ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของประเทศ สอบเข้ายากมาก เรียนจบยากมาก คนที่เรียนที่นี่ส่วนใหญ่เก่งมากและบ้านมีฐานะดีมากมาก่อน คือบางบ้านส่งลูกเรียนโรงเรียนดี แพงๆ ตั้งแต่เด็กเพื่อหวังให้เข้าเรียนที่มหาวิทยาโตเกียวได้
☁เมื่อสาวคนนี้เรียนจบก็สามารถเข้าทำงานที่บริษัทโฆษณาชื่อดังอันดับหนึ่งของญี่ปุ่นได้ จากแหล่งข่าวบอกว่าต้องทำงานนอกเวลาหรือโอที มากกว่าเดือนละ 100 ชั่วโมงบางทีถึง 150 ชั่วโมง ถ้าคิดๆ ดูก็แทบจะต้องเลิกงาน ห้าทุ่มเที่ยงคืนทุกวันละครับ มีแหล่งข่าวบอกว่าช่วงหลังๆ ก่อนที่เธอจะฆ่าตัวตายเธอได้พักผ่อนนอนแค่วันละไม่ถึง 2 ชั่วโมง
☁วันที่เธอตัดสินใจฆ่าตัวตายคือวันคริสต์มาสอีฟของปีที่แล้ว โดยที่เธอตัดสินใจกระโดดตึกหอพักลงมาเสียชีวิต ซึ่งจากวันที่เธอเข้าทำงานจนถึงวันที่เธอเสียชีวิต เธอเพิ่งทำงานไปได้แค่เพียง 8 เดือน โดยเพิ่งได้รับการบรรจุให้เป็นพนักงานประจำได้แค่ 2เดือนเท่านั้น ตอนนั้นยังไม่เป็นข่าวเท่าไหร่นัก แต่ที่เพิ่งมาเป็นข่าวดังในช่วงนี้เพราะมีพนักงานสอบสวนเข้ามาสอบสวนคดีที่บริษัทดังกล่าว
มีคำภาษาญี่ปุ่นอยู่คำหนึ่งที่ว่า 死者に鞭打つ Shisha ni muchi utsu คือ การว่ากล่าววิพากษ์วิจารณ์คนตาย ที่จริงผมไม่อยากเขียนลักษณะนี้นักแต่จะนำข้อมูลจากแหล่งข่าว Position talk มาเล่าสู่กันฟัง เพื่อให้เพื่อนๆ สามารถเข้าใจและเห็นมุมมองความคิดของคนญี่ปุ่นครับ ซึ่งกรณีจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ต่างคนต่างก็แสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์กันไปตามแต่ความคิดและมุมมองของตนเอง ซึ่งผมจะขอยกตัวอย่างความคิดเห็นของคนญี่ปุ่นจากเว็บไซต์ต่างๆ บางความเห็นก็เป็นประโยชน์ บางความคิดเห็นก็สักแต่วิจารณ์ เช่น
"ที่จริงแล้วสหภาพแรงงานต้องช่วยพนักงาน "
" หยุดระบบสภาพการทำงานหนักแบบนี้ดีที่สุด"
" ทำงานโอทีแค่ 100 ชั่วโมง ถึงกับต้องฆ่าตัวตาย นับว่าแย่มาก "
" สงสัยแม่ไม่รัก ถ้าแม่รักคงไม่ฆ่าตัวตาย"
และอีกมากมาย แต่กลายเป็นว่าพอคนเริ่มวิพากษ์วิจารณ์กันมากขึ้น คนที่เห็นใจผู้ตายกลับค่อยๆ น้อยลง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เพราะว่ามีคนไปขุดคุ้ยเนื้อหาที่เธอเคยเขียนในสื่อโซเชียล หลายๆ ข้อความคนอ่านลงความเห็นว่า เธอนิสัยดีจริงเหรอ เช่น ข้อความที่เธอเขียนว่า
☁ "เย้ ทำงานมาแล้วนะ 6 เดือน พยามยามมามากแล้วเรา จากนี้ถ้ามีลุงแก่ๆ อายุสัก 50 จะหัวล้านก็ได้ หย่ากับภรรยายิ่งดี ถ้ามีมาเลี้ยงดูก็จะลาออกไปเป็นแม่บ้านแล้ว แม้ว่าจะเรียบจบโตไดก็เถอะ!!"
