xs
xsm
sm
md
lg

เวียดนามร้องขอเรือจากญี่ปุ่นเสริมประสิทธิภาพป้องกันชายฝั่งประเทศ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ฟุมิโอะ คิชิดะ รัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่น (ที่ 4 จากซ้าย) และฝ่าม บิ่ง มีง รัฐมนตรีต่างประเทศเวียดนาม (ที่ 4 จากขวา) หารือกันที่ทำเนียบรัฐบาลในกรุงฮานอย วันที่ 5 พ.ค. -- Reuters/Kham.</font></b>

รอยเตอร์ - เวียดนาม ได้สอบถามญี่ปุ่นในการจัดหาเรือเพื่อเสริมประสิทธิภาพการรักษาการณ์ชายฝั่งของประเทศ เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นเปิดเผยวานนี้ (5) ในสัญญาณล่าสุดของความสัมพันธ์ที่ขยายตัวในหมู่ประเทศที่มีความขัดแย้งทางทะเลกับจีน

คำร้องดังกล่าวมีขึ้นระหว่างการพบหารือระหว่าง นายฟุมิโอะ คิชิดะ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น ที่อยู่ในระหว่างการเยือน และนายกรัฐมนตรีเหวียน ซวน ฟุก และฝ่าม บิ่ง มีง รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม โฆษกญี่ปุ่นเผย

“เวียดนามต้องการเรือลำใหม่” มาซาโตะ โอตากะ กล่าวต่อผู้สื่อข่าว พร้อมชี้แจงว่า รายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับวิธีการส่งมอบ ค่าใช้จ่าย และจำนวนเรือยังไม่มีการพิจารณาตัดสินแต่อย่างใด”

เวียดนามได้ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงกองกำลังทหารของประเทศให้มีความทันสมัย และเมื่อไม่นานนี้ได้ซื้อเรือดำน้ำชั้นคิโล 6 ลำ จากรัสเซีย

รัสเซีย และอินเดียเป็นแหล่งอาวุธทันสมัย การฝึกอบรม และความร่วมมือด้านข่าวกรองแหล่งสำคัญของเวียดนาม ฮานอย กำลังสร้างความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ และญี่ปุ่น พันธมิตรอย่างออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ รวมถึงยุโรป และอิสราเอล

“เวียดนามรู้สึกว่าประเทศจำเป็นที่จะต้องเสริมความแข็งแกร่งด้านการป้องกันชายฝั่งของประเทศ และนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเราได้รับการตอบสนองดังกล่าว” โอตากะ กล่าวต่อผู้สื่อข่าว แต่ระบุว่า การส่งมอบเรือไม่ได้เชื่อมโยงโดยตรงกับทะเลจีนใต้

ในวันศุกร์ (6) คิชิดะ มีกำหนดเข้าร่วมการประชุมของรัฐบาลที่จะมุ่งเน้นเกี่ยวกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

ญี่ปุ่น เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่เป็นอันดับ 2 ในเวียดนาม รองจากเกาหลีใต้ ด้วยโครงการที่มีอยู่ในประเทศรวมมูลค่า 39,000 ล้านดอลลาร์ นับจนถึงเดือน เม.ย.2559 ตามข้อมูลของรัฐบาลเวียดนาม

เรือรบ 2 ลำของญี่ปุ่นได้เข้าเทียบท่าอ่าวกามแรงเมื่อเดือน เม.ย. ที่เป็นการเยือนครั้งแรก และญี่ปุ่นยังมีความสัมพันธ์ที่อบอุ่นกับฟิลิปปินส์ ด้วยการลงนามข้อตกลงเมื่อปีก่อนเกี่ยวกับอุปกรณ์ และเทคโนโลยีด้านการป้องกัน

จีนอ้างสิทธิอธิปไตยเหนือทะเลจีนใต้เกือบทั้งหมด ที่เชื่อว่า มีแหล่งน้ำมัน และก๊าซปริมาณมหาศาล และกำลังสร้างเกาะเทียมบนแนวปะการังเพื่อเสริมการอ้างกรรมสิทธิ์ของประเทศ ขณะที่บรูไน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และเวียดนาม ต่างก็อ้างสิทธิในพื้นที่บางส่วนของน่านน้ำดังกล่าวที่เป็นเส้นทางเดินเรือที่มีมูลค่าทางการค้ากว่า 5 ล้านล้านดอลลาร์ในแต่ละปีแห่งนี้

แม้โตเกียวไม่ได้อ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ แต่ก็มีความวิตกถึงการขยายตัวทางทหารของจีนในเส้นทางเดินเรือ ซึ่งเรือสินค้าของญี่ปุ่นจำนวนมากใช้เส้นทางดังกล่าวเช่นกัน.
กำลังโหลดความคิดเห็น