xs
xsm
sm
md
lg

เขมรแชร์กันหนักในโลกออนไลน์.. "พล.อ.เตีย บัญ" รมว.กลาโหมสิ้นลมในปักกิ่ง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>ภาพจากสำนักข่าวดืมอัมปึล -- พล.อ.เตีย บัญ เมื่อครั้งไปตรวจสุขภาพ ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง เป็นอีกภาพหนึ่งที่ถูกนำขึ้นโพสต์ประกอบข่าวเท็จ เมื่อวันพุธพร้อมอีกภาพหนึ่ง ขณะนอนบนเตียง แต่นำภาพหวีกล้วยไปซ้อนทับ ไว้ในตำแหน่งปลายเท้า อันเป็นการไว้อาลัยผู้ตาย ก็ยิ่งทำให้ข่าวลือชิ้นนี้แพร่สะพัดออกไปอย่างรวดเร็ว. </a>

MGR ออนไลน์ -- ได้เกิดมีข่าวเล่าลือแพร่สะพัดในโลกออนไลน์ของชาวกัมพูชา เมื่อไม่กี่วันมานี้ เกี่ยวกับการเสียชีวิตของ พล.อ.เตีย บัญ ขุนพลคู่ใจนายกรัฐมนตรีกัมพูชาชาฮุนเซน ที่อยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหม มายาวนานคู่ผู้นำรัฐบาล -- แต่ปรากฎว่าเป็นข่าวเท็จ หรือ "ข่าวปลอม" ที่มีต้นตอจากเฟซบุ๊ก ของอดีตพระสงฆ์ฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลผู้หนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันลี้ภัยอยู่ในประเทศสวีเดน

แต่กรณีนี้ก็ไม่ได้เป็นข่าวลือเพียงกรณีเดียว ที่มุ่งตอกลิ่มความขัดแย้งระหว่างกองทัพกับรัฐบาล ที่นายกรัฐมนตรีประกาศจะอยู่ในตำแหน่งต่อไปอีก 10 ปี หลังครองเก้าอี้ติดต่อกันมาแล้ว 32 ปีไม่มีขาดช่วง และ กำลังทำทุกวิถีทาง เพื่อให้ได้เสียงข้างมากนั่งเก้าอี้ต่อไปอีก 1 สมัยเป็นเวลา 5 ปี หลังการเลือกตั้งทั่วไป ในเดือน ก.ค.ปีนี้

ตามรายงานของ "ดืมอัมปึล" สำนักข่าวออนไลน์ภาษาเขมร ได้มีการตัดต่อภาพของ พล.อ.เตีย บัญ เมื่อครั้งเข้าตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง โดยนำรูปภาพผู้นำทหาร นอนอยู่บนเตียงคนไข้ นำภาพกล้วยไปซ้อนทับลงบนร่าง แสดงให้เห็นการไว้อาลัยแก่ผู้เสียชีวิต

เฟซบุ๊กแห่งนั้นได้ออกรายงาน พร้อมกับภาพตัดต่อเมื่อวันพุธ อ้างแหล่งข่าวกระทรวงกลาโหมกัมพูชา ที่ระบุว่า รัฐมนตรีว่าการวัย 72 ปี ถึงแก่กรรมในกรุงปักกิ่ง เมื่อเวลาวัน 04:45 น. จันทร์ที่ผ่านมา และ "ในขณะนี้กำลังเตรียมการ เพื่อนำศพกลับไปบำเพ็ญกุศลในกัมพูชา" -- ข่าวนี้แพร่สะพัดออกไปอย่างรวดเร็วในเวลาเพียงข้ามวัน ทำให้โฆษกกระทรวงกลาโหมต้องออกแถลงชี้แจง ทั้งเรียกร้องให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เร่งจับกุมผู้ที่สร้างข่าวเท็จนี้่ไปลงโทษ

ปัจจุบันเป็นรองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม -- เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า พล.อ.เตีย บัญ เป็นคนเชื้อสายไทย บิดาเป็นชาวจีน-ไทย มารดาเป็นชาวไทยแท้ๆ เกิดเดือน พ.ย.2488 ที่ จ.เกาะกง เคยมีชื่อไทยว่า นายสังวาลย์ หินกลิ้ง ก่อนจะเปลี่ยนไปใช้ชื่อเขมรปัจจุบัน

