โครงการรถไฟไทย-จีน เป็นข่าวขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อนายไกร ตั้งสง่า กรรมการวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี คัดค้านการที่นายกรัฐมนตรีจะใช้มาตรา 44 ยกเว้นการบังคับใช้ พ.ร.บ.สถาปนิก 2543 และ พ.ร.บ.วิศวกร พ.ศ. 2542 กับบริษัทจีน ซึ่งเป็นผู้ออกแบบ
เรื่องนี้ถูกปฏิเสธในเวลาต่อมา โดย พลโทสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกรัฐบาล ว่า ไม่เป็นความจริง ไม่มีการใช้มาตรา 44 เพื่อให้บริษัทจีนซึ่งไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรเป็นผู้ออกแบบได้เลย ฝ่ายจีนยังคงต้องขอรับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.วิศวกร พ.ศ. 2543 และ พ.ร.บ.สถาปนิก พ.ศ. 2542
ส่วนการที่ต้องใช้วิศวกรจีนเป็นผู้ออกแบบ เนื่องจากเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง เป็นเทคโนโลยีที่ไทยไม่มี และวงเงินค่าออกแบบเบื้องต้นมีจำนวน 1,779 ล้านบาท ไม่ใช่ 10,000 ล้านบาท อย่างที่เป็นข่าว
โครงการรถไฟไทย-จีนนี้ นับว่ามีความไม่ชัดเจน มีความไม่แน่นอนมาโดยตลอดนับตั้งแต่รัฐบาล คสช.ประกาศว่า จะทำโครงการนี้หลังการยึดอำนาจไม่นาน โดยมีการลงนามบันทึกข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีนเมื่อปลายปี 2557
ไม่ชัดเจนตั้งแต่เรื่องของรถไฟว่า จะเป็นรถไฟความเร็วสูง วิ่งเร็วกว่า 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือเป็นรถไฟเร็วปานกลาง 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะเป็นรถไฟขนผู้โดยสารหรือบรรทุกสินค้า หรือว่าทั้งสองอย่าง รวมทั้งสิทธิประโยชน์ที่จีนต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขอกรรมสิทธิ์ในพื้นที่สองข้างทางรถไฟ ซึ่งไม่เป็นความจริง แต่ก็ถูกหยิบยกมาอ้างถึงอยู่บ่อยครั้ง
ส่วนความไม่แน่นอนก็คือ เรื่องของเส้นทางที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จากเดิมตอนประกาศว่าจะทำโครงการก่อสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ไปถึงหนองคาย เชื่อมต่อกับรถไฟลาว-จีน และจากกรุงเทพฯ ไปมาบตาพุด ต่อมาก็ลดลงเหลือเพียงเส้นทางเดียว และสั้นลงกว่าเดิมคือ จากกรุงเทพฯ ไปถึงแค่จังหวัดนครราชสีมาระยะทางเพียง 250 กิโลเมตรเท่านั้น และจากเดิมที่จะมีการตั้งบริษัทร่วมไทย-จีนเป็นผู้ลงทุน และบริหารโครงการ ก็กลายเป็นโครงการที่ฝ่ายไทยลงทุนเอง 100% แต่ใช้เทคโนโลยีจีน และจ้างบริษัทจีนเป็นผู้ก่อสร้าง
สองปีกว่านับจากการลงนามเอ็มโอยูไทย-จีน สถานะปัจจุบันของโครงการรถไฟไทย-จีน ยังเป็นลูกผีลูกคน กำหนดการเริ่มก่อสร้างที่เลื่อนแล้วเลื่อนอีก ยังคงเลื่อนออกไปเรื่อยๆ
ล่าสุด หลังจากประชุมคณะกรรมการร่วมทั้งสองฝ่ายมา 16 ครั้ง มีปัญหาใหม่เกิดขึ้นคือ แบบก่อสร้างโครงการระยะแรกเส้นทางกลางดง-ปางอโศก ความยาว 3.5 กิโลเมตร ฝ่ายจีนออกแบบโดยส่งมาให้ฝ่ายไทยดู ฝ่ายไทยดูไม่รู้เรื่อง เพราะอ่านภาษาจีนไม่ออก และถอดแบบไม่ได้ เพราะใช้มาตรฐานจีนไม่ใช้มาตรฐานไทย หรือมาตรฐานสากล ต้องส่งแบบกลับไปใหม่
