xs
xsm
sm
md
lg

ดู "พระเจ้าหม่าน" ได้อัญมณีใหม่ หลวงพระบางฟ้าฝนดีลงสรงปีนี้ไม่ออกอิทธิฤทธิ์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>พระเจ้าหม่านลงจากหออีกครั้งหนึ่งในสัปดาห์นี้ และ เป็นอีกปีที่ไม่ได้แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์อะไร เพราะเป็นปีที่ชาวเมืองร่มเย็น มีฝนโปรยลงมาเป็นระยะๆ ทั้งช่วงก่อนและหลังเทศกาลขึ้นปีใหม่ประเพณี ทำให้ชุ่มเย็นไปทั่วนครและทั้งแขวง เพราะฉะนั้นคำกล่าวที่ว่า วันไหนพระหม่านออกจากหอ วันนั้นฝนตก จึงดูจะพูดกันในปีที่แห้งแล้ง ซึ่งพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์นี้ ไม่เคยทำให้ชาวหลวงพระบางผิดหวัง. </a>

MGR ออนไลน์ -- ชาวหลวงพระบางได้รวมกันอาราธนาพระหม่าน วัดเชียงทอง ลงจากหอไหว้อีกครั้งหนึ่งสัปดาห์นี้ โดยปราศจากเหตใดๆ รวมทั้งไม่มีฝนตก เหมือนเช่นบางปีในโอกาสเดียวกันนี้ ซึ่งชาวลาวบางคนบอกว่า อาจเป็นเพราะ เม.ย.ปีนี้นครหลวงพระบางฟ้าฝนดี เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้เกิดพายุฝนฤดูร้อนมาหลายครั้ง ทั้งนครและทั่วแขวงชุ่มฉ่ำ ชาวหลวงพระบางมีความสุข หลังเทศกาลขึ้นปีใหม่ประเพณี นอกจากนั้นหลวงพ่อพระหม่านยังได้เครื่องทรงใหม่ จึงอาจเป็นเหตุทำให้พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ไม่ออกอิทธิฤทธิ์

ภาพที่แชร์กันในโลกออนไลน์ของชาวลาวช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา แสดงให้เห็นพระสงฆ์จำนวนมาก ร่วมกันกับฆราวาส ชาวบ้านร้านตลาด ในละแวกวัดเชียงทอง ทำพิธีอาราธนาพระหม่านออกจากหอเก็บ ลงไปยังปรัมที่สร้างขึ้นเพื่อการนี้เช่นทุกปีที่ผ่านมา ภายในบริเวณลานวัดเชียทอง เพื่อเปิดโอกาสให้ชาวนครกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้มีโอกาสสรงน้ำพระพุทธรูปเก่าแก่หลายร้อยปีองค์นี้

นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อวันจันทร์ อันเป็นเหตุการณ์ที่มีขึ้นทุกๆ วันที่ 22 หรือ 23 เม.ย. ทุกปี นับแต่ปี 2522 เป็นต้นมา ที่มีการอาราธนาพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ลงจากหอ เพื่อให้ชาวบ้านละแวกนั้นได้รดสรงครั้งแรก เพื่อเป็นศิริมงคลเนื่องในเทศกาลขึ้นปีใหม่ -- แต่ต่างไปจากหลายครั้งที่แล้วๆ มา ครั้งนี้พระหม่านไม่ได้ออกอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์

ครั้งล่าสุดที่ชาวนครหลวงพระบาง ได้เห็นพระหม่านแผลงฤทธิ์ ก็คือ 22 เม.ย. 2559 ที่ทั้งเมืองและทั่วแขวงกำลังอยู่ในภาวะแห้งแล้งหนัก หลังอาราธนาออกจากหอไม่กี่ชั่วโมง ได้แต่เกิดฝนตกลงมาหนัก เกิดพายุลมแรงไปจนถึงช่วงกลางคืน ทำให้ต้นโพธิ์ต้นใหญ่ที่อยู่คู่วัดเชียงทองมานานหักโค่นลงกลางดึก กิ่งไปฟาดหลังคาปรัมยุบลงครึ่งค่อน แต่องค์หม่านที่ประดิษฐานอยู่บนแท่นในนั้น ไม่ได้เป็นอะไรเลยแม้แต่น้อย -- เหตุการณ์ครั้งนั้นจึงเป็นที่ลื่อเลื่อง ในโลกออนไลน์

