สวัสดีครับผม Mr.Leon มาแล้วครับ วันนี้ผมจะมาเล่าเรื่อง SNS (Social Network System) กับพฤติกรรมญี่ปุ่น เพื่อนๆ ที่ทำงานบริษัทญี่ปุ่น หรือบริษัททั่วไปก็ตาม คนที่เล่นโซเซียลเน็ตเวิร์คต่างๆ คงคุ้นเคยกับสิ่งเหล่านี้ดีอยู่แล้ว เคยไหมครับที่วันหนึ่งก็มีข้อความขอเป็นเพื่อนมาจากหัวหน้างานของคุณ ทันใดนั้นเองคุณรู้สึกยังไงครับ เหวอ~(`д´;) 」ไหมครับ
คำถามข้างต้นถ้ากรณีคนญี่ปุ่น กำลังท่องโลกโดยเล่นโซเซียลเน็ตเวิร์คอยู่ แล้วจู่ๆ ก็มีหัวหน้างานมาขอเป็นเพื่อนในโลกออนไลน์ด้วย!! ถ้าเป็นคนอื่นที่ไม่รู้จักมาขอเป็นเพื่อน หรือรู้จักบ้างแต่ไม่สนิทมาก แล้วเราไม่อยากให้เข้ามารู้เรื่องส่วนตัวมาก ก็ไม่รับเป็นเพื่อนก็ได้โดยที่เราก็ไม่ได้รู้สึกอะไรนัก แต่ถ้าหัวหน้างานโดยตรงมาขอเป็นเพื่อนล่ะ !!! ฮ่าๆ เหวอ~! (`д´;) 」ก็จริงครับ ไม่อยากรับก็จริงครับ แต่กรณีนี้ต้องรีบรับให้ไวที่สุดครับ ฮ่าๆ ก่อนหน้านี้ผมเคยเล่าเรื่อง Seku hara อะไรบ้างที่ญี่ปุ่นบอกว่าเป็นการคุกคามทางเพศ( Seku hara) ต่อไปนี้มีคำใหม่ครับ คือ ソーハラ Soo-Hara (Social Harassment) เมื่อก่อนคนยังไม่นิยมใช้ SNS สักเท่าไหร่นัก แต่ไม่กี่ปีมานี้เริ่มมี SNS ต่างๆ เข้ามาเล่นกันมากขึ้น จนเกิดคำที่ว่า SNS疲れ , คนญี่ปุ่นที่ทำความรู้จักกัน ดูสนิทสนมกัน แต่ใครจะรู้ว่านิสัยลึกๆ แล้วคนญี่ปุ่นมีความขี้อิจฉากันเยอะมาก เช่น บางคนไม่รู้จักกันมากเท่าไหร่ เจอกันนิดเดียวเห็นอะไรที่ไม่พอใจก็เป็นเหตุให้เกิดการอิจฉาและเกลียดกันได้แล้ว เช่น บริษัทให้ค่าเดินทางเท่ากัน บางคนขี่รถจักยานมา บางคนขับรถยนต์มาต้องเสียทั้งค่าน้ำมันรถและค่าจอดรถ เงินค่าเดินทางได้เท่ากับคนที่ขี่จักรยานมา แค่นี้ก็เป็นเหตุที่ไม่มีเหตุผลที่ทำให้คนที่ขับรถยนต์มาอิจฉาคนขี่จักรยานได้ บางเคสเคยมีคนถูกล็อตเตอรี่รางวัลใหญ่ๆ แต่ปฏิเสธการรับรางวัล เพราะกลัวโดนคนรอบข้างอิจฉา และเกลียดหรือกลั่นแกล้งตัวเอง
