xs
xsm
sm
md
lg

ข่าวสยองในรอบปี... ปีนี้เขื่อนลาวแตกไป 2 เขื่อน รัฐมนตรีแถลงเองในสภาฯ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>ภาพแสดงให้เห็นหลังเหตุการณ์ เขื่อนน้ำอ้าวแตก ในแขวงเชียงขวาง 11 ก.ย.2560 ส่งโคลนปนน้ำไฟลงไปฝังรถยนต์ที่ไม่ทราบนิด 1 คันจนเกือบมิดหลังคา แต่ความเสียหายที่ใหญ่หลวงกว่า เกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้าน้ำอ้าวกับโรงไฟฟ้าเขื่อนน้ำเงียบ 2 ขนาด 180 เมกะวัตต์ จนไม่สามารถปั่นไปได้อีก สื่อต่างๆ รวมทั้งที่นี่ -- ได้รายงานเรื่องนี้ไปแล้ว แต่เป็นครั้งแรกที่ ชาวลาวได้ยินจากปากของรัฐมนตรีเข้ากระทรวงที่รับผิดชอบเอง -- และไม่ใช่แห่งเพียงเดียว หากยังเกิดขึ้นที่เขื่อนใหญ่อีก 1 เขื่อนด้วย. </b>
MGRออนไลน์ -- ปี 2560 ที่กำลังจะผ่านไปในอีกไม่นานนี้ ได้เกิดเหตุการณ์เขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำพังไป 2 แห่ง มิใช่เขื่อนขนาดเล็กในภาคเหนือเพียงแห่งเดียว ตามที่รายงานโดยสื่อแห่งต่างๆ ก่อนหน้านี้ หากยังรวมทั้งเขื่อนใหญ่ ที่มีกำลังติดตั้งกว่า 200 เมกะวัตต์ในแขวงภาคใต้อีกหนึ่งแห่งด้วย รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ของลาว ยืนเรื่องนี้ระหว่างตอบคำถาม ของบรรดาผู้แทนราษฎร ในการประชุมสภาแห่งชาติสัปดาห์ที่ผ่านมา

นับเป็นข่าวร้ายทีเดียว สำหรับประเทศที่ได้รับการขนานนาม เป็น "ดินแดน 100 เขื่อน" และ เป็น "แบตเตอรีแห่งอนุภูมิภาค" ซึ่งในปัจจุบันมีเขื่อน ที่ผลิตไฟฟ้าได้แล้ว รวมกันกว่า 30 เขื่อน และ มีโครงการผลิตไฟฟ่าประเภทต่างๆ อยู่ระหว่างการพัฒนาอีกเกือบ 50 แห่ง -- เกือบทั้งหมดเป็นเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ

ภาพจำนวนหนึ่ง ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์การไฟฟ้าลาวก่อนหน้านี้ ได้แสดงให้เห็นความเสียหายที่เกิดขึ้น หลังจากเขื่อนน้ำอ้าว ในแขวงเชียงขวาง แตกในสัปดาห์กลางเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา ส่งน้ำหลายแสนลูกบาศก์เมตร จากอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน ลงไปตามลำน้ำอีกสายหนึ่ง ไหลลงสู่แขวงไซสมบูน น้ำไหลเข้าท่วมโรงไฟฟ้าเขื่อนน้ำเงียบ 2 ที่อยู่ใต้ลงไปเสียหายอย่างหนัก จนไม่สามารถผลิตไฟฟ้าต่อไปได้ รวมทั้งบ้านเรือน พื้นที่ทางการเกษตร และ ทรัพย์สินอื่นๆ ของราษฎร ตามรายทางอีกจำนวนหนึ่งด้วย (โปรดชมภาพและวิดีโอคลิปประกอบ)

นายคำมะนี อินทิลาด รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานฯ กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เขื่อนน้ำอ้าว (ขนาด 12 เมกะวัตต์/สื่อของทางการรายงานก่อนหน้านี้เป็น 15 เมกะวัตต์) กับอีกแห่งหนึ่ง คือเขื่อนเซกะหมาน 3 แขวงเซกอง ทางตอนใต้ของประเทศ ล้วนเกิดจาก "ຜູ້ພັດທະນາໂຄງການ ບໍ່ປະຕິບັດຕາມຂັ້ນຕອນມາດຕະຖານ ເຕັກນິກຂອງໄຟຟ້າລາວ" (ผู้พัฒนาโครงการไม่ได้ปฏิบัติ ตามขั้นตอนมาตรฐานเทคนิคของรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว) และ ตั้งแต่นั้นมากระทรวงฯ ได้ส่งคณะกรรมการพิเศษ ลงตรวจตรา โครงการก่อสร้างเขื่อนแห่งต่างๆ เพื่อให้มีหลักประกัน จะไม่เกิดเหตุการณ์เขื่อนแตก เช่นนี้อีก
.

สำหรับเขื่อนน้ำอ้าว ลงทุนพัฒนาโครงการโดยบริษัทบ่อทองอินเตอร์กรู๊ปของ สปป.ลาว เซ็นสัญญาเมื่อวันที่ 20 ต.ค.2558 อายุสัมปทาน 70 ปี จัดทำรายงานการสำรวจทางธรณีวิทยาโดยบริษัทที่ปรึกษาอิสระ จัดทำบทวิพากษ์เศรษฐกิจและเทคนิค แต่ขาดความละเอียด และ ในเดือนย ก.ย.2558 ถูกสั่งให้แก้ไขแบบแปลน รวมทั้งจัดทำบทวิพากษ์ทางเศรษฐกิจ-เทคนิคอย่างละเอียด จนแล้วเสร็จและผ่านการพิจารณา -- ต่อมาในเดือน ก.ค.6559 จึงมีการเซ็นความตกลงซื้อขายไฟฟ้ากับรัฐบาล โดยจะเริ่มจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ ฟฟล.ในปี 2561 หนังสือพิมพ์ปะเทดลาว รายงานรายละเอียดเหล่านี้ อ้างข้อมูลที่รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานฯ รายงานในสภาแห่งชาติ

การก่อสร้างโครงการน้ำอ้าว แล้วเสร็จไปกว่า 80% และ มีน้ำในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนราว 5 แสนลูกบาศก์เมตร จนกระทั่งเมื่อเวลา 13.50 น. วันที่ 11 ก.ย.2560 จึงได้เกิดเหตุการณ์เขื่อนแตก น้ำปนโคลนไหลทะลักลงสู่ลำน้ำเสียม ไหลเข้าท่วมโรงไฟฟ้าน้ำอ้าว และ ไหลลงสู่ลำน้ำเงียบ ท่วมโรงไฟฟ้าของโครงการน้ำเงียบ 2 ท่วมบ้านเรือนราษฎรในหมู่บ้าน ที่อยู่ใต้ลงไป รวมทั้งโรงเลื่อยอีก 1 แห่งด้วย

เหตุการณ์เขื่อนน้ำอ้าวแตก นอกจากได้สร้างความเสียหาย ให้แก่โครงการเองแล้ว ยังสร้างความเสียหายอย่างหนัก แก่โรงไฟฟ้าน้ำเงียบ 2 ขนาด 180 เมกะวัตต์ ทำให้ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าให้แก่ ฟฟล.ได้อีกต่อไป จนกว่าการซ่อมแซมให้เครื่องจักรทั้งหมด กลับมามีมาตรฐานได้ดั่งเดิม

ตามรายงานของ ดร.คำมะนี สาเหตุที่ทำให้เกิดการกัดเซาะ จนทำให้เขื่อนพังทลายนั้น เนื่องมาจากการถมดินสันเขื่อน กับการอัดแน่น ที่มีการเสริมแกนเขื่อนด้วยดินเหนียว และ การทดสอบชั้นดินถมแต่ละชั้น พบว่าไม่ได้มาตรฐาน น้ำสามารถซึมผ่านได้ และ "​ແຕກ​ພັງໃນທີ່ສຸດ"

หลังเหตุการณ์เขื่อนน้ำอ้าวแตก กระทรวงฯ ได้ร่วมดันทางการแขวงเชียงขวาง ไซสมบูน และ บริษัทผู้พัฒนาโครงการ ลงตรวจตรา สำรวจผลเสียหาย จนกระทั่งได้ข้อสรุปว่า ผู้พัฒนาโครงการ ไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนมาตรฐานและเทคนิค ที่ ฟฟล.วางออก เหตุการณ์นี้ทำให้กระทรวงพลังงานฯ ออกคำสั่ง และ ประกาศแจ้งการ มีการก่อตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจลงพื่นที่ เพื่อตรวจตราโครงการน้ำอ้าว รวมทั้งโครงการเขื่อนขนาดเล็กอื่น ทีทางการแขวงท้องถิ่นเป็นผู้อนุมัติอีกครั้งหนึ่ง ในขอบเขตทั่วประเทศ
.





<br><FONT color=#00003>นายเหวียนเติ๋นยวุ๋ง นายกรัฐมนตรีเวียดนามในขณะนั้น ไปเป็นประธานพิธีเปิดเดินเครื่องปั่นไฟ หน่วยที่ 1 ที่ไซต์ก่อสร้าง ในแขวงเซกอง -- รัฐมนตรีลาวกล่าวว่า กลุ่มโซงด่าจากเวียดนาม ไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจตรา ระหว่างการก่อสร้าง และ นำมาสู่ความหายนะ  -- ไม่นานมานี้ยังเกิดเหตแก๊สระเบิด<a href=https://mgronline.com/indochina/detail/9600000077195> ที่เขื่อนน้ำเงียบ 1 แขวงบอลิคำไซ </a>ซึ่งก่อสร้างโดยกลุ่มโซงด่า เช่นเดียวกัน เป็นเหตุให้คนงานชาวเวียดนาม เสียชีวิตถึง 6 คน บาดเจ็บสาหัสอีก 2. -- ภาพจากเว็บไซต์ Song Da Corp. </b>
ส่วนเขื่อนเซกะหมาน 3 ลงทุนโดยบริษัทจากเวียดนาม และ ที่ผ่านมาได้มีความยุ่งยากในการจัดตั้งปฏิบัติ และการกำกับดูแล เนื่องจากเจ้าของโครงการ ไม่ให้ความร่วมมือ ในการลงตรวจตรา การก่อสร้างตัวจริง โดยอ้างว่ามีมาตรฐานของตนเอง ถึงแม้ว่าในเบื้องต้น จะได้ส่งผู้เชี่ยวชาญลงตรวจตรา และ ให้คำแนะนำด้านการปฏิบัติอย่างเป็นระบบแล้ว แต่ "ຜູ້​ພັດທະນາ​ໂຄງການ​ ບໍ່​ປະຕິບັດ​ຕາມ​ຂັ້ນຕອນ​ທາງ​ດ້ານ​ເຕັກນິກ​ດີ​ເທົ່າ​ທີ່​ຄວນ" รัฐมนตรีลาวกล่าวในสภาฯ

อย่างไรก็ตามเมื่อ เมื่อเกิดเหตุการณ์ท่อส่งน้ำแรงดันสูงแตก ฝ่ายผู้พัฒนาโครงการจึงได้เข้าใจ และ ยอมใช้วิศวกรจากต่างประเทศ เพื่อทำการซ่อมแซมโครงการ และ ปัจจุบันได้ให้ความร่วมมือ กับกระทรวงพลังงานฯ อย่างใกล้ชิด เร่งซ่อมแซมให้ได้มาตรฐาน และ สามารถผลิตไฟฟ้าอย่างมีหลักประกัน ดร.คำมะนีกล่าว

รัฐมนตรีลาวรายงานเรื่องนี้ ระหว่างตอบคำถามสมาชิกสภาแห่งชาติเมื่อวันที่ 25 ต.ค. สำนักข่าวของทางการลาวรายงาน โดยไม่ได้รายละเอียดใดๆ เกี่ยวกับความเสียหาย ที่เกิดจากว่า "ระบบท่อส่งน้ำแรงดันสูงแตก" ที่เซกะหมาน 3 ซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดาเขื่อนผลิตไฟฟ้าหลายเขื่อน ที่ปล่อยน้ำลงสู่ลำน้ำเซกะหมาน กับ ลำน้ำเซกอง ช่วงที่ไหลผ่านจังหวัดทางตอนใต้สุดของประเทศ

ตามรายงานในเว็บไซต์รัฐวิสาหกิจโซงด่า (Sông Đà) แห่งเวียดนาม ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น 85% และ เป็นบริษัทก่อสร้างหลัก โครงการเขื่อนเซกะหมาน 3 (หรือ "เซขะหมาน" ในสำเนียงท้องถิ่น) มีมูลค่าการลงทุน 311.73 ล้านดอลลาร์ ภายใต้สัญญาสัมปทาน 25 ปี ใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี รวมเป็น 29 ปี มีรัฐบาลลาวร่วมถือหุ้น 15% ที่เหลือ -- ก่อสร้างโดยใช้บริษัทที่ปรึกษา ของกลุ่มบริษัทโซงดาเดียวกัน -- เขื่อนประกอบด้วยหน่วยปั่นไฟ จำนวน 2 หน่วย รวมกำลังติดตั้ง 250 เมกะวัตต์ และ 90% ของกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ ส่งจำหน่ายให้รัฐวิสาหกิจไฟฟ้าเวียดนาม

เขื่อนแห่งนี้สร้างกั้นลำห้วยพยู ซึ่งเป็นสาขาหลักของลำน้ำเซกะหมาน ตั้งอยู่ในเขตเมืองดากจึง แขวงเซกองของลาว เขื่อนทำให้เกิดพื้นที่อ่างเก็บน้ำกว่า 5 ตารางกิโลเมตร การก่อสร้างเริ่มในเดือน เม.ย.2549 ใช้วัสดุอุปกรณ์ และระบบควบคุมทุกอย่างจากบริษัท Va Tech Hydro GmbH ประเทศออสเตรีย ใช้วิธีผันน้ำผ่านระบบอุโมงค์ ไปยังโรงไฟฟ้าที่อยู่ใต้ลงไปหลายกิโลเมตร -- ซึ่งก็คือ "ท่อส่งน้ำแรงดันสูง" ในข่าว -- ก่อนปล่อยไหลลงสู่ลำน้ำเซกะหมาน และ มีการก่อสร้าง ระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูงขนาด 230 กิโลโวลต์ ระยะทาง 92 กิโลเมตร ไปเชื่อมข่ายสายส่งไฟฟ้าในเวียดนาม

แต่เดิมมีกำหนดเริ่มปั่นไฟในปี 2555 แต่เกิดความล่าช้าในการก่อสร้าง กว่าจะเปิดเดินเครื่องปั่นไฟหน่วยแรกได้ ก็จนถึงกลางปี 2556 โดยนายเหวียน เติ๋น ยวุ๋ง นายกรัฐมนตรีเวียดนามในขณะนั้น เดินทางไปเป็นประธานทำพิธี
.