☁ " เห็นคนจบหมอจากมหาวิทยาลัยเอกชน ก็คงเพราะพ่อแม่มีเงินส่งล่ะสิ หัวคงไม่ดีเท่าไรหรอก ได้เป็นหมอก็เพราะเงินล่ะสิ " !!
และอื่นๆ ทั้งเรื่องที่เธอบ่นเรื่องการทำงานหนักต่างๆ นานา และนิสัยที่สะท้อนออกมาจากข้อความที่เธอเขียน
และจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้ผมนึกถึงอีกเหตุการณ์หนึ่งที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ 3 ปีที่แล้ว エク哲 Eku-Tetsu ที่คนญี่ปุ่นเพิ่งแต่งงานรอบสองกับภรรยาสาวได้เดินทางไปเที่ยวที่ประเทศเอกวาดอร์ หลังจากที่ทั้งคู่ไปทานอาหารแล้วจะโดยสารแท็กซี่กลับที่พัก เขาไม่เรียกแท็กซี่ที่มีใบอนุญาตขับแท็กซี่อย่างถูกต้องเพราะต้องจ่ายราคาแพง แต่เรียกแท็กซี่ที่ไม่มีใบอนุญาตหรือเรียกง่ายๆ ว่าแท็กซี่เถื่อนเพราะราคาถูกกว่า แล้วเมื่อแท็กซี่เถื่อนคันนั้นขับๆ ไปสักระยะ คนขับแท็กซี่ก็เรียกพรรคพวกมาปล้น แต่เขาไม่ยอมจึงถูกฆ่าตาย กรณีนี้น่าจะเห็นใจและสงสารผู้เสียชีวิตอยู่ แต่เมื่อคนญี่ปุ่นไปขุดคุ้ยเรื่องราวที่เขาเคยเขียนในสื่อออนไลน์มาแชร์แล้ว กระแสก็ตีกลับ สังคมกลับเริ่มไม่สงสารเขา เหตุเพราะผู้เสียชีวิตคนนี้มักจะเขียนโอ้อวดทั้งสถาบันที่เรียนจบ หน้าที่การงาน เดินทางท่องเที่ยวหลายที่ รู้จักเอาตัวรอดได้ดี ฝึกฝนต่อสู้มามากมาย เก่งกล้ามาก บลาๆ ไม่ต่างจากเกรณีของสาวที่ทำงานหนักแล้วฆ่าตัวตายนั่นเอง
ย้อนกลับมาในประเด็นที่ว่า ทำไมสาวที่ทำงานหนักต้องฆ่าตัวตาย ปกติคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่มักจะทำตามกระแสของสังคมจนกลายเป็นว่าคนบางส่วนไม่สามารถมีอิสระในความคิด การที่คนกลุ่มต่างๆ ออกมาวิพากษ์วิจารณ์เรื่องราวในกระแสสังคมก็มักจะใช้ความคิดส่วนตน และแสดงออกซึ่งความอวดดีอวดเด่น จากกรณีสาวที่ฆ่าตัวตายจากการทำงานหนักนี้มีการคาดเดามากมาย ว่านอกจากเจอกดดันเรื่องงานแล้ว อาจจะเจอสภาพแวดล้อมแปลกๆ ในที่ทำงานด้วย เพราะบริษัทนี้มีเรื่องเล่าขานมานานแล้ว ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างความคิดเห็นที่คนมาพูดคุยกัน ที่มีประเด็นน่าสนใจ เช่น
