xs
xsm
sm
md
lg

สหรัฐส่งเรือ LCS ท้องกลวงเข้าเอเชีย พร้อม "ลูกเสือไฟ" 2 ลำกำลังมุ่งหน้าสู่สิงคโปร์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>เรือ LCS-4 USS Coronado (ขวามือ) กับเรือ LCS 2 Independence ซึ่งเป็นเรือต้นของชั้น แล่นในทะเลแปซิฟิก นอกชายฝั่งแคลิฟอร์เนีย 23 เม.ย.2559  เรือโคโรนาโดออกจากฐานทัพซานดิเอโก ในปลายเดือน มิ.ย. ไปสังกดกองทัพเรือที่ 7 และ ร่วมฝึก RIMPAC 2016 ในทะเลฮาวาย เรือ LCS 4 แล่นออกจากฐานทัพเรืออ่าวเพิร์ล ไม่กี่ชั่วโมงมานี้ มุ่งหน้าสู่แปซิฟิกตะวันตก เป็นเรือโจมตีชายฝั่งแบบท้องกลวงลำแรก ที่ถูกส่งมาประจำในย่านนี้ ขณะที่หลายฝ่ายกล่าวว่า อีกลำคือ เรือ LCS-1 ฟรีดอม (Freedom) กำลังจะกลับมาอีกครั้งในช่วงปลายปี เพื่อประจำในย่านนี้พร้อมกันสองลำ. -- US Navy Photo/Chief Mass Communication Specialist Keith DeVinney.</b>

MGRออนไลน์ -- กองทัพเรือสหรัฐส่งเรือโจมตีชายฝั่งโคโรนาโด (USS Coronado, LCS-4) เข้าประจำการในย่านอินโดเอเชียแปซิฟิก-แปซิฟิกตะวันตกตามคาดการณ์ เรือแล่นออกจากฐานทัพอ่าวเพิร์ล-ฮิกแแคม (Pearl Harbor-Hickam Joint Base) มลรัฐฮาวาย เมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา (วันศุกร์ 26 ส.ค. ตามเวลาในท้องถิ่น) กลายเป็นเรือ LCS รูปทรงไทรมารัน (Trimaran) ลำแรก ที่มาประจำในย่านนี้

ต่างไปจากเรือ LCS สองลำก่อนหน้านี้ ที่เป็นอีกแบบหนึ่ง เรือโคโรนาโดกำลังมุ่งหน้าสู่เอเชีย พร้อมโดรนปีกหมุนแบบลูกเสือไฟ (MQ-8 "Fire Scout") โดยไม่มีเฮลิคอปเตอร์ประจำบนลำ ซึ่งอาจจะแสดงให้เห็นภารกิจ ที่เน้นไปทางด้านการค้นหากู้ภัยเป็นหลัก

เรือลำนี้แล่นออกจากฐานทัพเรือซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นเขตของกองทัพเรือที่ 3 ตั้งแต่ปลายเดือน มิ.ย. เพื่อร่วมการฝึกซ้อม RIMPAC 2016 (Rim of the Pacific Exercise) ที่จัดขึ้นในทะเลฮาวาย ในเดือน ก.ค.และ สิ้นสุดลงในสัปดาห์ต้นเดือน ส.ค.นี้ ซึ่งทำให้เกิดการคาดการณ์ว่า กองทัพเรือสหรัฐอาจจะส่งมาประจำ ในภูมิภาคอินโดเอเชียแปซิฟิกอีกลำหนึ่ง

ในระหว่างการฝึก RIMPAC ในทะเลฮาวาย ระหว่างสหรัฐกับชาติพันธมิตรรวม 26 ประเทศนั้น เรือโคโรนาโดได้ทดลองยิงจรวดฮาร์พูน (Harpoon Block-1C) และ ได้กลายเป็นครั้งแรกที่มีการยิง จรวดโจมตีเรือระยะไกลแบบ "หลังเส้นขอบฟ้า" (Over -the-Horizon) แสดงให้เห็นศักยภาพที่จะติดตั้งอาวุธเทคโนโลยีสูง เช่นเดียวกับเรือรบรุ่นอื่นๆ ของกองทัพเรือ

