MGRออนไลน์ -- กองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่น หรือ JGSDF (Japan Ground Self Defense Force) ได้แสดงโชว์ ขีดความสามารถในการทรงตัว และ ระบบปืนใหญ่เสถียรของรถถังหลัก 3 รุ่น 3 ยุค ที่พัฒนาและผลิตโดยกลุ่มบริษัทมิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสตรีส์ (Mitsubishi Heavy Industries) วิดีโอคลิป ที่เผยแพร่ผ่านทวีตเตอร์ของชาวญี่ปุ่นคนหนึ่ง เมื่อไม่กี่วันมานี้ ได้รับความสนใจมากมาย จากสื่อกลาโหมหลายสำนักทั่วโลก และ ยังคง "รี-ทวีต" กันอย่างกว้างขวาง
ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เทคโนโลยีปืนใหญ่เสถียรของมิตซูบิชิ ได้รับการยกย่องว่าเป็นเลิศ นิ่งและชี้เด่ตรงไปข้างหน้า ไม่ว่ารถที่มีน้ำหนักหลายสิบตัน จะเคลื่อนตัวไปทางทิศใด หรือ ไปตามพื้นผิวขุขระเพียงใด หรือ เปลี่ยนทิศทางรวดเร็วเพียงใด ปืนใหญ่ยังคงชี้เด่ตรงไปยังเป้าหมายข้างหน้าที่เลือกไว้ และ ผู้บังคับรถถัง สามารถสั่งให้พลปืนกระหน่ำยิงได้ในทุกขณะเมื่อ และ มักจะไม่พลาดเป้า
คลิป 3-4 ชิ้นถูกนำขึ้นเผยแพร่ครั้งแรก เมื่อวันที่ 19 พ.ย.ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นรถถังหลัก (Main Battle Tank) จำนวน 3 คัน คือ Type-74, Type-90 กับ Type-10 แสดงการเคลื่อนตัว การเปลี่ยนทิศทางกระทันหัน ที่เรียกกันว่า "ดริฟติ้ง" (Drifting) และ การทำวงเลี้ยวโค้ว (Sliding) อย่างสวยงาม จนถึงการห้ามล้อฉับพลัน แต่รักษาการทรงตัวได้เป็นเลิศ โดยไม่ลื่นไถลจนกระทั่งหันเหทิศทางไป
เทคนิคกับเทคโนโลยีเกี่ยวกับฟีเจอร์เหล่านี้ มีความสำคัญอย่างไรสำหรับรถถัง กับหน่วยยานเกราะ สามารถหาคำตอบได้จาก คลิปชิ้นล่างสุด หรือ ติดตามอ่านเรื่องราว และ ชมคลิปเก่าๆ เมื่อปีที่แล้ว ครั้งที่ JGSDF จัดแสดงขีดความสามารถของรถถังหลัก Type-10 ภายในที่ตั้งกองพันทหารราบแห่งหนึ่ง ที่เมืองสึชิอูระ (Tsuchiura) จ.อิบารากิ (Ibaraki) บนเกาะฮอนชู (Honshu) ทางตอนเหนือของกรุงโตเกียว เนื่องในโอกาสครบรอบปีสำคัญ หรือ คลิกที่นี่
ผู้นำคลิปออกเผยแพร่ ไม่ได้ให้รายละเอียดว่า การจัดโชว์ทีมีผู้คนไปร่วมและเฝ้าติดตามชมเป็นจำนวนมากครั้งนี้ มีขึ้น ณ หน่วยใด แต่เข้าใจกันว่าเป็นสนามฝึกและทดสอบ ภายในที่ตั้งกองพันยานเกราะแห่งเดียวกัน กับที่เคยจัดแสดงโชว์คล้ายกัน เมื่อปีที่แล้ว
Type-74 เป็น MBT ขนาด 38 ตัน ติดเครื่องยนต์ดีเซล 2 จังหวะ 750 แรงม้าของมิตซูบิชิ ติดปืนใหญ่ 105 มม. มาตรฐานนาโต้ (ขนาดเดียวกับ M60A1/3 "แพ็ตตัน" ของกองทัพบกไทย) ที่มิตซูบิชิฯ ผลิตเองภายใต้สิทธิบัตร เป็น MBT รุ่นเก่าที่สุด ที่ JGSDF ใช้อยู่ในปัจจุบัน บรรจุมาตั้งแต่ช่วงปีหลังสงครามเวียดนามสิ้นสุดลง เพื่อรับมือกับ T-62 ของสหภาพโซเวียตในยุคนั้น นับเป็นรถถังรุ่นแรกที่ญี่ปุ่นประสบความสำเร็จมากที่สุดก็ว่าได้
Type-74 ที่ผลิตออกมารุ่นหลังๆ ยังติดตั้งระบบออโต้โหลดเดอร์ ป้อนกระสุนอัตโนมัติ ที่พัฒนาโดยมิตซูบิชิฯ นับเป็น MBT รุ่นแรกๆ ของโลกคันหนึ่ง ที่ติดตั้งระบบนี้ ซึ่งช่วยลดจำนวนพลประจำการลงได้ 1 คน ถือเป็นความสำเร็จประการหนึ่งของมิตซูบิชิฯ เช่นเดียวกัน
.