คนบางกลุ่มที่เรียนจบมหาวิทยาลัยเข้าทำงานใหม่ ก็ได้เงินเดือนสตาร์ทไม่ต่างกับคนที่จบระดับอื่นๆ เช่น มัธยมปลาย หรือวิทยาลัยช่าง เท่าไรนัก แต่พอเข้าทำงานแล้วกับเกิดการแปลกแยกกันระหว่างสองกลุ่มนี้ โดยเฉพาะพวกผู้หญิง มีบางคนถึงกับแนะนำเด็กที่จบมหาวิทยาลัยว่าไม่ต้องบอกใครว่าเรียนจบอะไร ที่ไหน เพื่อจะได้ไม่ต้องโดนทำให้รู้สึกแปลกแยกหรือโดนแกล้ง ความจริงในวิถีชีวิตคนญี่ปุ่นเป็นแบบนี้ ดังนั้นชีวิตในโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คก็ไม่ต่างกัน ถ้าใครได้ดีหรือทำอะไรเด่นเว่อร์ก็อาจจะถูกกลุ่มเพื่อนมองแรง คงเป็นเพราะ 一億総中流社会 คือ ประมาณยี่สิบปีก่อนนี้สังคมญี่ปุ่นมีลักษณะที่เท่าเทียมกัน ไม่ค่อยมีใครอิจฉาใคร และคนที่เก่งจริงๆ เยี่ยมมากจริงก็ไม่ค่อยอิจฉากัน มีตัวอย่างจากข่าวครับ สัก 7-8 ปีที่แล้วมีนักเบสบอลญี่ปุ่นไปทำงานเป็นนักเบสบอลอาชีพที่อเมริกา ได้เงินค่าตัวเยอะมากมายมหาศาล ตอนนั้นไม่มีใครอิจฉาเขาหรืออิจฉากันและกันเท่าไหร่ เพราะคนมีฐานะความเป็นอยู่เท่ากัน แต่เขาเกิดมีอุบัติเหตุที่แขนมีผลต่อการเล่นกีฬา จึงต้องกลับมาญี่ปุ่น ได้รับเงินกับมาก้อนหนึ่งหลายร้อยล้านบาท กลับญี่ปุ่นมาแล้วก็มาเป็นที่ปรึกษาให้ทีมเบสบอลของจังหวัดหนึ่งในญี่ปุ่น เขาไม่ได้เล่นเบสบอลแล้วแต่ได้รับเงินจำนวนมากต่อปี แค่นี้ก็มีคนญี่ปุ่นขี้อิจฉานินทาซะจม ประมาณว่าไม่เห็นทำงานอะไรมากแค่เอาชื่อมาใส่ทีมและเป็นที่ปรึกษา สรุปว่าสังคมคนที่ขี้อิจฉาในปัจจุบันนี้คือสังคมคนทั่วไป ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก
คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ชอบดูข้อมูลคนอื่น เช่น มาจากไหน ทำอะไร จบที่ไหน แต่จะแอบๆ เพื่อนำไปหากลุ่ม หรือดีไม่ดีก็จับกลุ่มแกล้งกัน ในชีวิตจริงคนทั่วไปก็มักจะไม่ค่อยคุยเรื่องตัวเอง เพราะกลัวการโดนแกล้ง เช่น บางคนมีวิถีชีวิตที่หรูมาก แต่งงานกับคู่สมรสที่ดี ลูกเรียนโรงเรียนที่ค่าเทอมแพงมาก แต่เขาคนนั้นไม่เคยคุยเรื่องตัวเองและไม่คุยเรื่องคนอื่นๆ ผมคิดว่าเขาฉลาดมาก เเละเขาก็ค่อนข้างเข้าได้ทุกกลุ่ม
อย่างที่บอกไปว่าโดยรวมแล้วพื้นฐานสังคมคนญี่ปุ่นจะสร้างให้คนรู้สึกว่าคนในกลุ่ม ในสังคมนั้นๆ เท่าเที่ยมกัน แต่ที่จริงแล้วถ้าในกลุ่มหรือสังคมนั้นๆ มีคนที่ดูเหมือนจะได้ดีกว่าคนอื่น เขาอาจถูกสังคมแกล้ง หรือทำอะไรสักอย่างให้ลงมาเท่าๆ กัน เป็นอาการที่คล้ายๆ ดึงขาลงมา 足の引っ張り合い ( ไม่รู้ว่าเหมือน เลื่อยขาเก้าอี้ หรือเปล่านะครับ ) ขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ปกติคนที่จบมัธยมแล้วเข้าทำงานเลย