xs
xsm
sm
md
lg

หลังสงครามผ่านไป 40 ปี ทหารเวียดนามอีก 41 คนเพิ่งได้กลับจากดินแดนลาว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>3 คนล่าสุดจากชานนครเวียงจันทน์ เพิ่งได้กลับบ้านเกิด 4 พ.ค.ที่ผ่านมา ทหารเวียดนามเหล่านี้เสียชีวิตในช่วงสงครามเพื่อเอกราชในลาว หลายหมื่นนายถูกส่งเข้าลาวอีกหลังจากนั้น และ ประจำอยู่ในประเทศนี้ต่อมาจนถึงปี 2526-2528 ยังมีอีกนับพันคน ที่ยังไม่ได้กลับสู่มาตุภูมิ. -- ภาพ: หนังสือพิมพ์กองทัพประชาชนลาว. </b>

MGRออนไลน์ -- ปีนี้มีทหารเวียดนามอย่างน้อย 41 คน ได้กลับดินแดนบ้านเกิด หลังจากสงครามในประเทศนี้ยุติลงไป 40 ปี แต่ก็ยังมีอีกจำนวนนับพันๆ คนที่ยังไม่มีโอกาสได้กลับดินแห่งมาตุภูมิ และ การค้นหายังจะดำเนินต่อไป ในฤดูแล้งปี 2559-2560 นี้ ขณะเดียวกันการค้นหาศพทหารเวียดนาม ได้คืบเข้ามาในดินแดนไทย ในกรอบความร่วมมือระหว่างกระทรวงกลาโหมสองประเทศ

ล่าสุดทางการนครเวียงจันทน์ กับทางการ จ.ห่าตี๋ง ของเวียดนาม ได้ร่วมกันทำพิธีทางศาสนาและ ส่งอัฐิของ "ทหารอาสา" กับ "ผู้เชี่ยวชาญ" ชาวเวียดนามจำนวน 3 ชุดกลับประเทศ ทั้งหมดเสียชวิตจากการสู้รบในดินแดนลาวเมื่อครั้งสงคราม เจ้าหน้าที่ของสองฝ่าย ขุดขึ้นมาจากแหล่งฝังศพ ในเขตรอบนอกนครเวียงจันทน์ ในกรอบความร่วมมือระหว่างสองประเทศ

ทั้ง 3 ชุดเป็นหนึ่งในบรรดาอัฐิของทหารเวียดนามกว่า 20,000 คน ที่ ได้กลับจากลาว ในช่วงกว่า 20 ปีมานี้

สงครามในอินโดจีนยุติลงไปเมื่อปี 2518 แต่การปฏิบัติหน้าที่ของทหารเวียดนามในดินแดนลาว ยังคงดำเนินต่อมาอีกไม่ต่ำกว่า 10 ปี ปัจจุบันเชื่อว่ายังมี "ทหารอาสา" และ "ผู้เชี่ยวชาญ" ชาวเวียดนาม ยังไม่ได้จากลาวอีกนับพันๆ คน

พิธีจัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 พ.ค.2559 นายสีหุน สิดทิลือไซ รองเจ้าครองนครเวียงจันทน์ กับ นายดั่งก๊วกวีง (Dang Quoc Vinh) รองประธานคณะกรรมการประชาชน จ.ห่าตี๋ง (Ha Tinh) ในภาคกลางตอนบน ที่มีพรมแดนติดกับลาว มีคณะเจ้าหน้าที่ และ นักวิชาการ ทั้งสองฝ่ายเข้าร่วม เป็นจำนวนมาก หนังสือพิมพ์ "กองทัพประชาชน" ของกระทรวงป้องกันประเทศลาว รายงานในสัปดาห์นี้่

การปฏิบัติงานในช่วงหน้าแล้งปี 2558-2559 ที่ผ่านมา สองฝ่ายได้ลงเก็บข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งฝังศพทหารเวียดนาม ในพื้นที่จริง ในท้องที่ 59 หมู่บ้าน ใน 7 เมือง (อำเภอ) รวบรวมข้อมูลจากสถานที่จริงได้จำนวน 35 จุด และ ลงขุดค้นจริงในเขตเมืองไซทานีจำนวน 5 จุด และ พบอัฐิจำนวน 3 ชุด

