xs
xsm
sm
md
lg

ไปดูใกล้ๆ รถถังยุคใหม่จะติดปืนใหญ่ 130 มม. ยิงกระสุนชนิดใหม่ไกลขึ้น แม่นยำกว่าเดิม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>เปิดตัวให้เห็นเป็นครั้งแรกในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ ในกรุงปารีสเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ปืนใหญ่รถถัง 130/51 มม. ของเยอรมนีได้รับการจับตามาตั้งแต่นั้น ว่ากันว่าในศตวรรษหน้า จะเป็นมาตรฐานใหม่สำหรับรถถังกลุ่มนาโต้ ซึ่งอาจจะรวมถึงรถถังที่ผลิตในเกาหลฃี-ญี่ปุ่น สำหรับยุคหน้าด้วย. -- Rheinmetall-DeTec AG. </b>

MGRออนไลน์ -- รู้กันมานานจนเกือบจะข้ามปีแล้วว่า กลุ่มบริษัทเทคโนโลยีกลาโหมไรน์เมทาล (Rheinmetall) แห่งเยอรมนี ได้พัฒนาปืนใหญ่ขนาดใหม่ที่ใหญ่ขึ้น สำหรับติดตั้งรถถังเลโอพาร์ดรุ่นใหม่ ซึ่งเผยโฉมให้เห็นเป็นครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับปืนใหญ่คาลิเบอร์ใหม่ ยังเปิดเผยออกมาในขณะรัสเซียกำลังพัฒนารถถัง T-14 "อาร์มาตา" (Armata) ที่ว่ากันว่า เป็นเลิศทั้งอาวุธยุทโธปกรณ์สำหรับโจมตี และเทคโนโลยีทางด้านอีเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งระบบป้องกันตัวเอง

หลายฝ่ายบอกว่า ป.130/51 มม. ของเยอรมนี พัฒนาขึ้นมาเพื่อต่อกรกับรถถังยุคที่ 4 ของรัสเซียโดยเฉพาะ และ ในวันข้างหน้าจะกลายเป็นมาตรฐานใหม่ สำหรับรถถังของกลุ่มนาโต้ทั้งมวล

ไรน์เมทาลนำ ป.130 มม. ลำกล้องเกลี้ยง (Smooth Bore Gun) ออกโชว์ในงานนิทรรศการป้องกันประเทศกรุงปารีส หรือ Eurosatory 2016 ระหว่าง 13-17 มิ.ย.ปีนี้ แต่หลังจากนั้นข่าวคราวก็ได้เงียบหายไป จนกระทั่งเว็บไซต์ข่าวกลาโหมยุโรปแห่งหนึ่ง นำเรื่องนี้มาอธิบายเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว บรรยายสรรพคุณให้เห็นความแตกต่างระหว่าง ป.130 กับ ป.120 มม. ที่ใช้เป็นมาตรฐานของ กลุ่มสนธิสัญญาร่วมป้องกันแอตแลนติกเหนือ มานาน 37 ปี

ปืนใหญ่ขนาด 130/51 มม.ของไรน์เมทาลล์ กำลังจะเป็นมาตรฐานใหม่ สำหรับ "ไอ้ปืนโต" รุ่นใหม่ของเยอรมนี ที่หลายคนเรียกว่า "เลโอพาร์ด 2.5" กับ หลายคนเรียกเป็น "เลโอพาร์ด 3" และ อีกจำนวนหนึ่งเรียกชื่อล่วงหน้าเป็น "เลโอพาร์ด 2A8" กับ อีกรุ่นหนึ่ง คือรถถังเลอแคลร์ (AMX-56 Leclerc) ของฝรั่งเศส

อย่างไรก็ตามผู้ผลิตยังไม่มีท่าทีใดๆ เกี่ยวกับชื่อรถถัง เพราะฉะรนั้รนเว็บไซต์หลายแห่ง จึงยังเรียกเป็น "เลโอพาร์ด 2A7 รุ่นใหม่"

