xs
xsm
sm
md
lg

กองทัพลาวมีกองพลทหารม้าครั้งแรกในรอบ 70 ปี มีนายพลเพิ่มอีก 7 คน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>พล.ท.จันสะหมอน จันยาลาด รมว.ป้องกันประเทศ เป็นประธานในการประชุม ประกาศการก่อตั้ง กองพลรถถังและยานเกราะ วันที่ 28 ต.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งมีเป็นครั้งแรกตั้งแต่การก่อตั้งกองทัพประชาชน เมื่อ 67 ปีที่แล้ว ปัจจุบันกองทัพลาวยังใช้รถถังกับ รถล้อยางหุ้มเกราะรุ่นเก่าๆ ตั้งแต่ยุคสมครามเย็น ซึ่งหลายประเทศปลดระวางไปจนหมดแล้ว การก่อตั้ง หน่วยรบม้า จึงทำให้จะต้องจับตา เงียหูคอยติดตามข่าว การจัดซื้อจัดหาฮาร์ดแวร์กลาโหมที่ทันสมัย. -- หนังสือพิมพ์กองทัพประชาชน. </b>

MGRออนไลน์ -- กระทรวงป้องกันประเทศแห่ง สปป.ลาว ได้ประกาศจัดตั้งกองพลรถถังและยานเกราะอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เกือบ 70 ปี ของการก่อตั้งกองทัพ ที่กรำศึกมาอย่างโชกโชน ทั้งในช่วงปีของสงครามเพื่อเอกราช และ หลังจากนั้นที่ก้าวสู่สงครามเวียดนาม การจัดตั้งกองพลรบใหม่นี้ ยังตามมาด้วยการแต่งตั้งผู้บัญชาการคนแรก พร้อมกับแต่งตั้งนายพลใหม่ ในสังกัดอื่นๆ อีก 6 รวมเป็นทั้งหมด 7 คน

ตามรายงานของ "กองทัพประชาชน" การประกาศจัดตั้งกองพลรถถังและยานเกราะ มีขึ้นตั้งแต่วันที่ 28 ต.ค. โดย พล.ท.จันสะหมอน จันยาลาด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงป้องกันประเทศ มีคณะพรรคสาขากระทรวง กับ คณะนำทั้ง 4 กรมใหญ่ของกองทัพ ห้องว่าการกระทรวง และ สถาบันต่างๆ ในสังกัด รวมทั้งพนักงานอาวุโสบำนาญ และ พนักงานพื้นฐานเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

การก่อตั้งกอง "ข 661" เป็นไปตามมติของกระทรวงป้องกันประเทศ ที่ให้ยกระดับ กอง "ค 661" ซึ่งเป็นหน่วยสู้รบระดับกรม (Regiment) ให้เป็นหน่วยรบที่ใหญ่ขึ้น เป็นเหล่ารบรถถังและยานเกราะ ภายใต้กรมใหญ่ (General Department) เสนาธิการกองทัพ

มติตกลงเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีออกมาตั้งแต่วันที่ 13 ก.ค.2559 และ ก่อนหน้านั้น ในเดือน มิ.ย. ก็ได้มีมติแต่งตั้งนายทหารระดับนายพันโท และพันตรี จำนวนหนึ่งเข้าทำหน้าที่ประจำหน่วยงานใหม่ เพื่อเตรียมการยกระดับ หนังสือพิมพ์รายวัน ซึ่งเป็นเสียงของกระทรวงป้องกันประเทศและกองทัพประชาชนลาวกล่าว

ต่อมาวันที่ 2 พ.ย. รมว.ป้องกันประเทศ ก็ได้ทำพิธีประกาศการแต่งตั้ง และ เลื่อนยศชั้นนายทหารระดับสูง ในหลายกรมกอง ขึ้นเป็นนายพลจัตวา รวมทั้งหมด 7 อัตรา รวมทั้ง พ.อ.บัววัน บุดทะจันโท หัวหน้ากรมรถถังและยานเกราะ ซึ่งหมายถึงการขึ้นเป็นระดับผู้บัญชาการของหน่วยงาน ที่ยกระดับขึ้นใหม่ และ ทำให้ทราบว่า "กอง ข 661" นั้น เป็นหน่วยงานระดับกองพลน้อย (Brigade) ในระบบของลาว เป็นระดับเทียบเท่ากรมพิเศษ (Special Department) ภายใต้กรมใหญ่เสนาธิการ

นายพันเอกที่ได้รับเลื่อนยศเป็นนายพลจัตวาอีก 6 นาย ได้แก่ พ.อ.พอนใจ พันทะวง หัวหน้ากรมราชการลับ พ.อ.เวียงสะหวัน ลาดซะเพา รองหัวหน้ากรมใหญ่เทคนิค พ.อ.สุไก พิมมะสาน หัวหน้าการทหาร กองบัญชาการทหารแขวงจำปาสัก พ.อ.บัวไล พมมะวง หัวหน้ากรมก่อสร้างรากฐาน พ.อ.ลำพอน นนจันทะวง หัวหน้ากรมก่อสร้างและคุ้มครองทรัพย์สิน และ พ.อ.อาลุนไซ วงคำวิจิต รองหัวหน้าห้องว่าการกระทรวง (หรือ รองปลัดกระทรวง)

