โดยไตจะทำงานเกี่ยวข้องกับความเค็มโดยตรง ซึ่งไตจะเป็นอวัยวะสำหรับปรับโซเดียมในร่างกายให้สมดุล ถ้าโซเดียมในร่างกายมากเกินไป ไตก็จขับออกทางปัสสาวะ แต่ถ้าน้อยเกินไป ไตก็จะดูดโซเดียมกลับไปสู่กระแสเลือดได้ ดังนั้นเมื่อไตทำงานผิดปกติก็จะไม่สามารถขับเกลือออกจากเลือดได้ ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นทำงานหนักขึ้น เพราะความดันเลือดสูงขึ้นด้วย และถ้าไม่แก้ไขปล่อยให้ หัวใจทำงานหนักมากขึ้นเรื่อยๆ จะมีผลให้เกิดหัวใจวาย ได้
เกลือในชีวิตประจำวัน
ในชีวิตประจำวัน พบว่ามีการใช้เกลือกันอย่างมากมาย ทั้งในเครื่องดื่ม , ขนม , บะหมี่กึ่งสำเร็จ รูป ฯลฯ
ในการปรุงอาหาร ต่างๆ มักมีเกลือเป็นส่วนประกอบเสมอ รวมทั้งในเครื่องปรุงรสชนิดต่างๆ อาจจะเป็นเกลือซ่อนอยู่ เช่น ในผงฟู , ผงชูรส , น้ำปลา , ซีอิ้ว , กะปี , ซอสถั่วเหลืองฯลฯ
ใน ผลไม้ ดอง ต่างๆ เช่น มะม่วงดอง, บ๊วยเค็ม, ผักกาดดอง ฯลฯ
กินเค็มแค่ไหนถึงจะพอดี
องค์การอนามัยโลก ได้แนะนำให้บริโภคเกลือไม่เกิน 6 กรัม หรือประมาณเกลือ 1 ช้อนชา
ประโยชน์จากการกินเค็ม
ปรับความดันโลหิต กินเค็มอย่างเหมาะสมจะช่วยในการปรับระดับความดันโลหิตในเกณที่เหมาะสม ไม่ต้ำเกินไป
ช่วยเพิ่มความอยากรับประทานอาหาร รสเค็มช่วยเพิ่มความอยากรับประทานอาหาร
ช่วยปรับระดับเกลือแร่ในร่างกายให้สมดุล
โทษจากการกินเค็ม / ภัยจากการกินเค็ม
โรคไต ไตจะเริ่มทำงานผิดปกติจากการกินเค็มมาก ทำให้กำจัดเกลือออกจากร่างกายได้ไม่หมด
ความดันโลหิตสูง เมื่อเกลือออกจากร่างกายได้ไม่หมดทำให้เกลืออยู่ในกระแสเลือดเกิดความดันโลหิตสูง
โรคหัวใจ เมื่อเกิดความดันโลหิตสูง ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น(เต้นเร็วขึ้น) ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการหัวใจวาย