โดยหลังจากที่กรมจัดทำโครงการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายตั้งแต่ปี 2542 อัตราการฆ่าตัวตายลดลงจากปีละ 5,700 ราย หรือคิดเป็น 8 ต่อประชากรแสนคน เหลือเพียง 5.9 ต่อประชากรแสนคนในปี 2553 หรือ 3,761 รายต่อปี เฉลี่ยวันละ 10 ราย โดยเพศชายมีอัตราฆ่าตัวตายอยู่ที่ 9.29 ต่อประชากรแสนคน สูงกว่าเพศหญิงที่มีอัตราอยู่ที่ 2.62 ต่อประชากรแสนคน
นพ.อภิชัย ชี้แจงว่า เมื่อจำแนกตามช่วงอายุในกลุ่มเพศชาย พบว่า กลุ่มอายุ 80-84 ปี มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุด อยู่ที่ 10.73 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาเป็นกลุ่มอายุ 75-79 ปี อยู่ที่ 10.19 ต่อประชากรแสนคน ตามด้วยอายุ 70-74 ปี 8.37 ต่อประชากรแสนคน โดยภาคเหนือตอนบนเป็นพื้นที่ที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุด
โดย 5 จังหวัดแรกที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุด ได้แก่ ลำพูน เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน และเชียงใหม่ อยู่ที่ 20.02, 15.63, 14.45, 13.03 และ 12.47 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ
สำหรับ 5 จังหวัดที่มีอัตราต่ำสุด ได้แก่ จ.ปัตตานี หนองคาย นราธิวาส ยะลา และพิจิตร อยู่ที่ 0.77, 1.76, 1.77, 1.86 และ 2.17 ต่อประชากรแสนคน
ทั้งนี้ วิธีการฆ่าตัวตายสำเร็จมากที่สุด ได้แก่
การแขวนคอ/รัดคอ ร้อยละ 66.42
พิษจากยาฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ ร้อยละ 19.81
พิษจากยา ตัวยา และสารชีวภาพอื่น ร้อยละ 4.28
สารเคมีและสารพิษ ร้อยละ 3.67
กระสุนปืนร้อยละ 3.11
อื่น ๆ ร้อยละ 2.71