xs
xsm
sm
md
lg

ญี่ปุ่นหรูจริง ส่งเครื่องบินมิตซูบิชิ, คาวาซากิ ข้ามโลกเข้ายุโรปเป็นครั้งแรกออกงานปารีสแอร์โชว์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>ภาพที่เผยแพร่ผ่านทวิตเตอร์ จากงานปารีสแอร์โชว์ เครื่องบิน MRJ ในลิฟเวอรีมาตรฐาน ของสายการบิน All Nippon Airways ลงจอดที่สนามบินเลอบัวร์เฌ ชานกรุงปารีส 15 มิ.ย. ที่ผ่านมา หลังบินลัดขั้วโลกเหนือไป ร่วมงานแสดงของอุตสาหกรรมอากาศยานใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดของโลก ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งที่ 52 นอกจากนั้นเครื่องบินตรวจการณ์/ปราบเรือดำน้ำ Kawasaki P-1 ของกองกำลังป้องกันทางทะเลญี่ปุ่น อีก 2 ลำ ก็ไปถึงในวันเดียวกัน. </b>

[ปรับปรุงแก้ไขครั้งล่าสุด 11.11 น. 24 มิ.ย.2560]

MGRออนไลน์ -- เครื่องบินโดยสาร MRJ (Mitsubishi Regional Jet) ที่ผลิตโดยกลุ่มมิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสตรี กับเครื่องบินลาดตระเวณปราบเรือดำน้ำแบบ Kawasaki P-1 ของกระทรวงป้องกันตนเอง แห่งญี่ปุ่น บินถึงสนามบินลอบัวร์เฌ ชานกรุงปารีสในสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อร่วมงานการแสดงทางด้านการบินที่ใหญ่ที่สุด และเก่าแก่ที่สุดในโลกอันเป็นสองเหตุการณ์ ที่ถูกมองว่า เป็นทั้งการแสดงศักยภาพทางด้านอุตสาหกรรมอากาศยาน และ การเริ่มต้นบุกเบิกตลาดโลก แข่งขันกับค่ายยุโรปและสหรัฐ

เครื่องบินลาดตระเวน/ปราบเรือดำน้ำ P-1 ของคาวาซากิ ออกเดินทางจากฐานบินป้องกันตนเองทางทะเลอัตสุงิ (Atsugi) เมื่อวันที่ 12 ม.ย. เพื่อร่วมงานแสดงด้านการบินและอากาศยาน ระหว่าง 19-25 มิ.ย.นี้ และ จะแสดงการบินโชว์ที่นั่นด้วย ก่อนเดินทางกลับ ทั้งนี้เป็นรายงานในเว็บไซต์ของกระทรวงป้องกันตนเอง ซึ่งก็คือกระทรวงกลาโหม

และ ในวันที่ 13 มิ.ย. ตามเวลาในสหรัฐ เครื่องบินโดยสารของมิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสตรี/มิตซูบิชิแอร์คราฟต์คอร์ปอเรชั่น (Mitsubishi Heavy Industries/Mitsubishi Aircraft Corporation) ลำหนึ่ง ก็บินขึ้นจากศูนย์ฝึกการบิน เมืองเลคโมเซส (Moses Lake Flight Test Center) ในรัฐวอชิงตันหลังทำสีกับลวดลาย หรือ "ลิฟเวอรี" ของสายการบิน All Nippon Airways โดยบินขึ้นเหนือ ผ่านแคนาดา และ ไอซ์แลนด์ ถึงสนามบินเลอบัวร์เฌ (Le Bourget) วันที่ 15 มิ.ย. วันเดียวกับที่ P-1 ทั้งสองลำไปถึง

มิตซูบิชิรีเจียนัลเจ็ท ถูกติดป้ายให้เป็เครื่องบินโดยสารแห่งยุคหน้า (Next Generation Aircraft) ติดตั้งเครื่องยนต์เทอร์โบแฟน PurePower® ซึ่งเป็นรุ่นใหม่ล่าสุด ของแพร็ตแอนด์วิตนีย์ (Pratt & Whitney) เสียงเงียบลง ประหยัดน้ำมัน และ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงมาก ผลิตจากโรงงานของ MAC ที่เมืองนาโงยา (Nagoya) แต่เนื่องจากการสัญจรทางอากาศในญี่ปุ่นคับคั่งมาก การบินทดสอบเกือบทุกไฟลต์ ต้องไปทำศูนย์การทดสอบการบิน เมืองเลคโมเสส รัฐวอชิงตัน

เครื่องบินออกแบบให้มีรูปทรงเอโรไดนามิกสวยหรู ดูทันสมัย ออกแบบภายใน มุ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารสูงสุด รวมทั้งระดับเพดานของห้องโดยสารที่สูงกว่าปรกติ ซึ่งทำให้คนที่สูงมาก รู้สึกโล่งสบาย รวมทั้งช่องเก็บของเหนือศรีษะที่ใหญ่ขึ้นอีกด้วย

