สวัสดีครับผม Mr.Leon มาแล้วครับ วันที่ผมเขียนคอลัมน์นี้อยู่ในช่วงวันหยุดสงกรานต์พอดี อากาศข้างนอกร้อนระอุมากจริงๆ นะครับ เกือบๆ จะ 40 องศากระมัง ซึ่งคงจะร้อนแบบนี้ไปอีกหลายเดือนเลย ร้อนๆ แบบนี้ลำบากนะครับจะไปไหนมาไหนก็รักษาสุขภาพกันด้วยครับ เพื่อนๆ ละครับร้อนไหม
ก่อนหน้านี้ทางสำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์ได้มีการคัดเลือกเรื่องน่าสนใจในคอลัมน์นี้ รวมออกมาเป็นหนังสือน่าอ่านที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 1 เมษายน ที่ผ่านมานี่เอง ถ้าเพื่อนๆ ท่านใดได้มีโอกาสไปเที่ยวงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ครั้งล่าสุดที่ผ่านมาอาจจะผ่านตาหนังสือของผมเรื่อง "จิบชานินทาญี่ปุ่น" ครับ เล่มนี้เหมาะมากสำหรับท่านที่มีความสนใจญี่ปุ่น ท่านที่มีเพื่อนหรือทำงานบริษัทญี่ปุ่น นักเรียนหรือนักท่องเที่ยวญี่ปุ่น ห้ามพลาดที่จะหามาเก็บไว้นะครับ สำหรับงานเปิดตัววันนั้นผมต้องขอขอบคุณผู้ให้การสนับสนุนและเพื่อนๆ นักอ่านทุกท่านจากใจอีกครั้งหนึ่งครับ
พูดถึงอีเว้นท์ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เดือนที่ผ่านมามีงานท่องเที่ยวและมีบูธประชาสัมพันธ์เชิญชวนท่องเที่ยวจากหลายๆ จังหวัดของญี่ปุ่นมาจัดร่วมงานด้วย มีการโชว์เอกลักษณ์และของดีท้องถิ่น จัดแคมเปญและโปรโมชั่นท่องเที่ยวมากมาย ผมเห็นแคมเปญเชิญชวนท่องเที่ยว 東京タワー( Tokyo Tower ) และ 東京スカイツリー( Tokyo Sky Tree ) ด้วย ก่อนที่ Tokyo Sky Tree จะสร้างเสร็จ ใครๆ ก็ต้องไปเที่ยวที่ Tokyo Tower เพื่อนๆ คงจำได้หอคอยโตเกียวสีแดงสวย สมัยที่ยังไม่มี Tokyo Sky Tree คนเที่ยวหอคอยโตเกียว Tokyo Tower เยอะจนแทบไหลไปตามฝูงชน ผมยังจำได้สมัยที่ผมเป็นเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา ผมและน้องสาวเคยไปเที่ยว Tokyo Tower ตอนนั้นคนเยอะมาก
ที่นั่นมีร้านลุงคนหนึ่งลุงรับทำ 切り絵 paper cut ( งานตัดกระดาษ ) ลุงวาดรูปและตัดกระดาษอย่างบรรจงเป็นรูปด้านข้างของน้องสาวผม เป็นความทรงจำที่ดีจริงๆ ครับ แม้แต่ตอนที่ผมเพิ่งเริ่มทำงานใหม่ๆ ผมก็ยังไปเที่ยว Tokyo Tower อยู่ ตอนนั้น Tokyo Sky Tree ยังไม่เปิดให้เข้าอย่างเป็นทางการ แน่นอนว่านักท่องเที่ยวและคนญี่ปุ่นเองยังคงเที่ยว Tokyo Tower กันเยอะมาก ยิ่งขึ้นไปข้างบนแล้วมองลงมาดูเมืองโตเกียวยามพลบค่ำจะเห็นโตเกียวที่งดงามมากจริงๆ