ก่อนหน้านั้นเรือโคโรนาโด ยังประสบความสำเร็จในการทดลองยิงจรวดคองส์เบิร์ก (Kongsberg) ซึ่งเป็นจรวดยิงเรือระยะไกล ใช้เทคโนโลยีทันสมัยที่สุดอีกรุ่นหนึ่ง รวมทั้งจรวดเฮลไฟร์ (Hellfire) จรวดกริฟฟินส์ (Griffins) และ จรวด "ซีแรม" (Sea RAM) สำหรับยิงต่อต้านขีปนาวุธ หรือ จรวดโจมตีของฝ่ายข้าศึกอีกด้วย

กองบัญชาการกองกำลังแปซิฟิก ไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆ เกี่ยวกับเขี้ยวเล็บใหม่ ของเรือโคโรนาโด ระบุแต่เพียงว่า ก่อนไปประจำที่ฐานทัพเรือชางงี (Shangi Naval Base) ของสิงคโปร์ ในช่วงปลายปีนี้ จะร่วมฝึกซ้อมทางเรือกับออสเตรเลียและสิงคโปร์ก่อน และ ระหว่างประจำในภูมิภาค ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกองทัพเรือที่ 7 เรือ LCS จะดำเนินหลายภารกิจ รวมทั้งการลาดตระเวณปรกติ และ แวะเยี่ยมเยือนฐานทัพกับเมืองท่าอีกหลายแห่ง

เรือโจมตีชายฝั่งออกแบบมา เพื่อสนับสนุนหลากหลายภารกิจ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางทะเลที่เป็นตัวกำหนด และ ภารกิจที่กระทำเป็นหลัก สามารถปฏิบัติการในทะเลเขตน้ำตื้นได้ เพื่อกู้ทุ่นระเบิด สงครามต่อต้านเรือดำน้ำ และ ต่อต้านการโจมตีด้วยเรือเร็วขนาดเล็ก

เรือโคโรนาโด ซึ่งเป็นลำที่ 2 ของเรือ LCS ชั้นอินดีเพ็นเด็นซ์ (Independence-Class) ก็เช่นเดียวกับ เรือ LCS ชั้นฟรีดอม (Freedom-Class) ทั้งสองลำ ที่เคยมาประจำในภูมิภาคก่อนหน้านี้ ออกแบบมาให้บรรทุกเฮลิปคอปเตอร์ได้ 2 ลำ พร้อมโรงเก็บที่ส่วนท้ายเรือ หรือ ฮ. 1 ลำ กับโดรนปีกหมุนแบบ MQ-8 อีก 1 ลำ ทำให้เรือสามารถทำภารกิจค้นหาและกู้ภัยทางอากาศได้อย่างดีเยี่ยม

การมียาน "ลูกเสือไฟ" ประจำถึง 2 ลำ อาจสะท้อนให้เห็นการเน้นหนักในภารกิจดังกล่าว สำหรับเรือโคโรนาโด แต่คอนฟิกูเรชั่น สามารถปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับภารกิจได้ ภายในระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมง
.
<br><FONT color=#00003>19 ก.ค. ระหว่างการฝึก RIMPAC 2016 เรือ LCS-4 USS Coronado ยิงจรวดฮาร์พูน (Harpoon) เป็นครั้งแรก เป็น Block-1C ของจรวดยิงเรือ AGM-84 ซึ่งจนถึงปัจจุบัน ติดตั้งในเรือรบกว่า 600 ลำ เรือดำน้ำอีกราว 180 ลำ เครื่องบินประเภทต่างๆ อีก 12 แบบ ทั่วโลก รวมทั้งติดตั้งบนแท่นยิงจากชายฝั่ง เป็นอาวุธปล่อยนำวิถี เขี้ยวเล็บใหม่อีกรุ่นหนึ่ง ของเรือโจมตีชายฝั่งทั้งสองแบบ. -- US Navy Photo/Lt Bryce Hadley. </b>
2
อย่างไรก็ตาม เมื่อมองภาพรวมเรือโจมตีชายฝั่งทุกลำ ยังออกแบบมาเพื่อภารกิจลาดตระเวณทางทะเล ขัดขวางเหนี่ยวรั้งและโจมตีศัตรู การเก็บรวบรวมข่าวสาร สนับสนุนการยกพลขึ้นบก ไปจนถึงการเข้าร่วมการยิงโจมตีโดยตรงในการสู้รบ

