xs
xsm
sm
md
lg

สื่อรัสเซียปูดอีกข่าว กองทัพลาวเจรจาซื้อ บฝ./โจมตี Yak-130 ถึง 20 ลำ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>ภาพจากวิดีโอประชาสัมพันธ์การขายของกลุ่มบริษัทสหอากาศยานแห่งรัสเซีย แสดงให้เห็น บฝ. แบบ Yak-130 เมื่อกลายเป็นเครื่องบินรบ ติดจรวดยิงโจมตีภาคพื้นดิน กับ อาวุธปล่อย หรือ จรวดนำวิถีต่อสู้อากาศยาน สื่อในรัสเซียรายงานว่า กองทัพอากาศ สปป.ลาว อาจจะซื้อถึง 20 ลำ. </b>

MGRออนไลน์ -- กองทัพอากาศลาวที่ไม่เคยจัดหาเครื่องบินรบใดๆ เลย ในช่วงหลังสงครามเย็นกว่า 20 ปี กำลังเจรจาเพื่อซื้อเครื่องบินฝึก/โจมตีขนาดเบาแบบ Yak-130 ที่ผลิตโดยบริษัทยาคอฟเลฟ อันเป็นอีกรุ่นหนึ่งที่ได้รับความนิยม และ มีประจำการในหลายประเทศ สื่อทางการรัสเซีย "เล็นตาด็อทอาร์ยู" รายงานเรื่องนี้จากงานสิงคโปร์แอร์โชว์วันศุกร์ ที่ผ่านมา

"ลาวสนใจเครื่องบินรุ่นนี้ ราคาอาจจะแพงพอสมควรแต่ประสิทธิภาพสูง ลาวจะนำเข้าประจำการแทนมิก-21 ที่ได้รับจากโซเวียตในช่วงทศวรรษ 1970" สื่อออนไลน์รายงานอ้างแหล่งข่าวในอุตสาหกรรมกลาโหม ในงานแสดงอากาศยานประจำปี 2559 ซึ่งจัดขึ้นในสนามบินชางงี ในสิงคโปร์สัปดาห์ที่แล้ว

แหล่งข่าวเดียวกันเปิดเผยว่า ลาวอาจจะได้รับ Yak-130 ระหว่าง 16-20 ลำ สัญญาจะรวมทั้งการสนับสนุนอุปกรณ์ อะไหล่ รวมทั้งการฝึกนักบินกับช่างเทคนิคด้วย

ตามรายงานก่อนหน้านี้ คณะผู้แทนรัฐวิาสาหกิจโรโซโบรอนเอ็กซ์ปอร์ต (Rosoboronexport) ซึ่งเป็นผู้ส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์รายใหญ่ของรัฐบาล ได้ไปเยือนนครเวียงจันทน์เดือน พ.ย.ปีที่แล้ว ซึ่งทำให้รัฐบาลคอมมิวนิสต์ลาว ถูกจับตามองเกี่ยวกับความเป็นไปได้ ในการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่จากรัสเซีย

ตามรายงานของสำนักข่าวโนวอสติ ระหว่างไปเยือนอย่างเป็นทางการวันที่ 14-17 พ.ย.2558 นายเซอร์เก กอเรสลาฟสกี (Sergey Goreslavsky) รองผู้อำนวยการใหญ่โรโซโบรอนเอ็กซ์ปอร์ต ได้รับการต้อนรับอบอุ่นจาก พล.ท.แสงนวน ไซยะลาด รัฐมนตรีกระทรวงป้องกันประเทศลาว

สองฝ่ายได้พบหารือในเวียงจันทน์ โดย รมว.ป้องกันประเทศลาว "ตีราคาสูงความสัมพันธ์มิตรภาพที่สนิทแน่นแฟ้นระหว่างสองประเทศ และ ระหว่างสองกองทัพกับประชาชนลาว-รัสเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความร่วมมือทางเทคนิคด้านกลาโหม" และ "หารือเกี่ยวกับแผนการความร่วมมือในช่วง 5 ปีข้างหน้า"
.
<br><FONT color=#00003>เดือน ต.ค.2558 ลาวนำ MiG-21 จากแขวงเชียงขวางลำนี้เข้านครเวียงจันทน์ และ ติดตั้งแสดงกลางแจ้งในบริเวณพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์กองทัพประชาชน ชานเมืองหลวง ลาวเคยแจ้งการครอบครองเครื่องบินรบรุ่นนี้จำนวน 25 ลำ ในยุคสหภาพโซเวียต. -- ภาพ: เฟซบุ๊ก Santi Vetmang.</b>
2
<br><FONT color=#00003>กองทัพประชาชนลาวยังมีอากาศยานอีกหลายรุ่น ที่ได้รับตกทอดมาจากยุคสหภาพโซเวียต ปัจจุบันยังไม่มีบุคคลภายนอกคนใด ทราบว่ายังมีอะไรบ้าง ยังใช้การได้กี่ลำ การซื้อเครื่องบินฝึกจากรัสเซียเป็นการจัดหาอากาศยานสำหรับกองทัพครั้งแรกในรอบกว่า 20 ปี. -- ภาพ: เฟซบุ๊ก Santi Vetmang. </b>
3
คอมมิวนิสต์ลาวซึ่งได้ชื่อเป็น "คอมมิวนิสต์สายโซเวียต" ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือด้านอาวุธ จากค่ายคอมมิวนิสต์ใหญ่ยุโรปเป็นหลัก การฟื้นฟูความสัมพันธ์กับคอมมิวนิสต์จีน ในช่วงหลังจากอาณาจักรใหญ่โซเวียตล่มสลาย ทำให้ลาวสามารถเข้าถึงอาวุธจีนได้มากขึ้น แต่สิ่งที่ตกทอดมาตั้งแต่ยุคโซเวียตก็ยังคงเป็นกำลังหลักของกองทัพ