MRJ เป็นเครื่องบินโดยสารลำแรกที่ผลิตในญี่ปุ่น นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง เป็นเครื่องบินในครอบครัว ที่มีขนาดบรรทุก 70-90 ที่นั่ง ออกแบบมาให้บริการ บินระยะสั้น-ระยะปานกลาง สามารถครอบคลุมการเดินทาง ภายในภูมิภาคได้ทั้งหมด ซึ่งแน่นอน-- กำลังจะเป็นคู่แข่งสำคัญของโบอิ้งกับแอร์บัส ที่ครองตลาดเครื่องบินพาณิชน์มานานหลายทศวรรษ

อย่างไรก็ตาม MRJ ลำนี้ยังเป็นเพียงเครื่องบินทดสอบ หรือ Flight Test Aircraft และ เป็นลำที่ 3 หรือ FTA-3 ที่มิตซูบิชิผลิตออกมา ทั้งหมด 4 ลำในขณะนี้ รวมทั้งยังอยู่ในขั้นตอน การพัฒนายกระดับใหม่ เพราะฉะนั้นระหว่างงานปารีสแอร์โชว์สัปดาห์นี้ จะไม่ขึ้นบินแสดง แต่จะจอดแสดง (Static Show) เปิดโอกาสให้ผู้สนใจ รวมทั้งลูกค้าที่มีศักยาภาพได้เข้าชมตลอดงาน
.


.
ตามกำหนดการแต่เดิมนั้นมิตซูบิชิฯ จะเริ่มส่งมอบ MRJ ให้แก่ลูกค้าตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป แต่เดือน ก.พ.ปีนี้ได้ขอเลื่อนการส่งมอบ ออกไปเป็นปี 2020 เพื่อพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีขึ้นสู่อีกระดับหนึ่ง รวมทั้งติดเครื่องยนต์ยุคใหม่ ของแพร็ตแอนด์วิตนีย์ (Pratt & Whitney) ดังที่กล่าวมาแล้วด้วย

ส่วนคาวาซากิ P-1 ไม่ใช่เครื่องบินใหม่ และ ทั่ววงการรู้จักมานานหลายปีก่อนหน้านี้ แต่หากเป็นครั้งแรก ที่ออกบินข้ามน้ำข้ามทะเลสู่น่านฟ้ายุโรป ไปร่วมงานแสดงอากาศยานใหญ่ที่สุดในโลก ที่จัดขึ้นทุกๆ 2 ปี โดยสลับหมุนเวียนกัน ปีต่อปีกับอีกงานหนึ่ง ที่จัดขึ้นทางตอนใต้ของกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

เรากำลังพูดถึงอากาศยานที่ผลิตในญี่ปุ่น สองรุ่นสองแบบ ที่มีการใช้งานต่างกัน แต่มีความผูกพันกับภูมิภาคนี้เป็นอย่างยิ่ง ทั้งด้านการบินพาณิชย์ และ การป้องกันประเทศ ...

กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่น กำลังทะยอยนำ Kawasaki P-1 เข้าประจำการ แทน P-3 "โอไรออน" (Orion) ที่ใช้มานาน รวมทั้งมีความปรารถนาที่จะส่งออก ซึ่งเว็บไซต์ข่าวกลาโหมบางแห่งระบุว่า ประเทศไทยกับเวียดนาม รวมอยู่ในบรรดา "ลูกค้าที่มีศักยภาพ" ที่แสดงความสนใจ เครื่องบินลาดตระเวณ/ปราบเรือดำน้ำ ของคาวาซากิ

