xs
xsm
sm
md
lg

รัสเชียโชว์จรวดร่อน 3M55 "โอนิคส์" ยิงถล่มไอซิสในซีเรีย รุ่นเดียวกับเวียดนาม ออกศึกให้เห็นเป็นครั้งแรก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online



MGRออนไลน์ -- กระทรวงกลาโหมรัสเซียได้เผยแพร่ภาพการโจมตี ที่ตั้งกลุ่มรัฐอิสลามในซีเรีย ด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีอีกครั้งหนึ่ง ในวันอังคาร 15 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการรุกรบใหญ่ครั้งสำคัญอีกรอบ เป็นการผสมผสานการโจมตี ระหว่างเครื่องบินรบ Su-33 จากเรือบรรทุกเครื่องบินในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน กับ ยิงจากเรือรบอีกหนึ่ง รวมทั้งยิงจากฐานยิงบนบก

พล.อ.เซอร์เก ชอยกู รัฐมนตรีกลาโหมรัสเซียกล่าวว่า ทั้งหมดเป็นเหตุการณ์ในวันเดียวกัน เป็นการโจมตีกลุ่มไอซิสใน จ.อิดลิบ และ จ.ฮอม ของซีเรีย โดยเป้าหมายเป็นคลังแสง เก็บอาวุธและกระสุน เป็นศูนย์การฝึกของฝ่ายก่อการร้าย และ โรงงานผลิตอาวุธ สำหรับทำลายหรือสร้างความเสียหายให้แก่คนจำนวนมากๆ

รัสเซียนำวิดีโอคลิปสั้นๆ 2 ชิ้น แสดงให้เห็นเครื่องบินรบ บินขึ้นจากเรือแอดมิรัล คุซเน็ตซอฟ คลิปอีกชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นเหตุการณ์ก่อนหน้านั้น เป็นการยิงโจมตีด้วยจรวดนำวิถีแบบ "คลุบ" (Klub) หรือ "คาลิเบอร์" จากเรือฟริเกตแอดมิรัล กริกอโรวิช ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เช่นเดียวกัน

ตอนท้ายของคลิปชิ้นที่ 2 แสดงให้เห็นการยิงจรวดอีกชนิดหนึ่ง ที่รัสเซียเรียกว่าโอนิคส์ (Oniks) โลกตะวันตกเรียกโอนิกซ์ (Onyx/Onix) โดยยิงขึ้นจากฐานยิงแบบอัตตาจรบนบก ในจังหวัดชายฝั่งทะเลของซีเรีย

เหตุการณ์ยิงจรวดโอนิคส์ ดูจะได้รับความสนใจไม่มาก เนื่องจากคนทั่วไป เคยเห็นการยิงจรวดร่อนคาลิเบอร์ จากเรือรบรัสเซียมาหลายครั้ง ในช่วงข้ามปีมานี้ นับตั้งแต่การโจมตีครั้งใหญ่ โดยยิงจากเรือฟริเกตกับเรือคอร์แว็ต หลายลำในทะเลแคสเปียน ข้ามดินแดนอิหร่านกับอิรัก ไปทำลายเป้าหมายไอซิสในซีเรีย เป็นระยะทางกว่า 1,500 กิโลเมตร

แท้จริงแล้วการยิงจรวดโอนิคส์ ที่เห็นเป็นเวลาสั้นๆ ในคลิปชิ้นหลัง นับเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์เลยทีเดียว เพราะเป็นครั้งแรก สำหรับจรวดความเร็วระดับซูเปอร์โซนิค ยิงเรือในระยะไกลรุ่นแรกๆ ที่เคยสร้างความหวั่นเกรง ให้สหรัฐกับโลกตะวันในยุคสงครามเย็นมากที่สุด ถูกนำไปใช้ในการสู้รบจริง .. แม้จะไม่มีการต่อต้านจากฝ่ายตรงข้ามก็ตาม
.



.
และ เรื่องนี้ยังใกล้ตัวมากที่สุด ..