แต่ไม่ว่ารถถังจะชื่ออะไร เมื่อเอ่ยชื่อ Rheinmetall-DeTec AG ก็หมายถึงผู้ผลิตปืนใหญ่สำหรับรถถังของนาโต้ ซึ่งได้ใช้ปืนขาด 120/55 มม. (L-55) ของบริษัทนี้ รวมไปถึงรถถัง M1A1 "เอบรามส์" (Abrams) ของสหรัฐ กับ K1A1 ของบริษัทฮุนไดโรเท็ม (Hyundai Rotem) แห่งเกาหลี รวมทั้งรถถัง Type 90 ของมิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสตรีส์ (Mitsubishi Heavy Industries) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสองรายหลังสุดนี้ นำไปผลิตภายใต้สิทธิบัตร

และเมื่อพูดถึงรถถังเลโอพาร์ด 2 (Leopard 2/เล็พเพิร์ด 2) ก็ต้องพูดถึงอีกเกือบ 20 ประเทศที่มีใช้ นอกเหนือไปจากเยอรมนี ซึ่งรวมทั้งสิงคโปร์ กับอินโดนีเซีย 2 ประเทศเพื่อนบ้านในละแวกนี้ เช่นเดียวกันกับ M1A1 ของสหรัฐ ที่มีใช้ในออสเตรเลีย อียิปต์ อิรัก คูเวต และ ซาอุดิอาระเบีย
.




.
ความคืบหน้าล่าสุดอีกประการหนึ่ง ที่เปิดเผยสัปดาห์ที่ผ่านมาก็คือ ไรน์เมทาลจะเริ่มทดสอบการยิง ป.130 มม. ด้วยกระสุนจริง 3 ชนิดก่อนสิ้นปีนี้ เพื่อพิสูจน์ความแตกต่างระหว่าง อานุภาพของ ป.120 กับ ป.130

แต่การเปิดเผยล่าสุดนี้ ก็ยังไม่ได้ให้รายละเอียดอะไรมากไปกว่าว่า ป.130 มม. มีลำกล้องขนาด 51 แคลิเบอร์ ความยาว 6,630 มิลลิเมตรและหนัก 1,400 กิโลกรัม และ จะมีน้ำหนักเป็นประมาณ 3,000 ตันเมื่อรวมทั้งระบบ มีขนาด "รังเพลิง" ใหญ่กว่า ป.120 มม. คือ 15 ลิตรกับ 10 ลิตรตามลำดับ

ลำกล้องผลิตจากเหล็กกล้าชนิดพิเศษ ไม่มี "ครอบปลายกระบอก" หรือ Velocity Muzzle และ ความยาวของ ป.130 ทั้งระบบคือ 7,160 มม. ข้อมูลในชั้นต้น ยังระบุว่า ป.130 มม.สามารถยิงได้ไกลกว่า ป.120 มม. ราวเท่าตัว และ เพิ่มความแม่นยำขึ้นอีก 50%

ไรน์เมทาลเป็นผู้คิดค้นกระสุนเจาะเกราะแบบ APDS (Armor-Piercing Discarding Sabot) หรือ กระสุน "ซาโบ" ที่มีชื่อเสียง ซึ่งเป็นกระสุนรุ่นเก่า ที่พัฒนาขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง เพื่อใช้แทนกระสุนซาโบแบบ APFSDS โดยไม่ต้องมี "ครีบ" ช่วยสร้างเสถียรภาพ ทิศทางการยิงอีกต่อไป

กระสุน APDS สำหรับ ป.130 ที่เผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้ แสดงให้เห็นขนาดที่ใหญ่โตกว่า คือ ยาวกว่ากระสุนชนิดเดียวกันสำหรับ ป.120 เกือบ 1 เท่าตัว ซึ่งหมายถึงดินขับปริมาณมหาศาล ที่บรรจุอยู่ภายใน และ หมายถึงแรงกดดันที่เพิ่มทวี เป็นเหตุทำให้จะต้องมี "รังเพลิง" ที่ใหญ่ขึ้น

การประดิษฐ์คิดค้น ป.130 ถือเป็นความท้ายทายครั้งสำคัญที่สุด นับตั้งแต่กลุ่มป้องกันยุโรป ได้พยายามประดิษฐ์ ป.140 มม.ออกมา เมื่อหลายทศวรรษก่อน และ ล้มเลิกไป
.
<br><FONT color=#00003>ใหญ่และยาวขึ้น ซึ่งหมายถึงน้ำหนักที่มากขึ้น กระสุนซาโบ สำหรับ ป.130/51 มม. ยาวกว่าของ ป.120 เกือบเท่าตัว ซึ่งหมายถึงดินขับมหาศาลที่บรรจุอยู่ข้างใน. -- Rheinmetall-DeTec AG. </b>
2

