xs
xsm
sm
md
lg

รวยแน่คราวนี้ ลาวรวยล้านล้านพบอีกแห่งขุมทองขุมทรัพย์มหาศาลไหนจะอัญมณีขุดขาย 100 ปีจึงจะหมด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>ภาพนี้เผยแพร่ในช่วงกลางปี 2557 เป็นการซื้อขายหินอ่อนในตลาดแห่งหนึ่ง ซึ่งเข้าใจกันว่าอยู่ทางฝั่งเวียดนาม เจ้าของภาพระบุว่าเป็นหินอ่อนสีชมพูหายากและมีราคาแพงมากจากแขวงอัตตะปือ นั่นคือช่วงที่ทางการลาวสั่งยกเลิกสัมปทานเหมืองหินอ่อนทั้งหมด เมื่อไม่นานมานี้ผู้นำคนใหม่ของอัตตะปือ ได้ประกาศการพบสายแร่ปริมาณมหาศาลทั้งหินอ่อนสวยงาม อัญมณีหลากชนิด แขวงแห่งนี้ยังเป็นดินแดนที่รุ่มรวยด้วยทองอีกแห่งหนึ่ง. </b>

MGRออนไลน์ -- ทางการลาวประกาศพบแหล่งแร่ทองคำแหล่งใหญ่ในแขวงอัตตะปือ ทางตอนใต้สุดของประเทศ รวมทั้งอัญมณีล้ำค่าหลายชนิด ซึ่งอาจจะมีมูลค่ารวมกันกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์ (3.6 ล้านล้านบาท) และ ใช้เวลาขุดค้นนานนับศตวรรษ จึงจะนำขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด

ปัจจุบันอัตตะปือได้กลายเป็นแขวงลงทุนเป้าหมายของบริษัทต่างชาติจำนวนมาก ทั้งจากไทย จีน เวียดนาม เกาหลี ญี่ปุ่น และ หลายรายมาไกลจากยุโรป ทั้งนี้เนื่องจากความรุ่มรวยด้วยทรัพยากรณ์ธรรมชาติล้ำค่า และ นักลงทุนทั้งจีน เวียดนาม ต่างแสดงความประสงค์ จะเข้าร่วมลงทุนเพื่อนำทองกับอัญมณีล้ำค่าขึ้นมาใช้ในเชิงพาณิชย์

อย่างไรก็ตาม ทางการยังไม่อนุญาตให้บริษัทต่างชาติรายใด เข้าลงทุนสัมปทานขุดค้นขุมทรัพย์มหาศาลที่พบนี้ สื่อของทางการรายงาน

ดร.นาม วิยาเกด เลขาพรรคแขวง และเจ้าแขวงอัตตะปือ เปิดเผยเรื่องนี้ระหว่างให้สัมภาษณ์นอกรอบ การประชุมใหญ่พรรคประชาชนปฏิวัติลาวในนครเวียงจันทน์ที่ผ่านมา และกลายเป็นข่าวแพร่หลายในเว็บไซต์ และ เฟซบุ๊กของชาวลาว ในช่วง 9-10 วันมานี้ ท่ามกลางความสงสัยเกี่ยวกับความเป็นไปได้ และ ยังไม่มีฝ่ายใดออกมาให้คำตอบ ขยายความ หรือ ให้ข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมอีก

ดร.นามกล่าวว่า แหล่งแร่ทองคำกับอัญมณีที่พบ อยู่ในเขตป่าเขาห่างไกล เป็นเนื้อที่หลายร้อยเฮกตาร์ (หลายพันไร่) รวมปริมาณในเบื้องต้นนี้คาดว่าจะมีประมาณ 7 ล้านตัน หากดำเนินการขุดค้น ก็อาจจะต้องใช้เวลาถึง 100 ปี กว่าจะนำขึ้นมาใช้ได้หมด