ไม่เพียงเท่านั้น -- ลมแรงอีกระลอกหนึ่ง ได้พัดเอากิ่งโพธิ์หักลงอีก ไปทับพระธาตุเก่าแก่องค์หนึ่ง ที่อยู่มาคู่วัดเชียงทองจนแตกหักลง เปิดเผยให้เห็นพระพุทธรูปที่หล่อด้วยทองคำ และ หล่อด้วยเงินองค์เล็กๆ จำนวน 11 องค์ บรรจุอยู่ภายใน ซึ่งเรื่องนี้ไม่มีผู้ใดเคยรู้มาก่อน -- ว่ากันว่านั่นเป็นเจตนาของหลวงพ่อพระหม่าน

"ພິທີອະຣາດທະນະອັງເຊີນພຣະເຈົ້າໝ່ານ ລົງຫົດສົງ ຈຸລະສັງກຣາດ ປີໃຫມ່ລາວ ຈສ 1380 ໃນຕອນເຊົ້າວັນຈັນ 23 ເມສາ 2018 ແລະ ອະຣາທະນາອັງເຊີນກັບຂື້ນປະດິດສະຖານໄວ້ທີ່ຫໍໂຮງ ໃນວັນເສົາ 28 ເມສາ 2018" -- นายสุริอุดง สุนดารา รองรัฐมนตรีวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เขียนถึงพิธีเมื่อวันจันทร์ ทั้งแจ้งให้ทราบว่าพุทธศาสนิกชนทั่วไป ยังไปรดสรงน้ำพระหม่านได้ตลอดสัปดาห์นี้
.
<br><FONT color=#00003>คนช่างสังเกตุชวนให้ดูบริเวณที่ปลายลูกศรชี้ คือ หัวรัดองค์ที่สีเปลี่ยนไปเป็นสว่างขึ้น หากเทียบกับรูปเมื่อปีก่อน หรือ เมื่อต้นเดือน มี.ค.นี้ เมื่อผู้มีจิตศรัทธานำแก้วมณีจินดาหลายชนิด ไปถวายเพื่อแก้บน เพื่อประดับองค์แทนอัญมณีที่ทยอยหลุดร่วงไป ในหลายปีมานี้  อันเนื่องมาจากมีผู้คนไปรดสรงน้ำมากขึ้นนั่นเอง.    </a>
<FONT color=#00003>ตามประวัตินั้น พระเจ้าหม่านไม่เคยไปประดิษฐานในที่อื่นใดเลย หากอยู่ที่วัดเชียงทองราชวรมหาวิหารมาตลอด จากประทับยืนกลางแดดในสวนท้ายวัด มีการสร้างอุโมงค์ถวาย จนกระทั่งก่อสร้าง หอพระหม่าน ที่บริเวณด้านหลังพระอุโบสถ แล้วเสร็จเมื่อ 88 ปีที่แล้ว. </a>
มีคำพูดกันในหมู่ชาวหลวงพระบางว่า "วันไหนพระหม่านออกจากหอ วันนั้่นฝนตก" -- ซึ่งดูจะเป็นคำพูดในปีที่อากาศร้อนจัดและแห่งแล้งอย่างรุนแรง เช่นเมื่อสองปีที่แล้ว -- แต่นอกจากเรื่องนี้ ก็ยังเป็นที่ร่ำลือกันมานานว่า องค์หม่านสามารถบันดาลให้คู่สามีภรรยา ที่ไม่มีบุตรให้มีทายาทไว้เชยชมและสืบวงศ์ตระกูลดั่งปรารถนา มาหลายคู่จนนับไม่ถ้วนอีกด้วย

