xs
xsm
sm
md
lg

ใกล้เปิดประชุมสันติภาพอยู่รอมร่อ ทหารพม่ากลับเปิดฉากโจมตีกลุ่มติดอาวุธภาคเหนือ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจเดินตรวจความเรียบร้อยของศูนย์การประชุมระหว่างประเทศพม่า ในกรุงเนปีดอ ที่เป็นสถานที่จัดการประชุมสันติภาพเป็นเวลา 5 วัน ซึ่งจะเปิดการประชุมอย่างเป็นทางการในวันพุธ (31) แต่ตัวแทนผู้เจรจาของกลุ่มติดอาวุธและรัฐบาลเผยว่า เกิดการต่อสู้ระลอกใหม่ระหว่างทหารของรัฐและกลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ในรัฐชาน และรัฐกะฉิ่น. -- Agence France-Press/Romeo Gacad.</font></b>

เอเอฟพี - การต่อสู้ครั้งใหม่ระหว่างกลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ และทหารพม่า กำลังบดบังการประชุมสันติภาพที่กำลังจะเกิดขึ้นโดยรัฐบาลพลเรือนชุดใหม่ของอองซานซูจี ตามการเปิดเผยของผู้ที่เกี่ยวข้องในการหารือ

การรวมตัวเป็นเวลา 5 วัน ที่จะเปิดการประชุมอย่างเป็นทางการในวันพุธ (31) เป็นการขับเคลื่อนครั้งใหญ่ครั้งแรกของซูจี ที่หวังจะยุติความไม่สงบซึ่งลุกลามพื้นที่ชายแดนของประเทศนับตั้งแต่เป็นเอกราชในปี 2491

ผู้จัดงานกำลังผลักดันการหยุดยิงฝ่ายเดียวก่อนที่การหารือที่สหประชาชาติให้การสนับสนุนจะเกิดขึ้น แต่ความหวังเหล่านั้นกลับพังทลายด้วยการต่อสู้ที่ปะทุขึ้นครั้งใหม่ ผู้เจรจาจากทั้งฝ่ายกลุ่มกบฏ และรัฐบาล กล่าว

กลุ่มติดอาวุธหลายกลุ่มไม่ยอมวางอาวุธของตน อันเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นที่ทหารเรียกร้องเพื่อเข้าร่วมการประชุม

กองกำลังทหารยังคงติดพันอยู่ในการต่อสู้กับกองกำลังติดอาวุธของกลุ่มชาติพันธุ์ ก่อนนายบัน คี-มูน เลขาธิการสหประชาชาติ ที่จะเข้าร่วมการประชุมสันติภาพครั้งนี้ด้วยนั้นมีกำหนดแถลงข่าวในค่ำวันนี้ (30)

ผู้แทนจากกลุ่มติดอาวุธ กล่าวว่า ทหารได้เปิดฉากโจมตีครั้งใหม่ยังฐานของกลุ่มกบฏในรัฐชานและรัฐกะฉิ่น ทางภาคเหนือ ในเช้าวันอังคาร (30) ซึ่งความเคลื่อนไหวนี้บ่อนทำลายความคืบหน้าการเจรจาสันติภาพ

“สำหรับช่วงเวลานี้มันเป็นเรื่องยากลำบากต่อกลุ่มใดก็ตามที่เชื่อหรือไว้วางใจกองทัพ” หนึ่งในผู้เจรจาของกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ กล่าว

“ที่นี่ (ในกรุงเนปีดอ) พวกเขากำลังพูดคุยกันถึงสันติภาพ แต่ที่นั่น พวกเขากำลังต่อสู้กัน” ผู้เจรจา กล่าว

กลุ่มบกฏจากบางรัฐที่ถูกโจมตีหนักต้องการให้ทหารประกาศหยุดยิงฝ่ายเดียว และแต่งตั้งผู้แทนระหว่างประเทศเข้ากำกับดูแลการปฏิบัติในพื้นที่จริง

ประชาชนราว 220,000 คน ต้องย้ายที่อยู่เนื่องจากการต่อสู้ที่เกิดขึ้นในรัฐกะฉิ่น และรัฐชาน และจากความตึงเครียดทางศาสนาในรัฐยะไข่ ทางตะวันตกของประเทศ ตามการเปิดเผยตัวเลขของสหประชาชาติในสัปดาห์นี้

นับตั้งแต่เข้าบริหารประเทศเมื่อต้นปี รัฐบาลของอองซานซูจี ได้ผลักดันที่จะขยายข้อตกลงหยุดยิงที่ลงนามกันไว้ระหว่างรัฐบาลชุดก่อน และกลุ่มติดอาวุธ 8 กลุ่ม

แต่ภายใต้รัฐธรรมนูญยุครัฐบาลเผด็จการทหาร กองทัพยังคงควบคุมศูนย์กลางทางอำนาจที่สำคัญ ซึ่งประกอบด้วย กระทรวงกลาโหมและชายแดน

“รัฐบาลเผชิญกับแรงกดดันในการจัดการต่อทหารในกรณีนี้” หนึ่งในผู้เจรจาของรัฐบาลพลเรือน กล่าว

ซูจี หวังให้การเจรจาสันติภาพจะปูทางไปสู่ระบบสหพันธรัฐสำหรับพม่า ที่อาจให้กลุ่มชาติพันธุ์ที่ร้องเรียนถึงการถูกกดขี่ และถูกเพิกเฉยจากประชากรส่วนใหญ่ที่เป็นชาติพันธุ์พม่า มีสิทธิในการปกครองตัวเองเหนือรัฐบาล ที่ดิน และทรัพยากร.
กำลังโหลดความคิดเห็น