xs
xsm
sm
md
lg

“โคฟี อันนัน” นำทีมลงพื้นที่รัฐยะไข่ ท่ามกลางเสียงประท้วงต่อต้าน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>นายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ เดินทางถึงสนามบินเมืองสิตตะเว รัฐยะไข่ เพื่อสังเกตการณ์สถานการณ์และหาทางแก้ไขปัญหาชาวมุสลิมโรฮิงญา แต่ชาวยะไข่ในพื้นที่ได้รวมตัวชุมนุมประท้วงนายอันนัน ด้วยมองว่านายอันนันเป็นคนนอก และเป็นการแทรกแซงกิจการภายใน. -- Reuters/Soe Zeya Tun.</font></b>

รอยเตอร์ - นายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ นำทีมลงพื้นที่รัฐยะไข่ ในวันนี้ (2) เพื่อจัดการต่อปัญหาชะตากรรมของชาวมุสลิมโรฮิงญา ท่ามกลางการปราบปรามของทหารที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 86 คน และประชาชนอีกนับหมื่นคนต้องหนีความรุนแรงไปอยู่ในบังกลาเทศ

นายอันนัน จะใช้เวลาหนึ่งวันในเมืองสิตตะเว เมืองเอกของรัฐยะไข่ ก่อนเดินทางขึ้นเหนือไปยังพื้นที่ที่ถูกปิดล้อมนับตั้งแต่ทหารเริ่มดำเนินการกวาดล้างผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่หลังเกิดเหตุโจมตีด่านชายแดนเมื่อวันที่ 9 ต.ค.

นางอองซานซูจี ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง ที่มีสมาชิก 9 คน ก่อนที่เหตุต่อสู้จะปะทุขึ้น ในความมุุ่งหวังที่จะให้คณะกรรมการชุดนี้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหารัฐยะไข่ ที่ชาวพุทธยะไข่ และชาวมุสลิมโรฮิงญาอาศัยอยู่ด้วยความแตกแยกนับตั้งแต่เกิดเหตุปะทะรุนแรงในปี 2555 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตไปมากกว่า 100 คน

ความรุนแรงล่าสุดกลายเป็นความท้าทายใหญ่หลวงต่อรัฐบาลของซูจี ที่เพิ่งเข้าบริหารประเทศได้เพียง 8 เดือน และยังนำมาซึ่งการวิพากษ์วิจารณ์จากนานาประเทศถึงการจัดการปัญหาชนกลุ่มน้อยโรฮิงญา

คณะกรรมการที่ประกอบด้วย ชาวพม่า 6 คน และชาวต่างชาติ 3 คน รวมทั้ง นายอันนัน ได้รับการต้อนรับที่สนามบินโดยมุขมนตรีรัฐยะไข่ และผู้ชุมนุมประท้วงอีกหลายสิบคน ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้เคยลงพื้นที่ครั้งแรกเมื่อเดือน ก.ย.

ผู้ชุมนุมส่งเสียงประท้วง และถือป้ายที่มีข้อความระบุว่า ไม่ต้องการนายโคฟี อันนัน อยู่ในคณะกรรมการ ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจสวมเสื้อกันกระสุนพร้อมด้วยปืนไรเฟิล ยืนควบคุมสถานการณ์อยู่ในบริเวณดังกล่าว

“ปัญหารัฐยะไข่เป็นกิจการภายใน เราไม่สามารถยอมรับการแทรกแซงจากคนนอกได้ เราไม่ต้องการให้ชาวต่างชาติเข้ามายุ่งเกี่ยวเรื่องภายในของเรา นี่แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลจัดการเรื่องนี้ไม่ถูก” หม่อง ขิ่น หนึ่งในผู้ร่วมชุมนุมประท้วง กล่าว

ทหาร และรัฐบาลพม่าได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาของชาวบ้าน และกลุ่มสิทธิมนุษยชนที่อ้างว่า ทหารข่มขืนผู้หญิงชาวโรฮิงญา เผาบ้านเรือน และสังหารพลเรือนระหว่างปฏิบัติการทางทหาร ขณะที่เจ้าหน้าที่สหประชาชาติ ระบุในสัปดาห์นี้ว่า ประชาชนมากกว่า 10,000 คน ได้หลบหนีเข้าไปในเขตแดนของบังกลาเทศในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา.
.

.
กำลังโหลดความคิดเห็น