xs
xsm
sm
md
lg

“เต็งเส่ง-ซูจี-มินอองหล่าย” ตบเท้าเข้าร่วมหารือสันติภาพพร้อมกลุ่มติดอาวุธ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ประธานาธิบดีเต็งเส่งขณะขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ ในการหารือระหว่างรัฐบาล กองทัพทหาร และผู้แทนของกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ เกี่ยวกับการหยุดยิงเพื่อยุติการก่อความไม่สงบ ในกรุงเนปีดอ วันที่ 12 ม.ค. -- Reuters/Soe Zeya Tun.</font></b>

รอยเตอร์ - อองซานซูจี ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในวันนี้ (12) ท่ามกลางผู้แทนกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ ทหาร และสมาชิกรัฐสภา ที่รวมตัวกันเป็นจำนวนหลายร้อยคนเพื่อหารือเกี่ยวกับการหยุดยิงเพื่อยุติความไม่สงบที่เกาะกุมประเทศมายาวนานหลายทศวรรษ

พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ของอองซานซูจี ชนะการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ในเดือน พ.ย. แต่พรรคของเธอจะยังไม่เข้าบริหารประเทศจนกว่าจะถึงเดือน มี.ค. และการเลือกประธานาธิบดีคาดว่าจะเกิดขึ้นหนึ่งเดือนก่อนหน้านั้น

รัฐบาลกึ่งพลเรือนของประธานาธิบดีเต็งเส่ง ที่กำลังจะหมดวาระได้ลงนามหยุดยิงในเดือน ต.ค. แต่กลุ่มติดอาวุธ 7 กลุ่ม จาก 15 กลุ่ม ที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมได้ปฏิเสธที่จะลงนาม

ซูจี ปฏิเสธกระบวนการสร้างสันติภาพที่นำโดยรัฐบาล และการเจรจาหารือครั้งล่าสุดในกรุงเนปีดอ คาดว่าประสบผลเพียงเล็กน้อยในทางของข้อตกลงที่เป็นรูปธรรม แต่ก็สามารถวางรากฐานสำหรับการเจรจาเมื่อพรรค NLD เข้าครองอำนาจ

กลุ่มติดอาวุธส่วนหนึ่งที่ยังคงต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิ และการปกครองตนเอง หวังว่าจุดยืนระหว่างประเทศ และอำนาจที่ได้รับมอบหมายของซูจี จะช่วยให้ซูจีประสบความสำเร็จในการเชื่อมโยงพื้นที่ของความขัดแย้งกับกองทัพทหารที่ทรงอำนาจของประเทศ

“เราตั้งความหวังไว้สูงต่อซูจี และรัฐบาลของเธอที่จะเจรจาต่อรองกับผู้บัญชาการทหารสูงสุด หากไร้ซึ่งการเกี่ยวข้องของกองทัพก็เป็นไปไม่ได้ที่จะยุติการต่อสู้ทั่วประเทศ” หนึ่งในแกนนำสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) กล่าว

นับตั้งแต่การลงนามเดือน ต.ค. การสู้รบยังคงปะทุขึ้นในพื้นที่ทางภาคตะวันออกของประเทศระหว่างกองทัพ กลุ่มที่ไม่ได้ลงนาม และกลุ่มที่ไม่ได้มีส่วนในการเจรจา

ในการรวมตัวที่กรุงเนปีดอครั้งนี้ ประธานาธิบเต็งเส่ง และ พล.อ.อาวุโส มิน ออง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้เข้าร่วมด้วย และการปรากฏตัวของพวกเขาพร้อมกับอองซานซูจี สะท้อนถึงความราบรื่นในการโอนถ่ายอำนาจมาจนถึงเวลานี้

บรรดานายพลของพม่าปกครองประเทศมาเป็นเวลา 49 ปี จนกระทั่งปี 2554 ที่รัฐบาลลูกผสมระหว่างกองทัพ และพลเรือนได้เข้าบริหารประเทศแทน

ซูจี ยังคงถูกกันจากการเป็นประธานาธิบดีภายใต้บัญญัติในรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นโดยทหาร และกองทัพยังคงมีอำนาจทางการเมือง โดยที่นั่ง 1 ใน 4 ของรัฐสภาถูกสงวนให้แก่เจ้าหน้าที่ทหารที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และรัฐมนตรีใน 3 กระทรวงสำคัญ คือ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงกิจการชายแดน ถูกแต่งตั้งโดยผู้บัญชาการทหารสูงสุด.
.
<br><FONT color=#000033>ประธานาธิบดีเต็งเส่ง (ซ้าย) และอองซานซูจี หัวหน้าพรรค NLD (ขวา) สัมผัสมือกันก่อนร่วมพิธีเปิดการประชุมสันติภาพสหภาพ ที่ศูนย์การประชุมนานาชาติพม่า ในกรุงเนปีดอ.-- Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>
<br><FONT color=#000033>อองซานซูจี หัวหน้าพรรคฝ่ายค้านของพม่าเข้าร่วมในพิธีเปิดการประชุมสันติภาพสหภาพ ที่ศูนย์การประชุมนานาชาติพม่า ในกรุงเนปีดอ.-- Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>
<br><FONT color=#000033>อองซานซูจี ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ ในการหารือร่วมกันระหว่างรัฐบาล กองทัพ และผู้แทนกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ เกี่ยวกับการหยุดยิง ที่กรุงเนปีดอ.-- Reuters/Soe Zeya Tun.</font></b>
กำลังโหลดความคิดเห็น