กำหนดการก่อสร้างที่วางไว้ว่า จะลงมือกันในเดือนมีนาคมนี้ ก็คงจะต้องเลื่อนออกไปอีก หลังจากเลื่อนมาแล้วหลายๆ ครั้ง
ระหว่างไทยกับจีน โครงการนี้มีความสำคัญและเป็นความต้องการของจีนมากกว่าไทย เพราะเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ One Belt One Road หรือหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทางของจีน ที่จะสร้างเครือข่ายคมนาคม เปิดประตูด้านทิศใต้เชื่อมต่อกับประเทศกลุ่มอาเซียน
เป็นทั้งยุทธศาสตร์ความมั่นคง และยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ
ประเทศไทยเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญเพราะอยู่ตรงกลาง จะลงไปถึงมาเลเซีย สิงคโปร์ได้ต้องผ่านไทย ถ้าโครงการรถไฟไทย-จีนไม่เกิด หรือมีเส้นทางจากกรุงเทพฯ ไปถึงโคราช รถไฟจีน-ลาวที่เริ่มก่อสร้างเมื่อเร็วๆ นี้ ก็จะไม่คุ้มค่าการลงทุน เพราะเชื่อมต่อกับไทยไม่ได้
สำหรับประเทศไทยเอง ปัจจุบันมีโครงการรถไฟรางคู่หลายเส้นทางที่กำลังทยอยเปิดประมูลก่อสร้าง โครงการรถไฟไทย-จีน จึงแทบจะไม่มีความจำเป็นเลย อาจเป็นความซ้ำซ้อนกับรถไฟรางคู่ด้วยซ้ำ
ความยืดเยื้อ ความไม่แน่นอนของโครงการ ว่าไปแล้ว ก็อาจจะเป็นยุทธวิธีของไทย ที่ต้องการชะลอโครงการนี้ออกไปให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ จะบอกเลิกเลยก็ทำไม่ได้ เพราะไปเซ็นเอ็มโอยูตกลงกับเขาแล้วตั้งแต่รัฐบาลชุดก่อนหน้า มาถึงรัฐบาล คสช.ก็ยังไปเจรจาตกลงกับเขาอีก จึงเป็นเรื่องของการรักษาพันธสัญญาคำมั่นที่มีต่อจีน วิธีที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้คือ ซื้อเวลาเจรจาไปเรื่อยๆ ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง
เรื่องนี้ถูกปฏิเสธในเวลาต่อมา โดย พลโทสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกรัฐบาล ว่า ไม่เป็นความจริง ไม่มีการใช้มาตรา 44 เพื่อให้บริษัทจีนซึ่งไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรเป็นผู้ออกแบบได้เลย ฝ่ายจีนยังคงต้องขอรับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.วิศวกร พ.ศ. 2543 และ พ.ร.บ.สถาปนิก พ.ศ. 2542
ส่วนการที่ต้องใช้วิศวกรจีนเป็นผู้ออกแบบ เนื่องจากเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง เป็นเทคโนโลยีที่ไทยไม่มี และวงเงินค่าออกแบบเบื้องต้นมีจำนวน 1,779 ล้านบาท ไม่ใช่ 10,000 ล้านบาท อย่างที่เป็นข่าว
โครงการรถไฟไทย-จีนนี้ นับว่ามีความไม่ชัดเจน มีความไม่แน่นอนมาโดยตลอดนับตั้งแต่รัฐบาล คสช.ประกาศว่า จะทำโครงการนี้หลังการยึดอำนาจไม่นาน โดยมีการลงนามบันทึกข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีนเมื่อปลายปี 2557
ไม่ชัดเจนตั้งแต่เรื่องของรถไฟว่า จะเป็นรถไฟความเร็วสูง วิ่งเร็วกว่า 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือเป็นรถไฟเร็วปานกลาง 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะเป็นรถไฟขนผู้โดยสารหรือบรรทุกสินค้า หรือว่าทั้งสองอย่าง รวมทั้งสิทธิประโยชน์ที่จีนต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขอกรรมสิทธิ์ในพื้นที่สองข้างทางรถไฟ ซึ่งไม่เป็นความจริง แต่ก็ถูกหยิบยกมาอ้างถึงอยู่บ่อยครั้ง