ส่วนโอไรออนที่ทะยอยปลดนั้น รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังขออนุมัติจากรัฐสภา เพื่อจำหน่ายในราคาถูก หรือ "ให้ฟรี" แก่ชาติพันธมิตร และ เท่าที่ทราบกันในวงใน ขณะนี้มีอยู่ 2 ประเทศ แสดงความจำนงค์ ที่จะ "ขอรับ" ซึ่งได้แก่ มาเลเซีย 2ลำ กับเวียดนามอีก 2-4 ลำ
.
<br><FONT color=#00003>เป็นการบินสู่ยุโรปครั้งแรก และ ออกงานใหญ่ครั้งแรก มิตซูบิชิประกาศในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา เลื่อนการส่งมอบออกไปเป็นปี 2020 เพื่อพัฒนายกระดับเทคโลโยให้ทันสมัยล่าสุด รวมทั้งติดเครื่องยนต์รุ่นใหม่ ของแพร็ต แอนด์ วิตนีย์ ด้วย. </b>
2
<br><FONT color=#00003>หน้าตาของ MRJ ที่รู้จักกันดีมาก่อนหน้านี้ ปัจจุบัน Misubishi Heavy Industries ผลิตออกมา 4 ลำ ทั้งหมดยังเป็นเครื่องบินทดสอบอยู่ รวมทั้งลำที่ไปร่วมงานปารีสแอร์โชว์สัปดาห์นี้ด้วย.</b>
3
<br><FONT color=#00003>ภาพล่าสุดเมื่อวันที่ 17 มิ.ย. มองเห็นอักษร ANA บนแพนหางของ MRJ อยู่ลิบๆ พร้อมแล้วที่จะเปิดแสดงให้ผู้สนใจ รวมทั้งบรรดาลูกค้า ได้ชมตั้งแต่วันจันทร์ 19 มิ.ย.เป็นต้นไป โดยจะไม่มีการบินสาธิต เนื่องจากยังเป็นเครื่องบินทดสอบอยู่. </b>
4
เป็นที่ทราบกันอย่างดีว่า ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกในเอเชีย ที่มีอุตสาหกรรมอากาศยานและอวกาศก้าวหน้าที่สุด มีการพัฒนามายาวนาน กว่าประเทศใดๆ ทั้งหมดในย่านนี้ แต่การเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม ทำให้ทุกอย่างหยุดชะงักลง และการใช้รัฐธรรมนูญแนวสันติ ได้ช่วยซ้ำเติมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศโดยรวม แต่ถึงอย่างไรเทคโนโลยีและโนว์ฮาวต่างๆ ยังคงอยู่ กลุ่มอุตสาหกรรมใหญ่ ที่เคยเป็นผู้ผลิตอากาศยาน รวมทั้งเรือรบขนาดใหญ่กับยานพาหนะที่ใช้ในกองทัพยังคงอยู่

ปัจจุบันกลุ่มอุตสาหกรรมใหญ่ ซึ่งรวมทั้งมิตซูบิชิฯ และ คาวาซากิ ก็ยังสร้างอากาศยานต่างๆ ออกมาหลายต่อหลายรุ่น เพียงแต่ผลิตออกมาใช้ในประเทศ ไม่มีการส่งออก จนกระทั่งเข้าสู่ยุค P-1 กับ MRJ

และจะต้องไม่ลืมว่า เมื่อเดือนที่แล้วฮอนด้าแอร์คราฟท์คอมปานี (Honda Aircraft Company) เพิ่งประกาศทำตลาดเครื่องบินส่วนตัวขนาดเล็ก "ฮอนด้าเจ็ท" (HA-420 HondaJet) ในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยพุ่งเป้าที่ไทย อินโดนีเซียและสิงคโปร์ เป็นด่านแรก รวมทั้งเวียดนามที่เศรษฐกิจสูงที่สุดในภูมิภาคตลอดหลายปีมานี้

เป็นเครื่องบินขนาด 2-4 ที่นั่ง ออกแบบโดยฮอนด้า แต่ประกอบในสหรัฐ ติดเครื่องยนต์เทอร์โบแฟน ที่ร่วมกันพัฒนาระหว่าง General Electrics สหรัฐ กับ บริษัทฮอนด้าญี่ปุ่น ราคาพื้นฐานลำละ 4.5 ล้านดอลลาร์ หรือ ราว 160 ล้านบาท

ส่วน P-1 ทั้งสองลำนั้น เว็บไซต์กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลของญี่ปุ่น (กองทัพเรือ) รายงานว่า เป็นเครื่องบินสังกัดกองบิน 3 ฐานบินกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลอัตสุงิ (Naval Air Facility Atsugi) จ.คานางาวะ (Kanagawa) บนเกาะฮอนชู ทางตอนกลางของประเทศ ที่นั่นเป็นเคยฐานทัพใหญ่ที่สุด ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นที่ตั้งของฝูงบินขับไล่ กับเครื่องบินทิ้งระเบิดที่น่าเกรงขามที่สุด ของกองทัพสมเด็จพระจักรพรรดิ์

ปัจจุบันอัตสุงิก็ยังเป็นฐานบินใหญ่ที่สุด ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเล ในขณะเดียวกันก็เป็นฐานบินใหญ่ที่สุดของกองทัพเรือสหรัฐ ในย่านแปซิฟิกตะวันตก รวมทั้งเป็นที่ตั้งใหญ่ที่สุดของฝูงบินตรวจการณ์/ปราบเรือดำน้ำ ทั้ง P-1 และ P-3 ด้วย
.