3

4

5

6

7

8

9
ป.130 ของไรน์เมทาล ถูกเปิดเผยสู่โลกภายนอกครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว เพียงไม่นานหลังจากรัสเซียเปิดตัวรถถัง T-14 อย่างเป็นทางการ ในงานสวนสนามรำลึกวันขับไล่นาซี ในเดือน พ.ค. แต่ก็เป็นที่ล่วงรู้กันมาก่อนหน้านั้นว่า "อาร์มาตา" จะใช้ ป.125 มม.มาตรฐานโซเวียต/รัสเซีย ในระยะเวลาหนึ่ง ก่อนจะติดตั้งปืนใหญ่ ที่อาจจะใหญ่โตถึงขนาด 152 มม. ในวันข้างหน้า

แต่ยิ่งขาดใหญ่โต และ มีคาลิเบอร์ใหญ่เท่าใด ก็ย่อมหมายถึงการเพิ่มน้ำหนักให้แก่รถถัง ลดความคล่องตัวในการปฏิบัติงานลงไปตามสัดส่วน และ ยังหมายความถึง การลดทอนจำนวนกระสุนที่รถถังแต่ละคัน สามารถเก็บไว้ได้ภายในอีกด้วย ก็จึงมีคำถามว่ารัสเซียมีความจำเป็นอะไร จึงจะต้องใช้ปืนใหญ่มหึมาขนาดนั้น สำหรับ T-14

ในค่ายตะวันตกก็ไม่ต่างกัน ยิ่งปืนใหญ่รถถังมีขนาดใหญ่แค่ไหน ก็จะมีคำถามติดตัวมาด้วยเสมอมา และ ต้องการคำตอบอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ คุ้มหรือไม่ จำเป็นแค่ไหน อย่างไร ที่รถถังหรือยานเกราะต่างๆ ต้องใช้ปืนขนาดใหญ่กว่า ป.120 มม. ซึ่งจะทำให้การโหลดด้วยมือคน เป็นไมได้อีกต่อไป รถถังทุกคันจะต้องติดตั้งระบบป้อนกระสุนอัตโนมัติ สำหรับกระสุนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เปลืองพื้นที่ภายในมากขึ้น

คำถามที่น่าสนใจพอๆ กันก็คือ ในขณะที่โลกยุคใหม่ มีอาวุธปล่อยนำวิถี ทันสมัยมากมาย สามารถยิงทำลายรถถัง และยานเกราะให้มอดมลายได้ในพริบตา ด้วยราคาที่ถูกกว่า จำเป็นมากมายแค่ไหน จึงต้องติดปืนใหญ่ที่ใหญ่ขึ้น และ ยิงด้วยกระสุนราคาแพงขึ้น

กลุ่มนาโต้กล่าวว่า จรวดนำวิถีต่อสู้รถถังแบบแจฟลิน (Javelin) ของสหรัฐ แม้กระทั่งจรวดคาร์ล กุสตาฟ (Karl Gustav) รุ่นใหม่ที่ผลิตในสวีเดนนั้น เป็นเลิศในทุกๆ ด้าน ไม่ต่างกับจรวดโทว์อย่าง TOW-B ที่ใครก็อยากจะเห็นของจริง เพราะว่ากันว่าทั้งหมดนี้ ยิงได้ในทุกสถานการณ์ ไม่ว่ารถถังรัสเซียจะหุ้มเกราะชนิดใด หนาแค่ไหน จะมีระบบป้องกัน APS (Active Protecion System) หรือไม่ ก็ไม่มีทางรอด

อย่างไรก็ตาม ถ้าหากจะมีการเปลี่ยนปืนใหญ่รถถังอีกครั้ง ก็จะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ แต่การผลิตตามโครงการ Main Ground Combat System หรือ MGCS ระหว่างเยอรมนีกับฝรั่งเศส จะยังไม่เกิดขึ้นจนกว่า จะถึงราวๆ ปี 2025 หรือ 9 ปีข้างหน้า เพราะจะต้องผ่านการศึกษาวิจัย ทดลองและทดสอบ อีกหลายขั้น

นั่นคือรถถังค่ายสหรัฐกับนาโต้ จะยังใช้ ป.120 มม.ต่อไป จนถึงช่วงปีโน้น.
กำลังโหลดความคิดเห็น