กองทัพอากาศลาวซึ่งเป็นเพียงกรมหนึ่งของกองทัพประชาชน เคยแจ้งองค์การระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการครอบครองเครื่องบินรบแบบ MiG-21 จำนวน 25 ลำ แต่ไม่มีบุคคลภายนอกคนใดที่ทราบว่า ปัจจุบันยังใช้งานได้จำนวนกี่ลำ รูปภาพที่เผยแพร่ในโลกออนไลน์ปลายปีที่แล้ว แสดงให้เห็น MiG-21 นับสิบลำ จอดทิ้งไว้ที่บริเวณสนามบินทหาร เมืองโพนสะหวัน แขวงเชียงขวางในสภาพทรุดโทรม เหมือนไม่ได้ใช้งานมานานหลายสิบปี

เดือน ต.ค.ปีที่แล้ว ก่อนคณะจากรัสเซียจะไปเยือนไม่นาน ทางการลาวได้นำ MiG-21 ลำหนึ่งจากเชียงขวาง บรรทุกบนรถเทรลเลอร์เข้านครเวียงจันทน์ และ จัดตั้งแสดงไว้กลางแจ้ง ภายในที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์กองทัพประชาชน ชานเมืองหลวง เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้ชมกัน

Yak-130 ซึ่งกลุ่มนาโตเรียกว่า "มิตเท็น" (Mitten) มีความเร็วต่ำกว่าเสียง ใช้เป็น บฝ.ขั้นต้น ประกอบมี 2 ที่นั่งสำหรับครูฝึกและนักบินฝึกหัด และ ยังติดอาวุธ ใช้เป็นเครื่องบินโจมตีขนาดเบาได้อีกด้วย เป็นการพัฒนาร่วมกันระหว่างกลุ่มยาคอฟเลฟ (Yakovlev) แห่งรัสเซีย และ กลุ่มเอมักชี (Aermacchi) บริษัทผลิตอากาศยานในอิตาลี หรือ Aeronautica Macchi เมื่อก่อน และ กลายมาเป็นบริษัท Alenia Aermacchi ในปัจจุบัน
.


.


.

.
อาเลเนีย เอมักชี เป็นอีกบริษัทหนึ่ง ในเครือเทคโนโลยีฟินเมกกานิกา (Finmeccanica) แห่งอิตาลี ซึ่งถือหุ้นไขว้ในบริษัทเทคโนโลยีกลาโหมชั้นนำหลายแห่งทั่วยุโรป กลุ่มนี้ยังมีความสัมพันธ์ร่วมมือกับ บริษัทผู้ผลิตอากาศยานในรัสเซียมาเป็นเวลานาน หลังสิ้นสุดยุคสงครามเย็น รวมทั้งเป็นหุ้นส่วนกับบริษัทซูคอย ผลิตเครื่องบินโดยสารซูคอยซูเปอร์เจ็ท-100 (Sukhoi SuperJet-100) ในปัจจุบันอีกด้วย

Yak-130 มีประวัติการผลิตยาวนานมาตั้งแต่ช่วงปี 2530-2531 ซึ่งเป็นช่วงปลายยุคสหภาพโซเวียต ขึ้นบินเป็นครั้งแรกในปี 2539 กองทัพอากาศรัสเซียซื้อเข้าประจำการในปี 2552 เพื่อใช้เป็น ผป. และ ยังใช้สำหรับฝึกนักบินลาดตระเวน นอกจากนั้นยังบรรทุกอาวุธได้ถึง 3 ตัน เท่าๆ กับเครื่องบินชับไล่โจมตีขนาดเล็ก

เมื่อมองไปยังตลาดเครื่องบินฝึก/ขับไล่โจมตีไอพ่นแบบเดียวกัน จะพบว่า Yak-130 มีคู่แข่งสำคัญมากขึ้น นอกจาก T-1 "Hawk" ของ BAE Systems ค่ายยุโรป ซึ่งต่อมาได้พัฒนาไปเป็น "เหยี่ยวนกเขา" หรือ T-45 "กอสฮอว์ก" (Goshawk) ในสหรัฐอีกรุ่นหนึ่ง ปัจจุบันยังมี T-50 "อินทรีทอง" (Golden Eagle) ของเกาหลี เป็นตัวเลือกที่โดดเด่น แบบหลังยังเป็นเพียงรุ่นเดียวที่มีความเร็วเหนือเสียง.
กำลังโหลดความคิดเห็น