xs
xsm
sm
md
lg

"องค์กรสื่อพม่า" ผนึกกำลังออกแถลงการณ์ยืนยันเสรีภาพในการเสนอข่าวรัฐประหาร

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



MGR Online - สำนักข่าวอิสระกว่า 50 แห่งในพม่า รวมตัวออกแถลงการณ์ตอบโต้คำเตือนของคณะรัฐประหาร ที่จำกัดถ้อยคำในการเสนอข่าว อ้างหลักสิทธิมนุษยชนสากล ยืนยันมีเสรีในการใช้คำเรียกรัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจ

เย็นวานนี้ (25 ก.พ.) สำนักข่าวอิสระจากส่วนกลาง ที่มีผู้สื่อข่าวประจำอยู่ในทุกรัฐและทุกภาคของพม่า ได้ร่วมกันออกแถลงการณ์ ยืนยันเสรีภาพในการนำเสนอข่าวการรัฐประหารในพม่า

แถลงการณ์มี 5 ข้อ อ้างถึงคำสั่งของรัฐมนตรีกระทรวงสารสนเทศ ที่ถูกแต่งตั้งโดยสภาบริหารแห่งรัฐ ซึ่งส่งถึงสื่อทุกแห่งเมื่อวันที่ 13 และ 23 กุมภาพันธ์ ที่ห้ามสื่อใช้คำว่า “รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร” หรือ “ระบอบเผด็จการทหาร” หรือ “สภากองทัพ” ในการรายงานข่าว โดยระบุว่า กองทัพมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2551 ที่จะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและรับถ่ายโอนการบริหารมาไว้ในมือได้

หากสื่อใดฝ่าฝืนยังคงใช้คำเหล่านี้ในการเสนอข่าว จะมีความผิดตามมาตราที่ 8 ของกฎหมายสื่อ และมาตราที่ 9 ของกฎหมายสิ่งพิมพ์ เป็นการกระทำที่ผิดจรรยาบรรณ มีผลให้ถูกสั่งปิดและถูกดำเนินคดีทางอาญาได้

ในแถลงการณ์ของกลุ่มสำนักข่าวระบุว่า คำสั่งของรัฐมนตรีกระทรวงสารสนเทศฉบับนี้ ขัดแย้งและทำลายสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข่าวของสื่อ ซึ่งถูกบัญญัติไว้ในมาตราที่ 354(A) ของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2551 และในมาตราที่ 4(A) ของกฎหมายสื่อ

แถลงการณ์ร่วมของสำนักข่าวอิสระจากส่วนกลางกว่า 40 แห่ง ยืนยันสิทธิเสรีภาพในการใช้ถ้อยคำ สำหรับนำเสนอข่าวการรัฐประหาร
สื่อทุกสำนักที่ร่วมออกแถลงการณ์ฉบับนี้ ยืนยันถึงสิทธิในการนำเสนอข่าว และเสรีภาพในการใช้ถ้อยคำใดๆ ในการเสนอข่าวของตน
โดยสื่อที่ลงนามในท้ายคำแถลงการณ์นี้ มีประมาณ 40 สำนัก เช่น
- The 74 Media
- 7 Day News
- Ayeyarwaddy Times
- Dakkhina Insight
- Dawei Watch
- DNA (Delta News Agency)
- DVB
- Eleven Media Group
- Frontier Myanmar
- The Irrawaddy
- Mizzima
(ดูเพิ่มเติมจากภาพประกอบ)






ต่อมาในตอนค่ำ สำนักข่าวของกลุ่มชาติพันธุ์อีกประมาณ 10 แห่ง ก็ได้มีแถลงการณ์ที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันออกมาสำทับ โดยระบุว่าคำสั่งของรัฐมนตรีกระทรวงสารสนเทศ กระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข่าวของสื่อโดยตรง

สื่อชาติพันธุ์ที่ร่วมออกแถลงการณ์ ประกอบด้วย
- สำนักข่าว Shan News
- สำนักข่าว Tachileik
- สำนักข่าว Kanbawza Tai News
- สำนักข่าว Eastern Review
- สำนักข่าว Mekong News
(ดูเพิ่มเติมจากภาพประกอบ)

สำนักข่าว Shan News มีรายงานว่า หลังการรัฐประหาร ตัวแทนสื่อที่เข้าร่วมเป็นกรรมการในสภาสื่อของพม่า ซึ่งมีอยู่จำนวน 26 คน ขณะนี้ได้ถอนตัวจากการเป็นกรรมการแล้ว 24 คน.

แถลงการณ์ของสื่อชาติพันธุ์อีก 10 แห่ง ยืนยันเจตนารมณ์เดียวกัน



คำสั่งของรัฐมนตรีกระทรวงสารสนเทศ พม่า




กำลังโหลดความคิดเห็น