สวัสดีครับผม Mr.Leon มาแล้วครับ เพื่อนๆ เคยอ่านหรือดูหนังเกี่ยวกับเรื่องสามก๊กไหมครับไม่รู้ว่าสามก๊กที่เมืองไทยฮิตมากไหมแต่ที่ญี่ปุ่นค่อนข้างเป็นวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงมากทีเดียว เรื่องสามก๊กกับคนญี่ปุ่นนั้นมีหลายๆ ประเด็นหลากหลายมุมมองที่วรรณกรรมเขียนไว้แล้วคล้ายกับเรื่องกลยุทธ์การทำศึกสงครามในประวัติศาตร์ญี่ปุ่น
สามก๊ก เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำศึกสงครามการใช้สติปัญญาและกุศโลบายในการแสดงแสนยานุภาพแก่ศัตรู รวมไปถึงเรื่องราวการปกครองไพร่พลรวมทั้งผู้ใต้บังคับบัญชา กลยุทธ์ทางการทหาร การเมือง การเศรษฐกิจ การบริหารปกครองบ้านเมือง ทักษะการใช้คนและจูงใจคน เป็นต้น ตัวละครในเรื่องมีความฉลาดหลักแหลมน่าสนใจ ( ชื่อของตัวละครในเรื่องช่างตั้งได้เยอะแยะไปหมดน่าจะมากกว่า 3 พันชื่อ บางฉากมีตัวละครมากเกือบ 1,000 คน )ตัวละครเยอะขนาดนี้ผมคิดว่าต้องมีบ้างล่ะที่มีนิสัยคล้ายกับเราและก็น่าจะมีตัวละครตัวโปรดของเราสักตัวสิน่า เพื่อนๆ ชอบคนไหนบ้างครับ
พูดไปที่ญี่ปุ่นก็มีย่านคนจีนหรือไชน่าทาวน์คล้ายๆ กับที่เมืองไทยนะครับ ย่านไชน่าทาวน์ดังๆ ที่ YOKOHAMA (横浜) หรือ KOBE (神戸) เป็นต้น ก็จะมีศาลเทพเจ้ากวนอู KANTEIBYOU (関帝廟)เหมือนกับศาลเจ้ากวนอูที่เมืองไทยครับ เป็นย่านท่องเที่ยวและดึงดูดคนมาสักการะอย่างมากทีเดียว คนญี่ปุ่นที่เป็นนักธุรกิจโดยเฉพาะผู้ชายผมว่าอย่างน้อยต้องเคยอ่านหนังสือมังงะสามก๊กเวอร์ชั่นที่เขียนโดย คุณ Mitsuteru Yokoyama「横山光輝 三国志」สักครั้งเป็นแน่แท้ เพราะสามารถนำไปใช้เป็นบทสนทนาช่วงที่ต้องอยู่ในรถกับหัวหน้างานได้ดีเลย สมมุติว่าเรามีความจำเป็นต้องเดินทางโดยนั่งรถคันเดียวกันกับหัวหน้า ถ้าเป็นคนไทยอาจจะคุยกันก็ได้หรือนั่งเฉยๆ ก็ไม่เป็นไรใช่ไหมครับ แต่คนญี่ปุ่นการที่นั่งเฉยๆ เฉาๆ เงียบๆ นี่ถือว่าเสียมารยาทต่อหัวหน้าทีเดียว ดังนั้นต้องชวนหัวหน้าคุยครับ การชวนคุยเรื่องสามก๊กจึงน่าจะปลอดภัยที่สุดเพราะนักธุรกิจทั่วไปรู้จักอย่างที่บอกไป เช่น อาจจะถามหัวหน้าว่า ชอบตัวละครสามก๊กตัวไหนมากที่สุดหรือพูดเรื่องตัวละครที่เป็นแม่ทัพที่มีชื่อเสียง เช่น เล่าปี่ กวนอู จูกัดเหลียง หรือถ้าไม่มีตัวละครที่ชอบก็สามารถพูดแนะนำซึ่งกันและกันได้และก็คุยกันได้ต่อเรื่อยๆ มันน่าจะดีกว่าถามหัวหน้าเรื่องการเมือง ศาสนา หรือเบสบอล ล่ะนะ (เรื่องเบสบอลนี่ถ้าคนฟังเป็นคน OSAKA (大阪)หรือ NAGOYA(名古屋) ละก็ต้องระวังเลย ฮ่าๆ )
ผมมีภาพเกี่ยวกับโชกุนที่มีชื่อเสียงมากมาแนะให้เพื่อนดูครับ เป็นภาพของโชกุนชื่อ โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ เรื่องเกี่ยวกับโชกุนท่านนี้เพื่อนๆ ลองอ่านได้ที่นี่ครับ https://th.m.wikipedia.org/wiki/โทะกุงะวะ_อิเอะยะซุ ภาพถูกเขียนมาก่อนหน้านี้มากกว่า 400 ปี (เป็นโชกุนในสมัยเอโดะที่มีชื่อว่า โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ (徳川家康)ซึ่งเป็นภาพของโชกุนที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในบรรดาโชกุนของประเทศญี่ปุ่น โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ ถูกเรียกว่า KAIDOU-ICHI NO YUMITORI ( 海道一の弓取り =ผู้ที่เก่งกาจในเรื่องการรบสงครามอันดับหนึ่งในแถบ NAGOYA หรือ TOUKAIDOU) แทบจะไม่เคยแพ้สงครามเลย แต่มีอยู่ครั้งหนึ่งครั้งเดียวเท่านั้นเคยแพ้สงครามครั้งใหญ่หนึ่งครั้ง ครั้งนั้นโทะกุงะวะ อิเอะยะซุ กลัวมากและหนีหัวซุกหัวซุน มีคนกล่าวไว้ว่ากลัวมากจนอุจจาระราด ภาพนี้แสดงให้เห็นสีหน้าความหวาดกลัวตอนที่อิเอะยะซุอพยพหนีกลับจากสนามรบครั้งนั้น (แต่ไม่ได้วาดอุจจาระลงไป) นับเป็นภาพล้อเลียนและแสดงให้เห็นถึงความยากลำบากในตอนนั้น
อิเอะยะซุเป็นถึงผู้ปกครองเมืองที่ยิ่งใหญ่ราวกับเป็นเทพเจ้าจนได้รับฉายาว่านักรบเแห่งเทพเจ้า「神君」(Shin-Kun) ซึ่งในชีวิตท่านเกือบจะไม่เคยแพ้ใครเลยยกเว้นสงครามครั้งที่เล่าไปเมื่อสักครู่ หรือสงครามในสมรภูมิรบ MIKATAGAHARA (三方ヶ原) เกิดอะไรขึ้นหนอถึงทำให้นักรบเทพเจ้าต้องหนีหัวซุกหัวซุนขนาดนั้นได้สงครามและกลยุทธ์ต่างๆ เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ในเรื่องสามก๊กอย่างไร เรื่องเป็นแบบนี้ครับ
ช่วงฤดูหนาวปี 1573 ที่เมือง HAMAMATSU(浜松)สมัยก่อนที่นี่เคยมีหิมะตกในฤดูหนาวแต่ปัจจุบันเนื่องจากเกิดสภาพอากาศแปรปรวนและสภาวะโลกร้อนจึงทำให้ไม่ค่อยมีหิมะตกที่นี่เท่าไหร่นักในยุคสมัยนั้นมีไดเมียวที่ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุดในญี่ปุ่นจนได้รับฉายาว่าเป็นเสือแห่งเมือง KAI(甲斐:คือเมือง YAMANASHI (山梨県) ในปัจจุบัน)ท่านนี้มีชื่อว่า ทะเกะดะ ชินเก็ง https://th.m.wikipedia.org/wiki/ทะเกะดะ_ชิงเง็น ท่านอยากชิงตำแหน่งเพื่อเข้าเป็นผู้ปกป้องจักรพรรดิ์ที่ปกครองเมือง KYOTO(京都)เขามีผู้น้อยในปกครองราวๆ 30,000 ถึง 50,000 คน การที่ทะเกะดะต้องไปทำสงครามชิงตำแหน่งที่เกียวโตนั้น เขาต้องผ่านหัวเมืองที่อิเอะยะซุปกครองอยู่