☁ครั้งนี้กลับมาเป็นข่าวดัง หลังจากที่ผู้เสียชีวิตจากไปแล้วเกือบปี เพราะมีการฟ้องร้อง มีนักสืบสวนเข้ามาสืบสวนคดีที่บริษัท ทั้งๆ ที่ ก่อนหน้านี้บริษัทนี้ก็มีคนเสียชีวิตจากการทำงานหนักบ่อยๆ ไม่ได้มีข่าวอะไร สองปีก่อนก็มีหนุ่มคนหนึ่งเสียชีวิต ปีที่แล้วที่สาวเพิ่งเสียชีวิตไปบริษัทนี้ยังมีการจัดงานเลี้ยงปีใหม่อยู่เลย มาปีนี้โดนวิจารณ์เข้าหน่อยทำเป็นงดจัดงาน
☁พนักงานบริษัทโฆษณาแห่งนี้มีอายุขัยเฉลี่ย 50 ปี เพราะใช้ชีวิตหักโหมมาก ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย ดื่มเหล้าสูบบุหรี่จัด ใช้ชีวิตอยู่กับความตึงเครียดมากเกินไป ในขณะที่คนญี่ปุ่นปกติมีอายุเฉลี่ย 80 ปี
☁พนักงานบุคคลที่บริษัทแห่งหนึ่งมีไอเดียว่าบริษัทโฆษณานี้ไม่ทำตามข้อกฏหมายแรงงาน หัวข้อที่ว่า "36協定 saburoku - kyoutei " คือ การทำสัญญาชั่วโมงโอทีระหว่างบริษัทและสหภาพแรงงาน ถ้าทำงานเกินกำหนดสัญญาสามารถไปฟ้องร้องได้
☁ไอเดียของคุณหมอท่านหนึ่งบอกว่า เรื่องจริงต่างๆ ในสังคมเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ หรืออาจารย์ควรจะบอกความจริง และเตือนนักเรียนที่จะเข้าไปทำงานบริษัทเช่นนี้ แต่ทุกคนกลับยินดีที่เข้าทำงานได้ แต่การที่ต้องเจอระบบรับน้อง หรือการทำงานหนักหรือการเลี้ยงสังสรรค์ที่วิกลจริตต่างๆ นานา กลับไม่มีใครพูดถึง ตัวอย่างเช่น
👞มีการบังคับให้รุ่นน้องดื่มเบียร์🍺ที่รินใส่รองเท้าแทนแก้ว!!
👺 มีการจับคู่ดื่มเบียร์ โดยอีกคนต้องเอาของสงวนฝ่ายชายมาวางบนหัวเพื่อนอีกคน ทำนองว่าเป็นมวยผมของคนญี่ปุ่นสมัยก่อน!!
🚽 ให้แสดงเป็นน้ำล้างก้น คืออมน้ำแล้วพ่นใส่ก้นเพื่อน !!
🚷 เอาขนมสอดใส่ก้นให้ติดอุจจาระแล้วป้อนกัน !!
แค่นี้ก็รู้สึกแย่แล้วใช่ไหมครับ แต่ก็ยังมีอีกที่มากกว่านี้ที่ไม่น่าจะเอามาพูดออกสื่อได้ ถ้าเป็นเพื่อนกันเล่นกันขำๆ ยังเกือบรับไม่ได้แต่นี่ต้องทำแบบฝืนทน กลืนไม่เข้าคายไม่ออกเพราะต้องพึ่งพาบริษัทในการทำงาน ทำงานกันไปตลอดชีวิตการทำงาน บางทีก็มีผลกับจิตใจอยู่มากเหมือนกันนะครับ ถ้าเพื่อนๆ ที่ยังไม่เคยอ่านเรื่องการทำงานในบริษัทญี่ปุ่นลองอ่านที่นี่ครับ
อยากเป็นใหญ่เป็นโตในบริษัทญี่ปุ่นต้อง...!!!
