xs
xsm
sm
md
lg

อุตสาหกรรมรังนกพม่าบูมตลาดจีนรับไม่อั้นทำที่ดินราคาพุ่ง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 10 พ.ค. เผยให้เห็นนกนางแอ่นทำรังอยู่ใต้หลังคาอาคารหลังหนึ่งในเมืองมะริด เขตตะนาวศรี ทางภาคใต้ของพม่า ชาวเมืองมะริด บกเปี้ยน และเกาะสอง หันมาสร้างอาคารให้นกนางแอ่นอาศัยทำรังเพื่อเก็บรังนกขาย กลายเป็นแหล่งรายได้แหล่งใหม่ของชาวเมืองโดยจีนเป็นผู้รับซื้อรายใหญ่. -- Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>

เอเอฟพี - เสียงนกนางแอ่นร้องดังกังวานทั่วห้องมืดในอาคารที่ชาวบ้านในพื้นที่ภาคใต้ของพม่าสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของแหล่งรายได้สำคัญแหล่งใหม่ ท่ามกลางความต้องการรังนกจากชนชั้นกลางของจีนที่เพิ่มสูง

อาคารหลายสิบหลังทั่วเมืองบกเปี้ยน (Bokpyin) ถูกยกให้เป็นที่อยู่อาศัยของนกนางแอ่นตัวเล็กๆ ในช่วงหลายปีมานี้ ที่ทุกเช้า และเย็น ท้องฟ้าจะเต็มไปด้วยนกนับพันตัวบินเข้าออกโครงสร้างคอนกรีตสีเทาที่ตั้งตระหง่านสลับกับบ้านเรือนของคนท้องถิ่นที่สร้างด้วยไม้ และอิฐ

รังนกกลายเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของเมือง ที่แต่เดิมนั้นเป็นแหล่งผลิตหมาก ยาง และน้ำมันปาล์ม ซึ่งผู้ค้าให้ราคารังนกที่ประมาณ 2,000 ดอลลาร์ ต่อ 1.63 กิโลกรัม ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่มากกว่ารายได้เฉลี่ยของชาวพม่าในแต่ละปี

“เราเริ่มทำบ้านรังนกเมื่อ 10 ปีก่อน เริ่มแรกมีบ้านหลังหนึ่งที่นกเข้าไปทำรังของมันเอง หลังจากนั้นผู้คนก็เริ่มหันมาสร้างบ้านให้นกอยู่” ปาย เซ็ต อ่อง ที่เป็นเจ้าของอาคารรังนกที่มีนกนางแอ่นอาศัยอยู่หลายร้อยตัว กล่าว

รังนกสีขาวขนาดเล็กที่สร้างขึ้นจากน้ำลายนกเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกขายให้แก่ประเทศจีน จากที่เคยเป็นสิ่งที่สงวนไว้สำหรับชนชั้นสูงที่ร่ำรวยของประเทศ ซึ่งมักทานกันในงานเลี้ยง รังนกกลายเป็นที่ต้องการจากผู้บริโภคชั้นกลางมากขึ้น

ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมรังนกโลกประเมินว่ามีมูลค่าราว 5,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งรังนกส่วนใหญ่ผลิตขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนการส่งออกรังนกของพม่านั้นมีปริมาณเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ปี 2554 ซึ่งเป็นปีที่อดีตรัฐบาลเผด็จการทหารยกอำนาจให้แก่รัฐบาลกึ่งพลเรือน

“รังนกเป็นหนึ่งในธุรกิจหลักของเมืองบกเปี้ยน จีนเป็นผู้ซื้อรังนกรายใหญ่ที่นี่” ชาวเมืองบกเปี้ยนรายหนึ่งที่สร้างบ้านหลังแรกเมื่อ 5 ปีก่อน และเวลานี้เพิ่มเป็น 3 หลัง กล่าว

ทันทีที่ข้ามพรมแดน รังนกจะกลายเป็นอาหารราคาแพงที่สุดอย่างหนึ่งในโลก และตามร้านอาหารในนครเซี่ยงไฮ้จำหน่าย “คาเวียร์แห่งตะวันออก” ในราคาหลายร้อยดอลลาร์ต่อถ้วย ด้วยชาวจีนเชื่อว่ารังนกนั้นมีสรรพคุณชะลอวัย และบำรุงกำลัง

“ในประเทศจีน รังนกเป็นเครื่องชูกำลังที่ได้รับความนิยมอย่างมากตั้งแต่ครั้งโบราณกาล มันนุ่มนวล และมีรสหวานเล็กน้อย ดีต่อผู้หญิง ผู้สูงอายุ เด็ก และผู้ชาย” เจ้าของร้านอาหาร NestCha กล่าว

สำหรับพม่า อุตสาหกรรมรังนกเริ่มขึ้นจากหมู่เกาะทางภาคใต้ของประเทศ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัท Myanma Economic Holdings Ltd (UMEHL) ของทหาร แต่การผลิตรังนกก็ได้ขยายตัวไปตามชุมชนเมืองต่างๆ

ชาวเมืองมะริด เริ่มสร้างบ้านเพื่อดึงดูดนกให้เข้ามาทำรังเมื่อหลายสิบปีก่อน หลังจากนั้น การผลิตก็ขยายตัวไปยังเมืองบกเปี้ยน และเกาะสองที่อยู่ใกล้กัน ในตอนนี้มีบ้านมากกว่า 130 หลัง ที่สร้างขึ้นให้นกอาศัยอยู่ ตามการรายงานของสื่อทางการ

การแข่งขันแย่งชิงที่ดินในเมืองบกเปี้ยนระหว่างผู้ผลิตรังนก และนักพัฒนาด้านการท่องเที่ยว ส่งผลให้ราคาที่ดินขยับตัวสูงถึง 75,000 ดอลลาร์ต่อแปลงในย่านกลางเมือง เท่ากับพื้นที่บางส่วนของนครย่างกุ้ง

โดยปกติมักเก็บรังนก 3-4 ครั้งต่อปี แต่ผู้ค้าบางรายก็สามารถเก็บรังนกได้บ่อยถึงเดือนละครั้งหากพวกเขาต้องการเงิน

ผู้ผลิตรายหนึ่งกล่าวว่า นกเริ่มคุ้นเคยที่จะอาศัยอยู่ตามบ้านทำให้ประชากรนกนางแอ่นเพิ่มขึ้น และจะส่งผลให้อุตสาหกรรมเติบโตขึ้นในปีต่อๆ ไป.
.
.

.

.

.

.

.

.

.
กำลังโหลดความคิดเห็น