ตอนนั้นอิเอะยะซุอาศัยอยู่ในปราสาท HAMAMATSU(浜松城)ซึ่งมีทหารในปกครองไม่มากนัก พอทะเกะดะเคลื่อนทัพด้วยกำลังพลจำนวนมากกว่าหลายสิบเท่าเข้ามาประชั้นชิดตัวปราสาทเข้าทุกทีๆ แม้ลูกน้องคนสนิทจะห้ามปรามการออกไปสู้แต่อิเอะยะซุกลับตัดสินใจพาลูกน้องออกจากปราสาทและไปรบกับทะเกะดะ ใช้เวลาต่อสู้กันประมาณ 2 ชั่วโมง ไม่สามารถต้านทัพได้ การรบครั้งนี้เป็นเหตุให้อิเอะยะซุเกือบจะเอาชีวิตไม่รอดและหนีกลับเข้ามาในปราสาท เขาถอดใจและช้ำใจเป็นที่สุด ถึงขนาดที่ว่าจะปลดชีวิตตนเองและปลงมากคิดว่าคงต้องตายๆ ไป จึงไม่คิดอะไรต่อแล้วเปิดประตูปราสาทไว้แบบนั้น จุดไฟสว่างและกินข้าวแล้วหลับไป
ณ ช่วงเวลาน่าสิ่วน่าขวานนั้น ทางกองทัพของทะเกะดะเอง มีทหารที่มีชื่อว่ายะมะกะตะซัง(山県さん)และบะบะซัง(馬場さん)เป็นคนที่ฉลาดหลักแหลมมากและมีความรอบคอบมากพวกเขาเคยอ่านหนังสือสามก๊กเรื่องกลยุทธ์เปิดประตูเมือง「空城の計」ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ถูกเขียนไว้เมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ในการหลอกฝ่ายตรงข้ามให้เข้าใจผิดว่ามีทหารดักซุ่มโจมตีอยู่ จึงปรึกษากันและตัดสินใจยกทัพกลับไปตั้งหลักก่อน ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วในปราสาทของอิเอะยะซุทุกคนเจ็บและแทบจะเอาตัวไม่รอดแล้ว การที่ทัพของทะเกะดะยกทัพกลับจึงเป็นเรื่องที่โชคดีอย่างหนึ่งในวันนั้นของอิเอะยะซุ
จากประมาณ 400 ปีที่แล้วจนถึงปัจจุบัน หนังสือสามก๊กเป็นหนังสือที่นักเรียนนักศึกษาควรอ่าน ผสมผสานเป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์ร่วมสมัยได้ดี ครั้งนั้นผมคิดว่า「เป็นเรื่องโชคดีมาก ที่ประตูเปิดทิ้งไว้」เพราะถ้ากองทัพของทะเกะดะบุกเข้ามาในปราสาท ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นก็คงจะเปลี่ยนไป
ประวัติศาสตร์เตือนสติให้เราต้องเดินหน้าต่อไป ถึงแม้ว่าเราเจอเรื่องที่ท้อแท้ไม่ว่าจะเป็นงาน หรือการสอบ หรือการใช้ชีวิต อยากให้นึกถึงอิเอะยะซุผู้ที่ได้รับฉายาว่านักรบแห่งเทพเจ้าและเป็นผู้ที่เคยแพ้แต่ไม่ท้อ รูปภาพที่ได้เห็นนั้น ท่านอิเอะยะซุให้นักจิตรกรเป็นคนวาดขึ้นเพื่อเตือนใจไม่ให้ลืมตอนที่ตัวเองพบความยากลำบาก ผมเชื่อเรื่องที่ได้เล่าต่อกันมา จนกระทั่งเมื่อปี 2015 มีนักวิจัยศึกษาประวัติศาตร์วิเคราะห์กันว่ารูปนี้ถูกวาดขึ้นมาหลังจากอิเอยะซุเสียชีวิตแล้ว เลยเป็นที่สงสัยกันว่าความจริงแล้วเป็นอย่างไรกันแน่ครับ แต่ที่แน่นอนยังมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสามก๊กและประวัติศาตร์ญี่ปุ่นอีกนะครับติดตามตอนต่อไปครับวันนี้สวัสดีครับ