"ปัจจุบันเขตดังกล่าวต้องสงวนไว้ก่อน ขณะที่บริษัทจีนและเวียดนาม หลั่งไหลเข้าไปทาบทามและยื่นข้อเสนอ เพื่อขอเป็นส่วนร่วมในการลงทุนภายใต้เงื่อนไขต่างฝ่ายต่างมีผลประโยชน์" และ "ในขณะที่ทางการกำลังวางแผนบริหารจัดการเรื่องนี้ เพื่อนำเข้าระบบอย่างถูกต้อง.." สื่อของทางการรายงานอ้างเจ้าแขวง ซึ่งเป็นบุตรชาย พล.ท.สะหมาน วิยาเกด อดีตผู้นำการปฏิวัติสำคัญผู้หนึ่ง
.
<br><FONT color=#000033>หินอ่อนสีขมพูนภาพประกอบข่าวจากแขวงอัตตะปือ ในหนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ใหม่ 16 ต.ค.2557.</b>
2
เป็นที่ทราบกันมาตั้งแต่โบราณกาลว่า ทางตอนใต้สุดของลาวซึ่งเป็นแขวงเซกองและอัตตะปือวันนี้ รุ่มรวยด้วยทรัพยากรล้ำค่ามากหลาย และ เข้าใจกันว่าสายแร่ที่พบในย่านนี้ เป็นสายเดียวกันกับที่พบในจังหวัดรัตนคีรี และ จ.สตึงแตร็ง ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศที่อยู่ติดกันกับ 2 แขวงตอนใต้สุดของลาว คืออัตตะปือและจำปาสัก

แต่ต่างไปจากแหล่งทรัพยากรที่พบในภาคใต้ของลาว เขตสายแร่ใหญ่ในกัมพูชาได้กลายพื้นที่สัมปทานไปจนหมดแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ตกเป็นของบริษัทเหมืองจากจีนเพียงไม่กี่บริษัท

เป็นที่ทราบกันดีอีกเช่นกันว่า ช่วง 10-15 ปีก่อนหน้านี้ ในยุคที่อัตตะปือยังเป็นดินแดนลี้ลับที่สุดแห่งหนึ่ง เส้นทางคมนาคมเข้าถึงยังไม่สะดวกนั้น ได้มีการลักลอบขุดค้นแร่ธาตุล้ำค่าออกไปมากมาย นอกจากนั้นก็ยังมี "คนต่างชาติ" ที่หมายถึงชาวกัมพูชา กับชาวเวียดนาม ข้ามแดนไปปักหลัก ขุดและร่อนหาทองตามลำน้ำลำธารสายต่างๆ เช่นเดียวกับนายทุนเอกชนจำนวนไม่น้อย ที่อาศัยช่องโหว่กฎหมาย และ เจ้าหน้าที่ของรัฐ เข้าไปดูแลไม่ทั่วถึง

ก่อนหน้านี้ได้เคยมีภาพถ่ายทองก้อนโตๆ ที่ราษฎรไปพบในลำน้ำ และนำไปขายในตลาดตัวเมือง รวมทั้งภาพนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ไปเที่ยวชมธรรมชาติที่นั่น กลับออกมาพร้อมกับอัญมณีล้ำค่า ทั้งที่ผ่านการเจียระไนแล้วและยังเป็นหินแร่ดิบที่มีสีสันสวยงามต่างๆ

ความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ กับความรุ่มรวยด้วยทรัพยากร ได้ทำให้เกิดคำกล่าวขานกันมานานหลายทศวรรษว่า "อัตตะปือปึ้งขายคำแลกไก่" [อัตตะปือใช้ทองคำซื้อไก่] คำกล่าวนี้ยังปรากฎอยู่ในบทกลอนขับลำในท้องถิ่นเสมอมาจนถึงวันนี้
.