เพราะบริษัทญี่ปุ่นบางแห่งเป็นเช่นนี้นี่เองบริษัทญี่ปุ่นในต่างประเทศจึงยังต้องการเซลล์คนญี่ปุ่น ทั้งๆ ที่คนท้องถิ่นอาจจะพูดสื่อสารได้ทั้งภาษาท้องถิ่น ภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น แต่ถ้าไม่ใช่คนญี่ปุ่นแล้วจะรับเรื่องแบบนี้ได้แค่ไหน ถ้าเป็นคนท้องถิ่นเจอแบบนี้ไม่กี่วันก็คงลาออก แต่ทำไมพวกคนญี่ปุ่นเขาถึงทนอยู่ได้ คราวหน้าผมจะมาเล่าให้ฟังครับ วันนี้สวัสดีครับ
Karoshi 過労死 ศัพท์คำนี้มีทับศัพท์เป็นภาษาอังกฤษว่า Karoshi แปลว่า การทำงานหนักเกินไปจนถึงแก่ชีวิต ปกติเมื่อมีข่าวแนวนี้ คนญี่ปุ่นอ่านแล้วอาจจะไม่ได้เกิดความรู้สึกตกใจนัก เพราะคุ้นชินกับสภาพแวดล้อมสังคมและความกดดันนี้อยู่แล้ว แต่สิ่งที่ผมคิดว่าน่าตกใจกว่า ก็คือการที่คนญี่ปุ่นไม่ตกใจกับเหตุการณ์เช่นนี้นั่นแหละครับ เพราะคล้ายกับว่าสภาพจิตใจมันเย็นชาไปแล้ว ดังนั้นการที่ผมจะอธิบายเรื่องราวและสภาพสังคมลึกๆ ให้เห็นและเข้าใจอย่างง่าย จึงค่อนข้างเป็นเรื่องยากอยู่เหมือนกันครับ
วันนี้จะพูดเกี่ยวกับตัวอย่าง Position talk หรือการแสดงความคิดเห็นส่วนตัวของแต่ละบุคคลผ่านสื่อโซเชี่ยลออนไลน์ต่างๆ อาทิที่ตั้งเป็นกระทู้ แล้วมีคนมาแสดงความคิดเห็นหลากมุมมองเกี่ยวกับข่าวพนักงานบริษัทญี่ปุ่นทำงานหนักจนต้องฆ่าตัวตาย อย่างย่อๆ เรามาค่อยๆ รวบรวมที่มาที่ไปกันครับ
☁สาวที่ฆ่าตัวตายนั้นเป็นเด็กต่างจังหวัดที่มีฐานะทางบ้านปานกลางแต่ไม่ดีมากนัก เพราะอยู่กับแม่สองคน แต่มีความพยายามอย่างมากสามารถสอบเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยโตเกียวได้ ซึ่งที่นี่ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของประเทศ สอบเข้ายากมาก เรียนจบยากมาก คนที่เรียนที่นี่ส่วนใหญ่เก่งมากและบ้านมีฐานะดีมากมาก่อน คือบางบ้านส่งลูกเรียนโรงเรียนดี แพงๆ ตั้งแต่เด็กเพื่อหวังให้เข้าเรียนที่มหาวิทยาโตเกียวได้
☁เมื่อสาวคนนี้เรียนจบก็สามารถเข้าทำงานที่บริษัทโฆษณาชื่อดังอันดับหนึ่งของญี่ปุ่นได้ จากแหล่งข่าวบอกว่าต้องทำงานนอกเวลาหรือโอที มากกว่าเดือนละ 100 ชั่วโมงบางทีถึง 150 ชั่วโมง ถ้าคิดๆ ดูก็แทบจะต้องเลิกงาน ห้าทุ่มเที่ยงคืนทุกวันละครับ มีแหล่งข่าวบอกว่าช่วงหลังๆ ก่อนที่เธอจะฆ่าตัวตายเธอได้พักผ่อนนอนแค่วันละไม่ถึง 2 ชั่วโมง