สามก๊ก เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำศึกสงครามการใช้สติปัญญาและกุศโลบายในการแสดงแสนยานุภาพแก่ศัตรู รวมไปถึงเรื่องราวการปกครองไพร่พลรวมทั้งผู้ใต้บังคับบัญชา กลยุทธ์ทางการทหาร การเมือง การเศรษฐกิจ การบริหารปกครองบ้านเมือง ทักษะการใช้คนและจูงใจคน เป็นต้น ตัวละครในเรื่องมีความฉลาดหลักแหลมน่าสนใจ ( ชื่อของตัวละครในเรื่องช่างตั้งได้เยอะแยะไปหมดน่าจะมากกว่า 3 พันชื่อ บางฉากมีตัวละครมากเกือบ 1,000 คน )ตัวละครเยอะขนาดนี้ผมคิดว่าต้องมีบ้างล่ะที่มีนิสัยคล้ายกับเราและก็น่าจะมีตัวละครตัวโปรดของเราสักตัวสิน่า เพื่อนๆ ชอบคนไหนบ้างครับ
พูดไปที่ญี่ปุ่นก็มีย่านคนจีนหรือไชน่าทาวน์คล้ายๆ กับที่เมืองไทยนะครับ ย่านไชน่าทาวน์ดังๆ ที่ YOKOHAMA (横浜) หรือ KOBE (神戸) เป็นต้น ก็จะมีศาลเทพเจ้ากวนอู KANTEIBYOU (関帝廟)เหมือนกับศาลเจ้ากวนอูที่เมืองไทยครับ เป็นย่านท่องเที่ยวและดึงดูดคนมาสักการะอย่างมากทีเดียว คนญี่ปุ่นที่เป็นนักธุรกิจโดยเฉพาะผู้ชายผมว่าอย่างน้อยต้องเคยอ่านหนังสือมังงะสามก๊กเวอร์ชั่นที่เขียนโดย คุณ Mitsuteru Yokoyama「横山光輝 三国志」สักครั้งเป็นแน่แท้ เพราะสามารถนำไปใช้เป็นบทสนทนาช่วงที่ต้องอยู่ในรถกับหัวหน้างานได้ดีเลย สมมุติว่าเรามีความจำเป็นต้องเดินทางโดยนั่งรถคันเดียวกันกับหัวหน้า ถ้าเป็นคนไทยอาจจะคุยกันก็ได้หรือนั่งเฉยๆ ก็ไม่เป็นไรใช่ไหมครับ แต่คนญี่ปุ่นการที่นั่งเฉยๆ เฉาๆ เงียบๆ นี่ถือว่าเสียมารยาทต่อหัวหน้าทีเดียว ดังนั้นต้องชวนหัวหน้าคุยครับ การชวนคุยเรื่องสามก๊กจึงน่าจะปลอดภัยที่สุดเพราะนักธุรกิจทั่วไปรู้จักอย่างที่บอกไป เช่น อาจจะถามหัวหน้าว่า ชอบตัวละครสามก๊กตัวไหนมากที่สุดหรือพูดเรื่องตัวละครที่เป็นแม่ทัพที่มีชื่อเสียง เช่น เล่าปี่ กวนอู จูกัดเหลียง หรือถ้าไม่มีตัวละครที่ชอบก็สามารถพูดแนะนำซึ่งกันและกันได้และก็คุยกันได้ต่อเรื่อยๆ มันน่าจะดีกว่าถามหัวหน้าเรื่องการเมือง ศาสนา หรือเบสบอล ล่ะนะ (เรื่องเบสบอลนี่ถ้าคนฟังเป็นคน OSAKA (大阪)หรือ NAGOYA(名古屋) ละก็ต้องระวังเลย ฮ่าๆ )