ความทรงจำเกี่ยวกับ Tokyo Tower ของผมยังงดงามเสมอ แม้ว่าเมื่อ Tokyo Sky Tree เปิดให้เที่ยวชมได้แล้ว Tokyo Tower คนจะน้อยลงมาก จนต้องมีการจัดแคมเปญและโปรโมชั่นร่วมกับบัตรเครดิตต่างๆ มากมาย อาทิเช่น ท่านที่ถือบัตรนี้ๆ จะได้เข้า Tokyo Tower ฟรี เป็นต้น ตอนที่ผมกลับญี่ปุ่นครั้งล่าสุดก็ว่าจะไปเที่ยวเหมือนกันแต่ไม่มีเวลาซะนี่
ที่งานท่องเที่ยวนี่เองผมเห็นพนักงานซึ่งน่าจะเป็นข้าราชการที่ทำงานในจังหวัดที่ผมเคยทำงานอยู่ ใส่เสื้อคลุมเขียนชื่อจังหวัดนั้น มีทั้งคนไทยและคนญี่ปุ่น ผมรู้สึกแปลกใจเล็กๆ เพราะเคยทำงานที่จังหวัดนี้ ตอนนั้นถามใครไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชายก็ดูเหมือนจะไม่มีใครเคยมาเที่ยวเมืองไทยเลย แต่ตอนนี้คนจากจังหวัดนี้มาเปิดบูธที่เมืองไทยล่ะครับ
อีกเรื่องที่รู้สึกแปลกใจคือ บูธประชาสัมพันธ์ของเมืองฮะมะมัตซึ (浜松市) เพราะผมเองคิดว่า สำหรับคนญี่ปุ่นเมืองฮะมะมัตซึ มีภาพลักษณ์เป็นเมืองเกี่ยวกับแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ เช่น การเพาะพันธุ์ปลาไหลที่ทะเลสาบฮะมะนะ (浜名湖 Hamana-Ko) และมีโรงงาน YAMAHA อยู่ที่นี่ด้วย ก่อนหน้านี้ครั้งหนึ่งผมเคยเดินทางโดยรถบัสจากสุไหงโกลกมาที่กรุงเทพ ระหว่างทางผ่านจังหวัดนครศรีธรรมราช ผมเห็นทะเลสาบแห่งหนึ่งสวยมาก ผมยังคิดว่าทะเลสาบที่ผมเห็นนี้ยังสวยกว่าทะเลสาบฮะมะนะอีกนะเนี่ย อย่างที่บอกไปว่าภาพที่คนญี่ปุ่นมองเมืองฮะมะมัตซึนั้นไม่ใช่เมืองที่มีภาพลักษณ์เรื่องการท่องเที่ยวนัก สำหรับคนไทยเองโอกาสที่จะไปเมืองนี้แบบไป 出張 Business Trip ยังมากกว่าไปท่องเที่ยวหรือเปล่า ดังนั้นพอได้เห็นพนักงานใส่เสื้อคลุมเพื่อประชาสัมพันธ์เมืองนี้ก็อดแปลกใจไม่ได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าเมืองนี้ไม่ดี ไม่ใช่ไม่น่าเที่ยว เมืองนี้มีผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงหลายอย่าง เช่น พายปลาไหล เป็นต้น
อีกเรื่องที่แปลกใจจริงๆ (รู้สึกจะแปลกใจมากไปล่ะผม) มีพนักงานที่สวมเสื้อคลุมประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเมือง A (ชื่อสมมุติ) ที่อยู่ภูมิภาคคันโต ( ใกล้จังหวัดโตเกียว ) ผมมีเรื่องคุยสนุกๆ กับเพื่อนแล้วล่ะครับ เมื่อกลับถึงบ้านจึงรีบยกหูโทรหาเพื่อนทันที
Mr.Leon :「เมื่อกี๊ผมไปงานประชาสัมพันธ์ท่องเที่ยวญี่ปุ่นมา เห็นมาเปิดบูธหลายจังหวัดเลยล่ะ ทั้งจังหวัดที่ผมเคยทำงานเอย อืม มีจากเมือง A ด้วยนะ !」
