xs
xsm
sm
md
lg

สหรัฐฯ จ่อต่ออายุคว่ำบาตรพม่า แต่คลายการค้าบางส่วน ผลักดันปฏิรูป-สิทธิมนุษยชน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>แฟ้มภาพเอเอฟพีเดือนส.ค. 2557 เมื่อครั้งที่จอห์น แคร์รี่ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ (ซ้าย) พบหารือกับฉ่วย มาน ประธานสภาผู้แทนราษฎร (ขวา) ที่กรุงเนปีดอ มาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ที่มีต่อพม่ากำลังจะหมดอายุลงในวันที่ 20 พ.ค. นี้ และสหรัฐฯ มีแผนที่จะต่ออายุมาตรการคว่ำบาตรดังกล่าวแต่จะเปลี่ยนแปลงข้อจำกัดบางอย่างเพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุน ก่อนที่แคร์รี่จะเยือนพม่าอีกครั้งในวันที่ 22 พ.ค. นี้. -- Agence France-Presse/Nicolas Asfouri.</font></b>

รอยเตอร์ - สหรัฐฯ มีแผนที่จะต่ออายุมาตรการคว่ำบาตรต่อพม่าที่จะหมดอายุในสัปดาห์หน้า แต่จะเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่มุ่งส่งเสริมการลงทุน และการค้า ตามการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่อาวุโสสหรัฐฯ และที่ปรึกษารัฐสภา

การประกาศขยายเวลาส่วนใหญ่ของข้อกฎหมายว่าด้วยอำนาจทางเศรษฐกิจฉุกเฉินระหว่างประเทศ (IEEPA) ของสหรัฐฯ อาจมีขึ้นเร็วที่สุดในวันอังคาร (17) ก่อนการเยือนชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ จอห์น แคร์รี่ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ในวันที่ 22 พ.ค.

กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้คลายมาตรการคว่ำบาตรอย่างมีนัยสำคัญต่อพม่าโดยการออกใบอนุญาตทั่วไปให้บริษัท และนักลงทุนได้รับการยกเว้นจากบุคคล และนักธุรกิจที่ถูกคว่ำบาตรมากกว่า 100 รายชื่อ

เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เริ่มยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทางการค้า และการเงินบางส่วนต่อพม่าหลังจากผู้นำทหารเริ่มปฏิรูปที่นำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลพลเรือนตั้งแต่ปี 2554

ในเดือน ธ.ค. กระทรวงการคลัง คลายข้อจำกัดทางการค้าชั่วคราวให้แก่พม่าด้วยการอนุญาตให้ขนส่งสินค้าผ่านทางท่าเรือ และสนามบินเป็นเวลา 6 เดือน นอกจากนั้น วอชิงตันยังมีแนวโน้มที่จะให้ใบอนุญาตทั่วไปแก่บริษัทที่เฉพาะเจาะจง และถอนรายชื่อบุคคลบางส่วนที่ถูกคว่ำบาตรออกจากบัญชีรายชื่อที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษของกระทรวงการคลัง

การเยือนพม่าของ แคร์รี่ ที่เป็นการเยือนครั้งแรกนับตั้งแต่พรรคของอองซานซูจี ครอบอำนาจหลังได้ชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งในเดือน พ.ย. แต่รัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นโดยรัฐบาลเผด็จการทหารห้าม ซูจี จากการเป็นประธานาธิบดี

การเปิดกว้างต่อพม่าของประธานาธิบดีบารัค โอบามา มีขึ้นหลังการเปลี่ยนผ่านอย่างสันติของประเทศไปสู่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งถูกมองว่า เป็นหนึ่งในนโยบายต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ โดยโอบามา ได้เยือนพม่าถึง 2 ครั้ง แต่ฝ่ายบริหารสหรัฐฯ ยังคงต้องการให้รักษาอำนาจที่มีต่อพม่าไว้เพื่อป้องกันการก้าวถอยหลังในการดำเนินการปฏิรูป และกดดันให้พม่าปรับปรุงด้านสิทธิมนุษยชน

แม้จะมีการต่ออายุกรอบกฎหมายสำหรับการคว่ำบาตร แต่ก็จะคลายมาตรการบางส่วนที่จะช่วยให้ภาคเอกชนมีพื้นที่หายใจมากขึ้น ขณะเดียวกัน ก็ยังรักษาแรงกดดันต่อทหารที่ยังคงมีอำนาจทางการเมืองอย่างมีนัยสำคัญ โดยมาตรการคว่ำบาตรจะหมดอายุลงในวันที่ 20 พ.ค.

วอชิงตัน มีความวิตกอย่างมากเกี่ยวกับเงื่อนไขด้านสิทธิมนุษยชนในพม่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรุนแรงต่อชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ และศาสนา รวมทั้งชาวมุสลิมโรฮิงญา

สมาชิกสภาคองเกรสสหรัฐฯ จากทั้งสองพรรค กำลังจับตาอย่างใกล้ชิด และอาจดำเนินการควบคุมต่อพม่า หากพวกเขาคิดว่าโอบามาเคลื่อนไหวเร็วเกินไป

เมื่อเดือนก่อน วุฒิสมาชิกคอรี่ การ์ดเนอร์ และเบน คาร์ดิน จากพรรครีพับลิกัน และเดโมแครต ผู้นำคณะอนุกรรมการด้านความสัมพันธ์ต่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย เขียนถึงแคร์รี่ และรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง แสดงความวิตกเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และขอให้ฝ่ายบริหารทำงานร่วมกับสภาคองเกรส เพื่อให้แน่ใจว่าข้อวิตกเหล่านั้นได้รับการแก้ไข

เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ รายหนึ่ง กล่าวว่า อองซานซูจี สนับสนุนการต่ออายุมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ที่มีการเปลี่ยนแปลงบางส่วน โดยมุ่งเน้นไปที่วิธีการกำหนดเป้าหมายข้อจำกัดทางการค้าอย่างเหมาะสม ที่ทำให้ไม่กระทบกับเศรษฐกิจโดยรวมของพม่า แต่ยังรักษาแรงกดดันต่อสถาบันที่ทหารครอบครองอยู่

“เรากำลังมองหาวิธีที่จะแสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนของเราต่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของพม่า และเรากำลังดำเนินการขั้นตอนที่สำคัญเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาประสบความสำเร็จ ที่พวกเขาสามารถดำเนินการในการพัฒนาเศรษฐกิจ และปฏิรูปประเทศ” เจ้าหน้าที่อาวุโส กล่าว

สหรัฐฯ กระตือรือร้นที่จะขยายความสัมพันธ์กับพม่าที่จะช่วยรับมือต่อการขยายอิทธิพลของจีน และได้ประโยชน์จากการเปิดหนึ่งในตลาดชายขอบแห่งสุดท้ายของโลก ที่เป็นเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่ด้อยพัฒนาแต่กำลังเติบโต.
กำลังโหลดความคิดเห็น