ผมมีภาพเกี่ยวกับโชกุนที่มีชื่อเสียงมากมาแนะให้เพื่อนดูครับ เป็นภาพของโชกุนชื่อ โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ เรื่องเกี่ยวกับโชกุนท่านนี้เพื่อนๆ ลองอ่านได้ที่นี่ครับ https://th.m.wikipedia.org/wiki/โทะกุงะวะ_อิเอะยะซุ ภาพถูกเขียนมาก่อนหน้านี้มากกว่า 400 ปี (เป็นโชกุนในสมัยเอโดะที่มีชื่อว่า โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ (徳川家康)ซึ่งเป็นภาพของโชกุนที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในบรรดาโชกุนของประเทศญี่ปุ่น โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ ถูกเรียกว่า KAIDOU-ICHI NO YUMITORI ( 海道一の弓取り =ผู้ที่เก่งกาจในเรื่องการรบสงครามอันดับหนึ่งในแถบ NAGOYA หรือ TOUKAIDOU) แทบจะไม่เคยแพ้สงครามเลย แต่มีอยู่ครั้งหนึ่งครั้งเดียวเท่านั้นเคยแพ้สงครามครั้งใหญ่หนึ่งครั้ง ครั้งนั้นโทะกุงะวะ อิเอะยะซุ กลัวมากและหนีหัวซุกหัวซุน มีคนกล่าวไว้ว่ากลัวมากจนอุจจาระราด ภาพนี้แสดงให้เห็นสีหน้าความหวาดกลัวตอนที่อิเอะยะซุอพยพหนีกลับจากสนามรบครั้งนั้น (แต่ไม่ได้วาดอุจจาระลงไป) นับเป็นภาพล้อเลียนและแสดงให้เห็นถึงความยากลำบากในตอนนั้น
อิเอะยะซุเป็นถึงผู้ปกครองเมืองที่ยิ่งใหญ่ราวกับเป็นเทพเจ้าจนได้รับฉายาว่านักรบเแห่งเทพเจ้า「神君」(Shin-Kun) ซึ่งในชีวิตท่านเกือบจะไม่เคยแพ้ใครเลยยกเว้นสงครามครั้งที่เล่าไปเมื่อสักครู่ หรือสงครามในสมรภูมิรบ MIKATAGAHARA (三方ヶ原) เกิดอะไรขึ้นหนอถึงทำให้นักรบเทพเจ้าต้องหนีหัวซุกหัวซุนขนาดนั้นได้สงครามและกลยุทธ์ต่างๆ เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ในเรื่องสามก๊กอย่างไร เรื่องเป็นแบบนี้ครับ
ช่วงฤดูหนาวปี 1573 ที่เมือง HAMAMATSU(浜松)สมัยก่อนที่นี่เคยมีหิมะตกในฤดูหนาวแต่ปัจจุบันเนื่องจากเกิดสภาพอากาศแปรปรวนและสภาวะโลกร้อนจึงทำให้ไม่ค่อยมีหิมะตกที่นี่เท่าไหร่นักในยุคสมัยนั้นมีไดเมียวที่ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุดในญี่ปุ่นจนได้รับฉายาว่าเป็นเสือแห่งเมือง KAI(甲斐:คือเมือง YAMANASHI (山梨県) ในปัจจุบัน)ท่านนี้มีชื่อว่า ทะเกะดะ ชินเก็ง https://th.m.wikipedia.org/wiki/ทะเกะดะ_ชิงเง็น ท่านอยากชิงตำแหน่งเพื่อเข้าเป็นผู้ปกป้องจักรพรรดิ์ที่ปกครองเมือง KYOTO(京都)เขามีผู้น้อยในปกครองราวๆ 30,000 ถึง 50,000 คน การที่ทะเกะดะต้องไปทำสงครามชิงตำแหน่งที่เกียวโตนั้น เขาต้องผ่านหัวเมืองที่อิเอะยะซุปกครองอยู่