เพื่อน :「เมือง A อยู่จังหวัดอะไร อยู่จังหวัดโทะชิงิ ( 栃木県 ) เหรอ ?」
Mr.Leon:「ไม่น่าจะใช่นะ เมือง A อยู่จังหวัดกุมมะไม่ใช่เหรอ ?」σ(´ ∀` ; ) 三
ผมกับเพื่อนคุยกันไปมา คิดเหมือนกันว่า ถ้ามองในมุมมองคนญี่ปุ่น เมืองที่นำมาประชาสัมพันธ์แต่ละที่แปลกๆ ไกลๆ บางที่ผมยังไม่รู้จักเลย อย่างเมือง A ที่ว่า ทั้งคู่ยังไม่แน่ใจว่าที่จังหวัดไหน ต้องทำอย่างไรจึงจะเชิญชวนให้คนลงทุนซื้อตั๋วเครื่องบินไปเที่ยวที่นั่นๆ ได้เนี่ยในขณะที่จังหวัดเดียวกันนั้นอาจจะมีแหล่งท่องเที่ยวหลักที่คนทั่วไปรู้จักกันแพร่หลายแล้ว เช่น บูธเชิญชวนให้ไปเที่ยว สถานที่หนึ่งในจังหวัดที่ผมเคยทำงาน สถานที่นั้นเป็นเมืองที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 500 เมตร และมีภูเขาเตี้ยๆ เยอะ ขนาดผมเคยทำงานที่จังหวัดนั้น ผมยังไม่เคยไปเที่ยวเลย เพราะถ้าจะพูดไปจังหวัดนี้มีสถานที่อื่นที่เป็นที่น่าสนใจมากกว่า ผมถามเพื่อนดูว่าสนใจหรือเคยไปเที่ยวเขาที่ว่าไหม
เพื่อน : 「หืม.. ถ้าต้องตั้งใจเพื่อบินจากไทยไปเที่ยวใช่ไหม ? เมืองนี้อยู่ใกล้โตเกียว คงไปเที่ยวโตเกียวดีกว่ามั้ง เพราะมี Tokyo Sky Tree และ Disney Land ด้วย สนุกกว่า และมีเครื่องเล่นเยอะแยะไปหมด 」
ผมกับเพื่อนคุยกันไปหัวเราะเจื่อนๆ เกี่ยวกับสถานที่ที่มาเปิดบูธ พอวกเข้าเรื่องเมือง A ด้วยความที่อยากรู้ว่าอยู่จังหวัดใดแน่ก็เลยหาข้อมูลดู ปรากฏว่าเป็นไปตามที่เพื่อนผมบอกครับ เมือง A อยู่ที่จังหวัดโทะชิงิจริงๆ ด้วยครับ
ถ้าเดินทางจากโตเกียวไปจังหวัดโทะชิงิโดยรถยนต์น่าจะใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง เป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงเป็นเมืองน้ำพุร้อน มีเกี๊ยวซ่าอร่อย และเป็นที่ตั้งของศาลเจ้านิกโกโทโช (日光東照宮 Nikko Tou shou gu) ซึ่งได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลก สมัยเอโดะท่านโชกุนได้สร้างศาลเจ้านี้ไว้เพื่อระลึกถึงปู่ของตนเองที่ได้เสียชีวิตไปแล้ว ที่นี่เป็นที่นิยมของคนญี่ปุ่นมาก สมัยก่อนมีการเปรียบเปรยเป็นสุภาษิตว่า 「日光見ぬ馬鹿 二度見る馬鹿」ซึ่งมีหมายความว่า 「ถ้าไม่ไปเที่ยวที่นี่สักครั้งถือว่าพลาดมาก แต่ถ้าไปครั้งที่สองก็พลาดเช่นกัน 」ประมาณว่า ก่อนตายต้องไปเที่ยวที่เมืองนิกโกให้ได้สักครั้งหนึ่ง ..ตอนที่ผมทำงานอยู่ที่ญี่ปุ่นเคยวางแผนว่าจะไปเที่ยวค้างคืนที่เมืองนิกโก จังหวัดโทะชิงิ กับเพื่อน 4 คน แต่วันที่จะเดินทางมีพายุเข้าอย่างหนัก จึงต้องยกเลิกไปด้วยความเสียดาย ..
