xs
xsm
sm
md
lg

ชาวพม่ารวมตัวประท้วงเหมืองทองแดงจีนอีกระลอก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 6 พ.ค. ผู้ชุมนุมเผชิญหน้ากับกลุ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจระหว่างการชุมนุมนอกโรงงานเหมืองทองแดงของจีน ในเมืองโมนยวา เขตสะกาย บรรดาชาวนาที่โกรธแค้นและนักเคลื่อนไหวเข้าปะทะกับเจ้าหน้าที่แล้วหลายครั้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเกี่ยวกับเหมืองทองแดงเล็ตปะด่อง ที่ดำเนินการโดยบริษัทวานเป่าของจีน ที่ร่วมทุนกับกิจการของกองทัพพม่า. -- Agence France-Presse/Stringer.</font></b>

เอเอฟพี - ชาวพม่าหลายร้อยคนชุมนุมประท้วงกันเมื่อวันเสาร์ (7) ต่อต้านโครงการเหมืองทองแดงที่จีนให้การสนับสนุน ตามการเปิดเผยของนักเคลื่อนไหว ประเด็นปัญหาที่อาจสร้างความท้าทายแต่ต้นให้แก่รัฐบาลใหม่ของอองซานซูจี

เหมืองเล็ตปะด่อง ในเมืองโมนยวา เขตสะกาย ทางภาคกลางของประเทศ ถูกร้องเรียนมายาวนานเกี่ยวกับการยึดที่ดิน ทำลายสิ่งแวดล้อม และการปราบปรามอย่างรุนแรงของตำรวจต่อผู้ชุมนุมประท้วง

ชาวบ้านจำนวนมากได้รวมตัวชุมนุมในช่วง 4 วันที่ผ่านมา ที่นับเป็นการชุมนุมประท้วงต่อต้านเหมืองครั้งแรกตั้งแต่ฝ่ายบริหารของซูจีเข้าปกครองประเทศในปีนี้

“วันนี้ เราขอเรียกร้องสิทธิของเราด้วยการแสดงให้เห็นว่า มีผู้ชุมนุมมากกว่า 200 คน ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บวันนี้ แต่เมื่อวานมีการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุม และเจ้าหน้าที่ตำรวจ” ขิ่น เล แกนนำการชุมนุม กล่าว

วานเป่า บริษัทจีนที่ร่วมทุนกับกิจการของทหาร ระบุว่า ปีนี้บริษัทตั้งเป้าที่จะเริ่มต้นการผลิตในเดือน พ.ค. หลังก่อสร้างนานหลายปี

อามา จ่อ อีกหนึ่งในผู้จัดการชุมนุมประท้วง กล่าวว่า การชุมนุมประท้วงได้เริ่มขึ้นตั้งแต่วันพุธ (4) ที่มีตำรวจถูกส่งเข้ามาควบคุมฝูงชน

ตำรวจสร้างความไม่พอใจให้แก่ผู้คนในปี 2555 เมื่อตำรวจเข้ารื้อถอนค่ายชุมนุมประท้วงที่ตั้งอยู่ใกล้เหมือง ด้วยการใช้ระเบิดที่มีฟอสฟอรัสผสมอยู่ด้วยจนทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากแผลไฟไหม้หลายสิบคน รวมทั้งพระสงฆ์หลายรูป

ซูจี นำการสืบสวนต่อเหตุที่เกิดขึ้น และได้สร้างความไม่พอใจให้แก่นักเคลื่อนไหวหลังข้อสรุปของการสืบสวนได้แนะนำให้อนุญาตเหมืองทองแดงดำเนินการก่อสร้างต่อไป

การชุมนุมประท้วงยังคงต่อเนื่องมาอีกหลายปี และการปราบปรามยังนำมาซึ่งการชุมนุมต่อต้านจีนทั้งในนครย่างกุ้ง และในเมืองใหญ่อีกหลายเมือง

ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นใหม่นี้อาจกระทบความสัมพันธ์กับจีน ที่เป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของพม่า และเป็นผู้เล่นสำคัญในนโยบายต่างประเทศของพม่า

ซูจี ที่ในเวลานี้ครองหลายตำแหน่งในรัฐบาล ได้พบหารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศของจีนเมื่อเดือนก่อน จีนนั้นยังคงเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดของพม่า ด้วยมูลค่าการลงทุนที่ได้รับการอนุมัติรวมกว่า 15,400 ล้านดอลลาร์.
กำลังโหลดความคิดเห็น