xs
xsm
sm
md
lg

14 มีนาคม วันเกิด อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


14 มีนาคม วันเกิด อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
14 มีนาคม วันเกิด อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
.
อัลแบร์ท ไอน์ชไตน์ หรือ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1879 – 18 เมษายน ค.ศ. 1955) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีชาวเยอรมันมาแต่โดยกำเนิด ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งในนักฟิสิกส์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล ไอน์สไตน์ได้เป็นที่รู้จักกันในการพัฒนาทฤษฎีสัมพัทธภาพ แต่เขายังมีส่วนสำคัญในการพัฒนาทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม ทฤษฎีสัมพัทธภาพและทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัมเป็นสองเสาหลักของฟิสิกส์สมัยใหม่ สูตรความสมมูลมวล–พลังงานของเขา E = mc2 ซึ่งเกิดจากทฤษฎีสัมพัทธภาพจึงได้รับการขนานนามว่า เป็น "สมการที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก" ผลงานของเขาได้เป็นที่รู้จักจากอิทธิพลที่มีต่อปรัชญาทางวิทยาศาสตร์ เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1921 "สำหรับทำหน้าที่ทางด้านฟิสิกส์ทฤษฏี" โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการค้นพบปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก ขั้นตอนสำคัญในการพัฒนาทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม ความสำเร็จทางปัญญาและความคิดริเริ่มของเขาส่งผลให้ "ไอน์สไตน์" กลายเป็นคำพ้องที่มีความหมายตรงกับคำว่า "จีเนียส"(อัจฉริยะ)
.
ในปี ค.ศ. 1905 ปีนั้นได้ถูกเรียกกันเป็นบางครั้งว่า annus mirabilis (ปีที่มหัศจรรย์) ไอน์สไตน์ได้ตีพิมพ์บทความถึงการค้นพบครั้งใหม่ถึงสี่ฉบับ สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงทฤษฏีปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก ซึ่งได้อธิบายถึงการเคลื่อนที่แบบบราวน์เป็นการนำเสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษและแสดงให้เห็นถึงความสมมูลมวล–พลังงาน ไอน์สไตน์คิดว่ากฏของกลศาสตร์คลาสสิคไม่อาจสอดคล้องกับสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้อีกต่อไป ซึ่งทำให้เขาพัฒนาทฤษฏีสัมพันธภาพพิเศษ จากนั้นเขาได้ขยายทฤษฏีสนามแรงโน้มถ่วง เขาได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ในปี ค.ศ. 1916 เป็นการนำเสนอทฤษฏีแรงโน้มถ่วง ในปี ค.ศ. 1917 เขาได้ใช้ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปเพื่อสร้างแบบจำลองโครงสร้างของจักรวาล เขายังคงจัดการกับปัญหาของกลศาสตร์เชิงสถิติและทฤษฎีควอนตัม ซึ่งนำไปสู่การอธิบายทฤษฎีอนุภาคและการเคลื่อนที่ของโมเลกุล นอกจากนี้เขายังตรวจสอบคุณสมบัติทางความร้อนของแสงและทฤษฎีควอนตัมของการแผ่รังสี ซึ่งเป็นรากฐานของทฤษฎีโฟตอนของแสง อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาต่อมาของอาชีพการงานของเขา เขาคิดค้นงานวิจัยอยู่สองอย่าง ซึ่งท้ายที่สุดแล้วก็ไม่ประสบความสำเร็จเลย งานแรก แม้ว่าเขาจะมีส่วนอย่างมากในกลศาสตร์ควอนตัม เขาไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีของกลศาสตร์ควอนตัมที่พัฒนามาในภายหลังโดยปฏิเสธว่า ธรรมชาติ "จะไม่ทอยลูกเต๋า" งานที่สอง เขาได้พยายามคิดค้นทฤษฎีสนามรวม โดยสรุปทฤษฎีความโน้มถ่วงทางเรขาคณิตเพื่อรวมเข้ากับทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นผลทำให้เขาตีตัวออกห่างจากกระแสหลักของฟิสิกส์สมัยใหม่มากขึ้นเรื่อย ๆ
