MGRออนไลน์ -- ทางการนครโฮจิมินห์ กับ 4 จังหวัดเขตที่ราบปปากแม่น้ำโขง และ นครเกิ่้นเทอ ได้เห็นพ้องกันที่จะฟื้นโครงการรก่อสร้าง ระบบรถไฟความเร็วสูง สายใต้ขึ้นมาดำเนินการอีกครั้งหนึ่ง และ จะเสนอขออนุมัตินายกรัฐมนตรีในเร็วๆ นี้ โดยใช้เงินกู้จากแคนาดา การริเริ่มครั้งใหม่ ได้ทำรถไฟความเร็วสูงในเวียดนาม กลับมามีชีวิตอีกครั้ง หลังจากเงียบหายไป นับตั้งแต่โครงการมูลค่าหลายแสนล้าน เมื่อหลายปีก่อนต้องพับไป หลังจากรัฐสภาโหวตลงมติไม่เห็นชอบ ในช่วงปีที่หนี้สินของประเทศ อยู่ในระดับสูงมาก
ต่างไปจากเมื่อ 7-8 ปีก่อน ซึ่งเป็นความริเริ่มของรัฐบาล ที่จะสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงกว่า 1,700 กิโลเมตร เชื่อมกรุงฮานอยกับนครโฮจิมินห์ และ เวลาต่อมาได้พ่วงอีกช่วงหนึ่ง คือ โฮจิมินห์-เกิ่นเทอ เข้าไปด้วย ซึ่งจะช่วยร่นระยะเวลาการเดินทาง จากเหนือลงใต้ จาก 30-32 ชั่วโมงในปัจจุบัน เหลือ 7-8 ชั่วโมงเศษเท่านั้่น
"ที่ประชุมเห็นพ้องกัน ที่จะต้องดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงสายโฮจิมินห์-เกิ่นเทอต่vไป" จิถึกแจ๋ (เยาวชนปัญญาชน) สำนักข่าวออนไลน์ รายงานอ้างการแถลง โดยนายเหวียนแถ่งฟอม (Nguyen Thnah Phong) ประธานคณะกรรมการประชาชน (ผู้ว่าราชการ) นครโฮจิมินห์ อันเป็นผลจากการประชุมหารือ ร่วมกับคณะบริหารจาก จ.ลองอาน (Long An) เตี่ยนซยาง (Tien Giang) โด่งท้าป (Dong Thap) จ.หวีงลอง (Vinh Long) กับนครเกิ่นเทอ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของเขตที่ทราบปากแม่น้ำโขง
ตามแผนการที่มีอยู่แล้วนั้น รถไฟความเร็วสูงโฮจิมินห์-เกิ่นเทอ มีระยะทางเพียง 130 กิโลเมตร เป็นรางกว้าง 1.435 เมตร คาดว่าจะใช้เงินลงทุนราว 3,600 ล้านดอลลาร์ ออกแบบให้แล่นด้วยความเร็ว 200 กม./ชม. สำหรับขบวนรถโดยสาร และ ช้ากว่านั้นสำหรับขบวนบรรทุกสินค้าน
ทำไมจึงต้องมีรถไฟความเร็วสูงสายใต้?
การศึกษาวิจัยโดยสถาบันวิทยาศาสคตร์และเทคโนโลยีภาคใต้ เขตที่ราบปากแม่น้ำโขง ตั้งแต่ใต้โฮจิมินห์ลงไป ยังคงเป็นเขตที่พัฒนาน้อยที่สุดของประเทศ แต่ในขณะเดียวกันกลับเป็นอู่ข้าวใหญ่ ซึ่งข้าวส่งออกราว 40% ไปจากเขตที่ราบใหญ่นี้ ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูป หลากหลายแขนงได้ขยายตัวลงสู่ตอนใต้ของประเทศ เกิดมีสวนอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม ผุดขึ้นมาหลายสิบแห่ง เกิดจากการจ้างงานนับหมื่นนับแสนตำแหน่ง ในช่วง 10 ปีมานี้
ปัจจุบันตามเส้เนทาง จากโฮจิมินห์ ลงสู่ 4 จังหวัด เต็มไปด้วยโรงงานใหญ่น้อย ซึ่งทำให้เขตที่ราบปากแม่น้ำโขง กลายเป็นแหล่งผลิตอุตสาหกรรม และ เป็นเขตการลงทุนใหม่ แต่ยังไม่มีระบบคมนาสคมขนส่งที่ดีพอรองรับ ยังไม่มีเส้นทางอื่นที่จะนำสินค้าส่งออก ไปยังท่าเรือน้ำลึกเติ่นก๋าง-ก๋ายแหม็บ ได้ แต่จะต้องขนไปลงเรือฟีดเดอร์ที่ท่าเรือไซ่ง่อนอีกต่อหนึ่ง
การขนส่งระบบรางนั้นสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และ ยังมีต้นทุนการขนส่งต่ำที่สุดอีกด้วย
.
