xs
xsm
sm
md
lg

การแยกขยะที่ญี่ปุ่นยากแค่ไหน จึงมีคำอธิบายหลายภาษา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

สวัสดีครับผม Mr.Leon มาแล้ว

なんていうか、慣れるんですよね〜(´ ∀` ; ) คำนี้เนี้ยเป็นคำที่แปลว่า จะพูดยังไงดีล่ะ, มันคงเป็นสิ่งที่เคยชินกันไปซะแล้ว

ในญี่ปุ่น มีเว็บไซต์ที่มักจะเตือนให้คนญี่ปุ่นที่จะไปเที่ยวประเทศต่างๆ ระมัดระวังภัยอันตรายที่อาจได้รับจากประเทศนั้นๆ ที่เมืองไทยเขาก็มีเตือนว่าให้ระมัดระวังมิจฉาชีพและอาจมีขโมยขโจร แต่ปัจจุบันผมคงอยู่เมืองไทยจนชินไปแล้วละมังครับจึงไม่ค่อยตะหนกตกใจเหมือนครั้งที่มาเที่ยวแรกๆ ถึงบอกว่า なんていうか、慣れるんですよね〜(´ ∀` ; )

เมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่แล้ว ที่ผมมาเที่ยวเมืองไทยแรกๆ ผมเจอลุงตัวเล็กๆ คนหนึ่งมายืนดักหน้าผมที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ตอนนั้นผมไม่เข้าใจความหมายที่ลุงมายืนดัก แต่ผมคิดว่าแกมาขอไฟแช็กเพื่อสูบบุหรี่ หรือเปล่า!!... แต่ถ้าเป็นตอนนี้ผมเจอแบบนั้นอีกผมคงจะตอบไปว่า ขอโทษครับผมไม่สูบบุหรี่ ( "д")y─┛ หรือแกมาทำไม ใครรู้บ้าง..:)

อีกเรื่องสมัยที่มาไทยใหม่ๆ มีคนในชุดยูนิฟอร์มร้านอาหารฟาสฟู้ดชื่อย่อ K*C ขับรถมอเตอร์ไซด์มาจอดหน้าผม แล้วลงมายกมือไหว้ พูดประมาณ พี่ครับขอเงินให้ผมหน่อยได้ไหมครับ !! ตอนนั้นผมก็ยังไม่รู้ภาษาไทยเท่าไหร่แต่พอรู้ว่าขอเงินแน่ๆ ถ้าแบบนี้ที่ญี่ปุ่นจะแจ้งตำรวจทันทีแล้วคนที่ขอจะถูกจับด้วย ปัจจุบันเรื่องประมาณนี้ผมชินแล้วครับ
(^-^)

เมื่อเร็วๆ นี้เพื่อนผมเดินทางมาเที่ยวเมืองไทย แล้วเค้าถามผมว่าไกด์บุ๊คเขียนว่าไม่ควรทิ้งกระดาษทิชชู่ลงในชักโครก แต่ให้ทิ้งในถังขยะ เค้าถามว่าจริงไหม!? .... ผมก็ไม่ชัวร์แต่ก็บอกเค้าไปว่าก็ทิ้งในชักโครกได้นะ แต่เค้าคงกลัวสวมตัน เพราะคงเป็นเรื่องที่ยุ่งยากทีเดียว ก็เหมือนที่ผมมาแรกๆ ผมก็คิดว่าการทิ้งกระดาษทิชชู่ที่ถังขยะเป็นเรื่องสกปรกและไม่อยากทำแบบนี้เลย แต่อยู่ๆ ไปก็ชินแล้วครับ