เขาจะค่อยๆ ไต่เต้าตามประสบการณ์และอายุงานไปสู่ระดับงานที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ลักษณะเช่นนี้ เป็นที่ยอมรับในสังคมนั้นๆ แต่เกิดบังเอิญมีเด็กจบการศึกษาระดับสูงเข้ามาทำงานที่เดียวกัน แล้วอีกไม่กี่ปีก็ได้เลื่อนตำแหน่งมาสู่ระดับสูงขึ้น คนที่มาทีหลังเช่นนี้อาจถูกคนอื่นๆ ไม่ชอบ (หรืออิจฉาลึกๆ ตามสไตล์คนญี่ปุ่น ) และอาจถูกแกล้ง ได้
ยกตัวอย่างสุภาษิตที่เกี่ยวกับการอิจฉากันยังมีอีกมากมาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าสังคมญี่ปุ่นเป็นลักษณะเช่นนั้นจริงๆ อีกสุภาษิตหนึ่งบอกไว้ว่า 「隣に蔵立ちゃ儂ゃ腹が立つ」 คือ บ้านญี่ปุ่นสมัยก่อนเนี่ยจะมีบ้านใหญ่ แล้วในบริเวณบ้านอาจจะมีสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ที่ใช้เก็บของ นึกภาพบ้านซามูไร หรือบ้านเก่าๆ นะครับ ที่สุภาษิตบอกคือ ถ้าบ้านใครสร้างห้องเก็บของขึ้นมา ( สมัยก่อนเข้าใจว่าเอาไว้เก็บทองและของมีค่า ) คนข้างบ้านจะเกิดอาการร้อนรุ่มสุมใจ ! (゚Д゚)ハッ คงประมาณนั้นครับ
อีกสุภาษิตคือ 「隣の貧乏、鴨の味」ความหมายประมาณว่า ถ้าข้างบ้านยากจนลงละก็ (คนอื่นๆ)กินข้าวอร่อยเลย !....ズガーン. Σ(゚Д゚;≡;゚д゚) คนญี่ปุ่นน่ากลัวเนอะ แฮะๆ แต่อย่าไปคิดมากครับนั่นคือพฤติกรรมพื้นฐานทางสังคม แต่คนดีคนไม่ดีก็มีคละกันทุกที่ในโลก และการปฏิบัติต่อเพื่อนกัน หรือคนคุ้นเคยก็เป็นปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อพฤติกรรมคนด้วย อีกอย่างที่จริงคนญี่ปุ่นนิสัยดีเยอะ แต่เป็นชนชาติที่มีความเป็นส่วนตัวสูง และไม่ค่อยอยากเข้าไปยุ่งกับความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับคนอื่นๆ เพราะไม่อยากวุ่นวายและเกิดการอิจฉากลั่นแกล้งกันอย่างที่เขียนๆ เล่าไปข้างบนครับ ครั้งนี้อ่านแค่เป็นมุมมองความรู้ความเข้าใจนะครับ
ดังนั้นจะเห็นว่าด้วยลักษณะสังคมและนิสัยโดยรวมดังกล่าว ทำไมคนญี่ปุ่น จึงไม่ชอบมีการโพสต์ข้อความในสื่อโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค เรื่องส่วนตัวตนเองที่แสดงความรู้สึกดีใจมากเมื่อได้ไปเที่ยวที่ไหนๆ เมื่อได้กินของอร่อยๆ หรือทุกเรื่องที่เป็นการเปิดเผยตนเอง หรือเรื่องที่อาจทำให้คนอื่นเกิดความอิจฉา แล้วอาจเป็นผลกระทบย้อนกลับมาทำร้ายตนเอง เป็นต้น แต่ญี่ปุ่นสมัยใหม่ก็อาจเปลี่ยนไปบ้างนะครับ รุ่นอายุ 10-20 ปีไม่แน่ใจว่าเป็นอย่างไรนะครับ ไว้คราวหน้าผมจะมาเล่าเรื่องคนญี่ปุ่นกับเพื่อนต่างประเทศนะครับ วันนี้สวัสดีครับ