ทว่าบูธประชาสัมพันธ์ในครั้งนี้ไม่ใช่มาเชิญชวนให้ไปเที่ยวเมืองหลวงในจังหวัดโทะชิงิ และไม่ใช่เมืองนิกโก ถ้าลองเปรียบเทียบจากเมืองทั้งหมดในจังหวัดนี้ เมือง A น่าจะเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นลำดับ 3 - 4 แต่ก็ยังเป็นเมืองเล็กๆ ประชากรประมาณหนึ่งแสนห้าหมื่นคนเท่านั้น ถ้าถามว่าผมแปลกใจเกี่ยวกับการมาไทยเพื่อประชาสัมพันธ์เชิญชวนท่องเที่ยวเมืองนี้ขนาดไหน ผมขอยกตัวอย่างตามนี้ครับ ผมชอบโบราณสถานประเทศไทยมาก ไม่ว่าจะเป็นโบราณสถานที่ลพบุรี ศรีสัชนาลัย และอยากไปเที่ยวโบราณสถานแถบภาคอีสานดูสักครั้งครับ แต่เมืองที่มาเชิญไปเที่ยวกลับเป็นเมืองเล็กๆ แฝงตัวใกล้ๆ แหล่งโบราณสถานซึ่งไม่เคยรู้จักมาก่อน จะว่าน่าสนใจก็คงใช่แต่จะเสี่ยงไปดีไหมก็ยังคิดดูก่อน แล้วเพื่อนๆ ละครับสนใจไปลองเที่ยวดูไหม
ผมอยากรู้จังว่าเมือง A ได้มีการจัดงบประมาณค่าใช้จ่ายการจัดงานและตรวจสอบจำนวนผลลัพธ์ที่สามารถนำพาคนไทยไปเที่ยวได้กี่คนหนอ คือถ้าไม่มีเลยนั่นแสดงว่าติดลบ แต่อย่างไรก็ตามติดลบหรือไม่การทำงานในส่วนนี้ก็ไม่ถึงกับต้องเคร่งเครียดทำยอดหาลูกค้าเหมือนงานเอกชนอ่ะเนอะ แต่อย่างน้อยก็ทำให้ผมและคนอื่นๆ เกิดความสนใจเมือง A ขึ้นมาเหมือนกันนะเนี่ย..!!
เขาว่ากันว่าถ้าสถานที่ท่องเที่ยวใดที่สวยงามจริงๆ หรือสนุกมาก ถึงไม่พร่ำบอกไม่โฆษณา แต่ก็จะมีคนบอกต่อๆ กันและมาตามหามาเที่ยวที่นั่นเอง ดั่งเช่น วลีเปรียบเปรยที่ว่า 桃李もの言わざれども下自ら蹊を成す ความหมายประมาณว่า "ถ้าของนั้นดีจริง จะมีคนรู้ในที่สุด"
จากงานประชาสัมพันธ์งานท่องเที่ยวญี่ปุ่นนี้ ผมเลยลองสอบถามเพื่อนๆ ที่รู้จักกันว่า ถ้าผมยังไม่ลาออกจากงานข้าราชการ ผมจะได้มาเป็นเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ Dream Team แบบนี้ไหมเพราะผมพอพูดไทยได้ ทุกคนตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่มีทาง!!! ครั้งหน้าผมจะเล่าต่อเรื่องภาษีและข้าราชการที่มาออกบูธต่างประเทศครับ วันนี้สวัสดีครับ
ก่อนหน้านี้ทางสำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์ได้มีการคัดเลือกเรื่องน่าสนใจในคอลัมน์นี้ รวมออกมาเป็นหนังสือน่าอ่านที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 1 เมษายน ที่ผ่านมานี่เอง ถ้าเพื่อนๆ ท่านใดได้มีโอกาสไปเที่ยวงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ครั้งล่าสุดที่ผ่านมาอาจจะผ่านตาหนังสือของผมเรื่อง "จิบชานินทาญี่ปุ่น" ครับ เล่มนี้เหมาะมากสำหรับท่านที่มีความสนใจญี่ปุ่น ท่านที่มีเพื่อนหรือทำงานบริษัทญี่ปุ่น นักเรียนหรือนักท่องเที่ยวญี่ปุ่น ห้ามพลาดที่จะหามาเก็บไว้นะครับ สำหรับงานเปิดตัววันนั้นผมต้องขอขอบคุณผู้ให้การสนับสนุนและเพื่อนๆ นักอ่านทุกท่านจากใจอีกครั้งหนึ่งครับ
พูดถึงอีเว้นท์ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เดือนที่ผ่านมามีงานท่องเที่ยวและมีบูธประชาสัมพันธ์เชิญชวนท่องเที่ยวจากหลายๆ จังหวัดของญี่ปุ่นมาจัดร่วมงานด้วย มีการโชว์เอกลักษณ์และของดีท้องถิ่น จัดแคมเปญและโปรโมชั่นท่องเที่ยวมากมาย ผมเห็นแคมเปญเชิญชวนท่องเที่ยว 東京タワー( Tokyo Tower ) และ 東京スカイツリー( Tokyo Sky Tree ) ด้วย ก่อนที่ Tokyo Sky Tree จะสร้างเสร็จ ใครๆ ก็ต้องไปเที่ยวที่ Tokyo Tower เพื่อนๆ คงจำได้หอคอยโตเกียวสีแดงสวย สมัยที่ยังไม่มี Tokyo Sky Tree คนเที่ยวหอคอยโตเกียว Tokyo Tower เยอะจนแทบไหลไปตามฝูงชน ผมยังจำได้สมัยที่ผมเป็นเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา ผมและน้องสาวเคยไปเที่ยว Tokyo Tower ตอนนั้นคนเยอะมาก
ที่นั่นมีร้านลุงคนหนึ่งลุงรับทำ 切り絵 paper cut ( งานตัดกระดาษ ) ลุงวาดรูปและตัดกระดาษอย่างบรรจงเป็นรูปด้านข้างของน้องสาวผม เป็นความทรงจำที่ดีจริงๆ ครับ แม้แต่ตอนที่ผมเพิ่งเริ่มทำงานใหม่ๆ ผมก็ยังไปเที่ยว Tokyo Tower อยู่ ตอนนั้น Tokyo Sky Tree ยังไม่เปิดให้เข้าอย่างเป็นทางการ แน่นอนว่านักท่องเที่ยวและคนญี่ปุ่นเองยังคงเที่ยว Tokyo Tower กันเยอะมาก ยิ่งขึ้นไปข้างบนแล้วมองลงมาดูเมืองโตเกียวยามพลบค่ำจะเห็นโตเกียวที่งดงามมากจริงๆ
ความทรงจำเกี่ยวกับ Tokyo Tower ของผมยังงดงามเสมอ แม้ว่าเมื่อ Tokyo Sky Tree เปิดให้เที่ยวชมได้แล้ว Tokyo Tower คนจะน้อยลงมาก จนต้องมีการจัดแคมเปญและโปรโมชั่นร่วมกับบัตรเครดิตต่างๆ มากมาย อาทิเช่น ท่านที่ถือบัตรนี้ๆ จะได้เข้า Tokyo Tower ฟรี เป็นต้น ตอนที่ผมกลับญี่ปุ่นครั้งล่าสุดก็ว่าจะไปเที่ยวเหมือนกันแต่ไม่มีเวลาซะนี่
ที่งานท่องเที่ยวนี่เองผมเห็นพนักงานซึ่งน่าจะเป็นข้าราชการที่ทำงานในจังหวัดที่ผมเคยทำงานอยู่ ใส่เสื้อคลุมเขียนชื่อจังหวัดนั้น มีทั้งคนไทยและคนญี่ปุ่น ผมรู้สึกแปลกใจเล็กๆ เพราะเคยทำงานที่จังหวัดนี้ ตอนนั้นถามใครไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชายก็ดูเหมือนจะไม่มีใครเคยมาเที่ยวเมืองไทยเลย แต่ตอนนี้คนจากจังหวัดนี้มาเปิดบูธที่เมืองไทยล่ะครับ
อีกเรื่องที่รู้สึกแปลกใจคือ บูธประชาสัมพันธ์ของเมืองฮะมะมัตซึ (浜松市) เพราะผมเองคิดว่า สำหรับคนญี่ปุ่นเมืองฮะมะมัตซึ มีภาพลักษณ์เป็นเมืองเกี่ยวกับแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ เช่น การเพาะพันธุ์ปลาไหลที่ทะเลสาบฮะมะนะ (浜名湖 Hamana-Ko) และมีโรงงาน YAMAHA อยู่ที่นี่ด้วย ก่อนหน้านี้ครั้งหนึ่งผมเคยเดินทางโดยรถบัสจากสุไหงโกลกมาที่กรุงเทพ ระหว่างทางผ่านจังหวัดนครศรีธรรมราช ผมเห็นทะเลสาบแห่งหนึ่งสวยมาก ผมยังคิดว่าทะเลสาบที่ผมเห็นนี้ยังสวยกว่าทะเลสาบฮะมะนะอีกนะเนี่ย อย่างที่บอกไปว่าภาพที่คนญี่ปุ่นมองเมืองฮะมะมัตซึนั้นไม่ใช่เมืองที่มีภาพลักษณ์เรื่องการท่องเที่ยวนัก สำหรับคนไทยเองโอกาสที่จะไปเมืองนี้แบบไป 出張 Business Trip ยังมากกว่าไปท่องเที่ยวหรือเปล่า ดังนั้นพอได้เห็นพนักงานใส่เสื้อคลุมเพื่อประชาสัมพันธ์เมืองนี้ก็อดแปลกใจไม่ได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าเมืองนี้ไม่ดี ไม่ใช่ไม่น่าเที่ยว เมืองนี้มีผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงหลายอย่าง เช่น พายปลาไหล เป็นต้น
