xs
xsm
sm
md
lg

“ซูจี” พบ “ฉ่วยมาน” หารือปรองดองหวังช่วยส่งต่ออำนาจราบรื่น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ฉ่วย มาน ประธานสภาผู้แทนราษฎร (ซ้าย) และอองซานซูจี หัวหน้าพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) สัมผัสมือกันก่อนหารือที่อาคารรัฐสภาในกรุงเนปีดอ วันที่ 19 พ.ย. ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะร่วมมือกันให้การเปลี่ยนผ่านอำนาจไปสู่สภาชุดใหม่มีความราบรื่น. -- Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>

รอยเตอร์ - อองซานซูจี พบกับ ฉ่วย มาน ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นครั้งที่ 2 ในรอบสัปดาห์วันนี้ (19) เพื่อหารือการปรองดองฝ่ายการเมืองต่างๆ ในประเทศ หลังชนะการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์เมื่อต้นเดือน

ซูจี ยังได้พบกับทูตจากประเทศต่างๆ ทั้ง รัสเซีย เยอรมนี อังกฤษ และสเปน ที่อาคารหลังหนึ่งในหมู่อาคารรัฐสภาในวันเดียวกัน หลังพบหารือกับทูตจีนหนึ่งวันก่อนหน้า

ซูจี มีท่าทีประนีประนอมต่อประธานาธิบดีพม่า และกองทัพที่ทรงอำนาจ และต่อพรรคของอดีตนายพลที่บริหารประเทศนับตั้งแต่รัฐบาลเผด็จการทหารมอบอำนาจให้แก่รัฐบาลกึ่งพลเรือนในปี 2554

แม้ว่าประธานาธิบดีเต็งเส่ง และ พล.อ.มิน ออง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้แสดงความยินดีต่อชัยชนะของซูจี ความสงสัยก็ยังติดค้างอยู่ในหมู่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพม่าที่เคยเห็นชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายของซูจีในปี 2533 ถูกปฏิเสธจากรัฐบาลเผด็จการทหาร

แต่กำหนดวันพบหารือระหว่างประธานาธิบดี และซูจียังไม่มีประกาศในตอนนี้

ซูจี และฉ่วย มาน ที่มีอิทธิพลต่อสมาชิกสภานิติบัญญัติในรัฐสภา เห็นชอบในวันนี้ (19) ที่จะนำความสงบสุขมาสู่จิตใจของประชาชนด้วยการร่วมมือ และการเจรจาตลอดช่วงการเปลี่ยนผ่านอำนาจไปสู่สภาชุดใหม่

ฉ่วย มาน เป็นผู้นำฝ่ายที่มีอิทธิพลของพรรคสหภาพสามัคคีและการพัฒนา (USDP) และความร่วมมือของเขาในช่วงสัปดาห์ข้างหน้าอาจมีความสำคัญระหว่างการเปลี่ยนผ่านก่อนที่พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ของซูจี จะเข้าทำหน้าที่ที่อาจจะอยู่ในช่วงปลายเดือน มี.ค.

พรรค USDP เสียที่นั่งส่วนใหญ่ในสภาในการเลือกตั้ง แต่สมาชิกสภาชุดปัจจุบันที่พ่ายเลือกตั้งจะยังทำหน้าที่ไปจนถึงเดือน ม.ค.

ก่อนการเลือกตั้ง ฉ่วย มาน มีชื่อเสียงในฐานะที่เป็นอดีตนายพลที่เอนไปทางปฏิรูปมากคนหนึ่งในพรรค USDP ความสัมพันธ์ที่อบอุ่นระหว่างเขากับซูจีถูกตั้งข้อสงสัยจากประธานาธิบดี และมีส่วนทำให้เขาถูกถอดออกจากการเป็นผู้นำพรรค

ความสัมพันธ์ของพรรค NLD กับทหารจะพัฒนาไปอย่างไรนั้นถือเป็นหนึ่งในความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการเปลี่ยนผ่าน

กองทัพจะเป็นฝ่ายค้านกลุ่มใหญ่ด้วยร้อยละ 25 ของที่นั่งในสภาถูกสงวนไว้ให้แก่ทหารตามรัฐธรรมนูญที่รัฐบาลทหารร่างขึ้นก่อนมอบอำนาจในปี 2554 รวมทั้งบทบัญญัติที่รับรองอำนาจในการยับยั้งการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญ และตำแหน่งรัฐมนตรีสำคัญ 3 กระทรวง

และหนึ่งในต้นตอของความตึงเครียดใหญ่ที่สุดระหว่างซูจี และทหาร คือ มาตราในรัฐธรรมนูญที่ห้ามซูจีจากการเป็นประธานาธิบดี พรรค NLD ต้องการให้ทหารสละบทบาทของตัวเองในการเมืองเพื่อให้พรรคสามารถยกเลิกข้อห้ามดังกล่าวได้.
กำลังโหลดความคิดเห็น