2
ธรรมชาติของเขตที่ราบปากแม่น้ำโขง ที่เต็มไปด้วยระบบลำน้ำลำธาร กับคูคลองชลประทานนั้่น ได้ทำให้นิยมไปมาหาสู่กันโดยทางเรือ จนเป็นความเคยชิน แต่ปัญหาจะเกิดขึ้นทันที หากจะต้องเดินทางออกจากพื้นที่ ขึ้นเหนือ
เวียดนามเพิ่้งเปิดใช้ทางหลวงสาย 1A ช่วงต่อขยาย จากโฮจิมินห์ ลงไปจนถึงนครเกิ่นเทอ เมื่อปี 2554 ก่อนหน้านั้น 1 ปี ได้เปิดใช้สะพานเกิ่นเทอข้ามแม่น้ำเหิ่ว (แม่น้ำโขง) ทำให้สองนครใหญ่แห่งภาคใต้ สามารถเชื่อมต่อถึงกันทางบกได้โดยตรง เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่สงครามเวียดนามยุติลง
อย่างไรก็ตามการพัฒนาอุตสาหกรรมในเขตที่ราบปากแม่น้ำ ทำให้เศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น ขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีรถยวดยานแล่นบนทางหลวงสายหลัก เพียงสายเดียว มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างรถบรรทุกขนาดใหญ่ ทำให้ผิวจราจรน้อยลง และ ยวดยานไม่สามารถทำความเร็วได้
กระทรวงขนส่งกำลังจะตัดถนนอีกสายหนึ่ง ระยะทาง 100 กม. จากนครโฮจิมินห์ ไปยัง อ.ก๋ายแบ่ เพื่ออ้อม จ.เตี่ยนซยาง ไปยัง จ.หวีงลอง กับนครเกิ่นเทอ เป็นการระบายความแออัดคับคั่ง ของทางหลวง 1A ส่วนต่อขยายในปัจจุบัน
ตามรายงานของจิถึกแจ๋ ทางรถไฟความเร็วสูงสายใต้ จะมีสถานีจอดเพียง 10 แห่ง แต่ทุกแห่งล้วนเป็นจุดสำคัญในแต่ละจังหวัด เป็นจุดที่เต็มไปด้วยเมืองใหม่ ชุมชนใหม่ๆ รายล้อม อันเป็นผลจากการขยายการลงทุนลงใต้ ของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ จึงเป็นประโยชน์ทั้งในการ "ขนคน" และ "ขนของ" หรือ ขนส่งสินค้านั่นเอง
ด้วยความร่วมมือจากรัฐบาลแคนาดา กลุ่มมอร์ฟันด์ (Morfund Financial Inc) แห่งเมืองแวนคูเวอร์ ได้เสนอเงินทุน สำหรับการลงทุนเพื่อโครงการนี้ รวมทั้งกลุ่มทุนอีกกลุ่มหนึ่งจากเกาหลีด้วย
ประธานคณะกรรมการประชาชนนครโฮจิมินห์กล่าวอีกว่า หากรีบดำเนินการ และ ได้รับอนุมัติจากรัฐบาลในปีนี้ การเตรียมการก่อสร้างก็สามารถจะเริ่ม ได้จริงๆ ตั้งแต่ต้นปีหน้า และ ทันเปิดใช้ในปี 2568 หรืออีก 8 ปีข้างหน้า.