xs
xsm
sm
md
lg

ย้อนกลับไปดู รมว.กลาโหมรัสเซียในเวียงจันทน์ นรม.ลาว "ทองลุน" เปิดทำเนียบรับสุดชื่นมื่น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

<br><FONT color=#00003>พล.ท.จันสะหมอน จันยาลาด รมว.กลาโหม นำ พล.อ.ชเรเก โชยกู ตรวจแถวทหารกองเกียรติยศ ในพิธีต้อนรับที่จัดขึ้นอย่างสมเกียรติ สำหรับการเยือนครั้งแรกโดยผู้นำสูงสุดทางทหารจากโซเวียต/รัสเซีย. Courtesy of Ministry of Defence of the Russian Federation.</b>
[ชื่อ "ชเรเก โชยกู" (Sergei Shoygu) เป็นการออกเสียง ตามสำเนียงภาษารัสเซีย เช่นเดียวกับชื่อที่คุ้นเคยกันดี อีกหลายชื่อ ในช่วงหลายสิบปีมานี้ รวมทั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ "ชเรโนบีล" (Chernobyl) กับนายคอนสแตนติน ชเรเนนโก (Constantin Chernenko) อดีตผู้นำโซเวียตคนหนึ่งด้วย]

MGRออนไลน์ -- รัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย พล.อ.ชเรเก โชยกู (Sergei Shoygu) ไปเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สัปดาห์นี้ ซึ่งเป็นการเดินทางเยือนลาวอย่างเป็นทางการครั้งแรก โดยผู้นำสูงสุดทางทหารคนหนึ่ง นับตั้งแต่ยุคสหภาพโซเวียต ถึงแม้ว่าในอดีตค่ายคอมมิวนิสต์ใหญ่ จะให้การช่วยเหลือมหาศาล และ เป็นหลังอิงของรัฐสังคมนิยมใหม่ สปป.ลาว มาตลอดยุคสมัยสงครามเย็นก็ตาม

รมว.กลาโหมจากรัสเซีย ได้พบเจรจาข้อราชการกับ พล.ท.จันสะหมอน จันยาลาด คู่ตำแหน่งในลาว เกี่ยวกับความร่วมมือสองฝ่าย และ ถึงแม้ว่าผู้นำทางทหารทั้งสอง จะเคยพบกันมาก่อนในกรุงมอสโก ครั้งที่ฝ่ายลาวไปเยือนรัสเซีย ในเดือน เม.ย.ปีที่แล้วก็ตาม แต่ พล.อ.โชยกูกล่าวว่า มีความยินดียิ่งที่ได้ไปเยือนลาวเป็นครั้งแรก และ ได้พบเจรจากันอีกครั้งหนึ่ง -- กระทรวงกลาโหมรัสเซียรายงานบรรยากาศ การไปเยือนครั้งนี้ในเว็บไซต์

"การพบเจรจาในวันนี้ จะเป็นการสืบต่อผลการพบหารือในมอสโก เมื่อเดือน เม.ย.2560 เกี่ยวกับสถานะและความร่วมมือทางด้านการทหาร" และ พล.อ.โชยกู กล่าวเน้นว่า ยังมางานที่จะต้องทำอีกเป็นจำนวนมาก ในการดำเนินความตกลงต่างๆ ที่สามารถบรรลุได้แล้ว รวมทั้งในด้านการทหารด้วย -- กระทรวงกลาโหมรัสเซียรายงาน วันจันทร์ 22 ม.ค.ที่ผ่านมา

ในขณะเดียวกัน พล.ท.จันสะหมอนกล่าวว่า ลาวและรัสเซียกำลังพัฒนาความสัมพันธ์ทางการทหาร ความสัมพันธ์ระหว่างสองชาติ กับ ความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพสองประเทศ สามารถเรียกได้ว่า เป็นความสัมพันธ์ฉันท์พี่น้อง ( Brotherhood Relation -- บก.)

