xs
xsm
sm
md
lg

เวียดนามหวั่นรถไฟเจ๊ง คนแห่ใช้บริการเครื่องบินทั้งถูกและเร็ว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ชาวเวียดนามยืนอยู่ใกล้กับรางรถไฟที่สถานีรถไฟแห่งหนึ่งในกรุงฮานอย ระหว่างปี 2553 ถึงปี 2558 การเดินทางทางอากาศในเวียดนามมีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า ที่จำนวนมากกว่า 31 ล้านคน ขณะที่จำนวนผู้ใช้บริการรถไฟยังคงทรงตัวที่ 11 ล้านคนเท่านั้น. -- Agence France-Presse/Hoang Dinh Nam.</font></b>

เอเอฟพี - โรงงานซาลาม (Gia Lam) โรงงานที่มีประวัติยาวนานในกรุงฮานอย ที่ฝรั่งเศสสร้างขึ้น เพื่อใช้เป็นสถานที่ซ่อมบำรุงรถไฟในสมัยอาณานิคม ต่อมา ถูกใช้เป็นสถานที่ผลิตอาวุธเพื่อต่อสู้เรียกร้องอิสรภาพของกลุ่มปฏิวัติ และยังรอดพ้นจากการโจมตีของเครื่องบินทิ้งระเบิดของสหรัฐฯ ในสมัยสงคราม

แต่เรื่องราวของโรงงานแห่งนี้กำลังค่อยๆ เลือนหาย เมื่อชนชั้นกลางของประเทศในฐานะผู้โดยสารที่มีอำนาจในการจับจ่ายมากขึ้น เริ่มหันหลังให้รถไฟไปใช้บริการการเดินทางด้วยเครื่องบิน

“ในอดีต ผมรู้สึกภูมิใจที่ทำงานที่นี่เพราะมันเป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุดในอินโดจีน” ช่างซ่อมชาวเวียดนามรายหนึ่ง กล่าว

โรงงานซาลาม เปิดตัวในปี 2448 เป็นโรงงานรถไฟแห่งแรกในเขตอาณานิคมของฝรั่งเศสในขณะนั้น ที่ครอบคลุมพื้นที่ประเทศเวียดนาม กัมพูชา และลาว เป็นฐานสำหรับซ่อมแซม และประกอบเครื่องยนต์และขบวนรถ รองรับอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างรวดเร็วในภูมิภาค

ต่อมา โรงงานถูกชาวเวียดนามเข้ายึดครองในช่วงทศวรรษ 1940 และใช้เป็นสถานที่ผลิตปืนบาซูก้า และระเบิดเพื่อใช้ต่อสู้กับเจ้าอาณานิคมที่สุดท้ายล่าถอยในปี 2497 จากนั้นโรงงานแห่งนี้ยังคงใช้ผลิตอาวุธในช่วงสงครามเวียดนาม แม้จะถูกระเบิดจากเครื่องบินสหรัฐฯ ที่มุ่งเป้าโจมตีนักปฏิวัติในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศ

ในปัจจุบัน โรงงานถูกใช้เป็นพื้นที่ซ่อมแซมรถไฟเก่า แม้ความต้องการจะลดน้อยถอยลงก็ตาม อุตสาหกรรมรถไฟของประเทศกำลังดิ้นรนต่อสู้ที่จะรักษาสถานภาพท่ามกลางการแข่งขันของการเดินทางทางอากาศ เพราะสำหรับหลายคนแล้ว ไม่ใช่เรื่องยากที่จะเลือกระหว่างรถไฟที่เคลื่อนที่ไปอย่างเชื่องช้า และคดเคี้ยว กับเครื่องบินที่รวดเร็ว และราคาถูก

ในปี 2558 ชาวเวียดนามเดินทางด้วยเครื่องบินกว่า 31 ล้านคน มากกว่าตัวเลขในปี 2553 ถึง 2 เท่า ตามสถิติของทางการ ขณะที่รถไฟมีผู้ใช้งานคงที่ที่ 11 ล้านคน

ทุกวันนี้บางบริษัทกำลังหาทางที่จะฟื้นการเดินทางด้วยรถไฟในยุคอาณานิคม ด้วยการให้บริการในระดับเฟิร์สคลาส ตกแต่งตู้โดยสารด้วยไม้ และตู้เสบียงในแบบร้านอาหาร

“หากการเดินทางด้วยรถไฟไม่มีการพัฒนา เมื่อนั้นอุตสาหกรรมรถไฟจะไม่สามารถฟื้นตัวได้” เหวียน แอ็ง ต่วน หัวหน้าสภาพแรงงาน กล่าว

สมาชิกสภานิติบัญญัติส่วนหนึ่งได้เรียกร้องให้มีการลงทุนจากภาคเอกชนในภาคส่วนที่รัฐควบคุมอยู่ และสภาเพิ่งจะพิจารณาแก้ไขกฎหมาย แต่พนักงานของโรงงานซาลาม ต่างวิตกกันว่ารถไฟจะสูญสิ้นไป หากอุตสาหกรรมนี้ไม่มีการปรับตัวดีขึ้น.
.
.
<br><FONT color=#000033>ภาพมุมสูงของโรงงานซาลามในกรุงฮานอย ที่สร้างขึ้นโดยฝรั่งเศสเพื่อใช้เป็นที่ซ่อมบำรุงรถไฟ. -- Agence France-Presse/Hoang Dinh Nam.</font></b>
.

.

.

.
<br><FONT color=#000033>ผู้คนจำนวนมากยืนเข้าแถวรอเชคอินที่สนามบินนานาชาติโนยบ่าย ในกรุงฮานอย ด้วยเพราะอำนาจในการจับจ่ายของชนชั้นกลางในประเทศเพิ่มขึ้น รวมกับการแข่งขันระหว่างบรรดาสายการบินต่างๆ ที่ปรับลดราคาลงจนประชาชนสามารถจับจ่ายได้ ทำให้ชาวเวียดนามหันไปใช้บริการเครื่องบินมากกว่ารถไฟ. -- Agence France-Presse/Hoang Dinh Nam.</font></b>
.
กำลังโหลดความคิดเห็น