xs
xsm
sm
md
lg

นักข่าวพม่านับร้อยชุมนุมในย่างกุ้ง โอดยุคนี้สื่อโดนกดดันหนัก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>นักข่าวรวมตัวประท้วงเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ทหารให้ปล่อยตัวนักข่าวที่ถูกจับกุมตัว ในนครย่างกุ้ง วันที่ 30 มิ.ย. -- Reuters/Soe Zeya Tun.</font></b>

รอยเตอร์ - นักข่าวพม่าราว 100 คน รวบรวมรายชื่อกันในวันนี้ (30) เพื่อร้องเรียนการจับกุมตัวนักข่าว 4 คน ที่ก่อให้เกิดความวิตกเกี่ยวกับเสรีภาพสื่อ แม้ประเทศจะเปลี่ยนแปลงจากการปกครองของทหารมาแล้วก็ตาม

เป็นเวลากว่า 1 ปี นับตั้งแต่พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย ของนางอองซานซูจี ก้าวขึ้นกุมอำนาจ นักข่าวพม่าระบุว่า การฟ้องร้องของทหารในสัปดาห์นี้ต่อนักข่าวที่รายงานเรื่องราวของกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ เป็นการคุกคามเสรีภาพสื่อ

ซูจี ไม่ได้แสงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ ขณะที่โฆษกของซูจี กล่าวเพียงว่า นักข่าวต้องปฏิบัติตามกฎหมาย

บรรดานักข่าวรวมตัวกันในย่านใจกลางนครย่างกุ้ง ท่ามกลางสายฝนในบ่ายวันนี้ (30) พร้อมถือป้ายประท้วงที่มีข้อความเขียนว่า “หยุดฆ่าสื่อ” และเรียกร้องให้ทางการปล่อยตัวชายทั้ง 4 คน โดยทันที

“ตอนนี้พวกเขากำลังกดดันสื่อ นี่ไม่ใช่การข่มขู่อีกต่อไป แต่เป็นขั้นตอนการกดดัน” เอ หล่า เล ทูซาร์ ผู้ร่วมก่อตั้งคณะกรรมการคุ้มครองผู้สื่อข่าวพม่า กล่าว

นักข่าว 3 คน ของ Democratic Voice of Burma (DVB) และนิตยสาร Irrawaddy ถูกจำคุกตั้งแต่วันจันทร์ (26)

ทหารกล่าวหาชายทั้ง 3 คน ละเมิดพระราชบัญญัติสมาคมนอกกฎหมาย หลังพวกเขาเข้าทำข่าวงานที่จัดขึ้นโดยกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง (TNLA) กลุ่มที่เรียกร้องการปกครองตนเองเพื่อชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ปะหล่อง ที่มักปะทะกับกองกำลังของรัฐ

นักข่าวทั้งสามมีกำหนดขึ้นศาลในรัฐชานวันที่ 11 ก.ค. ซึ่งพวกเขาอาจเผชิญต่อโทษจำคุก 3 ปี

ส่วนนักข่าวอีกรายหนึ่งจากหนังสือพิมพ์ Voice กำลังรอการพิจารณาคดีภายใต้กฎหมายโทรคมนาคม ในข้อหาหมิ่นประมาทจากบทความล้อเลียนเสียดสีทหาร

แม้พรรค NLD มีเสียงข้างมากในสภา และสมาชิกสภาของพรรคหลายคนเป็นอดีตนักโทษการเมือง แต่พรรคกลับไม่ให้ความสำคัญต่อการแก้ไขกฎหมายที่รัฐบาลชุดก่อนหน้าเคยใช้ปราบปรามผู้เห็นต่าง

“คำแถลงของอองซานซูจีเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต้องเป็นมากกว่าแค่สัญญาที่ว่างเปล่า” คำแถลงขององค์กรนักข่าวไร้พรมแดน ระบุ และเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักข่าว 3 คน ที่ถูกตั้งข้อหาในสัปดาห์นี้

ส่วนฮิวแมนไรท์วอทช์ เรียกร้องให้ทางการพม่าถอนข้อหา และเรียกการจับกุมที่เกิดขึ้นว่าเป็นการโจมตีเสรีภาพสื่ออย่างรุนแรง

ในการชุมนุมประท้วงวันนี้ (30) อ่อง เมียว มิน ประธานองค์กร Equality Myanmar กล่าวว่า การจับกุมเป็นสัญญาณเตือนถึงสื่อทั้งหมดในประเทศ

“ผมคิดว่านี่เป็นคำขู่ และเตือนนักข่าวทุกคนด้วยการแสดงให้เห็นว่าพวกเขาสามารถจับกุมนักข่าวได้ทุกเมื่อที่พวกเขาต้องการ” อ่อง เมียว มิน กล่าว.
กำลังโหลดความคิดเห็น