.
ไอน์สไตน์เกิดในจักรวรรดิเยอรมันแต่ย้ายไปอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 1895 ได้ละทิ้งสัญชาติเยอรมัน (เป็นเรื่องของราชอาณาจักรเวือร์ทเทิมแบร์ค) ภายหลังปีต่อมา ในปี ค.ศ. 1897 เมื่อมีอายุได้ 17 ปี เขาได้สมัครเรียนหลักสูตรการสอนคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ระดับอนุปริญญาที่โรงเรียนสารพัดช่างแห่งสหพันธรัฐสวิสเซอร์แลนด์(ภายหลังถูกเปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในซูริก) ในเมืองซูริก ซึ่งจบการศึกษาในปี ค.ศ. 1900 ในปี ค.ศ. 1901 เขาได้รับสัญชาติสวิส ซึ่งเขาได้เก็บเอาไว้ตลอดชีวิตที่เหลืออยู่ และในปี ค.ศ. 1903 เขาได้ดำรงตำแหน่งอย่างถาวรที่สำนักงานสิทธิบัตรสวิสในกรุงเบิร์น ในปี ค.ศ. 1905 เขาได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยซูริก ในปี ค.ศ. 1914 ไอน์สไตน์ได้ย้ายไปยังกรุงเบอร์ลินตามคำสั่งในการเข้าร่วมกับสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งปรัสเซียและมหาวิทยาลัยฮุมบ็อลท์แห่งเบอร์ลินในปี ค.ศ. 1917 ไอน์สไตน์ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสถาบันฟิสิกส์ไคเซอร์วิลเฮล์ม เขายังได้กลายเป็นพลเมืองชาวเยอรมันอีกครั้ง - ปรัสเซียในช่วงเวลานั้น ในปี ค.ศ. 1933 ในขณะที่ไอน์สไตน์ได้ไปเยือนที่สหรัฐอเมริกาอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ก็ก้าวขึ้นสู่อำนาจ ไอน์สไตน์ไม่ได้เดินทางกลับเยอรมนีเพราะเขาค้ดค้านนโยบายของรัฐบาลที่นำโดยนาซีซึ่งได้รับเลือกตั้งขึ้นมาใหม่ เขาได้ตั้งรกรากในสหรัฐอเมริกาและกลายเป็นพลเมืองชาวอเมริกันในปี ค.ศ. 1940 ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้เขียนจดหมายไปถึงประธานาธิบดีสหรัฐแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์เพื่อย้ำเตือนเขาถึงโครงการอาวุธนิวเคลียร์ของเยอรมนีที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และแนะนำให้สหรัฐเริ่มทำการวิจัยโครงการแบบเดียวกัน ไอน์สไตน์ได้ให้การสนับสนุนแก่ฝ่ายสัมพันธมิตรแต่ส่วนใหญ่ก็ประณามแนวคิดเรื่องอาวุธนิวเคลียร์
.
ในช่วงปลายทางของชีวิตไอน์สไตน์พยายามคิดค้นทฤษฎีที่จะสามารถอธิบายแรงพื้นฐานธรรมชาติทุกชนิดได้ภายในทฤษฏีเดียวเรียกว่าทฤษฎีสนามรวม (Unified field theory) แต่ไม่สำเร็จ วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2498 อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) นักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ 20 เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวาย ที่เมืองพรินซ์ตัน รัฐนิวเจอร์ซี สหรัฐอเมริกา ด้วยวัย 76 ปี ทฤษฎีในฝันของไอน์สไตน์คงต้องรอยอดอัจฉริยะคนใหม่มาสานงานต่อให้ลุล่วง แต่ผลงานของเขานั้นมากมายและยิ่งใหญ่มากแทบไม่น่าเชื่อว่ามนุษย์คนหนึ่งจะทำได้
.
#ไอน์สไตน์


กำลังโหลดความคิดเห็น