☁วันที่เธอตัดสินใจฆ่าตัวตายคือวันคริสต์มาสอีฟของปีที่แล้ว โดยที่เธอตัดสินใจกระโดดตึกหอพักลงมาเสียชีวิต ซึ่งจากวันที่เธอเข้าทำงานจนถึงวันที่เธอเสียชีวิต เธอเพิ่งทำงานไปได้แค่เพียง 8 เดือน โดยเพิ่งได้รับการบรรจุให้เป็นพนักงานประจำได้แค่ 2เดือนเท่านั้น ตอนนั้นยังไม่เป็นข่าวเท่าไหร่นัก แต่ที่เพิ่งมาเป็นข่าวดังในช่วงนี้เพราะมีพนักงานสอบสวนเข้ามาสอบสวนคดีที่บริษัทดังกล่าว
มีคำภาษาญี่ปุ่นอยู่คำหนึ่งที่ว่า 死者に鞭打つ Shisha ni muchi utsu คือ การว่ากล่าววิพากษ์วิจารณ์คนตาย ที่จริงผมไม่อยากเขียนลักษณะนี้นักแต่จะนำข้อมูลจากแหล่งข่าว Position talk มาเล่าสู่กันฟัง เพื่อให้เพื่อนๆ สามารถเข้าใจและเห็นมุมมองความคิดของคนญี่ปุ่นครับ ซึ่งกรณีจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ต่างคนต่างก็แสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์กันไปตามแต่ความคิดและมุมมองของตนเอง ซึ่งผมจะขอยกตัวอย่างความคิดเห็นของคนญี่ปุ่นจากเว็บไซต์ต่างๆ บางความเห็นก็เป็นประโยชน์ บางความคิดเห็นก็สักแต่วิจารณ์ เช่น
"ที่จริงแล้วสหภาพแรงงานต้องช่วยพนักงาน "
" หยุดระบบสภาพการทำงานหนักแบบนี้ดีที่สุด"
" ทำงานโอทีแค่ 100 ชั่วโมง ถึงกับต้องฆ่าตัวตาย นับว่าแย่มาก "
" สงสัยแม่ไม่รัก ถ้าแม่รักคงไม่ฆ่าตัวตาย"
และอีกมากมาย แต่กลายเป็นว่าพอคนเริ่มวิพากษ์วิจารณ์กันมากขึ้น คนที่เห็นใจผู้ตายกลับค่อยๆ น้อยลง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เพราะว่ามีคนไปขุดคุ้ยเนื้อหาที่เธอเคยเขียนในสื่อโซเชียล หลายๆ ข้อความคนอ่านลงความเห็นว่า เธอนิสัยดีจริงเหรอ เช่น ข้อความที่เธอเขียนว่า
☁ "เย้ ทำงานมาแล้วนะ 6 เดือน พยามยามมามากแล้วเรา จากนี้ถ้ามีลุงแก่ๆ อายุสัก 50 จะหัวล้านก็ได้ หย่ากับภรรยายิ่งดี ถ้ามีมาเลี้ยงดูก็จะลาออกไปเป็นแม่บ้านแล้ว แม้ว่าจะเรียบจบโตไดก็เถอะ!!"
☁ " เห็นคนจบหมอจากมหาวิทยาลัยเอกชน ก็คงเพราะพ่อแม่มีเงินส่งล่ะสิ หัวคงไม่ดีเท่าไรหรอก ได้เป็นหมอก็เพราะเงินล่ะสิ " !!