สหรัฐประกาศก่อนหน้านี้ว่า เรือฟรีดอม (USS Freedom, LCS-1) ซึ่งเป็นเป็นเรือต้นของชั้น และ เป็นลำแรกที่ถูกส่งมาประจำในย่านนี้ในปี 2557 จะกลับเข้ามาประจำ ที่ฐานทัพเรือชางงีอีกครั้งหนึ่งในปีนี้ ซึ่งอาจจะเป็นปีแรกที่มีเรือโจมตีชายฝั่ง มาประจำในภูมิภาค 2 ลำพร้อมกัน

ในปี 2556 สหรัฐประกาศนโยาย เคลื่อนย้ายกำลังรบราว 60% เข้าประจำในย่านแปซิฟิกตะวันตก หลังจากไปคลุกอยู่กับตะวันออกกลางติดต่อกันมานานกว่า 2 ทศวรรษ และ นั่นเป็นการประกาศที่มีขึ้น 4 ปี หลังจากจีนคอมมิวนิสต์ แจ้งต่อองค์การสหประชาชาติในปี 2552 อ้างการเป็นเจ้าของผืนน้ำกว่า 80% ในทะเลจีนใต้ ซึ่งทำให้เกิดกรณีพิพาทกับหลายประเทศในย่านนี้ ประกอบด้วยเวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซียและบรูไน รวมทั้งจีนไทเปที่อยู่ไกลออกไป

สหรัฐประกาศไม่เข้าข้างฝ่ายใดในกรณีพิพาททะเลจีนใต้ แต่คัดค้านจีน โดยระบุว่าเป็นการกล่าวอ้างที่ไม่มีความชอบธรรม ไม่มีกฎหมายระหว่างประเทศรองรับ และ ยืนยันจะพิทักษ์ปกป้องเส้นทางเดินเรือเสรี ในทะเลจีนใต้ กับ เส้นทางการบินเสรีเหนือทะเลเปิดแห่งนี้ ทั้งการเดินเรือ-เดินอากาศพาณิชย์ และ การทหาร เนื่องจากทะเลหลวงแห่งนี้ ใช้เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าราว 40% ของการค้าขาย ระหว่างสหรัฐกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก มานานนับศตวรรษ

ตั้งแต่ต้นปีมานี้ ทั่วทั้งภูมิภาคได้เห็นการเคลื่อนไหวอย่างคึกคักของสหรัฐ ซึ่งรวมทั้งการส่งกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีถึง 2 ลำ/สองกอง เข้าสู่ภูมิภาคนี้ในช่วงกลางปี และ ทั้งสองกองจะกลับมาอีกครั้งหนึ่งในช่วงปลายปีนี้ เพื่อควบภารกิจในย่านมหาสมุทรอินเดีย-ตะวันออกกลางด้วย

สัปดาห์ต้นเดือน ส.ค. สหรัฐส่งเครืองบินทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์ 2 รุ่น ซึ่งได้แก่ B-1B และ B-2 ไปประจำที่ฐานทัพอากาศแอนเดอร์สัน (Andersen Air Force Base) บนเกาะกวม และ ถอนฝูงบิน B-52 ที่เก่ากว่าออกไป ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดของยุคหนึ่ง เครื่องบินทิ้งระเบิดระยะไกลทั้ง 3 รุ่น ได้ร่วมกัน ออกบินฝึกเหนือทะเลจีนตะวันออกและทะเลจีนใต้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการสร้างประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งในย่านนี้.
กำลังโหลดความคิดเห็น