จรวดโอนิคส์ ก็คือ จรวด P-800 "ยะโคนต์" (Yakhont/อัญมณี) เวอร์ชั่นส่งออก ที่ใช้เป็นกำลังหลักในการป้องกันชายฝั่ง ของเวียดนามปัจจุบัน ซึ่งก็คือจรวดรหัส 3M55 ในระบบรัสเซีย และ SS-N-26 หรือ "สโตรไบล์" (Strobile) อันเป็นชื่อที่ไม่ได้ยินบ่อยนัก ในระบบของนาโต้ เป็นอาวุธปล่อยนำวิถี ที่ใช่ในระบบบาสเตียน (Bastion) เวียดนามซื้อจากรัสเซียในช่วงไม่ถึง 10 ปีมานี้ และ กลายเป็นลูกค้ารายแรก

ไม่ไกลตัวอีกเช่นกัน เพราะว่าในช่วงปีไล่เรี่ยกันนั้น กองทัพเรืออินโดนีเซีย ได้จัดหาจรวด P-800 โดยไม่เปิดเผยจำนวน แต่ทั้งหมดเป็นเวอร์ชั่นยิงจากระบบท่อ ติดตั้งบนเรือฟริเกตชุดหนึ่ง นอกจากนั้นยังมีรายงานว่า กองทัพเรืออินเดียซื้ออีกจำนวนหนึ่ง เพียงแต่ไม่มีการยืนยันอย่างเป็นทางการ และ ลูกค้าอีกรายของระบบบาสเตียน ก็คือ ซีเรีย ซึ่งจัดหาเมื่อปี 2553 .. โดยรวมแล้วมีผู้ใช้นอกรัสเซียเพียง 3-4 ประเทศเท่านั้น

คุณสมบัติที่น่าเกรงขามของ Oniks/P-800 Yakhont ก็คือ เป็นจรวดที่มีความเร็วกว่า 2 เท่าเสียง หรือ ซูเปอร์โซนิค ยิงได้ไกลตั้งแต่ 100 จนถึงไกลกว่า 200 กม. และ ในช่วงสุดท้าย ในขั้นเตรียมการพุ่งเข้าใส่เป้าหมาย ในระยะทางตั้งแต่ 50-20 กม.นั้น จรวดจะลดระดับลง "ร่อน" เหนือน้ำทะเลเพียงไม่กี่เมตร ทำให้ยากแก่การตรวจจับ และ ยิงต่อต้าน จรวดโอนิครุ่นที่รัสเซียใช้ยิงได้ไกลถึง 300 กม. และ ไม่ส่งออก

นอกจากนั้น P-800 ยังเป็นจรวดแบบ Fire and Forget อีกรุ่นหนึ่ง คือ ปล่อยออกไปแล้วลืมได้เลย จรวดจะพุ่งไปข้างหน้า แสวงหาเป้าหมายด้วยตัวเอง หลังแนวเส้นขอบฟ้า
.

.
สาเหตุที่หลายคนบอกว่า เป็นอาวุธนำวิถีที่น่าเกรงขามมาก สำหรับสหรัฐกับโลกตะวันตก ก็เนื่องจากว่าอาวุธปล่อยนำวิถีของสหรัฐร่วมยุคเดียวกัน และ ใกล้เคียงจรวดโอนิกส์มากที่สุด ก็คือจรวดโทมาฮอว์ค กับจรวดฮาร์พูน ซึ่งทั้งสองรุ่นมีความเร็วระดับ "ซับโซนิค" หรือ เร็วต่ำกว่าเสียงทั้งสิ้น และ จรวดยิงเรือดีที่สุดของฝรั่งเศส คือ เอ็กโซเซ ในยุคโน้นก็มีระยะยิงไม่ถึง 100 กม.

ถึงแม้ P-800 ยะโคนต์จะยิงได้ใกล้กว่า แต่ก็มีคุณสมบัติอื่นไม่แพ้ Oniks รุ่นท็อป กล่าวคือขับเคลื่อนด้วยจรวดแบบ "แรมเจ็ต" (Ramjet) ใช้น้ำมันก๊าดบริสุทธิ์เป็นเชื้อเพลิง ปรับโหมดการขับเคลื่อนได้หลายระดับ ใช้ความเร็วตั้งแต่ต่ำกว่าเสียง จนกระทั่งเร็วสูงสุด ถึงมัค 2.0 และ 2.5 พูดให้เห็นเป็นรูปธรรมก็คือ เร็วเท่าๆ กับเครื่องบินโจมตีขับไล่ F-16 ที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน

* ระบบป้องกันชายฝั่งที่ยังทันสมัย *

Bastion เป็นชื่อเรียกทั่วไป ของระบบอาวุธปล่อยนำวิถี สำหรับป้องกันชายฝั่งก้าวหน้าที่สุดระบบหนึ่ง ที่พัฒนามาตั้งแต่ยุคโซเวียต และ ใช้มาจนถึงปัจจุบัน กองทัพรัสเซียนำไปติดตั้งตามจุดสำคัญต่างๆ ตั้งแต่แถบทะเลบัลติกทางตอนเหนือ ไปจนถึงคาบสมุทรคัมชัตกา ทางฝั่งแปซิฟิก และ ยังมีแนวโน้มว่ากำลังจะติดตั้ง ในคราบสมุทรไครเมีย ริมฝั่งทะเลดำอีกด้วย

ชื่ออย่างเป็นทางการคือ ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีป้องกันชายฝั่ง K300P Bastion-P และ ของรัสเซียใช้จรวด Oniks ซูเปอร์โซนิค "รุ่นท็อป" ที่ยิงได้ไกลที่สุดและไม่ส่งออก ดังที่กล่าวมาแล้ว

หนึ่งระบบของบาสเตียน ประกอบด้วยรถบรรทุก ที่ใช้เป็นฐานยิงแบบอัตตาจร รถบรรทุกจรวด ยานบรรทุกระบบควบคุมการยิง อาจมีรถบรรทุกระบบเรดาร์แจ้งเตือนอีก 1 คัน และ เฮลิคอปเตอร์ติดตั้งระบบช่วยนำวิถี/เล็งเป้าหมาย ยิงได้ทั้งเรือข้าศึก และ เป้าหมายทางทะเลอื่นๆ เช่น หน่วยต่อต้านทางอิเล็กทรอนิกส์ หนึ่งระบบประกอบด้วยจรวด 24 ลูก สามารถยิงต่อเนื่องได้ โดยใช้เวลา "คั่นระบบ" เพียง 2.5 วินาทีเท่านั้น
.

.
เวียดนามจัดหาระบบบาสเตียนจำนวน 2 ระบบ เมื่อปี 2548 เริ่มรับมอบในปี 2552 จนครบในปีถัดมา -- นั่นคือ ช่วงปีที่กองทัพประชาชน เผยแพร่ภาพระบบป้องกันชายฝั่งสู่สาธารณชนเป็นครั้งแรก ท่ามกลางความแปลกใจของหลายฝ่าย.. หลายคนไม่เคยรู้จัก และ ไม่เชื่อว่าเป็นระบบที่ดีพอ สำหรับการป้องกันฝั่งทะเล ความยาวเกือบ 3,000 กม. เหนือจดใต้

เดือน ส.ค.ที่ผ่านมา สถานีโทรทัศน์ของกองทัพ รวมทั้งสื่อต่างๆ ของทางการ ได้นำภาพการฝึกซ้อมจำลองเหตุการณ์ เพื่อใช้จรวด P-800 กับ ระบบบาสเตียนชุดหนึ่ง ของกองทัพประชาชน ออกเผยแพร่ เป็นการฝึกซ้อมโดยไม่มีการยิงจรวดจริงแต่อย่างใด แต่ก็ทำให้ชาวเวียดนามจำนวนมาก ที่ยังไม่เคยรู้เรื่องนี้มาก่อน ต่างรู้สึกตื่นเต้น และหลายคนแปลกใจ
.
<br><FONT color=#00003>ถึงแม้ว่าหลายปีมานี้ รัสเซียจะเคยทดลองยิงจรวดโอนิคส์ จากระบบป้องกันชายฝั่งบาสเตียน ให้เห็นหลายครั้งแล้วก็ตาม ปฏิบัติการในซีเรียวันอังคาร 15 พ.ย.ที่ผ่านมา เป็นครั้งแรกที่จรวดน่าเกรงขามที่สุดรุ่นหนึ่ง สำหรับสหรัฐกับพันธมิตนาโต้ในยุคสงครามเย็น ถูกนำไปใช้ในสถานการณ์รบจริง นับตั้งแต่ยุคสหภาพโซเวียตเป็นต้นมา. </b>
1
การยิงจรวดโอนิคส์จากระบบบาสเตียนของรัสเซีย โจมตีที่ตั้งกลุ่มไอซิสในซีเรีย เมื่อวันอังคารนี้ ก็นับเป็นเซอร์ไพรส์ เช่นกัน..

