สธ.หนุนออก พ.ร.บ.เชื้อโรคฯ ฉบับใหม่ บังคับหน่วยงานรัฐทั้งหมดต้องขออนุญาตครอบครองเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ หวั่นกระทบความมั่นคงของประเทศ เผยแม้ยังแก้กฎหมายไม่ได้ แต่ต้องมีการควบคุมมาตรฐานก่อน เช่น การขนส่งเชื้อโรค
วันนี้ (8 พ.ค.) เมื่อเวลา 09.00 น.ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิด “โครงการสัมมนาความรู้ด้านการขนส่งเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์” ว่า ปัจจุบันสถานการณ์สุขภาพทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลง คือมีเชื้อโรคใหม่ๆ เกิดขึ้น เชื้อโรคเดิมที่อุบัติซ้ำ หรือพิษจากสัตว์ก็มีการนำมาใช้ในเรื่องของความงาม เช่น โบท็อกซ์ แต่ก็มีการควบคุมโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ที่สำคัญคือหน่วยงานรัฐทุกแห่งสามารถนำเข้าเชื้อโรคและพิษจากสัตว์เองได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต อาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องความมั่นคงในประเทศ ถ้ามีการวางมาตรการตรวจสอบและควบคุม ก็จะทราบว่าใครนำอะไรเข้าประเทศมาบ้าง สถานการณ์การสต๊อกเชื้อโรคเป็นอย่างไร จะมีการควบคุมและเก็บรักษาอย่างไรไม่ให้เชื้อโรครั่วไหล
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ได้มีการร่าง พ.ร.บ.เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ฉบับใหม่ขึ้น เพื่อให้องค์กรที่ครอบครองเชื้อโรค โดยเฉพาะหน่วยงานรัฐอยู่ภายใต้กฎหมายนี้ โดยมีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นผู้ดูแล เพื่อให้การดำเนินการต่างๆ เป็นไปอย่างปลอดภัย ไม่มีการนำไปใช้ในทางที่ผิด รวมไปถึงเรื่องการขนส่งเชื้อโรคด้วย
“การสัมมนาในวันนี้เป็นการเริ่มต้นด้วยปัญหาพื้นฐาน เมื่อกฎหมายยังแก้ไขไม่ได้ก็ต้องมาควบคุมมาตรฐานก่อน เช่น เรื่องการขนส่งเชื้อโรคไปยังที่ต่างๆ การเก็บดูแล เป็นต้น ส่วนเรื่องการลักลอบนำเข้านั้น ทุกวันนี้หน่วยงานรัฐก็สามารถนำเข้ามาได้โดยไม่ต้องขออนุญาต จึงไม่น่าจะมีการลักลอบอะไร ซึ่งตรงนี้เป็นปัญหาหลักเพราะรัฐจะไม่รู้อะไรเลยว่าใครนำอะไรเข้ามาในประเทศ ยกเว้นเอกชนที่ต้องแจ้งอยู่แล้ว เช่น แลคโตบาซิลัสในนมเปรี้ยวต่างๆ ก็มีการขออนุญาตนำเข้าในเชิงการค้า” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทย์ได้ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.เชื้อโรคฯ ให้เป็นฉบับที่เป็นประโยชน์สูงสุด โดยเน้นให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ มีความรับผิดชอบต่อสาธารณะ ในการครอบครอง ผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออกหรือนำผ่านเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ที่ต้องมีระบบเหมาะสมเทียบเคียงนานาชาติ โดยมีการจัดระดับความรุนแรงของเชื้อโรคไว้ด้วยในการพิจารณาออกใบอนุญาตการครอบครองเชื้อโรค ว่าระดับความรุนแรงใดจะต้องพิจารณาระดับมาตรฐานความปลอดภัยของห้องแล็บด้วย และคุณสมบัติที่จำเป็นของบุคลากรที่รับผิดชอบให้สอดคล้องเหมาะสม
“กฎหมายฉบับนี้จะทำให้รู้ว่าเชื้อโรคระดับความรุนแรงใดอยู่ในห้องแล็บที่ไหนบ้าง มีการวิจัยเรื่องอะไร และมีความปลอดภัยต่อสาธารณะหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมากรมวิทย์ได้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้และหลักการให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นคงปลอดภัยภายในและภายนอกองค์กร รวมถึงสร้างความปลอดภัยให้ประชาชน โดยครั้งนี้จะเป็นการให้ความรู้เรื่องการบังคับใช้กฎหมาย ชนิดของบรรจุภัณฑ์และวิธีการขนส่งเชื้ออันตรายและสารชีวภาพ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการขนส่งเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ซึ่งจะทำให้หน่วยงานที่มีการผลิต ครอบครอง จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ มีระบบบริหารความปลอดภัยและความมั่นคงด้านการขนส่งเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ตามกฎหมายและหลักปฏิบัติสากล” อธิบดีกรมวิทย์ กล่าว