"ເລື່ອງນີ້ຄົນຫລວງພຣະບາງຮູ້ກັນດີ, ຖ້າປີໃດອະຣາດທະນາ ພຣະເຈົ້າໝ່ານລົງຫົດ ສົງ ຟ້າຝົນກໍ່ຈະຕົກໃຫ້ແຜ່ນດິນຊຸ່ມເຢັນ ແລະໃຜທີ່ມີລູກຢາກ ກໍ່ຈະມີການມາບະ ມາບົນບານ ເພື່ອຂໍລູກສຶບຕະກຸນຈາກພຣະເຈົ້າໝ່ານອົງນີ້" -- ดร.สุริอุดงเขียน

มีผู้ช่างสังเกตบางคน เขียนในเฟซบุ๊กช่วงข้ามวันมานี้ว่า พระหม่านออกจากหอปีนี้ พร้อมมณีนิลจินดาใหม่จำนวนหนึ่ง คนช่างสังเกตได้ชี้ให้ดูส่วนหัวของรัดองค์ (เข็มขัด) ที่ปรากฏว่า มีสีเปลี่ยนไป โดยอาจจะเป็นอัญมณีชิ้นใหม่ ที่เพิ่งประดับเข้าไปเมื่อไม่นานมานี้ -- ข้อสังเกตดังกล่าว ดูจะได้รับแรงบลันดาลใจ จากอีกเหตุการณ์หนึ่ง เมื่อต้นเดือน มี.ค. ที่มีผู้นำ "แก้วมณีนิลจินดา" ไปถวายแก้บน ที่วัดเชียงทอง

นั่นคือเมื่อวันที่ 24 มี.ค.2561 ชาวหลวงพระบางที่โลกออนไลน์รู้จักดีที่สุดคนหนึ่ง ได้ร่วมกับร้านทองที่มีชื่อเสียง นำนิลกับพลอยหลากสี ไปถวายหลวงพ่อพระหม่าน -- ภาพเหตุการณ์นี้ ถูกเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง ในหมู่ชาวลาวนักท่องเน็ต

การบริจาคอัญมณีเหล่านั้น ก็เพื่อประดับ "ພຣະເຈົ້າໝ່ານ ໃຫ້ງົດງາມເຫລືອງເຫລືມດັ່ງເດີມ" ซึ่งเมื่อก่อนโน้นพระพุทธรูปองค์นี้ เคยมีแก้วนิลจินดา ประดับองค์จำนวนมากมาย ลงไปจนถึงขอบสะบง แต่เมื่อนานปีผ่านไป "ບັັນດາແກ້ວເຫລົ່ານີ້ກໍ່ຫລຸດອອກ ຈາກອົງພຣະ ຕາມເວລາແລະໃນໄລຍະ ທີ່ນຳພຣະເຈົ້າໝ່ານມາຫົດສົງ ໃນຕອນຫລັງບູນປີໃຫມ່ລາວ ປະຈຳທຸກໆປີ"

มีผู้บันทึกเอาไว้ว่า เมื่อครั้งอาราธนาออกจากหอครั้งแรกเมื่อ 39 ปีก่อนนั้น เป็นเพียงกิจกรรมที่จัดขึ้น โดยประชาชนในคุ้มบ้าน รอบๆ วัดเชียงทอง หลายปีต่อมา เมื่อชาวเมืองจากคุ้มบ้านอื่นๆ รวมทั้งที่อยู่ไกลออกไปทราบข่าว ก็ได้ไปสมทบด้วยเป็นจำนวนมากขึ้นทุกปีๆ ชาวคุ้มวัดเชียงทองจึงได้จัดสร้างปรัมขึ้น เพื่อให้เป็นร่มเงาสำหรับองค์พระพุทธรูป และ ฆราวาส

นั่นคือยิ่งมีจิตศรัทธาไปรดสรงน้ำมากขึ้น แก้วมณีต่างๆ ก็หลุดหล่นจากองค์มากขึ้นเรื่อยๆ