อีกเรื่องที่แปลกใจจริงๆ (รู้สึกจะแปลกใจมากไปล่ะผม) มีพนักงานที่สวมเสื้อคลุมประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเมือง A (ชื่อสมมุติ) ที่อยู่ภูมิภาคคันโต ( ใกล้จังหวัดโตเกียว ) ผมมีเรื่องคุยสนุกๆ กับเพื่อนแล้วล่ะครับ เมื่อกลับถึงบ้านจึงรีบยกหูโทรหาเพื่อนทันที
Mr.Leon :「เมื่อกี๊ผมไปงานประชาสัมพันธ์ท่องเที่ยวญี่ปุ่นมา เห็นมาเปิดบูธหลายจังหวัดเลยล่ะ ทั้งจังหวัดที่ผมเคยทำงานเอย อืม มีจากเมือง A ด้วยนะ !」
เพื่อน :「เมือง A อยู่จังหวัดอะไร อยู่จังหวัดโทะชิงิ ( 栃木県 ) เหรอ ?」
Mr.Leon:「ไม่น่าจะใช่นะ เมือง A อยู่จังหวัดกุมมะไม่ใช่เหรอ ?」σ(´ ∀` ; ) 三
ผมกับเพื่อนคุยกันไปมา คิดเหมือนกันว่า ถ้ามองในมุมมองคนญี่ปุ่น เมืองที่นำมาประชาสัมพันธ์แต่ละที่แปลกๆ ไกลๆ บางที่ผมยังไม่รู้จักเลย อย่างเมือง A ที่ว่า ทั้งคู่ยังไม่แน่ใจว่าที่จังหวัดไหน ต้องทำอย่างไรจึงจะเชิญชวนให้คนลงทุนซื้อตั๋วเครื่องบินไปเที่ยวที่นั่นๆ ได้เนี่ยในขณะที่จังหวัดเดียวกันนั้นอาจจะมีแหล่งท่องเที่ยวหลักที่คนทั่วไปรู้จักกันแพร่หลายแล้ว เช่น บูธเชิญชวนให้ไปเที่ยว สถานที่หนึ่งในจังหวัดที่ผมเคยทำงาน สถานที่นั้นเป็นเมืองที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 500 เมตร และมีภูเขาเตี้ยๆ เยอะ ขนาดผมเคยทำงานที่จังหวัดนั้น ผมยังไม่เคยไปเที่ยวเลย เพราะถ้าจะพูดไปจังหวัดนี้มีสถานที่อื่นที่เป็นที่น่าสนใจมากกว่า ผมถามเพื่อนดูว่าสนใจหรือเคยไปเที่ยวเขาที่ว่าไหม
เพื่อน : 「หืม.. ถ้าต้องตั้งใจเพื่อบินจากไทยไปเที่ยวใช่ไหม ? เมืองนี้อยู่ใกล้โตเกียว คงไปเที่ยวโตเกียวดีกว่ามั้ง เพราะมี Tokyo Sky Tree และ Disney Land ด้วย สนุกกว่า และมีเครื่องเล่นเยอะแยะไปหมด 」
ผมกับเพื่อนคุยกันไปหัวเราะเจื่อนๆ เกี่ยวกับสถานที่ที่มาเปิดบูธ พอวกเข้าเรื่องเมือง A ด้วยความที่อยากรู้ว่าอยู่จังหวัดใดแน่ก็เลยหาข้อมูลดู ปรากฏว่าเป็นไปตามที่เพื่อนผมบอกครับ เมือง A อยู่ที่จังหวัดโทะชิงิจริงๆ ด้วยครับ
ถ้าเดินทางจากโตเกียวไปจังหวัดโทะชิงิโดยรถยนต์น่าจะใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง เป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงเป็นเมืองน้ำพุร้อน มีเกี๊ยวซ่าอร่อย และเป็นที่ตั้งของศาลเจ้านิกโกโทโช (日光東照宮 Nikko Tou shou gu) ซึ่งได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลก สมัยเอโดะท่านโชกุนได้สร้างศาลเจ้านี้ไว้เพื่อระลึกถึงปู่ของตนเองที่ได้เสียชีวิตไปแล้ว ที่นี่เป็นที่นิยมของคนญี่ปุ่นมาก สมัยก่อนมีการเปรียบเปรยเป็นสุภาษิตว่า 「日光見ぬ馬鹿 二度見る馬鹿」ซึ่งมีหมายความว่า 「ถ้าไม่ไปเที่ยวที่นี่สักครั้งถือว่าพลาดมาก แต่ถ้าไปครั้งที่สองก็พลาดเช่นกัน 」ประมาณว่า ก่อนตายต้องไปเที่ยวที่เมืองนิกโกให้ได้สักครั้งหนึ่ง ..ตอนที่ผมทำงานอยู่ที่ญี่ปุ่นเคยวางแผนว่าจะไปเที่ยวค้างคืนที่เมืองนิกโก จังหวัดโทะชิงิ กับเพื่อน 4 คน แต่วันที่จะเดินทางมีพายุเข้าอย่างหนัก จึงต้องยกเลิกไปด้วยความเสียดาย ..