และอื่นๆ ทั้งเรื่องที่เธอบ่นเรื่องการทำงานหนักต่างๆ นานา และนิสัยที่สะท้อนออกมาจากข้อความที่เธอเขียน
และจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้ผมนึกถึงอีกเหตุการณ์หนึ่งที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ 3 ปีที่แล้ว エク哲 Eku-Tetsu ที่คนญี่ปุ่นเพิ่งแต่งงานรอบสองกับภรรยาสาวได้เดินทางไปเที่ยวที่ประเทศเอกวาดอร์ หลังจากที่ทั้งคู่ไปทานอาหารแล้วจะโดยสารแท็กซี่กลับที่พัก เขาไม่เรียกแท็กซี่ที่มีใบอนุญาตขับแท็กซี่อย่างถูกต้องเพราะต้องจ่ายราคาแพง แต่เรียกแท็กซี่ที่ไม่มีใบอนุญาตหรือเรียกง่ายๆ ว่าแท็กซี่เถื่อนเพราะราคาถูกกว่า แล้วเมื่อแท็กซี่เถื่อนคันนั้นขับๆ ไปสักระยะ คนขับแท็กซี่ก็เรียกพรรคพวกมาปล้น แต่เขาไม่ยอมจึงถูกฆ่าตาย กรณีนี้น่าจะเห็นใจและสงสารผู้เสียชีวิตอยู่ แต่เมื่อคนญี่ปุ่นไปขุดคุ้ยเรื่องราวที่เขาเคยเขียนในสื่อออนไลน์มาแชร์แล้ว กระแสก็ตีกลับ สังคมกลับเริ่มไม่สงสารเขา เหตุเพราะผู้เสียชีวิตคนนี้มักจะเขียนโอ้อวดทั้งสถาบันที่เรียนจบ หน้าที่การงาน เดินทางท่องเที่ยวหลายที่ รู้จักเอาตัวรอดได้ดี ฝึกฝนต่อสู้มามากมาย เก่งกล้ามาก บลาๆ ไม่ต่างจากเกรณีของสาวที่ทำงานหนักแล้วฆ่าตัวตายนั่นเอง
ย้อนกลับมาในประเด็นที่ว่า ทำไมสาวที่ทำงานหนักต้องฆ่าตัวตาย ปกติคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่มักจะทำตามกระแสของสังคมจนกลายเป็นว่าคนบางส่วนไม่สามารถมีอิสระในความคิด การที่คนกลุ่มต่างๆ ออกมาวิพากษ์วิจารณ์เรื่องราวในกระแสสังคมก็มักจะใช้ความคิดส่วนตน และแสดงออกซึ่งความอวดดีอวดเด่น จากกรณีสาวที่ฆ่าตัวตายจากการทำงานหนักนี้มีการคาดเดามากมาย ว่านอกจากเจอกดดันเรื่องงานแล้ว อาจจะเจอสภาพแวดล้อมแปลกๆ ในที่ทำงานด้วย เพราะบริษัทนี้มีเรื่องเล่าขานมานานแล้ว ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างความคิดเห็นที่คนมาพูดคุยกัน ที่มีประเด็นน่าสนใจ เช่น
☁ครั้งนี้กลับมาเป็นข่าวดัง หลังจากที่ผู้เสียชีวิตจากไปแล้วเกือบปี เพราะมีการฟ้องร้อง มีนักสืบสวนเข้ามาสืบสวนคดีที่บริษัท ทั้งๆ ที่ ก่อนหน้านี้บริษัทนี้ก็มีคนเสียชีวิตจากการทำงานหนักบ่อยๆ ไม่ได้มีข่าวอะไร สองปีก่อนก็มีหนุ่มคนหนึ่งเสียชีวิต ปีที่แล้วที่สาวเพิ่งเสียชีวิตไปบริษัทนี้ยังมีการจัดงานเลี้ยงปีใหม่อยู่เลย มาปีนี้โดนวิจารณ์เข้าหน่อยทำเป็นงดจัดงาน