เนื่องจากเป็นทหารอาชีพเติบโตและมีผลงานตลอดมา พล.อ.เตีย บัญ เป็นผู้นำที่ได้รับการเคารพยกย่องอย่างสูง จากบุคคลากรระดับต่างๆ ของกองทัพราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งถ้าหากสิ้น รมว.กลาโหมผู้นี้ไป ก็อาจจะเกิดการเปลี่ยนใจ เปลี่ยนจุดยืนของเหล่าทหาร ไม่สนับสนุนรัฐบลาลฮุนเซนอีกต่อไป -- นักวิเคราะห์มองว่า นี่คือจุดประสงค์ที่ชัดเจนของการปลอ่ยข่าวลือครั้งนี้

พล.อ.แนม สุวัฒน์ (Nem Sowath) สำนักปลัดกระทรวงกลาโหมกล่าวว่า การปล่อยข่าวเกี่ยวกับการสิ้นชีพของ พล.อ.เตีย บัญ เป็นฝีมือของนายเซิน หาย (Son Hai) ชาวเขมรสัญชาติเวียดนาม เกิดและอาศัยในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขง ตอนใต้สุดของเวียดนาม ที่เรียกกันว่า "ขะแมร์กร็อม" ซึ่งในยุคสมัยหนึ่ง ทั่วทั้งภูมิภาคเคยเป็นดินแดนกัมพูชา ก่อนฝรั่งเศสจะตัดออกไปเป็นส่วนหนึ่งของเขตอาณานิคมใหม่ และ ไม่ได้ส่งคืนให้กัมพูชา เมื่อถอนตัวออกไปจากอินโดจีน
.
<br><FONT color=#00003>รองนายกฯ และ รมว.กลาโหมวัย 72 ครั้งฝึกผสม มังกรทอง (Golden Dragon) ระหว่างกัมพูชากับจีน เดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ในภาพของสำนักข่าวกัมพูชา.    </a>
เมื่อครั้งบวชเป็นภิกษุ นั้นนายหายเป็นผู้นำปลุกเร้าต่อต้านรัฐบาล ถูกจับกุมและจับสึกในช่วงปลายปี 2557 แต่ถูกปล่อยตัวในเดือน เม.ย.2558 ก่อนเดินทางไปขอลี้ภัย และ อาศัยอยู่ที่เมืองโอสเตอร์ซุนด์ (Östersund) สวีเดน มาตั้งแต่นั้น

ยังมีการปล่อยข่าวลวงผ่านเฟซบุ๊กอีกหลายแห่ง และ โฆษกกระทรวงกลาโหม พล.อ.ชุม สุชาติ แถลงเมื่อวันพุธว่า เป็นฝีมือของ "ผู้ทรยศต่อชาติ" ที่มุ่งหวังก่อความปั่นป่วน ทำลายความสงบสุข ของประชาชนชาวกัมพูชาในปัจจุบัน

เฟซบุ๊กแห่งหนึ่งถึงกับออกเรียกร้องให้ กองทัพก่อการกระด้างกระเดื่อง ทำการโค่นล้มรัฐบาล เพื่อจัดตั้งคณะบริการประเทศของประชาชนขึ้นมาแทนกลุ่มปกครองปัจจุบัน ซึ่งเป็นอดีตคอมมิวนิสต์เขมรแดงแปรพักตร์ ที่อยู่ในอำนาจมายาวนานมาตั้งแต่ปี 2522

พล.อ.สุชาติ เรียกร้องให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เร่งหาตัวเจ้าของเฟซบุ๊กรายนี้ มาดำเนินคดีตามกฎหมาย ทั้งยืนยันว่ากองทัพสนับสนุนรัฐบาลอย่างเต็มเปี่ยม เพราะเป็นรัฐบาลของประชาชน เพื่อประชาชน และ ได้พัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น ประเทศชาติมีความมั่นคงสงบ สังคมมีความสงบ ประชาชนอยู่อย่างมีสันติสุข พัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับ

โฆษกผู้นี้ ยังเรัยกร้องให้ชาวกัมพูชา ตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน ก่อนที่จะโพสต์หรือแชร์ข้อความใดๆ หรือ สิ่งใดออกสู่โลกออนไลน์

ปัจจุบันกัมพูชายังไม่มีกฎหมายใดๆ ที่ใช้ควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตโดยตรง แต่ได้ประยุกข์ใช้กฎหมายอาญา สำหรับความผิดออนไลน์ต่างๆ ซึ่งผู้กระทำผิดฐานแพร่ข่าวเท็จอาจถูกจำคุกถึง 10 ปี และ ไม่กี่ปีมานี้ เคยมีผู้ถูกศาลตัดสินลงโทษจำคุก 5-8 ปีไปแล้วอย่างน้อย 3 ราย.


กำลังโหลดความคิดเห็น