ในเวลาต่อมา รมว.กลาโหมรัสเซีย ได้เข้าเยี่ยมคำนับนายกรัฐมนตรีลาวทองลุน สีสุลิด ซึ่งได้แสดงความพึงพอใจอย่างยิ่งต่อ ความสัมพันธ์ของสองประเทศรวมทั้งความสัมพันธ์ทางการทหาร ที่ผ่านมา ตลอดจนผลการเยือนของ รมว.กลาโหมรัสเซียครั้งนี้ -- "ในขณะนี้สามารถกล่าวได้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่กองทัพประชาชนลาวมี ล้วนเกี่ยวพันกับรัสเซีย" กระทรวงกลาโหมในกรุงมอสโกรายงาน อ้าง ดร.ทองลุน

โซเวียตกับลาวเคยมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นในยุคสงครามเย็น ที่ค่ายคอมมิวนิสต์ของโลก แบ่งออกเป็นสองฝ่าย สองแนวทาง -- "สายโซเวียต" หนึ่ง กับ "สายจีน" อีกหนึ่ง โดยสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นใหม่ในปลายปี 2518 สวิงขั้วไปเข้าข้างโซเวียต ตามเวียดนาม ที่มีสายสัมพันธ์กันแนบแน่น มาตั้งแต่ครั้งสงครามเอกราชจากฝรั่งเศส จนถึงสงครามกับสหรัฐ
[ภาพประกอบทั้งหมดโดย กระทรวงกลาโหมแห่งสหพันธ์รัสเซีย - Photos Courtesy Ministry of Defence of the Russian Federation]
.
<br><FONT color=#00003>ระหว่างการสนทนาที่ไม่เป็นทางการ เจ้าหน้าที่ล่ามหมดหน้าที่ไปโดยปริยาย นรม.ลาว ทองลุน สีสุลิด เรียนสำเร็จจากโซเวียต ใช้ชีวิตเวลาในประเทศนั้นนานนับสิบปี ทั้งในเลนินกราด (เซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก) และ ในกรุงมอสโก. </b>
<br><FONT color=#00003>นายกรัฐมนตรีลาว กับ รมว.กลาโหมรัสเซีย พบหารือข้อราชการ ก่อนจะสิ้่นสุดการเยือนเป็นเวลา 1 วัน. </b>
สองรัฐสังคมนิยมใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ลาวกับเวียดนาม ต่างหวาดกลัวการรุกรานจากจีน ซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์ยักษ์ใหญ่ต่างอุดมการณ์

ตลอดเวลากว่าสิบปี หลังการก่อตั้งระบอบใหม่ มีเจ้าหน้าที่กับผู้เชี่ยวชาญจากโซเวียต กับบรรดามิตรประเทศค่ายเดียวกัน ถูกส่งเข้าไปประจำใน สปป.ลาว เป็นจำนวนนับหมื่นๆ คน ช่วยประเทศสังคมนิยมที่ยังอ่อนแอ พัฒนาประเทศในด้านต่างๆ -- แต่ความยุ่งยากกับความยุ่งเหยิง ทั้งทางสังคมและการเมืองที่เกิดขึ้นในรัสเซีย หลังยุคโซเวียตล่มสลายตั้งแต่ปี 2534 ทำให้ความสัมพันธ์ห่างเหินกันออกไป ตลอดทศวรรษต่อมา

สามารถกล่าวได้ว่า ความสัมพันธ์ลาว-รัสเซียในยุคใหม่ ได้พัฒนาขึ้นสู่จุดสูงอีกครั้งหนึ่ง เมื่อรัสเซียภายใต้การนำของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน กับ สปป.ลาว ภายใต้นายกรัฐมนตรีทองลุน ได้ร่วมกันเป็นประธาน ในการจัดประชุมอาเซียน-รัสเซีย ครั้งที่สอง ที่เมืองโซชิ (Sochi) เมืองท่องเที่ยวตากอากาศ ริมฝั่งทะเลดำของรัสเซีย ในเดื้อน ก.ค.2559 ซึ่งสองผู้นำรุ่นใหม่มีโอกาสได้พบสนทนา และ ทบทวนความหลังที่เคยใกล้ชิดกัน

ดร.ทองลุน เรียนสำเร็จจากรัสเซีย และ เคยใช้ชีวิตอยู่ในประเทศนี้ สองวาระโอกาสรวมเป็นเวลานานนับสิบปี -- นรม.ลาว ยังได้พบเจรจากับ ปธน.ปูตินอีกครั้ง ระหว่างไปเยือนรัสเซียอย่างเป็นทางการปลายปีที่แล้ว เพื่อหาทางยกระดับความสัมพันธ์สองฝ่ายให้สูงขึ้นอีก

