1. อย่าหลงคารมคำโฆษณาว่าเป็น "น้ำตาลสุขภาพ" เพราะไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลชนิดใดก็ล้วนให้พลังงานเท่ากัน
2. รับประทานผลไม้แทนขนมหวาน เพราะผลไม้มีวิตามิน แร่ธาตุ และมีเส้นใยอาหารที่ช่วยลด หรือชะลอการดูดซึมน้ำตาล และคาร์โบไฮเดรตซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอ้วน แต่ควรจำกัดปริมาณเพียงวันละ 2 อุ้งมือ เพราะในผลไม้ก็มีน้ำตาลอยู่ด้วย และเลี่ยงดื่มน้ำผลไม้ เพราะจะได้รับน้ำตาลมากเกินความต้องการ
ขนมหวาน
3. ลดหรือกำจัดคาร์โบไฮเดรตแปรรูป จำพวกขนมปังและเบเกอรี ซึ่งจะเปลี่ยนไปเป็นน้ำตาลในเลือดได้เร็วพอ ๆ กับการกินกลูโคส นอกจากนี้คาร์โบไฮเดรตที่เหลือใช้จะถูกเก็บสะสมเป็นไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นไขมันที่ร่างกายเก็บเป็นเสบียง
4. ระวังของว่างไร้ไขมัน จากความเชื่อผิด ๆ ที่ว่า ถ้าอาหารไร้ไขมันจะไม่ทำให้อ้วน ความจริงอาหารไร้ไขมันยังมีน้ำตาลและปริมาณแคลอรีสูง
5. อ่านฉลากอาหารเพื่อค้นหาน้ำตาลและไขมันไม่ดี สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน อาจใช้สารความหวานชนิดที่ให้พลังงานต่ำ ซึ่งมักระบุไว้บนฉลากว่า "ปราศจากน้ำตาล" หรือ "sugar free"
ขนมหวาน
6. ระวังการใช้สารให้ความหวานเทียม หรือสารทดแทนความหวานมากเกินควร เพราะอาจทำให้ร่างกายมีความอยากน้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรตมากขึ้น
7. คำนวณปริมาณน้ำตาล โดยอ่านข้อมูลโภชนาการที่แสดงปริมาณน้ำตาลทั้งหมดเป็นกรัมแล้วหารด้วย 4 จะได้เท่ากับจำนวนน้ำตาลที่กินเข้าไปเป็นช้อนชา