สองฝ่ายได้จัดพิธีวางพวงมาลาสักการะดวงวิญญาณผู้เสียชีวิต โดยมี 17 คณะเข้าร่วมในพิธี "ที่ดำเนินไปภายใต้บรรยากาศอันเคร่งขรึม และ อาลัยอาวรณ์อย่างสุดซึ้ง" และ ในเช้าวันที่ 4 พ.ค. ก็ได้จัดพิธีส่งอัฐิทหารกับผู้เชี่ยวชาญเวียดนามกลับประเทศ อย่างสมเกียรติ มีเจ้าหน้าที่ พนักงาน นักรบและขบวนของน้องน้อยเยาวชน เข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง หนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นปากเสียงของกองทัพประชาชนกล่าว

ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ฉบับเดียวกันนี้ เมื่อวันที่ 11 เม.ย. ทางการแขวงอุดมไซ กับกองบัญชาการทหารเขต 2 เวียดนาม ได้จัดพิธีส่งมอบอัฐิทหารอาสาสมัครกับผู้เชี่ยวชาญเวียดนามคล้ายกันนี้รวม 38 ชุด และส่งกลับมาตุภูมิอย่างสมเกียรติ

อัฐิทั้ง 38 ชุด ได้จากการค้นหาในช่วงฤดูแล้ง 2558-2559 และ ทั้งหมดเป็นทหารกับผู้เชี่ยวชาญเวียดนาม ที่เสียชีวิตจากการสู้รบ ในสงครามเพื่อเอกราช ในพื้นที่ 6 แขวงภาคเหนือของลาว

ตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน รวม 22 ปี คณะปฏิบัติงานร่วมลาว-เวียดนาม ขุดค้นหาอัฐิในบรรดาแขวงภาคเหนือ ได้ทั้งหมด 1,604 ชุด ในนั้นสามารถระบุชื่อผู้เสียชีวิตได้เพียง 103 กรณี อัฐิที่ขุดค้นได้ทั้ง 38 ชุดล่าสุด สามารถระบุชื่อ ที่อยู่และถิ่นกำเนิดได้จำนวน 11 ชุด ทั้งหมดได้ส่งกลับบ้านเกิด เพื่อให้บิดามารดา ญาติพี่น้อง ดำเนินการตามประเพณีต่อไป

ทั้งหมดเป็นผลพวงจากสงครามในดินแดนลาว และ ทั่วอนุภูมิภาค ที่มีสงครามยืดเยื้อเป็นเวลานานหลายสิบปี ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20

อิทธิพลของฝรั่งเศสในอินโดจีนหมดลง หลังพ่ายแพ้ในสงครามที่เดียนเบียนฟูเมื่อปี 2497 แต่อีกไม่นานต่อมาก็ได้เข้าสู่สงครามรอบใหม่ จากการเข้าแทรกแซงของสหรัฐในเวียดนาม ก่อนลามเข้าสู่ดินแดนลาวและกัมพูชา ซึ่งดำเนินต่อมาเป็นเวลากว่า 10 ปี
.
<br><FONT color=#000033>11 เม.ย. อีก 38 คนได้กลับจากแขวงภาคเหนือของลาว พิธีส่งมอบจัดขึ้นที่แขวงอุดมไซ ทหารเวียดนามหลายหมื่นคน ถูกส่งเข้าสู้รบในดินแดนลาว ตั้งแต่ช่วงปีสงครามกับฝรั่งเศส อีกหลายหมื่นในช่วงปีสงครามกับรัฐบาลที่สหรัฐหนุนหลัง. -- ภาพ: หนังสือพิมพ์กองทัพประชาชนลาว.</b>
2
และในที่สุดฝ่ายเขมรแดง ซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์สายจีน ก็สามารถยึดอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จในกรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ 17 เม.ย.2518 ต่อมาวันที่ 30 เม.ย. ฝ่ายคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือและเวียดกงในภาคใต้ ซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์สายโซเวียต ก็เข้ายึดกรุงไซ่ง่อนได้สำเร็จ แต่สำหรับคอมมิวนิสต์ปะเทดลาว ยังต้องทำสงครามยึดอำนาจต่อมา จนถึงต้นเดือน ธ.ค. ปีเดียวกัน