การเลื่อนยศชั้นให้แก่นายทหารระดับพันเอกครั้งนี้ เป็นขบวนการต่อเนื่่องกัน หลังจากมีการแต่งตั้งโยกย้าย นายทหารระดับนายพลจัตวาของกองทัพและกระทรวงนับสิบนาย ในสัปดาห์ปลายเดือนที่แล้ว ซึ่งรวมทั้งการเลื่อนยศนายทหารรองหัวหน้ากรมใหญ่ และ รองหัวหน้าห้องว่าการกระทรวงอีก 1 คน เป็นนายพลตรี และ เป็นหัวหน้าหน่วยงานที่สังกัด
.
<br><FONT color=#00003>ภาพที่เผยแพร่ในเฟซบุ๊กชองชาวลาวเมื่อต้นปีนี้ แสดงให้เห็นทหาร ลดตัง ของกองทัพประชาชน ซึ่งเป็นภาพที่หาดูได้ยากมากๆ ทีเดียว. </b>
2
<br><FONT color=#00003>2 พ.ย.2559 รมว.ป้องกันประเทศลาว ประชุมการนำประกาศการเลื่อนยศชั้นและตำแหน่ง ระดับนายพลอีก 7 คน รวมทั้งผู้บังคับการกรมรถถัง-ยานหุ้มเกราะ ซึ่งได้กลายเป็นนายพลจัตวา ผู้บัญชาการกองพล (น้อย) รถถังคนแรก. -- หนังสือพิมพ์กองทัพประชาชน. </b>
3
เมื่อระดับนายพลจัตวาและนายพันเอกได้เลื่อนยศชั้น ก็ทำให้เกิดระดับรองได้ขยับตาม ได้เลื่อนยศ-ตำแหน่ง ก้าวหน้าไปทำหน้าที่ ที่มีความรับผิดชอบมากขึ้น

พล.ท.จันสะหมอน ซึ่งเป็นกรรมการกรมการเมืองศูนย์กลางพรรคอาวุโสคนหนึ่ง กล่าวในพิธีประกาศการเลื่อนยศชั้นครั้งนี้่ว่า ได้แสดงให้เห็นคุณความดี ความรอบรู้กับผลงานของนายทหารเหล่านั้น เพื่อร่วมกันนำกองทัพไปสู่ความทันสมัย ตามแบบแผนของกระทรวงป้องกันประเทศ

หลายปีมานี้โลกภายนอกไม่ค่อยมีโอกาสจะได้เห็นรถถัง หรือ ยานเกราะของกองทัพประชาชนลาวมากนัก แต่สื่อของทางการได้รายงานเกี่ยวกับการฝึกซ้อมทางยุทธวิธี ของหน่วยรถถังกองทัพประชาชน อยู่เป็นระยะๆ

ตามตัวเลขที่สื่อกลาโหมบางสำนัก รวบรวมจากรายงานขององค์การสหประชาชาตินั้น บ่งบอกว่ากองทัพประชาชนลาว ยังคงใช้รถ PT61 ซึ่งเป็นรถถังเบาผลิตในสหภาพโซเวียต ที่มีอยู่รับร้อยคัน แต่ทั้งหมดเริ่มเสื่อมสภาพและยากแก่การซ่อมบำรุง เนื่องจากใช้มานานกว่า 40 ปี และ ต่อมาในยุคใหม่ ลาวได้ซื้อรถถัง T-54, T-55 จากโซเวียตอีกราว 30 คัน ซึ่งได้เป็นกำลังหลักของหน่วยยานเกราะในปัจจุบัน

ลาวยังมียานลำเลียงพลล้อยางหุ้มเกราะรุ่นเก่า ที่ผลิตในโซเวียตนับร้อยคัน แต่ไม่มีรายละเอียดใดๆ เกี่ยวกับสถานะในปัจจุบันของยานเกราะเหล่านั้น ในขณะที่หลายประเทศที่เคยมีใช้ ต่างทะยอยปลดระวางไปจนหมดแล้ว

ลาวเพิ่งฉลองครบรอบ 65 ปีของกองทัพประชาชน เมื่อต้นปี 2556 และ หลายปีมานี้ สื่อของทางการได้รายงาน ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่ๆ ของกองทัพประชาชน อยู่เป็นระยะ ซึ่งรวมทั้ง การมืองหาเครื่องบินรบและรถถังรุ่นใหม่ด้วย

เคยมีรายงานในสื่อต่างประเทศหลายปีก่อนหน้านี้ว่า กลุ่มยุโรปตะวันออกค่ายโซเวียตเมื่อก่อน มีบางประเทศ รวมทั้งเบลารุสที่เคยให้คำมั่นจะช่วยเหลือลาว ในการพัฒนากองทัพรถถัง แต่ก็ยังไม่มีข่าวความคืบหน้าใดอีกเลยนับตั้งแต่นั้น.
.

จากการก่อตัวเป็นหน่วยทหารกองหลอน (กองโจร) เดินเท้า เมื่อ 67 ปีที่แล้ว กองทัพประชาชนลาวเติบใหญ่ ขยายตัวมาเป็นระยะๆ พร้อมกับข่าวคราว เกี่ยวกับแผนการจัดซื้อจัดหา อาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย มีการจัดระบบและสายบังคับบัญชา ในกระทรวงกับกองทัพให้ทันสมัย วันนี้ลาวได้มีหน่วยรบแบบเดียวกันกับทหารม้ายานเกราะ อย่างเต็มภาคภูมิ [ภาพทั้งหมดจากหนังสือครบรอบ 65 ปีกองทัพประชาชนลาว].

<br><FONT color=#00003>ลุงไกสอน พมวิหาน (ขวาสุด) ผู้ก่อตั้งกองทัพประชาชน นำการต่อสู้ผ่านศึกใหญ่มาถึง 2 ยุค เมื่อครั้งอยู่ที่เขตปลดปล่อย แขวงหัวพัน กับ ลุงสุพานุวง ลุงคำไต สีพันดอน และ ลุงหนูฮัก พูมสะหวัน ซึ่งต่อมาล้วนเป็นผู้นำระดับสูงของพรรคและรัฐ.</b>
4

5

6

7
กำลังโหลดความคิดเห็น