นอกจะเรียก "พระหม่าน" และ "พระเจ้าหม่านแล้ว" ก็ยังมีหลายคน ที่เรียกว่า "หลวงพ่อพระหม่าน" บ้างก็เรียกเป็น "พระเจ้าองค์หม่าน" -- นอกจากนั้นด็ยังมีชาวไทยจำนวนไม่น้อย เรียกเพี้ยนเป็น "พระม่าน" ซึ่งได้ทำให้หลายคนคิดไปว่า พระพุูทธรูปองค์นี้อาจมีอะไรเกี่ยวข้องกับอาณาจักรพม่าโบราณ เนื่องจากพงศาวดารหลายฉบับ อธิบายคำว่า "ม่าน" หมายถึง "พม่า"
.





พระพุทธูปสัมฤทธิ์ที่มีความเก่าแก่หลายร้อยปีองค์นี้ มีน้ำหนัก 75 กิโลกรัม มีส่วนฐานหนัก 20.5 กก. จึงเคลื่อนไปไหนมาไหนได้สะดวก -- พระหม่านอยู่มาคู่นครหลวงพระบาง แม้จะยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า หล่อขึ้นมาในสมัยใด แต่เป็นที่ชัดเจนว่าพระเจ้าหม่านไม่เคยย้ายไปประดิษฐานอยู่ที่แห่งใดมาก่อน หากอยู่ที่วัดเชียงทองตลอดมา ตั้งแต่ครั้งพระเจ้าไซเสดถาทิลาด โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะและสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นใหม่ จนกระทั่งกลายเป็นวัดหลวง หรือราชวรมหาวิหาร

พระเจ้าหม่านประดิษฐานที่วัดแห่งนี้ ตั้งแต่อยู่กลางแดดในสวนท้ายวัด และ ต่อมาเจ้าอาวาสรูปหนึ่งได้นำฆราวาส ทำพิธีอาราธนาเข้าไปประทับในอุโมงค์แทน -- จนกระทั่งปี พ.ศ.2473 หรือ 88 ปีที่แล้ว เมื่อก่อสร้างหอเก็บที่บริเวณด้านหลังพระอุโบสถวัดเชียงทองแล้วเสร็จ จึงได้อัญเชิญไปประดิษฐานภายในหอ ต่อมาจนถึงทุกวันนี้

ตั้งแต่นั้นมาได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ "หอพระหม่าน" มาเป็นระยะๆ จนกระทั่งกลายเป็นสิ่งปลูกสร้าง ที่มีผนังลายวิจิตรสีสันสวยงาม มากที่สุดอีกแห่งหนึ่ง

ผู้ไปเยือนนครหลวงพระบางในช่วงนี้ ยังมีโอกาสไปรดสรงน้ำพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ จนถึงวันเสาร์ 28 เม.ย. ก่อนจะมีพิธีอาราธนา กลับไปประดิษฐานภายในหออีกครั้ง และ ปิดประตูตาย ลั่นกุญแจแน่นหนา เช่นที่เคยปฏิบัติกันมาทุกปี -- เพราะไม่ว่าจะขลังสักเพียงใด พระพทุธรูปล้ำค่า หากไม่เก็บรักษาให้ดีพอ ก็มักจะไม่เคยพ้นมือโจรผู้ร้ายนั่นเอง.
.
ทั้งหมดต่อไปนี้เป็นภาพเมื่อวันที่ 24 มี.ค.2561 ซึ่งผู้มีจิตศรัทธา นำอัญมณีหลายชนิด ไปถวายหลวงพ่อพระหม่านเพื่อแก้บน ด้วยจุดประสงค์เพื่อนำไปประดับองค์ แทนชิ้นที่หลุดร่วงไปตลอดหลายปีมานี้ ว่ากันว่าเมื่อก่อนเคยมีมณีนิลจินดาประดับเครื่องทรง ลงไปจนถึงปลายสบง. -- ขอขอบคุณพี่น้องชาวลาวเจ้าของภาพสวย.










กำลังโหลดความคิดเห็น