<br><FONT color=#00003>ลายและสีสันสวยงามตามธรรมชาติ ทำให้หินอ่อนแห่งอัตตะปือกลายเป็นทรัพยากรณ์ล้ำค่า. </b>
3
<br><FONT color=#000033>หินสีเขียวล้ำค่าไม่ทราบชนิด ภาพนี้เผยแพร่ในเว็บไซต์ของชาวลาว ในช่วงที่รัฐบาลสั่งยกเลิกสัมปทานเหมืองหินอ่อนในอัตตะปือทั้งหมด. </b>
4
ถึงแม้จะยังไม่มีฝ่ายใดออกมาให้รายละเอียดเกี่ยวกับข่าวล่าสุดจากเจ้าแขวงอัตตะปือก็ตาม แต่เมื่อย้อนกลับไปดูเรื่องราว ที่เคยปรากฎผ่านสื่อของทางการในช่วงหลายปีมานี้ ก็จะพบว่าความรุ่มรวยของแขวงอัตตะปือมีมูลความจริง ซึ่งจะต้องติดตามต่อไปอย่างใกล้ชิด

หลายปีก่อนเคยมีการเผยแพร่วิดีโอคลิป แสดงให้เห็นราษฎรชาวเขมรจำนวนหนึ่ง ข้ามเข้าไปร่อนทองตามลำน้ำลำธารในแขวงอัตตะปือ และ สื่อออนไลน์ในเวียดนามเคยเผยแพร่ภาพที่ระบุว่า ชาวเวียดนามข้ามเข้าไปทำเหมืองทองแบบพื้นบ้านในแขวงภาคใต้ของลาว ที่มีเขตแดนติดกัน โดยทำเหมืองฉีดแบบพื้นบ้าน

จนกระทั่งต้นปี 2556 เรื่องราวเกี่ยวกับเหมืองทองในอัตตะปือจึงปรากฏสู่โลกภายนอกอย่างเป็นทางการ แต่ต่างไปจากเหมืองทองแหล่งอื่นๆ ของประเทศ ทั้งในภาคกลางและภาคเหนือที่เปิดให้ทุนต่างชาติเข้าสัมปทาน ทองคำในอัตตะปือเป็นของกองทัพประชาชน ดำเนินการภายใต้สัมปทานโดยบริษัทร่วมทุนลาว-เวียดนาม ซึ่ง พล.ท.ดวงใจ พิจิต รองนายกรัฐมนตรี รมว.กระทรวงป้องกันประเทศในขณะนั้น เคยเดินทางไปที่นั่นเพื่อติดตามความคืบหน้า

ตามรายงานของสำนักข่าวสารปะเทดลาว ในขณะนั้นการก่อสร้างโรงงานแยกสินแร่ใกล้แล้วเสร็จ โดยมีแผนการจะเปิดดำเนินการในเดือน มิ.ย.2556 โรงงานมีกำลังผลิต (แยกแร่) วันละ 400 ตัน

แต่ต่อมาในเดือน พ.ค. หนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษ "เวียงจันทน์ไทมส์" ได้รายงาน อ้างการสัมภาษณ์ ดร.คำพัน พมมะทัด เลขาพรรคแขวงและเจ้าแขวงในขณะนั้น เกี่ยวกับเหมืองทองปล่อยสารปรอทลงสู่ลำน้ำเซกะหมาน ทำให้น้ำเป็นพิษ ปลาตาย และ เป็นภัยต่อประชาชนที่อาศัยยังชีพอยู่กับลำน้ำสายนี้ ตั้งแต่นั้นมา ก็ไม่ปรากฏข่าวคราวเกี่ยวกับเหมืองทองในอัตตะปืออีกเลย

ดร.นาม เลขาพรรคฯ คนปัจจุบันที่ให้สัมภาษณ์ในนครเวียงจันทน์ครั้งล่าสุด ก็ไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้ในรายละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเหมืองทองในอัตตะปือ อยู่ภายใต้การกำกับดูแล และ เป็นผลประโยชน์ของกองทัพ
.

