xs
xsm
sm
md
lg

KIA ขู่รวมกลุ่มพันธมิตรโต้กลับหากพม่าไม่หยุดโจมตี หลังทหารเข้ายึดฐานสำคัญ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 11 ธ.ค. เผยให้เห็นแพทย์กำลังดูแลบาดแผลให้กับสมาชิกกลุ่ม KIA ที่ได้รับบาดเจ็บขณะต่อสู้กับทหารพม่าใกล้เมืองลายซา ในรัฐกะฉิ่น. -- Agence France-Presse/Hkun Lat.</font></b>

เอเอฟพี - ทหารพม่าเข้ายึดฐานสำคัญจากกลุ่มกบฏได้ในช่วงการต่อสู้ตึงเครียดเมื่อไม่นานนี้ ตามการรายงานของสื่อทางการ และการยืนยันของฝ่ายกบฏวันนี้ (18) นับเป็นการทำลายกระบวนการสร้างสันติภาพของประเทศอีกครั้งหนึ่ง

การสู้รบเกิดขึ้นตามพื้นที่ชายแดนของพม่ามาเป็นเวลาหลายทศวรรษ ด้วยชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ที่มีอยู่หลากหลายกลุ่มต้องการการปกครองตนเอง หรือเป็นอิสระจากการปกครองของทหารที่อื้อฉาวของประเทศ

นับตั้งแต่ชนะการเลือกตั้งครั้งสำคัญเมื่อปีก่อน อองซานซูจี ผู้นำพลเรือนได้พยายามที่จะบรรลุข้อตกลงสันติภาพกับชนกลุ่มน้อย ด้วยเป็นเป้าหมายสำคัญของการบริหารประเทศ แต่ภายใต้รัฐบาลพลเรือนชุดใหม่ของซูจีนี้ กลับเกิดเหตุต่อสู้รุนแรงปะทุขึ้นหลายระลอกระหว่างกลุ่มกบฏ และทหารของประเทศ

การต่อสู้ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นระหว่างทหาร และกองทัพกะฉิ่นอิสระ (KIA) หนึ่งในกลุ่มกบฏที่แข็งแกร่งที่สุดของประเทศ ที่มีฐานอยู่ในรัฐกะฉิ่น ทางภาคเหนือ

ทหารพม่า ที่ใช้ทั้งเครื่องบินรบ และปืนใหญ่เข้าเสริมกำลัง สามารถยึดฐานกิดอนได้ในช่วงเช้าตรู่ของวันเสาร์ (17) ตามการรายงานของหนังสือพิมพ์โกลบอล นิว ไลท์ ออฟ เมียนมาร์ และสูญเสียกำลังทั้งสองฝ่าย แต่ไม่ได้เปิดเผยตัวเลขแต่อย่างใด

ด้านโฆษกของกลุ่ม KIA ยืนยันการยึดฐาน แต่ระบุว่า กองกำลังฝ่ายกบฏยังพยายามที่จะเข้ายึดฐานกลับคืน

“เรากำลังต่อสู้กับพวกเขาเพื่อยึดฐานคืน วันนี้ยังมีการต่อสู้” โฆษก KIA กล่าว

การสู้รบที่เกิดขึ้นนี้มีนัยสำคัญเพราะเกิดขึ้นใกล้กับที่ตั้งกองบัญชาการของ KIA ในเมืองลายซา และกลายเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทำลายกระบวนการสันติภาพ

ในรัฐชาน ที่ตั้งอยู่ทางใต้ของรัฐกะฉิ่น ก็เกิดการสู้รบครั้งใหม่ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างกลุ่มพันธมิตรกองกำลังกบฏ ซึ่งเป็นผลให้ผู้ลี้ภัยจำนวนมากอพยพหลั่งไหลข้ามแดนไปฝั่งจีน และสร้างความตึงเครียดให้แก้ปักกิ่ง โดย KIA เป็นหนึ่งในกลุ่มกบฏที่เกี่ยวข้องในการสู้รบนั้น

นักวิเคราะห์ระบุว่า เหตุไม่สงบที่เกิดขึ้นในรัฐชานคุกคามการเจรจาสันติภาพรอบที่ 2 ของซูจี ที่มีกำหนดจัดขึ้นในเดือน ก.พ.

กองทัพพม่ายังดำเนินการปราบปรามรุนแรงในพื้นที่ทางเหนือของรัฐยะไข่ ที่ทำให้ชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมโรฮิงญามากกว่า 20,000 คน หลบหนีเข้าไปในบังกลาเทศ

โฆษกของ KIA เตือนว่า การต่อสู้ครั้งใหม่จะยิ่งทำให้กลุ่มกบฏต่างๆ ใกล้ชิดเป็นพันมิตรกันยิ่งขึ้น

“หากรัฐบาลไม่สามารถควบคุมกองทัพไม่ให้ต่อสู้ได้ เราจะตั้งกลุ่มติดอาวุธพันธมิตรชาติพันธุ์ขึ้นในเร็วๆ นี้ และจะตอบโต้กลับอย่างเต็มที่” โฆษก KIA กล่าว.
กำลังโหลดความคิดเห็น