วันนี้ (8 พ.ค.) เมื่อเวลา 09.00 น.ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิด “โครงการสัมมนาความรู้ด้านการขนส่งเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์” ว่า ปัจจุบันสถานการณ์สุขภาพทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลง คือมีเชื้อโรคใหม่ๆ เกิดขึ้น เชื้อโรคเดิมที่อุบัติซ้ำ หรือพิษจากสัตว์ก็มีการนำมาใช้ในเรื่องของความงาม เช่น โบท็อกซ์ แต่ก็มีการควบคุมโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ที่สำคัญคือหน่วยงานรัฐทุกแห่งสามารถนำเข้าเชื้อโรคและพิษจากสัตว์เองได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต อาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องความมั่นคงในประเทศ ถ้ามีการวางมาตรการตรวจสอบและควบคุม ก็จะทราบว่าใครนำอะไรเข้าประเทศมาบ้าง สถานการณ์การสต๊อกเชื้อโรคเป็นอย่างไร จะมีการควบคุมและเก็บรักษาอย่างไรไม่ให้เชื้อโรครั่วไหล
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ได้มีการร่าง พ.ร.บ.เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ฉบับใหม่ขึ้น เพื่อให้องค์กรที่ครอบครองเชื้อโรค โดยเฉพาะหน่วยงานรัฐอยู่ภายใต้กฎหมายนี้ โดยมีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นผู้ดูแล เพื่อให้การดำเนินการต่างๆ เป็นไปอย่างปลอดภัย ไม่มีการนำไปใช้ในทางที่ผิด รวมไปถึงเรื่องการขนส่งเชื้อโรคด้วย
“การสัมมนาในวันนี้เป็นการเริ่มต้นด้วยปัญหาพื้นฐาน เมื่อกฎหมายยังแก้ไขไม่ได้ก็ต้องมาควบคุมมาตรฐานก่อน เช่น เรื่องการขนส่งเชื้อโรคไปยังที่ต่างๆ การเก็บดูแล เป็นต้น ส่วนเรื่องการลักลอบนำเข้านั้น ทุกวันนี้หน่วยงานรัฐก็สามารถนำเข้ามาได้โดยไม่ต้องขออนุญาต จึงไม่น่าจะมีการลักลอบอะไร ซึ่งตรงนี้เป็นปัญหาหลักเพราะรัฐจะไม่รู้อะไรเลยว่าใครนำอะไรเข้ามาในประเทศ ยกเว้นเอกชนที่ต้องแจ้งอยู่แล้ว เช่น แลคโตบาซิลัสในนมเปรี้ยวต่างๆ ก็มีการขออนุญาตนำเข้าในเชิงการค้า” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทย์ได้ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.เชื้อโรคฯ ให้เป็นฉบับที่เป็นประโยชน์สูงสุด โดยเน้นให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ มีความรับผิดชอบต่อสาธารณะ ในการครอบครอง ผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออกหรือนำผ่านเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ที่ต้องมีระบบเหมาะสมเทียบเคียงนานาชาติ โดยมีการจัดระดับความรุนแรงของเชื้อโรคไว้ด้วยในการพิจารณาออกใบอนุญาตการครอบครองเชื้อโรค ว่าระดับความรุนแรงใดจะต้องพิจารณาระดับมาตรฐานความปลอดภัยของห้องแล็บด้วย และคุณสมบัติที่จำเป็นของบุคลากรที่รับผิดชอบให้สอดคล้องเหมาะสม
“กฎหมายฉบับนี้จะทำให้รู้ว่าเชื้อโรคระดับความรุนแรงใดอยู่ในห้องแล็บที่ไหนบ้าง มีการวิจัยเรื่องอะไร และมีความปลอดภัยต่อสาธารณะหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมากรมวิทย์ได้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้และหลักการให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นคงปลอดภัยภายในและภายนอกองค์กร รวมถึงสร้างความปลอดภัยให้ประชาชน โดยครั้งนี้จะเป็นการให้ความรู้เรื่องการบังคับใช้กฎหมาย ชนิดของบรรจุภัณฑ์และวิธีการขนส่งเชื้ออันตรายและสารชีวภาพ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการขนส่งเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ซึ่งจะทำให้หน่วยงานที่มีการผลิต ครอบครอง จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ มีระบบบริหารความปลอดภัยและความมั่นคงด้านการขนส่งเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ตามกฎหมายและหลักปฏิบัติสากล” อธิบดีกรมวิทย์ กล่าว