ทหารเวียดนามนับหมื่นๆ คนถูกส่งเข้าไปสู้รบในดินแดนลาว มาตั้งแต่ครั้งสงครามเพื่อเอกราชจากฝรั่งเศส อีกหลายหมื่นคน ถูกส่งเข้าไปในช่วงสงครามต่อต้านสหรัฐ และ สงครามปลดปล่อยลาวจากรัฐบาลที่มีสหรัฐหนุนหลัง

เชื่อกันว่าทหารเวียดนามเสียชีวิตในเขตนครเวียงจันทน์มากที่สุด ในช่วงปลายสงคราม ก่อนที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ปะเทดลาว จะสามารถเข้ายึดอำนาจได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 2 ธ.ค.2518 และ ประกาศการก่อตั้งเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาจนทุกวันนี้

อย่างไรก็ตาม หลัง "การปลดปล่อย" ลาว ทหารเวียดนามอีกหลายหมื่นคน ยังคงประจำอยู่ในประเทศนี้ต่อมาอีก จนถึงปี 2527-28 ทั้งนี้เพื่อช่วยป้องกัน สปป.ลาวที่ยังอ่อนด้อย จากรุกรานของ "กลุ่มปฏิกริยาจีน" ซึ่งหมายถึงจีนแผ่นดินใหญ่ คอมมิวนิสต์ต่างอุดมการณ์ และ "กลุ่มปฏิกิริยาขวาจัด" ในวงการกุมอำนาจไทย

นอกจากนั้น ทหารเวียดนามยังช่วยลาว ปราบปรามกองโจรติดอาวุธชาวเผ่าม้งของนายพลวังปาว ที่ยังหลงเหลืออยู่ ในดินแดนที่เป็นแขวงเชียงขวาง เวียงจันทน์ กับ แขวงไซสมบูนในปัจจุบัน

รายงานของสื่อทางการเมื่อหลายปีที่แล้วบ่งชี้ว่า ถึงแม้ "สงครามปลดปล่อยลาว" จะสิ้นสุดมาเป็นเวลาหลายปี การสู้รบกับกองโจรชาวม้งในเขตภูเบี้ย ยังคงดำเนินต่อมา อย่างน้อยจนถึงปี 2525

ไม่เพียงแต่ในดินแดนลาวเท่านั้น ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา เวียดนามยังต้องค้นหาศพทหารที่เสียชวิตในดินแดนกัมพูชาอีกด้วย

ตามข้อมูลของกองทัพประชาชนเวียดนาม ในช่วง 10 ปีแห่งการยึดครองกัมพูชา (2522-2532) เพื่อช่วยรัฐบาลฮุนเซน-เฮงสัมริน-เจียซิมต่อสู้กับกองโจรเขมรแดง กับรัฐบาลผสมสามฝ่ายกัมพูชาประชาธิปไตยนั้น มีทหารเวียดนามเสียชีวิตในดินแดนกัมพูชากว่า 50,000 คน ในนั้นกว่า 30,000 คนล้มตายด้วยมาลาเรียและโรคระบาดอื่นๆ อีกกว่า 20,000 คน เสียชีวิตจากการสู้รบ

ในสัปดาห์ต้นเดือน มี.ค.2559 พล.ท.เหวียนแถ่งกุง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมเวียดนาม ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการแห่งชาติ ในการค้นหาศพทหารเวียดนาม ในดินแดนประเทศเพื่อนบ้าน เดินทางเยือนไทย และเข้าเยี่ยมคำนับหารือกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม

สองฝ่ายได้ตกลงร่วมมือค้นหาศพทหารเวียดนามที่เสียชีวิตตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ในช่วงสงครามกลางเมือง และ ค้นหาศพทหารไทย ที่เสียชีวิตในเวียดนาม ในช่วงปีแห่งสงครามเวียดนาม

ระหว่างการเยือนดังกล่าว ฝ่ายไทยได้ตกลงที่จะช่วยเวียดนาม ขุดค้นหาศพทหารเวียดนามจำนวน 22 กรณี ที่มีข้อมูลว่า ถูกฝังอยู่ในพื้นที่ จ.หนองคาย.
กำลังโหลดความคิดเห็น