<br><FONT color=#00003>ภาพเมื่อปี 2549 ซึ่งสื่อออนไลน์ในเวียดนาม ระบุว่าเป็นคนเวียดนามข้ามไปทำเหมืองทองในอัตตะปือ.  </b>
5
<br><FONT color=#00003>ภาพเมื่อปี 2549 ซึ่งสื่อออนไลน์ในเวียดนาม ระบุว่าเป็นคนเวียดนามข้ามไปทำเหมืองทองในอัตตะปือ.  </b>
6
<br><FONT color=#00003>เอกสารผลการสำรวจทางธรณีศาสตร์ในแขวงภาคใต้ โดยกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ลาว เผยแพร่ในปี 2552 แสดงให้เห็นชาวบ้านร่อนหาทองในย่าน หนองฟ้า ทะเลสาปบนปล่องภูเขาไฟเก่าแก่ ทางตอนใต้ของอัตตะปือ ย่านนั้นมีทองไม่มาก แต่ก็แสดงให้เห็นว่าในแขวงนี้มีอยู่ทั่วไป.  </b>
7
เรื่องแหล่งหินอ่อนในอัตตะปือ ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างไร การซื้อหินอ่อนข้ามแดนไปจากลาว ปรากฏเป็นข่าวในสื่อภาษาเวียดนามมาตั้งแต่ 10 ปีก่อนหน้านี้ จนกระทั่งปี 2557 จึงมีรายละเอียดมากยิ่งขึ้น เมื่อทางการแขวงสั่งระงับใบอนุญาตเหมืองหินอ่อนทุกแห่ง และ สกัดกั้นการลักลอบขุดค้นโดยประชาชนทั่วไป

ตามรายงานของหนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ใหม่ ทางการได้สั่งระงับเหมืองหินอ่อนทุกแห่งในเดือน ส.ค.2557 โดยอ้างความไม่เป็นระบบระเบียบ และ มีการลักลอบขุดค้นหินล้ำค่าสวยงามนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งในขณะนั้นทางการแขวงได้อนุมัติการลงทุนทำเหมืองหินอ่อน ให้แก่นักลงทุนถึง 60 บริษัท แต่รัฐบาลได้สั่งให้แขวงยกเลิกสัมปทานทั้งหมด

เวียงจันทน์ใหม่ยังรายงานในคราวเดียวกันว่า มีการลักลอบขุดหินอ่อนกันแพร่หลายในเขตภูเขา ในท้องที่เมืองพูวง และ ลักลอบขนข้ามแดนเข้าเวียดนามอย่างถูกต้อง ผ่านด่านชายแดนพูเกือ ซึ่งเป็นด่านชายแดนนานาชาติทางด้านนั้น

ปัจจุบันการคมนาคมระหว่างแขวงอัตตะปือกับโลกภายนอกสะดวกทุกประการ มีทางหลวงลาดยางตลอดสาย และ สองผู้นำลาว-เวียดนาม ได้ไปร่วมกันทำพิธีเปิดใช้สนามบินอัตตะปือ ในเดือน พ.ค.ปีที่แล้ว

อัตตะปือได้กลายเป็นปลายทางลงทุนสำคัญของบริษัทต่างชาติจากทั่วทุกมุมโลก บางบริษัทที่กำลังสำรวจแหล่งแร่ หรือแหล่งผลิตพลังงานอยู่ในขณะนี้ มาไกลถึงรัสเซียและฝรั่งเศส ขณะเดียวกันก็กำลังมีการก่อสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าหลายแห่ง กั้นลำน้ำเซกอง และ เซกะหมาน ทำเกิดอ่างเก็บน้ำเป็นพื้นที่รวมกันมากมาย เขื่อนบางแห่งทำให้น้ำทวมถึงเขตเทศบาลเมือง จนกระทั่งต้องย้ายทั้งเมืองออกไปสร้างเมืองแห่งใหม่

ยังไม่ทราบในขณะนี้ว่าลาวจะมีวิธีจัดการกับความรุ่มรวยที่อยู่ใต้พื้นดินในแขวงนี้ต่อไปอย่างไร.
กำลังโหลดความคิดเห็น