ทว่าบูธประชาสัมพันธ์ในครั้งนี้ไม่ใช่มาเชิญชวนให้ไปเที่ยวเมืองหลวงในจังหวัดโทะชิงิ และไม่ใช่เมืองนิกโก ถ้าลองเปรียบเทียบจากเมืองทั้งหมดในจังหวัดนี้ เมือง A น่าจะเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นลำดับ 3 - 4 แต่ก็ยังเป็นเมืองเล็กๆ ประชากรประมาณหนึ่งแสนห้าหมื่นคนเท่านั้น ถ้าถามว่าผมแปลกใจเกี่ยวกับการมาไทยเพื่อประชาสัมพันธ์เชิญชวนท่องเที่ยวเมืองนี้ขนาดไหน ผมขอยกตัวอย่างตามนี้ครับ ผมชอบโบราณสถานประเทศไทยมาก ไม่ว่าจะเป็นโบราณสถานที่ลพบุรี ศรีสัชนาลัย และอยากไปเที่ยวโบราณสถานแถบภาคอีสานดูสักครั้งครับ แต่เมืองที่มาเชิญไปเที่ยวกลับเป็นเมืองเล็กๆ แฝงตัวใกล้ๆ แหล่งโบราณสถานซึ่งไม่เคยรู้จักมาก่อน จะว่าน่าสนใจก็คงใช่แต่จะเสี่ยงไปดีไหมก็ยังคิดดูก่อน แล้วเพื่อนๆ ละครับสนใจไปลองเที่ยวดูไหม
ผมอยากรู้จังว่าเมือง A ได้มีการจัดงบประมาณค่าใช้จ่ายการจัดงานและตรวจสอบจำนวนผลลัพธ์ที่สามารถนำพาคนไทยไปเที่ยวได้กี่คนหนอ คือถ้าไม่มีเลยนั่นแสดงว่าติดลบ แต่อย่างไรก็ตามติดลบหรือไม่การทำงานในส่วนนี้ก็ไม่ถึงกับต้องเคร่งเครียดทำยอดหาลูกค้าเหมือนงานเอกชนอ่ะเนอะ แต่อย่างน้อยก็ทำให้ผมและคนอื่นๆ เกิดความสนใจเมือง A ขึ้นมาเหมือนกันนะเนี่ย..!!
เขาว่ากันว่าถ้าสถานที่ท่องเที่ยวใดที่สวยงามจริงๆ หรือสนุกมาก ถึงไม่พร่ำบอกไม่โฆษณา แต่ก็จะมีคนบอกต่อๆ กันและมาตามหามาเที่ยวที่นั่นเอง ดั่งเช่น วลีเปรียบเปรยที่ว่า 桃李もの言わざれども下自ら蹊を成す ความหมายประมาณว่า "ถ้าของนั้นดีจริง จะมีคนรู้ในที่สุด"
จากงานประชาสัมพันธ์งานท่องเที่ยวญี่ปุ่นนี้ ผมเลยลองสอบถามเพื่อนๆ ที่รู้จักกันว่า ถ้าผมยังไม่ลาออกจากงานข้าราชการ ผมจะได้มาเป็นเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ Dream Team แบบนี้ไหมเพราะผมพอพูดไทยได้ ทุกคนตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่มีทาง!!! ครั้งหน้าผมจะเล่าต่อเรื่องภาษีและข้าราชการที่มาออกบูธต่างประเทศครับ วันนี้สวัสดีครับ