คำถามข้างต้นถ้ากรณีคนญี่ปุ่น กำลังท่องโลกโดยเล่นโซเซียลเน็ตเวิร์คอยู่ แล้วจู่ๆ ก็มีหัวหน้างานมาขอเป็นเพื่อนในโลกออนไลน์ด้วย!! ถ้าเป็นคนอื่นที่ไม่รู้จักมาขอเป็นเพื่อน หรือรู้จักบ้างแต่ไม่สนิทมาก แล้วเราไม่อยากให้เข้ามารู้เรื่องส่วนตัวมาก ก็ไม่รับเป็นเพื่อนก็ได้โดยที่เราก็ไม่ได้รู้สึกอะไรนัก แต่ถ้าหัวหน้างานโดยตรงมาขอเป็นเพื่อนล่ะ !!! ฮ่าๆ เหวอ~! (`д´;) 」ก็จริงครับ ไม่อยากรับก็จริงครับ แต่กรณีนี้ต้องรีบรับให้ไวที่สุดครับ ฮ่าๆ ก่อนหน้านี้ผมเคยเล่าเรื่อง Seku hara อะไรบ้างที่ญี่ปุ่นบอกว่าเป็นการคุกคามทางเพศ( Seku hara) ต่อไปนี้มีคำใหม่ครับ คือ ソーハラ Soo-Hara (Social Harassment) เมื่อก่อนคนยังไม่นิยมใช้ SNS สักเท่าไหร่นัก แต่ไม่กี่ปีมานี้เริ่มมี SNS ต่างๆ เข้ามาเล่นกันมากขึ้น จนเกิดคำที่ว่า SNS疲れ , คนญี่ปุ่นที่ทำความรู้จักกัน ดูสนิทสนมกัน แต่ใครจะรู้ว่านิสัยลึกๆ แล้วคนญี่ปุ่นมีความขี้อิจฉากันเยอะมาก เช่น บางคนไม่รู้จักกันมากเท่าไหร่ เจอกันนิดเดียวเห็นอะไรที่ไม่พอใจก็เป็นเหตุให้เกิดการอิจฉาและเกลียดกันได้แล้ว เช่น บริษัทให้ค่าเดินทางเท่ากัน บางคนขี่รถจักยานมา บางคนขับรถยนต์มาต้องเสียทั้งค่าน้ำมันรถและค่าจอดรถ เงินค่าเดินทางได้เท่ากับคนที่ขี่จักรยานมา แค่นี้ก็เป็นเหตุที่ไม่มีเหตุผลที่ทำให้คนที่ขับรถยนต์มาอิจฉาคนขี่จักรยานได้ บางเคสเคยมีคนถูกล็อตเตอรี่รางวัลใหญ่ๆ แต่ปฏิเสธการรับรางวัล เพราะกลัวโดนคนรอบข้างอิจฉา และเกลียดหรือกลั่นแกล้งตัวเอง
คนบางกลุ่มที่เรียนจบมหาวิทยาลัยเข้าทำงานใหม่ ก็ได้เงินเดือนสตาร์ทไม่ต่างกับคนที่จบระดับอื่นๆ เช่น มัธยมปลาย หรือวิทยาลัยช่าง เท่าไรนัก แต่พอเข้าทำงานแล้วกับเกิดการแปลกแยกกันระหว่างสองกลุ่มนี้ โดยเฉพาะพวกผู้หญิง มีบางคนถึงกับแนะนำเด็กที่จบมหาวิทยาลัยว่าไม่ต้องบอกใครว่าเรียนจบอะไร ที่ไหน เพื่อจะได้ไม่ต้องโดนทำให้รู้สึกแปลกแยกหรือโดนแกล้ง ความจริงในวิถีชีวิตคนญี่ปุ่นเป็นแบบนี้ ดังนั้นชีวิตในโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คก็ไม่ต่างกัน