ตามรายงานของเจนส์ดีเฟ้นซ์ สำนักข่าวกลาโหมที่ได้รับความเชื่อถือมาหลายสิบปี รัสเซียไม่เคยเปิดเผยมาก่อนว่า ได้นำระบบป้องกันชายฝั่งบาสเตียน ไปติดตั้งในซีเรีย และ เมื่อครั้ง พล.อ.นิโคไล รียาบค้อฟ รมช.กลาโหม แถลงในกรุงมอสโกเดือน พ.ค.ปีนี้ ก็พูดถึงเฉพาะแผนการที่จะติดตั้งระบบป้องกันทางอากาศ S-300 ที่นั่น ซึ่งเป็นการนำเข้าไป ใช้แทนระบบ S-400 ที่ถอนออกไปก่อนหน้านั้น

เหตุการณ์เมื่อวันอังคาร ยังเป็นครั้งแรกที่รัสเซียเปิดเผยให้เห็นขีดความสามารถ ในการยิงโจมตีเป้าหมายทางบก ของระบบบาสเตียน อันเป็นเรื่องที่ยังไม่เคยรับรู้กันมาก่อน เจนส์ยังรายงานอีกว่า กระทรวงกลาโหมรัสเซียนำระบบบาสเตียนอัตตาจร ไปติดตั้งใกล้กับสถานีเรดาร์ของซีเรีย ห่างจากเมืองบานิยาส (Baniyas) ริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ใน จ.ตาร์ตุส (Tartus) ราว 30 กม. เพื่อใช้นำวิถี
.

<br><FONT color=#00003>จรวดบราห์มอส (BrahMos) ผลงานร่วมกันระหว่างอินเดียกับรัสเซีย กลายเป็นจรวดยิงเรือซูเปอร์โซนิค สายพันธุ์เอเชียเทคโนโลยีโซเวียต-รัสเซีย กำลังถูกจับตามองมากที่สุดในขณะนี้. </b>
2
โอนิคส์ถูกใช้เป็นจรวดต้นแบบ เป็นพื้นฐานในการพัฒนาจรวดบราห์มอส ในแผนการร่วมกันผลิต ระหว่างอินเดียกับรัสเซียในช่วงกว่า 10 ปีมานี้ ซึ่งในปัจจุบันก้าวหน้าไปไกลมาก การทดลองยิงประสบความสำเร็จ ทั้งรุ่นติดตั้งบนเรือ รุ่นยิงจากอากาศยาน ปัจจุบันกำลังพัฒนารุ่นที่ติดตั้งในเรือดำน้ำ ทุกเวอร์ชั่นทุกรุ่นมีความเร็วระดับซูเปอร์โซนิค เป็นจรวดยิงเรือที่ถูกจับตามองมากที่สุดอีกรุ่นหนึ่ง

ชื่อ BrahMos เกิดจากการนำเอาคำ Brahmaputra กับ Moscow อันเป็นชื่อแม่น้ำสองสาย รวมกันเข้า แสดงถึงมิตรภาพที่มีมายาวนาน ระหว่างสองประเทศ

จรวดซูเปอร์โซนิคเทคโนโลยีรัสเซีย ที่ผลิตในอินเดีย กำลังได้รับความสนใจจากหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งในย่านนี้ ซึ่งรวมทั้งเวียดนามและอินโดนีเซีย หลายประเทศรอคอยการเคาะราคาของผู้ผลิต และ จะไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ถ้าหากวันหนึ่งข้างหน้า จรวดยิงเรือรุ่นใหม่เอี่ยมของซีกโลกนี้ จะมีขีดความสามารถ ในการยิงโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดิน เช่นเดียวกับต้นแบบที่รัสเซียนำออกศึกในซีเรีย.
กำลังโหลดความคิดเห็น