xs
xsm
sm
md
lg

พันธมิตรซูจีตั้งพรรครัฐบาลพรุ่งนี้ หลังต่อสู้นานหลายทศวรรษ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>อองซานซูจี หัวหน้าพรรค NLD โบกมือลา ฉ่วย มาน หลังร่วมงานเลี้ยงอำลาที่อาคารรัฐสภา ในกรุงเนปีดอ เมื่อวันที่ 29 ม.ค. สมาชิกรัฐสภาจากพรรคของอองซานซูจีจะเข้านั่งเก้าอี้รัฐสภาในวันจันทร์ (1) และจะกลายเป็นพรรครัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยเป็นครั้งแรก. -- Reuters/Soe Zeya Tun.</font></b>

รอยเตอร์ - หลังต่อสู้พยายามมาหลายทศวรรษ สมาชิกรัฐสภาหลายร้อยคนจากพรรคของอองซาน ซูจี จะตั้งพรรครัฐบาลในวันจันทร์นี้ (1) ด้วยจำนวนที่นั่งในรัฐสภาที่เพียงพอต่อการเลือกรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ทหารกุมอำนาจในปี 2505

พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ชนะที่นั่ง 80% ในการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์เดือน พ.ย. แต่รัฐธรรมนูญที่รัฐบาลเผด็จการทหารร่างขึ้น หมายความว่าพรรคจะต้องร่วมแบ่งอำนาจกับกองทัพที่ปราบปรามซูจี และพันธมิตรของเธอมาเป็นเวลาหลายปี

การเข้านั่งในรัฐสภาที่พรรค NLD ครองที่นั่งส่วนใหญ่เป็นขั้นตอนหนึ่งในการถ่ายโอนอำนาจที่เริ่มด้วยการเลือกตั้ง และจะดำเนินไปจนกระทั่งรัฐบาล NLD เริ่มต้นหน้าที่อย่างเป็นทางในเดือน เม.ย.

“เราน่าจะประกาศชื่อประธานาธิบดีได้ในช่วงสัปดาห์ที่สองของเดือน ก.พ.” วิน เต็ง สมาชิกอาวุโสของพรรค NLD กล่าว ขณะที่เจ้าหน้าที่ของพรรค NLD อีกรายหนึ่งกลับระบุว่า กระบวนการเสนอชื่อผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอาจเริ่มในช่วงปลายเดือน

ในสัปดาห์นี้ พรรคจะมุ่งให้ความสนใจไปที่การแต่งตั้งประธานสภา และเตรียมการสำหรับการเริ่มต้นการประชุมในระดับรัฐและเขตในวันที่ 8 ก.พ.

สภาสูงและสภาล่างจะเสนอชื่อผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของแต่ละฝ่าย และเจ้าหน้าที่ทหารที่ครองที่นั่ง 1 ใน 4 ของสภาจะเสนออีก 1 ชื่อ หลังจากนั้น ทั้งสองสภาจะร่วมกันลงคะแนนเสียง โดยผู้ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดจะเป็นประธานาธิบดี ส่วนผู้ชิงตำแหน่งอีก 2 คน จะทำหน้าที่ในตำแหน่งรองประธานาธิบดี

ประชาชนชาวพม่าราว 51.5 ล้านคน คาดว่า พรรค NLD จะแก้ไขอย่างรวดเร็วในทุกสิ่งตั้งแต่การนำสันติสุขมาสู่รัฐชาติพันธุ์ ไปจนถึงการยุติการล่วงละเมิดชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมโรฮีนจาในรัฐยะไข่จากชาวพุทธส่วนใหญ่

“พวกเขาหวังว่า ทุกปัญหาจะแก้ไขโดยอัตโนมัติ หลังพรรค NLD เป็นรัฐบาล การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศจะเข้ามา” ฉ่วย มาน ประธานรัฐสภา ที่สิ้นสุดวาระการดำรงตำแหน่ง ที่มีความใกล้ชิดกับซูจี กล่าว

ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2551 ซูจีถูกขัดขวางจากการทำหน้าที่ในตำแหน่งประธานาธิบดี เนื่องจากทายาทของซูจีไม่ใช่ชาวพม่า แต่ซูจีไม่ได้ชี้ว่าใครคือผู้ที่จะเข้ารับไม้ต่อจากประธานาธิบดี เต็งเส่ง ที่กำลังจะหมดวาระลง

ซูจี ได้กล่าวไว้ว่า เธอจะอยู่เหนือประธานาธิบดี และควบคุมรัฐบาล แต่พรรค NLD ก็ยังไม่ได้อธิบายว่าซูจีจะดำเนินการอย่างไร

“เพื่อบรรลุความท้าทายต่าง ๆ พวกเขาต้องเลือกคนให้เหมาะสมกับงาน นี่เป็นสิ่งที่ผมเป็นห่วง เพราะมันจะตัดสินการดำเนินงานรัฐบาลของเธอ” ฉ่วย มาน กล่าว.
กำลังโหลดความคิดเห็น