ผู้นำลาวได้แสดงความชื่นชมยินดี ต่อการเยือนของ พล.อ.โชยกู ในครั้งนี้ และ แสดงความปรารถนา ให้การพัฒนความสัมพันธ์ทางทหาร ระหว่างกองทัพสองประเทศประสบผลสำเร็จ -- กระกลาโหมรัสเซียรายงาน

สื่อของทางการลาว ทั้งสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์แห่งชาติ ต่างรายงานอย่างเป็นกระบวนการ กิจกรรมต่างๆ ของ รมว.กลาโหมคนแรกจากรัสเซีย ที่ไปเยือนลาวอย่างเป็นทางการ เป็นเวลา 1 วัน ซึ่งฝ่ายไปเยือนได้มอบอุปกรณ์ช่วยเหลือทางทหารจำนวนหนึ่ง ให้แก่กองทัพประชาชนลาว รวมทั้งได้กล่าวย้ำในพันธกิจ ที่จะ ช่วยลาวเก็บกู้วัตถุระเบิด ที่ตกค้างมาตั้งแต่ยุคสงครามด้วย
.










<br><FONT color=#00003>พล.ต.อ่อนสี แสนสุก รองรัฐมนตรีป้องกันประเทศลาว นำ พล.อ.ชเรเก โชยกู กับคณะ ทำพิธีวางพวงมาลา ที่อนุสาวรีย์ทหารนิรนามในนครเวียงจันทน์. </b>




อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์กับความร่วมมือสองฝ่ายมีมากกว่านั้่น และ ยังคงดำเนินต่อไป

ในช่วง 2-3 ปีมานี้ มีข่าวคราวผ่านสื่อของทางการรัสเซียเป็นระยะ เกี่ยวกับแผนจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ สำหรับการป้องกันประเทศของกองทัพลาว ที่ส่วนใหญ่ใช้มาตั้งแต่ยุคสงครามเย็น และ เสื่อมสภาพลง -- หลายชนิดรวมทั้งเครื่องบินรบ อยู่ในสภาพเสื่อมโทรม ถูกทอดทิ้่ง เนื่องจากไม่คุ้มค่ ที่จะซ่อมแซมให้กลับมาใช้ได้อีก หรือ แม้กระทั่งรถถังหลักที่ใช้ ก็ยังเป็น T-34 ที่ผลิตในโซเวียต ตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ถึงแม้จะไม่ได้มีจุดประสงค์ จะทำสงครามสู้รบกับใครๆ ในย่านนี้ แต่กองทัพประชาชนลาว มีความพยายามที่จะจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ยุคใหม่ เพื่อการป้องกันประเทศ บรรจุแทนรุ่นเก่า -- ระหว่างงานสิงคโปร์แอร์โชว์ต้นปี 2559 สื่อรัสเซียรายงานว่า ลาวได้เจรจา ซื้อเครื่องบินฝึกไอพ่นแบบ Yak-130 ที่สามารถใช้เป็นเครื่องบินโจมตีเบาได้ เหมาะสำหรับภารกิจความมั่นคงภายใน รวมทั้งปราบปรามการก่อการร้ายในประเทศ ที่เคยเป็นปัญหาในช่วงหนึ่ง

ลาวอาจจะสนใจจัดหารถถังหลักรุ่นใหม่สำหรับกองทัพ และ ปีที่แล้วก็เป็นครั้งแรกที่ กองทัพประชาชนจัดส่งทหารม้ายานเกราะ ไปร่วม Tank Biathlon การแข่งขันรถถังนานาชาติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Army Games ที่รัสเซียจัดขึ้นเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน โดยร่มกับมิตรประเทศ -- ทหารลาวได้ขับ T-72B3 เข้าสู่สนามแข่งขัน ในย่านชานกรุงมอสโก นับเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญ สำหรับ กองพันใหญ่ยานเกราะ ที่จัดตั้งขึ้นมาเมื่อไม่นานมานี้

เมื่อปี 2559 สื่อรัสเซียรายงานว่า บริษัทรอสเท็ค (Rostec) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจเทคโนโลยีของกระทรวงกลาโหม ได้เซ็นความตกลง เพื่อซ่อมบำรุงและอัปเกรด เฮลิคอปเตอร์แบบ Mi-17 ของกองทัพลาว ที่ใช้งานมานานตั้งแต่ยุคโซเวียต และ เหลือยังบินได้เพียงไม่กี่ลำในขณะนี้.


กำลังโหลดความคิดเห็น