10に動きかっけぇ pic.twitter.com/FFrVOg620g
— オペちゃん✭2日目東a-31b🇯🇵 (@OPERATORCHAN) November 19, 2016
10式、超信地旋回ディスプレイ中にシャンパンを落として撤退( ´•̥̥̥ω•̥̥̥`) pic.twitter.com/i2WsbfWT01
— オペちゃん✭2日目東a-31b🇯🇵 (@OPERATORCHAN) November 19, 2016
.
良さ... pic.twitter.com/Eks2llj6Pg
— オペちゃん✭2日目東a-31b🇯🇵 (@OPERATORCHAN) November 19, 2016
74式の動いてるところが見えてもう嬉しすぎる pic.twitter.com/hSGtjHJT3P
— オペちゃん✭2日目東a-31b🇯🇵 (@OPERATORCHAN) November 19, 2016
.
90参上 pic.twitter.com/bmEZqLlNBq
— オペちゃん✭2日目東a-31b🇯🇵 (@OPERATORCHAN) November 19, 2016
.
เมื่อพูดถึงรถถังญี่ปุ่น ก็จะไม่สามารถแยกจากกันได้ กับอิทธิพลรถถังค่ายโซเวียต ที่เคยพันตูกันมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งไม่ว่าการสู้รบด้วยยานเกราะ จะเกิดขึ้นครั้งใด ณ ที่แห่งไหน ยานเกราะของญี่ปุ่นเป็นฝ่ายพ่ายมาตลอด
เมื่อโซเวียตผลิตรถถัง T-72 ขนาด 44 ตัน ออกมาในช่วงกลางทศวรรษที่ 1970 ติดปืนใหญ่ 125 มม. ลำกล้องเกลี้ยงที่ทรงพลัง ติดเครื่องยนต์ดีเซล V12 ที่ให้กำลังแรงจัด 780 แรงม้า ก็ทำให้ฝ่ายญี่ปุ่นต้องหวั่นไหวอีกครั้งหนึ่ง รัฐบาลโดยกองกำลังป้องกันตนเอง ซึ่งก็คือกระทรวงกลาโหม ต้องเชิญกลุ่มบริษัท ที่มีเทคโนโลยีนำหน้าทั้งหลาย นับสิบแห่ง ร่วมกันระดมสติปัญญาเพื่อออกแบบ และ ผลิตรถถังรุ่นใหม่ รับมือกับ T-72 โดยมีมิตซูบิชิฯ เป็นเจ้างาน
นั่นคือการก่อเกิดของ Type-90 "คีวมารุ" (Kyumaru) ขนาด 50.2 ตัน ในช่วงทศวรรษที่ 1980 ซึ่งใหญ่กว่า T-72 โซเวียต ติดปืนใหญ่ 120 มม.ลำกล้องเกลี้ยงของไรน์เมทาล (Rheinmetall) เยอรมนี ซึ่งเป็นมาตรฐานสหรัฐกับนาโต้ แต่ในยุคหลังๆ มิตซูบิชิฯ ได้ซื้อสิทธิบัตรลำกล้องไปผลิตเอง ใช้ระบบรีคอยล์ (สะท้อนกลับ) ของตนเอง รวมทั้งระบบช่วยเล็งเป้า ที่มิตซูบิชิฯ ผลิตเองเช่นเดียวกัน
Type-90 ญี่ปุ่นน้ำหนักมากกว่า T-72 โซเวียตอย่างโดดเด่น เพราะติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซล 10 สูบของมิตซูบิชิ ที่ให้พลังเหลือหลายถึง 1,500 แรงม้า คือ แรงกว่า T-72 เกือบสองเท่า ซ้ำยังใช้เกียร์อัตโนมัติที่มีชื่อเสียงของค่ายนี้ เดินหน้า 4 เกียร์ ถอยหลังอีก 2 เกียร์ ทำให้รถหนักๆ เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว คล่องตัว อย่างน่ายกย่อง เหนือชั้นกว่าระบบของ T-72 อย่างเทียบกันไม่ได้ พร้อมเทคโนโลยีปืนใหญ่เสถียร ที่เริ่มเห็นอย่างโดดเด่นมาตั้งแต่ล็อตแรกๆ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่โลกภายนอกไม่ค่อยจะรู้กัน เพราะหันไปนิยมรถถังตะวันตกกันหมด
Type-90 เป็นรถถังยุคที่ 4 รุ่นแรกของญี่ปุ่น ออกแบบรถให้เป็นทรงต่ำ (Low Rise) ลดช่องว่างตรงรอยต่อ ระหว่างป้อมปืนกับตัวถัง อันเป็นจุดอ่อนที่สุด เป็นเป้าหมายสำคัญของกระสุนเจาะเกราะ กับ บรรดาอาวุธปล่อยนำวิถีทั้งหลาย แม้กระทั่งอาวุธปราบรถถังสามัญที่สุด เช่น เครื่องยิงระเบิดอาร์พีจี ซึ่งดีไซน์เดียวกันนี้ ตกทอดมาถึง Type-10 "ฮิโตมารุ" (Hitomaru) รถถังหลักรุ่นใหม่ล่าสุด ที่ JGDF บรรจุเข้าประจำการ 4-5 ปีมานี้
.