<br><FONT color=#00003>อุโมงค์ส่งน้ำ หรือ ระบบท่อส่งน้ำความดันสูง ของเขื่อนเซกะหมาน 3 ระหว่างการก่อสร้าง แสดงให้เห็นขนาดอันมหึมา เมื่อเทียบกับคน สาเหตุที่ทำให้เขื่อนใหญ่ 250 เมกะวัตต์แตก เกิดขึ้นที่จุดนี้.  -- ภาพจากเว็บไซต์ Song Da Corp. </b>
.
ตามตัวเลขที่สามารถรวบรวมได้ โดย "MGR ออนไลน์" ในปัจจุบัน มีโครงการเขื่อนขนาดเล็กตั้งแต่ 1-15 เมกะวัตต์ อยู่ระหว่างการก่อสร้างกว่าสิบแห่งทั่วประเทศ และ ทางการแขวงต่างๆ ยังเซ็นอนุมัติโครงการ เขื่อนขนาดเล็กอย่างต่อเนื่อง โครงการที่เพิ่งได้รับอนุมัติ หรือ เริ่มลงมือก่อสร้างในปี 2560 นี้ รวมทั้งเขื่อนน้ำไฟ 2.5 เมกะวัตติ์ ในเขตเมืองวังเวียง แขวงเวียงจันทน์ เขื่อนน้ำสัง 5 เมกะวัตต์ ในเขตเมืองสังทอง นครเวียงจันทน์ เขื่อนน้ำไส 2 ขนาด 5 เมกะวัตต์ ในเขตเมืองสาละวัน แขวงสาละวัน เขื่อนเซละนอง 3 ขนาด 12.5 เมกะวัตต์ ในเขตเมืองตาโอ้ย แขวงสาละวัน

ขณะเดียวกันทางการแขวงสาละวัน ก็กำพลังพิจารณาโครงการเขื่อนน้ำสะหลายอีกหนึ่งแห่ง เป็นเขื่อนขนาด 10.4 เมกวัตต์ ในเขตเมืองตาโอ้ย เช่นเดียวกัน สำนักข่าวสารปะเทดลาว รายงานเรื่องนี้ในเดือน มี.ค. 2560 และ แห่งล่าสุดได้แก่เขื่อนห้วยกะออน ขนาด 14.8 เมกะวตต์ ในเขตเมืองพูวง แขวงอัตตะปือ เพิ่งได้รับอนุมัติในเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา

ตามแผนงานและวิสัยทัศน์ของกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ลาว กับแผนการพัฒนาพลังงาน 5 ปี ระหว่างปี 2559-2563 เพื่อให้มีไฟฟ้าใช้อย่างเพียงพอทั่วประเทศ และ เพื่อส่งออก นำรายได้เข้าประเทศ -- สปป.ลาว จะมีแหล่งผลิตไฟฟ้าถึง 90 แห่ง -- เกือบทั้งหมด เป็นการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำจากเขื่อน

ตามตัวเลขของ ฟฟล. ในปี 2560 มีเขื่อนใหญ่น้อย ที่ผลิตไฟฟ้าแล้ว รวมกันเป็นจำนวนกว่า 30 เขื่อน จากโครงการผลิตไฟฟ้าทุกประเภท รวม 48 โครงการ ซึ่งในนั้นเป็นเขื่อน 43 เขื่อน โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากถ่านหิน 3 แห่ง และ โครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์และจากแรงลมอีก 2 โครงการ มีกำลังติดตั้้งรวมกันราว 5,000 เมกะวัตต์ ราว 90% ของกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ ส่งจำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตของไทย

ตามแผนการเดียวกันนี้ จนถึงปี 2563 หรือ อีก 3 ปีข้างหน้า ทั่ว สปป.ลาว จะมีกำลังติดตั้งในการผลิตไฟฟ้ารวมกันราว 10,000 เมกะวัตต์ -- แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็เป็นเพียงไม่ถึงครึ่งหนึ่ง ของศักยภาพการผลิตไฟฟ้าที่มีอยู่ทั้งหมด ในประเทศคอมมิวนิสต์แห่งนี้.
.
กำลังโหลดความคิดเห็น