ถ้าใครได้ดีหรือทำอะไรเด่นเว่อร์ก็อาจจะถูกกลุ่มเพื่อนมองแรง คงเป็นเพราะ 一億総中流社会 คือ ประมาณยี่สิบปีก่อนนี้สังคมญี่ปุ่นมีลักษณะที่เท่าเทียมกัน ไม่ค่อยมีใครอิจฉาใคร และคนที่เก่งจริงๆ เยี่ยมมากจริงก็ไม่ค่อยอิจฉากัน มีตัวอย่างจากข่าวครับ สัก 7-8 ปีที่แล้วมีนักเบสบอลญี่ปุ่นไปทำงานเป็นนักเบสบอลอาชีพที่อเมริกา ได้เงินค่าตัวเยอะมากมายมหาศาล ตอนนั้นไม่มีใครอิจฉาเขาหรืออิจฉากันและกันเท่าไหร่ เพราะคนมีฐานะความเป็นอยู่เท่ากัน แต่เขาเกิดมีอุบัติเหตุที่แขนมีผลต่อการเล่นกีฬา จึงต้องกลับมาญี่ปุ่น ได้รับเงินกับมาก้อนหนึ่งหลายร้อยล้านบาท กลับญี่ปุ่นมาแล้วก็มาเป็นที่ปรึกษาให้ทีมเบสบอลของจังหวัดหนึ่งในญี่ปุ่น เขาไม่ได้เล่นเบสบอลแล้วแต่ได้รับเงินจำนวนมากต่อปี แค่นี้ก็มีคนญี่ปุ่นขี้อิจฉานินทาซะจม ประมาณว่าไม่เห็นทำงานอะไรมากแค่เอาชื่อมาใส่ทีมและเป็นที่ปรึกษา สรุปว่าสังคมคนที่ขี้อิจฉาในปัจจุบันนี้คือสังคมคนทั่วไป ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก
คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ชอบดูข้อมูลคนอื่น เช่น มาจากไหน ทำอะไร จบที่ไหน แต่จะแอบๆ เพื่อนำไปหากลุ่ม หรือดีไม่ดีก็จับกลุ่มแกล้งกัน ในชีวิตจริงคนทั่วไปก็มักจะไม่ค่อยคุยเรื่องตัวเอง เพราะกลัวการโดนแกล้ง เช่น บางคนมีวิถีชีวิตที่หรูมาก แต่งงานกับคู่สมรสที่ดี ลูกเรียนโรงเรียนที่ค่าเทอมแพงมาก แต่เขาคนนั้นไม่เคยคุยเรื่องตัวเองและไม่คุยเรื่องคนอื่นๆ ผมคิดว่าเขาฉลาดมาก เเละเขาก็ค่อนข้างเข้าได้ทุกกลุ่ม
อย่างที่บอกไปว่าโดยรวมแล้วพื้นฐานสังคมคนญี่ปุ่นจะสร้างให้คนรู้สึกว่าคนในกลุ่ม ในสังคมนั้นๆ เท่าเที่ยมกัน แต่ที่จริงแล้วถ้าในกลุ่มหรือสังคมนั้นๆ มีคนที่ดูเหมือนจะได้ดีกว่าคนอื่น เขาอาจถูกสังคมแกล้ง หรือทำอะไรสักอย่างให้ลงมาเท่าๆ กัน เป็นอาการที่คล้ายๆ ดึงขาลงมา 足の引っ張り合い ( ไม่รู้ว่าเหมือน เลื่อยขาเก้าอี้ หรือเปล่านะครับ ) ขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ปกติคนที่จบมัธยมแล้วเข้าทำงานเลย เขาจะค่อยๆ ไต่เต้าตามประสบการณ์และอายุงานไปสู่ระดับงานที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ลักษณะเช่นนี้ เป็นที่ยอมรับในสังคมนั้นๆ แต่เกิดบังเอิญมีเด็กจบการศึกษาระดับสูงเข้ามาทำงานที่เดียวกัน แล้วอีกไม่กี่ปีก็ได้เลื่อนตำแหน่งมาสู่ระดับสูงขึ้น คนที่มาทีหลังเช่นนี้อาจถูกคนอื่นๆ ไม่ชอบ (หรืออิจฉาลึกๆ ตามสไตล์คนญี่ปุ่น ) และอาจถูกแกล้ง ได้