ส่วนความไม่แน่นอนก็คือ เรื่องของเส้นทางที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จากเดิมตอนประกาศว่าจะทำโครงการก่อสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ไปถึงหนองคาย เชื่อมต่อกับรถไฟลาว-จีน และจากกรุงเทพฯ ไปมาบตาพุด ต่อมาก็ลดลงเหลือเพียงเส้นทางเดียว และสั้นลงกว่าเดิมคือ จากกรุงเทพฯ ไปถึงแค่จังหวัดนครราชสีมาระยะทางเพียง 250 กิโลเมตรเท่านั้น และจากเดิมที่จะมีการตั้งบริษัทร่วมไทย-จีนเป็นผู้ลงทุน และบริหารโครงการ ก็กลายเป็นโครงการที่ฝ่ายไทยลงทุนเอง 100% แต่ใช้เทคโนโลยีจีน และจ้างบริษัทจีนเป็นผู้ก่อสร้าง
สองปีกว่านับจากการลงนามเอ็มโอยูไทย-จีน สถานะปัจจุบันของโครงการรถไฟไทย-จีน ยังเป็นลูกผีลูกคน กำหนดการเริ่มก่อสร้างที่เลื่อนแล้วเลื่อนอีก ยังคงเลื่อนออกไปเรื่อยๆ
ล่าสุด หลังจากประชุมคณะกรรมการร่วมทั้งสองฝ่ายมา 16 ครั้ง มีปัญหาใหม่เกิดขึ้นคือ แบบก่อสร้างโครงการระยะแรกเส้นทางกลางดง-ปางอโศก ความยาว 3.5 กิโลเมตร ฝ่ายจีนออกแบบโดยส่งมาให้ฝ่ายไทยดู ฝ่ายไทยดูไม่รู้เรื่อง เพราะอ่านภาษาจีนไม่ออก และถอดแบบไม่ได้ เพราะใช้มาตรฐานจีนไม่ใช้มาตรฐานไทย หรือมาตรฐานสากล ต้องส่งแบบกลับไปใหม่
กำหนดการก่อสร้างที่วางไว้ว่า จะลงมือกันในเดือนมีนาคมนี้ ก็คงจะต้องเลื่อนออกไปอีก หลังจากเลื่อนมาแล้วหลายๆ ครั้ง
ระหว่างไทยกับจีน โครงการนี้มีความสำคัญและเป็นความต้องการของจีนมากกว่าไทย เพราะเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ One Belt One Road หรือหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทางของจีน ที่จะสร้างเครือข่ายคมนาคม เปิดประตูด้านทิศใต้เชื่อมต่อกับประเทศกลุ่มอาเซียน
เป็นทั้งยุทธศาสตร์ความมั่นคง และยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ
ประเทศไทยเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญเพราะอยู่ตรงกลาง จะลงไปถึงมาเลเซีย สิงคโปร์ได้ต้องผ่านไทย ถ้าโครงการรถไฟไทย-จีนไม่เกิด หรือมีเส้นทางจากกรุงเทพฯ ไปถึงโคราช รถไฟจีน-ลาวที่เริ่มก่อสร้างเมื่อเร็วๆ นี้ ก็จะไม่คุ้มค่าการลงทุน เพราะเชื่อมต่อกับไทยไม่ได้
สำหรับประเทศไทยเอง ปัจจุบันมีโครงการรถไฟรางคู่หลายเส้นทางที่กำลังทยอยเปิดประมูลก่อสร้าง โครงการรถไฟไทย-จีน จึงแทบจะไม่มีความจำเป็นเลย อาจเป็นความซ้ำซ้อนกับรถไฟรางคู่ด้วยซ้ำ
ความยืดเยื้อ ความไม่แน่นอนของโครงการ ว่าไปแล้ว ก็อาจจะเป็นยุทธวิธีของไทย ที่ต้องการชะลอโครงการนี้ออกไปให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ จะบอกเลิกเลยก็ทำไม่ได้ เพราะไปเซ็นเอ็มโอยูตกลงกับเขาแล้วตั้งแต่รัฐบาลชุดก่อนหน้า มาถึงรัฐบาล คสช.ก็ยังไปเจรจาตกลงกับเขาอีก จึงเป็นเรื่องของการรักษาพันธสัญญาคำมั่นที่มีต่อจีน วิธีที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้คือ ซื้อเวลาเจรจาไปเรื่อยๆ ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง