xs
xsm
sm
md
lg

ลาวส่งเจ้าหน้าที่ชุดแรก 22 คนไปจีน ศึกษาอบรมการบริหารรถไฟสายเวียงจันทน์-คุนหมิง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>ผู้โดยสารเดินเลียบขบวนรถ 19 พ.ย.2552 ที่สถานีท่านาแล้ง บ้านดงโพสี เมืองหาดทรายฟอง ทางตอนใต้นครเวียงจันทน์ ที่นี่เป็นสถานีรถไฟเพียงแห่งเดียวที่มีอยู่ในลาว เป็นปลายสุดของทางรถไฟความยาว 3.5 กิโลเมตร ที่ข้ามสะพานมิตรภาพ 1 ไปจาก จ.หนองคาย แต่อีกไม่ช้าไม่นาน ในลาวจะมีอีกกว่า 10 สถานี ในนั้นจะเป็นสถานีขนาดใหญ่ถึง 4 แห่ง และ เป็นรถไฟความเร็วสูงแบบรางกว้าง การฝึกอบรมบุคคลากรใหม่ กลายเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วน พอๆ กับการก่อสร้างทาง. --  ภาพโดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร.  </b>

MGRออนไลน์ -- การเซ็นสัญญาบริษัทก่อสร้างและบริษัทที่ปรึกษา รวมกว่า 10 บริษัทเพิ่งผ่านพ้นไป การลงสู่พื้นที่จริงกำลังจะเริ่ม และ ต่อแต่นี้เป็นต้นไปจะไม่มีอะไรทำให้เสียเวลาอีก ทางการลาวได้ส่งเจ้าหน้าที่ชุดแรกจำนวน 22 คน ออกเดินทางเมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อไปศึกษาอบรม การบริหารและคุ้มครองรถไฟความเร็งสูง ที่โรงเรียนฝึกสอนแห่งหนึ่ง ในมณฑลภาคกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน สื่อของทางการรายงาน

ทั้ง 22 คนเดินทางไป เพื่อศึกษายกระดับความรู้ความชำนาญ อันเป็นความร่วมมือกับหน่วยงานฝึกอบรมและวิชาการ รถไฟความเร็วสูงแห่งเมืองอู่ฮั่น (Wuhan) มณฑลหูเป่ย (Hubei) ตามแผนการสร้างบุคคลากรทางด้านนี้ เพื่อเตรียมพร้อมล่วงหน้า ให้ได้พนักงานที่ดีมีคุณภาพ สำหรับรถไฟจีน-ลาว ในอนาคต สำนักขาวสารปะเทดลาวรายงาน

ถึงแม้ว่ารถไฟจะไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่สำหรับลาว อย่างน้อยที่สุดหลายปีมานี้ ก็มีทางรถไฟใช้อยู่ราว 3.5 กิโลเมตร จากจังหวัดหนองคาย ข้ามสะพานมิตรภาพ 1 ไปยังสถานีดงโพสี เขตท่านาแล้ง ทางทิศใต้ของนครเวียงจันทน์ และ ยังมีแผนการก่อสร้างต่อไปยังตัวเมืองหลวงอีก 9 กม. แต่ที่มีอยู่ก็เป็นทางรถไฟมาตรฐาน "มิเตอร์เกจ" รางกว้างเพียง 1.00 เมตร ซึ่งต่างกันลิบลับกับระบบรถไฟความเร็วสูงจากจีน ที่ใช้รางขนาด 1.435 เมตร

การก่อสร้างทางรถไฟความระยะทางกือบ 420 กม. จากชายแดนจีนไปยังนครเวียงจันทน์ เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการ หลังมีการจัดพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 2 ธ.ค.2558 คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งโครงการ ในปี 2564 และ "เมื่อเส้นทางรถสำเร็จ ก็จะได้พนักงานคุ้มครอง (บริหารจัดการ/ดำเนินการ) ที่มีคุณภาพ" ขปล.กล่าว

วันที่ 24 ต.ค.ที่ผ่านมา ได้มีพิธีเซ็นสัญญาระหว่าง บริษัทร่วมทุนรถไฟลาว-จีน กับ บริษัทก่อสร้างและบริษัทที่ปรึกษาสัญญชาติจีนกว่า 10 บริษัท เป็นอันว่าสัญญาที่เกี่ยวข้องต่างๆ ดำเนินการเสร็จสิ้นไปทั้งหมดแล้ว และ ก้าวเข้าสู่ขึ้นตอนปฏิบัติการในพื้นที่จริง สำหรับโครงการที่มีมูลค่ารวมเกือบ 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่มีฝ่ายจีนถือหุ้นใหญ่ 65% และ ฝ่ายลาวถือหุ้นส่วนที่เหลือ

สำนักข่าวของท่างการกล่าวว่า ระบบรถไฟลาว-จีน จะช่วยยกระดับการขนส่งสินค้า ให้ดีขึ้นอีกหลายเท่าตัว ทั้งปริมาณและคุณภาพ ระบบรถไฟความเร็วสูงเป็นมิตรต่อสภาพแวดกล้อม มากกว่าการขนส่งด้วยรถยนต์กว่า 10 เท่า "ทั้งยังจะสร้างงานทำให้แก่ประชาชนลาวอย่างมากมาย เพื่อประกอบส่วนเข้าในการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมของชาติ ให้มีความหก้าวหน้า"

การขนส่งด้วยรถไฟความเร็วสูง ทั้งทันสมัยและสะดวกรวดเร็ว และ ยังช่วยบรรเทาความแออัดบนท้องถนน ค่าขนส่งถูกกว่่า ใช้ระยะเวลาสั้นกว่า ได้ปริมาณสินค้ามากกว่า และ ยังตรงเวลาอีกด้วย สำนักข่าวของท่างการกล่าว.
.
<br><FONT color=#00003>นักท่องเที่ยวต่างชาติรอขบวนเวียงจันทน์-กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเที่ยวกลับ ที่สถานีรถไฟท่านาแล้ง ทางตอนใต้นครเวียงจันทน์ ในยามบ่ายแก่ๆ วันที่ 19 พ.ย.2552 อีกไม่นานนักท่องเที่ยวจากลาว จะได้นั่งรถไฟความเร็วสูง เข้าภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนบ้าง. -- ภาพโดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร.  </b>
2
กำลังโหลดความคิดเห็น