.
มิตซูบิชิฯ ออกแบบและพัฒนา ทำให้ Type-10 น้ำหนักเบาลงเหลือเพียง 44 ตัน แต่ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ V8 ที่ให้พลังเท่ากับม้า 1,200 ตัว ติดปืนใหญ่ 120 มม. ลำกล้องเกลี้ยง มาตรฐานนาโต้ดั้งเดิม และ ยังเป็นรุ่นแรกที่พัฒนามาใช้เกียร์อัตโนมัติ CVT (Continuously Variable Transmission) ที่เรียกกันทางเทคนิคว่า "เกียร์เดียว" หรือ "เกียร์ต่อเนื่อง" แบบเดียวกับ ที่ใช้กันในรถยนต์ยุคใหม่
และ นี่คือ MBT ที่ทั้งมิตซูบิชิฯ และ JGSDF ต่างภาคภูมิใจ ว่ากันว่าเป็นรถถังที่สมบูรณ์ในทุกมิติ พร้อมมากที่สุดสำหรับสงครามต่อสู้รถถัง การจู่โจมเคลื่อนที่ การรบในสงครามพิเศษต่างๆ กับอีกหลากหลายภารกิจ
วงการสื่อกลาโหมพูดกันมานานข้ามปีแล้วว่า การแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับการป้องกันประเทศหลายฉบับ ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ได้ทำให้อาวุธยุทโธปกรณ์ที่ผลิตในญี่ปุ่น ตั้งแต่เรือรบ เครื่องบินรบ เครื่องบินตรวจการณ์ จนถึง ยานลำเลียงพลยกพลขึ้นบก รวมทั้งรถถัง กลายเป็นอาวุธทางเลือก คุณภาพดีเยี่ยม สำหรับประเทศในแถบนี้ แต่ราคาค่างวดของ "สินค้าญี่ปุ่น" ก็ไม่ถึงกับถูกเสียเลยทีเดียว
ถึงกระนั้นฮาร์ดแวร์กลาโหมเมดอินแจแปน หลายต่อหลายชิ้น ก็ยังเป็นที่หมายตา ซึ่งรวมถึง Type-10 คันนี้ด้วย -- ภายใต้ความคุ้นเคยเดิมๆ ที่ว่ากันว่า รถญี่ปุ่นใช้ดีที่สุด มีปัญหาน้อยที่สุด ดูแลรักษาง่ายที่สุด เมื่อนำมาใช้ในเขตร้อนย่านนี้
มิตซูบิชิฯ ยังได้พัฒนาระบบเกราะป้องกัน สำหรับ Type-74, Type-90 และ Type-10 มาอย่างต่อเนื่อง และ ว่ากันว่า Type-10 รุ่นใหม่ ได้ติดตั้งระบบป้องกันตัวเองอัตโนมัติ APS (Active Protection System) คล้ายกับระบบโทรฟี (Trophy) ของอิสราเอล และ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ก้าวหน้าอื่นๆ อีก ซึ่งทำให้ Type-10 โดดเด่นมากกว่าเดิมอีกหลายเท่า
ญี่ปุ่นยังปิดเรื่องนี้เป็นความลับ ยังไม่เคยโชว์ APS ของ Type-10 ให้ใครๆ ได้เห็น และ มีแต่คนที่อยากจะเห็น.
.
2
3
4