ตอนนั้นอิเอะยะซุอาศัยอยู่ในปราสาท HAMAMATSU(浜松城)ซึ่งมีทหารในปกครองไม่มากนัก พอทะเกะดะเคลื่อนทัพด้วยกำลังพลจำนวนมากกว่าหลายสิบเท่าเข้ามาประชั้นชิดตัวปราสาทเข้าทุกทีๆ แม้ลูกน้องคนสนิทจะห้ามปรามการออกไปสู้แต่อิเอะยะซุกลับตัดสินใจพาลูกน้องออกจากปราสาทและไปรบกับทะเกะดะ ใช้เวลาต่อสู้กันประมาณ 2 ชั่วโมง ไม่สามารถต้านทัพได้ การรบครั้งนี้เป็นเหตุให้อิเอะยะซุเกือบจะเอาชีวิตไม่รอดและหนีกลับเข้ามาในปราสาท เขาถอดใจและช้ำใจเป็นที่สุด ถึงขนาดที่ว่าจะปลดชีวิตตนเองและปลงมากคิดว่าคงต้องตายๆ ไป จึงไม่คิดอะไรต่อแล้วเปิดประตูปราสาทไว้แบบนั้น จุดไฟสว่างและกินข้าวแล้วหลับไป
ณ ช่วงเวลาน่าสิ่วน่าขวานนั้น ทางกองทัพของทะเกะดะเอง มีทหารที่มีชื่อว่ายะมะกะตะซัง(山県さん)และบะบะซัง(馬場さん)เป็นคนที่ฉลาดหลักแหลมมากและมีความรอบคอบมากพวกเขาเคยอ่านหนังสือสามก๊กเรื่องกลยุทธ์เปิดประตูเมือง「空城の計」ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ถูกเขียนไว้เมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ในการหลอกฝ่ายตรงข้ามให้เข้าใจผิดว่ามีทหารดักซุ่มโจมตีอยู่ จึงปรึกษากันและตัดสินใจยกทัพกลับไปตั้งหลักก่อน ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วในปราสาทของอิเอะยะซุทุกคนเจ็บและแทบจะเอาตัวไม่รอดแล้ว การที่ทัพของทะเกะดะยกทัพกลับจึงเป็นเรื่องที่โชคดีอย่างหนึ่งในวันนั้นของอิเอะยะซุ
จากประมาณ 400 ปีที่แล้วจนถึงปัจจุบัน หนังสือสามก๊กเป็นหนังสือที่นักเรียนนักศึกษาควรอ่าน ผสมผสานเป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์ร่วมสมัยได้ดี ครั้งนั้นผมคิดว่า「เป็นเรื่องโชคดีมาก ที่ประตูเปิดทิ้งไว้」เพราะถ้ากองทัพของทะเกะดะบุกเข้ามาในปราสาท ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นก็คงจะเปลี่ยนไป
ประวัติศาสตร์เตือนสติให้เราต้องเดินหน้าต่อไป ถึงแม้ว่าเราเจอเรื่องที่ท้อแท้ไม่ว่าจะเป็นงาน หรือการสอบ หรือการใช้ชีวิต อยากให้นึกถึงอิเอะยะซุผู้ที่ได้รับฉายาว่านักรบแห่งเทพเจ้าและเป็นผู้ที่เคยแพ้แต่ไม่ท้อ รูปภาพที่ได้เห็นนั้น ท่านอิเอะยะซุให้นักจิตรกรเป็นคนวาดขึ้นเพื่อเตือนใจไม่ให้ลืมตอนที่ตัวเองพบความยากลำบาก ผมเชื่อเรื่องที่ได้เล่าต่อกันมา จนกระทั่งเมื่อปี 2015 มีนักวิจัยศึกษาประวัติศาตร์วิเคราะห์กันว่ารูปนี้ถูกวาดขึ้นมาหลังจากอิเอยะซุเสียชีวิตแล้ว เลยเป็นที่สงสัยกันว่าความจริงแล้วเป็นอย่างไรกันแน่ครับ แต่ที่แน่นอนยังมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสามก๊กและประวัติศาตร์ญี่ปุ่นอีกนะครับติดตามตอนต่อไปครับวันนี้สวัสดีครับ