พูดเรื่องขยะขึ้นมาผมก็ยังแยกทิ้งขยะที่บ้านอยู่นะ ขวด กระป๋อง ขยะทั่วไปหรือขยะอันตรายพวกถ่านไฟฉายที่ใช้แล้ว แต่ที่ญี่ปุ่นการแยกทิ้งขยะเป็นเรื่องที่เข้มงวดและทำจริงจังมากๆ ครับ ใครอยู่ญี่ปุ่นหรือเคยไปเที่ยวญี่ปุ่นคงทราบดีเรื่องการทิ้งขยะและการแยกประเภทขยะ
รายละเอียดส่วนหนึ่งในใบปลิวแนะนำการแยกขยะ
การใช้ชีวิตสำหรับคนต่างชาติในญี่ปุ่น ไม่มีใบปลิวสำหรับอธิบายเรื่องการใช้รถพยาบาล หรือการเรียกตำรวจ แต่มีใบปลิวอธิบายวิธีทิ้งขยะหลายภาษาครอบคลุมเกือบทุกชาติเลยครับ อย่างเช่นที่ จังหวัด Kanagawa มีใบปลิวถึง 9 ภาษา เมื่อก่อนตอนอยู่บ้านต่างจังหวัดที่ญี่ปุ่นบ้านผมจะเผาขยะเอง ผมจึงเคยชินว่าขยะบางอย่างที่เผาได้ก็นำไปเผาได้เลย พอผมเข้ามาเรียนมหาวิทยาลัยที่โตเกียวครั้งแรก ระบบการทิ้งขยะเปลี่ยนไป ที่โตเกียวไม่สามารถทิ้งขยะได้ทุกวัน เค้าแยกวันเก็บขยะว่าวันไหนมาเก็บขยะประเภทใด เพราะตอนแรกผมทิ้งกล่องเบนโตะที่ถังขยะหน้าหอพักทุกวันเพราะคิดว่าเค้าเก็บไปเผาทุกวัน จนหลังๆ ผมเห็นเจ้าของหอแยกกล่องเบนโตะที่ผมทิ้งไปทิ้งในถังที่เผาไม่ได้ ผมยังนึกเลยว่าเจ้าของหอเป็นนักแกะรอยรึเปล่าค้นถังขยะทุกวัน (^。^) ผมจึงรู้ว่ากฏการทิ้งขยะเข้มงวดจริงๆ และเรียนรู้ที่จะรักษากฏอย่างจริงจัง

นั่นเองผมจึงติดนิสัยการแยกขยะมาจนทุกวันนี้

พอเข้าทำงานจริงได้รู้จักความเข้มงวดของงานทิ้งขยะมากขึ้น มีทั้งขยะเผาได้ เผาไม่ได้ ขยะรีไซเคิล ขยะชิ้นใหญ่ หนังสือ กระดาษชนิดต่างๆ ยังต้องแยกเป็นอีก 4 ประเภท แค่นี้ก็เข้มงวดพอแล้ว ตอนแยกต้องใช้เวลาแยก แต่ก็ยังมีบางคนนะครับที่ไม่ใส่ใจ ป้าที่ทำความสะอาดตึกบางคน เอาขยะที่แยกไปแล้วไปปนกันอีกก็มี ที่พูดนี่ไม่ใช่ไม่ควรแยกขยะนะครับ แต่บางทีแยกแล้วเจอพวกที่เอาไปปนกันอีกนี่เหมือนที่แยกมามันไม่มีความหมายเลย

เพราะบางทีคนญี่ปุ่นเองยังไม่ทำตามกฏ จึงทำให้ทางราชการต้องออกเอกสารอธิบายวิธีการทิ้งขยะให้ชาวต่างชาติที่มาอาศัยที่ญี่ปุ่นทราบอย่างละเอียด ทั้งภาษาโปรตุเกส อังกฤษ จีน แต่เมืองที่ผมเคยอยู่ยังไม่เห็นภาษาไทยเลยนะ ไม่รู้เมืองอื่นๆมีเอกสารภาษาไทยไหม ถ้ามีแสดงว่าเมืองนั้นเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับการทิ้งขยะของคนไทยแล้วล่ะครับ

สำหรับราชการส่วนที่ดูแลเรื่องขยะ เค้าจะมีหลักการของเค้าเลยล่ะครับเช่น " พวกเราจะคอยดูขยะของคุณ" !!! น่ากลัวๆ (((((゚Д゚)))))

การแยกทิ้งขยะมีประโยชน์ต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อมจริงๆนะครับคนละเล็กละน้อย คนละไม้ละมือ มาร่วมมือกันครับ
กำลังโหลดความคิดเห็น