ยกตัวอย่างสุภาษิตที่เกี่ยวกับการอิจฉากันยังมีอีกมากมาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าสังคมญี่ปุ่นเป็นลักษณะเช่นนั้นจริงๆ อีกสุภาษิตหนึ่งบอกไว้ว่า 「隣に蔵立ちゃ儂ゃ腹が立つ」 คือ บ้านญี่ปุ่นสมัยก่อนเนี่ยจะมีบ้านใหญ่ แล้วในบริเวณบ้านอาจจะมีสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ที่ใช้เก็บของ นึกภาพบ้านซามูไร หรือบ้านเก่าๆ นะครับ ที่สุภาษิตบอกคือ ถ้าบ้านใครสร้างห้องเก็บของขึ้นมา ( สมัยก่อนเข้าใจว่าเอาไว้เก็บทองและของมีค่า ) คนข้างบ้านจะเกิดอาการร้อนรุ่มสุมใจ ! (゚Д゚)ハッ คงประมาณนั้นครับ
อีกสุภาษิตคือ 「隣の貧乏、鴨の味」ความหมายประมาณว่า ถ้าข้างบ้านยากจนลงละก็ (คนอื่นๆ)กินข้าวอร่อยเลย !....ズガーン. Σ(゚Д゚;≡;゚д゚) คนญี่ปุ่นน่ากลัวเนอะ แฮะๆ แต่อย่าไปคิดมากครับนั่นคือพฤติกรรมพื้นฐานทางสังคม แต่คนดีคนไม่ดีก็มีคละกันทุกที่ในโลก และการปฏิบัติต่อเพื่อนกัน หรือคนคุ้นเคยก็เป็นปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อพฤติกรรมคนด้วย อีกอย่างที่จริงคนญี่ปุ่นนิสัยดีเยอะ แต่เป็นชนชาติที่มีความเป็นส่วนตัวสูง และไม่ค่อยอยากเข้าไปยุ่งกับความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับคนอื่นๆ เพราะไม่อยากวุ่นวายและเกิดการอิจฉากลั่นแกล้งกันอย่างที่เขียนๆ เล่าไปข้างบนครับ ครั้งนี้อ่านแค่เป็นมุมมองความรู้ความเข้าใจนะครับ
ดังนั้นจะเห็นว่าด้วยลักษณะสังคมและนิสัยโดยรวมดังกล่าว ทำไมคนญี่ปุ่น จึงไม่ชอบมีการโพสต์ข้อความในสื่อโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค เรื่องส่วนตัวตนเองที่แสดงความรู้สึกดีใจมากเมื่อได้ไปเที่ยวที่ไหนๆ เมื่อได้กินของอร่อยๆ หรือทุกเรื่องที่เป็นการเปิดเผยตนเอง หรือเรื่องที่อาจทำให้คนอื่นเกิดความอิจฉา แล้วอาจเป็นผลกระทบย้อนกลับมาทำร้ายตนเอง เป็นต้น แต่ญี่ปุ่นสมัยใหม่ก็อาจเปลี่ยนไปบ้างนะครับ รุ่นอายุ 10-20 ปีไม่แน่ใจว่าเป็นอย่างไรนะครับ ไว้คราวหน้าผมจะมาเล่าเรื่องคนญี่ปุ่นกับเพื่อนต่างประเทศนะครับ วันนี้สวัสดีครับ