☁พนักงานบริษัทโฆษณาแห่งนี้มีอายุขัยเฉลี่ย 50 ปี เพราะใช้ชีวิตหักโหมมาก ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย ดื่มเหล้าสูบบุหรี่จัด ใช้ชีวิตอยู่กับความตึงเครียดมากเกินไป ในขณะที่คนญี่ปุ่นปกติมีอายุเฉลี่ย 80 ปี
☁พนักงานบุคคลที่บริษัทแห่งหนึ่งมีไอเดียว่าบริษัทโฆษณานี้ไม่ทำตามข้อกฏหมายแรงงาน หัวข้อที่ว่า "36協定 saburoku - kyoutei " คือ การทำสัญญาชั่วโมงโอทีระหว่างบริษัทและสหภาพแรงงาน ถ้าทำงานเกินกำหนดสัญญาสามารถไปฟ้องร้องได้
☁ไอเดียของคุณหมอท่านหนึ่งบอกว่า เรื่องจริงต่างๆ ในสังคมเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ หรืออาจารย์ควรจะบอกความจริง และเตือนนักเรียนที่จะเข้าไปทำงานบริษัทเช่นนี้ แต่ทุกคนกลับยินดีที่เข้าทำงานได้ แต่การที่ต้องเจอระบบรับน้อง หรือการทำงานหนักหรือการเลี้ยงสังสรรค์ที่วิกลจริตต่างๆ นานา กลับไม่มีใครพูดถึง ตัวอย่างเช่น
👞มีการบังคับให้รุ่นน้องดื่มเบียร์🍺ที่รินใส่รองเท้าแทนแก้ว!!
👺 มีการจับคู่ดื่มเบียร์ โดยอีกคนต้องเอาของสงวนฝ่ายชายมาวางบนหัวเพื่อนอีกคน ทำนองว่าเป็นมวยผมของคนญี่ปุ่นสมัยก่อน!!
🚽 ให้แสดงเป็นน้ำล้างก้น คืออมน้ำแล้วพ่นใส่ก้นเพื่อน !!
🚷 เอาขนมสอดใส่ก้นให้ติดอุจจาระแล้วป้อนกัน !!
แค่นี้ก็รู้สึกแย่แล้วใช่ไหมครับ แต่ก็ยังมีอีกที่มากกว่านี้ที่ไม่น่าจะเอามาพูดออกสื่อได้ ถ้าเป็นเพื่อนกันเล่นกันขำๆ ยังเกือบรับไม่ได้แต่นี่ต้องทำแบบฝืนทน กลืนไม่เข้าคายไม่ออกเพราะต้องพึ่งพาบริษัทในการทำงาน ทำงานกันไปตลอดชีวิตการทำงาน บางทีก็มีผลกับจิตใจอยู่มากเหมือนกันนะครับ ถ้าเพื่อนๆ ที่ยังไม่เคยอ่านเรื่องการทำงานในบริษัทญี่ปุ่นลองอ่านที่นี่ครับ
อยากเป็นใหญ่เป็นโตในบริษัทญี่ปุ่นต้อง...!!!
เพราะบริษัทญี่ปุ่นบางแห่งเป็นเช่นนี้นี่เองบริษัทญี่ปุ่นในต่างประเทศจึงยังต้องการเซลล์คนญี่ปุ่น ทั้งๆ ที่คนท้องถิ่นอาจจะพูดสื่อสารได้ทั้งภาษาท้องถิ่น ภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น แต่ถ้าไม่ใช่คนญี่ปุ่นแล้วจะรับเรื่องแบบนี้ได้แค่ไหน ถ้าเป็นคนท้องถิ่นเจอแบบนี้ไม่กี่วันก็คงลาออก แต่ทำไมพวกคนญี่ปุ่นเขาถึงทนอยู่ได้ คราวหน้าผมจะมาเล่าให้ฟังครับ วันนี้สวัสดีครับ