xs
xsm
sm
md
lg

รัฐบาลพม่าออกโรงป้องทหารตั้งข้อหา 3 นักข่าวช่วยเหลือกลุ่มติดอาวุธผิดกฎหมาย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มเดือนม.ค. 2557 เผยให้เห็นทหารของกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง (TNLA) กลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ปะหล่อง ยืนเฝ้าระวังหมู่บ้านในเมืองมานตอง รัฐชาน นักข่าว 3 คน ถูกควบคุมตัวและตั้งข้อหาจากเข้าทำข่าวเกี่ยวกับกลุ่มติดอาวุธที่รัฐบาลระบุว่าเป็นกลุ่มองค์กรผิดกฎหมาย สร้างความวิตกให้หลายฝ่ายเกี่ยวกับการริดรอนเสรีภาพสื่อที่ขยายตัวมากขึ้นในประเทศ. -- Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>

เอเอฟพี/รอยเตอร์ - ทหารพม่าเริ่มกระบวนการทางกฎหมายต่อนักข่าว 3 คน ที่ถูกกล่าวหาว่าช่วยเหลือกบฏชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ ตามการเปิดเผยของตำรวจวันนี้ (28) คดีที่สร้างความวิตกเกี่ยวกับการลิดรอนเสรีภาพสื่อ

นักข่าว 3 คน ประกอบด้วย เอ นาย และเป โพน นาย จาก Democratic Voice of Burma (DVB) และลาวี เวง นักข่าวอาวุโสของนิตยสารอิระวดี ถูกทหารควบคุมตัวในรัฐชาน ทางตะวันออกเฉียงเหนือของพม่าเมื่อวันจันทร์ (26) โดยนักข่าวกลุ่มนี้เข้าทำข่าวการเผาทำลายยาเสพติดของกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง (TNLA) กลุ่มติดอาวุธที่เรียกร้องการปกครองตนเอง และต่อสู้กับกองกำลังของรัฐในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา

รองสารวัตรตำรวจกล่าวว่า นักข่าว 3 คน พร้อมกับชายอีก 3 คน ที่ถูกควบคุมตัวพร้อมกัน ถูกนำส่งให้แก่ตำรวจในเมืองสีป่อ และย้ายไปคุมตัวที่เรือนจำเพื่อรอขึ้นศาลวันแรก

ทั้งหมดถูกตั้งข้อหาตามมาตราในบทบัญญัติสมาคมผิดกฎหมายที่มีบทลงโทษจำคุกสูงสุด 3 ปี กฎหมายที่ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางกับนักข่าว และนักเคลื่อนไหวในสมัยอดีตรัฐบาลเผด็จการทหารที่ก้าวลงจากอำนาจในปี 2554

“ทั้งหมดถูกตั้งข้อหาตามมาตรา 17/1 ในพระราชบัญญัติสมาคมผิดกฎหมายในบ่ายนี้ พวกเขาเดินทางมาถึงที่นี่ตอน 12.30 น. และถูกส่งตัวไปที่เรือนจำสีป่อ” เจ้าหน้าที่ตำรวจ กล่าว

ก่อนหน้านี้ ผู้ช่วยอาวุโสของซูจี ได้กล่าวป้องการตั้งข้อหาต่อนักข่าว

“มันเป็นความจริงที่พวกเขาฝ่าฝืนกฎหมายด้วยการไปพบกับกลุ่มชาติพันธุ์” วิน เต็ง กล่าว และระบุว่า อาจเป็นเรื่องไม่ถูกต้องที่ทหารเริ่มดำเนินการ แต่ยืนยันว่า รัฐบาลต้องดำเนินการต่อนักข่าวเหล่านี้

ฝ่ายทหารระบุเมื่อวันจันทร์ (26) ว่า กลุ่มนักข่าวถูกสกัดได้ใกล้กับหมู่บ้านพายาจี ในรัฐชาน ไม่ไกลจากที่ที่นักรบของ TNLA ต่อสู้กับกองทัพ และนับตั้งแต่การต่อสู้ครั้งใหม่ปะทุขึ้นเมื่อสัปดาห์ก่อนหลังทหารค้นพบค่ายฝึกของ TNLA เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. ทหาร และกลุ่มกบฏปะทะกันมาแล้วถึง 5 ครั้ง

“เจ้าหน้าที่ของกองทัพ และกองกำลังทหารจำนวนหนึ่งถูกสังหาร และได้รับบาดเจ็บอีกเล็กน้อย และพบศพฝ่ายศัตรู 4 ศพ” หนังสือพิมพ์โกลบอลนิวไลท์ออฟเมียนมาร์ รายงาน

การต่อสู้ระหว่างทหารของรัฐ และกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์เกิดขึ้นไม่กี่สัปดาห์ หลังซูจี พบหารือกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์จำนวนหนึ่ง รวมทั้ง TNLA ในการหารือที่มีเป้าหมายจะยุติการสู้รบในพื้นที่ชายแดนของประเทศ

การคุมขังนักข่าวในครั้งนี้เรียกเสียงตำหนิจากนักเคลื่อนไหว และนักการทูตที่วิตกเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของการควบคุมเสรีภาพสื่อ

“การได้มาซึ่งสันติภาพเป็นสิ่งจำเป็นมากกว่าการแก้ไขกฎหมายนี้ (พระราชบัญญัติสมาคมผิดกฎหมาย)” วิน เต็ง กล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น