ทั้งหมดต่อไปนี้ เป็นพิธีส่งเครื่องบิน P-1 ไปร่วมงานปารีสแอร์โชว์ ระหว่าง 19-25 มิ.ย.2560 เป็นการบินสู่ยุโรปครั้งแรก ของเครื่องบินลาดตระเวณ/ปราบเรือดำน้ำ Made in Japan โดย Kawasaki พิธีจัดขึ้นวันที่ 13 มิ.ย. ที่ฐานการบินกองกำลังป้องกันตนเองเรืออัตสุงิ ทางตอนกลางของประเทศ ก่อนหน้านั้น 1 วัน MRJ ของมิตซูบิชิ ก็ขึ้นบินจากรัฐวอชิงตัน สหรัฐ อ้อมขั้วโลกเหนือไปงานเดียวกัน และ ไปถึงในวันเดียวกัน เป็นการออกงานครั้งแรก ของ Mitsubishi Regional Jet ซึ่งลำนี้เป็นเครื่องบินทดสอบลำที่สาม. -- Photos Courtesy of Naval Air Facility Atsugi.

.


5

6

7

8
คาวาซากิ P-1 ต่างจาก P-3 "โอไรออน" และ P-8 "โพไซดอน" (Poseidon) ของสหรัฐโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้เนื่องจากโอไรออน ของล็อกฮีดมาร์ติน (Lockheed-Martin) ดัดแปลงจากเครื่องบินพาณิชย์โบอิ้ง 737 รุ่นเก่า และ โพไซดอนก็พัฒนาจากโบอิ้ง 737-800ERX ที่มีขนาดใหญ่กว่า โดยบริษัทโบอิ้งดีเฟนซ์ ในเครือ Boeing Co สหรัฐ

แต่ P-1 เป็นเครื่องบิน 4 เครื่องยนต์ ออกแบบและพัฒนาโดยคาวาซากิ เพื่อภารกิจลาดตระเวณทางทะเลโดยเฉพาะ เป็นอากาศยานรุ่นแรก ที่ผลิตออกมาในเชิงพาณิยช์ โดยติดตั้งระบบควบคุมการบินด้วยไฟเบอร์ออพติก ติดระบบเรดาร์ HPS-106 ของบริษัทโตชิบาแห่งญี่ปุ่น ซึ่งเป็นแบบ "แอ็คทีฟสแกน" (Active Electronically Scanned Array หรือ EASA ที่มีประสิทธิภาพสูง ระบบแรกที่ผลิตในประเทศนี้ ผสมผสานกันระหว่างระบบไฟเบอร์ออพติกกับระบบเลเซอร์ ในการตรวจจับหาเป้าหมายที่อยู่เบื้องล่าง แบบ 360 องศา นอกจากนั้นยังมีอุปกรณ์ตรวจจับแม่เหล็ก ติดตั้งอยู่ส่วนหาง

คาวาซากิติดตั้ง P-1 ด้วยอุปกรณ์ที่ผลิตในประเทศเกือบทั้งหมด ยกเว้นเพียงอุปกรณ์บางส่วนของระบบเรดาร์ตรวจไกลทางอากาศ ที่สนับสนุนโดยกลุ่มฮันนีเวล (Honeywel) สหรัฐ และ นอกจากจะติดตั้งระบบเอวิโอนิกส์ล้ำสมัยแล้ว ก็ยังสามารถติดอาวุธได้อีกมากมาย ทั้งภายในเครื่องบิน และ ตามจุดติดตั้ง (Hard Point) ที่ใต้ปีกทั้งสองข้าง อีกรวม 8 จุด รวมทั้งระบบอาวุธป้องกันตนเองของเครื่องบินด้วย

ตามข้อมูลในเว็บไซต์ข่าวกลาโหมนั้น Kawasaki P-1 ขึ้นบินครั้งแรกในเดือน ก.ย.2550 บรรจุเข้าประจำการกองบินกอง กำลังป้องกันตนเองทางทะเล ลำแรกเมื่อปี 2556 ตั้งแต่นั้นผลิตออกมาแล้วทั้งหมด 30 ลำ ยังต้องผลิตอีกอย่างน้อย 30 ลำ เพื่อบรรจุใช้งานแทนที่ฝูงบิน P-3 ทั้งฝูง

ไม่เพียงแต่ P-1 จะได้รับความสนใจจากมิตรประเทศในย่านนี้เท่านั้น แต่ P-3 ที่ทะยอยปลดระวางในขณะนี้ ก็เป็นที่ต้องการของประเทศในแถบนี้เช่นกัน โดยเฉพาะหลังจากที่จีน ประกาศเป็นเจ้าของทะเลจีนใต้เกือบทั้งหมดเพียงผู้เดียว ได้ทำให้ประเทศที่อยู่รายรอบชายขอบทะเลหลวงแห่งนี้ ต้องระมัดระวังเตรียมพร้อม และ จัดหาระบบลาดตระเวณน่านน้ำ รวมทั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่พร้อมเพรียงมากยิ่งขึ้น.
กำลังโหลดความคิดเห็น