xs
xsm
sm
md
lg

ทหารพม่าจับนักข่าว 3 ราย ลงพื้นที่ทำข่าวกลุ่มติดอาวุธ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>สมาชิกของกองกำลังว้า (กองทัพสหรัฐว้า) กำลังจุดไฟเผายาเสพติดที่ยึดได้ในพิธีเผาทำลายยาเสพติดเนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก ในพื้นที่ใกล้ชายแดนไทย-พม่า เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. กองทัพพม่าระบุว่าได้จับกุมตัวนักข่าวอย่างน้อย 3 คน ที่เข้าไปทำข่าวในพื้นที่ของกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง (TNLA) กลุ่มติดอาวุธที่รัฐบาลถือว่าเป็นกลุ่มผิดกฎหมาย ซึ่งสร้างความวิตกเกี่ยวกับการปราบปรามเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นที่เพิ่มสูงขึ้น แม้จะอยู่ภายใต้รัฐบาลพลเรือนของนางอองซานซูจีก็ตาม. -- Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>

เอพี/รอยเตอร์ - ทหารพม่าได้เข้าจับกุมตัวนักข่าวอย่างน้อย 3 คน เมื่อวันจันทร์ (26) ที่เข้าไปทำข่าวเกี่ยวกับงานที่จัดขึ้นโดยกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ ซึ่งถูกระบุให้เป็นกลุ่มองค์กรผิดกฎหมาย

นักข่าว 3 คน ถูกจับกุมตัวในรัฐชาน ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพม่า ตามคำแถลงของกองทัพ พร้อมกับชายอีก 4 คน ที่กำลังเดินทางกลับจากพื้นที่ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง (TNLA) กลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ที่ยังคงจับอาวุธต่อสู้กับกองกำลังฝ่ายรัฐบาล

คำแถลงของกองทัพระบุว่า นักข่าวทั้ง 3 คน มาจากองค์กรสื่อ 2 แห่ง ที่รายงานข่าวทั้งภาษาพม่าและภาษาอังกฤษ คือ Democratic Voice of Burma (DVB) และ Irrawaddy และจากประกาศของทหารที่โพสบนหน้าเพจเฟซบุ๊ก แม้ไม่ได้ระบุชื่อของชายที่ถูกจับกุมตัวพร้อมกันอีก 4 คนที่เหลือ แต่อธิบายว่ามีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มก่อการร้าย TNLA และผู้ที่ถูกควบคุมตัวเหล่านี้ ทหารได้ส่งตัวให้กับตำรวจเพื่อสอบปากคำเพิ่มเติมและอาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

แม้ทหารจะไม่ได้ระบุเจาะจงว่าทั้งหมดละเมิดกฎหมายข้อใด แต่ตามพระราชบัญญัติกลุ่มองค์กรนอกกฎหมายของประเทศ กำหนดโทษจำคุกสูงสุด 3 ปี สำหรับผู้ที่พบว่าสนับสนุนกลุ่มที่ถูกกำหนดให้เป็นกลุ่มผิดกฎหมาย เช่น กลุ่มกบฎตะอาง

นักข่าวชาติพันธุ์ตะอางรายหนึ่งระบุว่า ทั้ง 7 คน ถูกควบคุมตัวหลังทหารพบรูปถ่ายและวิดีโอพิธีเผาทำลายยาเสพติดของ TNLA เนื่องจากเมื่อวันจันทร์ (26) เป็นวันต่อต้านยาเสพติดโลก ซึ่งเจ้าหน้าที่พม่าได้จัดพิธีเผาทำลายยาเสพติดใน 3 เมืองเช่นกัน

"ไม่ว่าประเทศใดในโลก นักข่าวต้องทำข่าวจากทั้งสองฝั่งของความขัดแย้ง มันเป็นธรรมชาติการทำงานของนักข่าวที่จะลงพื้นที่ไปทำข่าว เราทำงานของเรา พวกเขาไม่ได้ละเมิดข้อกฎหมายใดๆ เราจะหาทนายให้พวกเขา เราจะปกป้องนักข่าวของเรา" นักข่าวอาวุโสของ Democratic Voice of Burma กล่าว

ส่วนบรรณาธิการของ Irrawaddy ยังไม่ได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้

สิ่งที่เกิดขึ้นยิ่งย้ำถึงความวิตกเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งเมื่อต้นเดือนนักข่าวกว่า 100 คน ได้รวมตัวประท้วงกฎหมายที่ถูกมองว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ปราบปรามการแสดงออก หลังจากนักข่าวอาวุโส 2 ราย ถูกดำเนินคดีหลังทหารยื่นฟ้องจากบทความวิพากษ์วิจารณ์

แม้จะมีการกดดันจากหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนและนักการทูตตะวันตก แต่รัฐบาลซูจียังคงรักษากฎหมายดังกล่าวที่ถูกมองว่าละเมิดเสรีภาพในการแสดงความเห็น และไม่เคยออกมาพูดต่อต้านการจับกุมนักข่าวและนักเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง

"เหตุการณ์ล่าสุดของการโจมตีนักข่าวเป็นสิ่งย้ำเตือนว่าเครื่องมือในการปราบปรามยังคงมีอยู่ในพม่า และรัฐบาลไม่ค่อยลังเลที่จะใช้เครื่องมือเหล่านั้นเพื่อปิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์และฝ่ายตรงข้าม" นักวิเคราะห์จากฮิวแมนไรท์วอทช์ กล่าว.
กำลังโหลดความคิดเห็น