xs
xsm
sm
md
lg

ทำอับอายขายหน้า เรือ LCS ลำใหม่ไปไม่ถึงฝั่ง ขึ้นระวางไม่ถึงเดือนเครื่องยนต์เดี้ยงกลางทะเล

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<FONT color=#000033>เรือ USS Milwaukee, LCS 5 ในพิธีปล่อยลงน้ำ 18 ธ.ค.2556 หรือสองปีก่อนหน้า ที่อู่ต่อเรือมาริเน็ตมารีน (Marinette Marine) ริมฝั่งทะเลสาปมิชิแกน ในรัฐวิสคอนซิน เรือต้องแล่นผ่านทะเลสาปใหญ่ไปออกทะเลแอตแลนติก อ้อมฝั่งตะวันออกและภาคใต้ของประเทศ เพื่อไปผ่านคลองปานามาไปประจำที่ฐานทัพเรือซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย แต่ไปไม่ถึงปลายทาง เครื่องยนต์ดับกลางทะเลใกล้กับเมืองหลวง. -- US Navy Photo Courtesy of Lockheed Martin.</b>

MGRออนไลน์ -- เรือโจมตีชายฝั่ง (Littoral Combat Ship) ในชั้นฟรีดอม (Freedom-Class) ลำล่าสุดของกองทัพเรือสหรัฐ เกิดขัดข้องเครื่องยนต์ดับกลางทะเล ขณะแล่นอ้อมชายฝั่งแอตแลนติก ไปได้เพียงประมาณครึ่งทาง มุ่งสู่รัฐฟลอริดาในอ่าวเม็กซิโก เพื่อแล่นต่อไปยังฐานทัพเรือซานดิเอโก ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งในที่สุดก็จะเข้าประจำการในย่านอินโดเอเชียแปซิฟก เช่นเดียวกับอีก 2 ลำในชั้นเดียวกัน

กองทัพเรือสหรัฐต้องใช้เรือบริการลำหนึ่ง ลากเรือมิลวอคี (USS Milwaukee, LCS 5) เข้าฝั่งที่ฐานทัพเรือส่วนหน้าเมืองลิตเติ้ลครีก (Little Creek) รัฐเวอร์จิเนีย (ตอนใต้กรุงวอชิงตันดีซี) เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. นิตยสารนาวีไทม์ส (Navy Times) เผยแพร่ข่าวนี้วันจันทร์ 15 ธ.ค.ที่ผ่านมา ในเว็บไซต์

นิตยสารฉบับนี้รายงานด้วยว่า วุฒิสมาชิกที่ทรงอิทธิพล นายจอห์น แม็คเคน (John McCain) ประธานคณะกรรมาธิการการบริการด้านอาวุธ ได้แสดงความห่วงใยอย่างมาก ต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในจุดที่มีความสำคัญยิ่ง ของเรือมิลวอคี และขอให้กองทัพเรือทำการตรวจสอบให้ชัดเจน

เหตุเกิดระหว่างเรือ USS Milwaukee ซึ่งเป็นเรือลำสามในชั้น แล่นจากเมืองฮาลิแฟ็กซ์ (Halifax) ในแคนาดา เพื่อไปยังเมืองเมย์พอร์ต (Mayport) ฟลอริดา โดยมีปลายทางที่ฐานทัพซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ลูกเรือกับที่ปรึกษาทางเทคนิค ได้เข้าตรวจสอบสาเหตุที่ทำให้เครื่องยนต์ดับ

ข้อบ่งชี้ในชั้นต้นทำให้สันนิษฐานว่า ปัญหาน่าจะเกิดจากมีเศษโลหะชิ้นเล็กๆ ไปคั่งอยู่ในระบบกรองน้ำมันหล่อลื่น เซ็นเซอร์ตรวจจับพบ ทำให้เครื่องยนต์ดับลงโดยอัตโนมัติ นาวีไทม์สอ้างคำอธิบายจากกองทัพเรือ ซึ่งกล่าวด้วยว่าขณะนี้ยังไม่ทราบสาเหตุ ที่ทำให้มีเศษโลหะไปคั่งอยู่ในฟิลเตอร์น้ำมันหล่อลื่นของเครื่องยนต์

เรือมิลวอคีเพิ่งขึ้นระวางประจำการกองทัพเรือ ปลายเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา พิธีจัดขึ้นที่เมืองมิลวอคี รัฐวิสคอนซิน เรือต้องเดินทางไกล ผ่านทะเลสาปใหญ่ ออกมหาสมทุรแอตแลนติก อ้อมภาคตะวันออกกับภาคใต้ของประเทศ ตามเส้นทางไปยังอ่าวเม็กซิโก เพื่อผ่านคลองปานามา ไปยังฐานทัพใหญ่ทางชายฝั่งแปซิฟิก
.
เป็นเหตุการณ์วันที่ 11 พ.ค.2558 ในทะเลจีนใต้ "ลูกเสือไฟ" (Fire Scout) โดรนปีกหมุนประจำเรือฟอร์ตเวิร์ธ (USS Forth Worth) ถ่ายวิดีโอ ขณะถูกเรือฟริเกตจีนลำหนึ่งติดตามในทะเลจีนใต้ รายงานในเว็บไซต์ NavyLive กองทัพเรือสหรัฐ ระบุว่าเรือ LCS 3 ไม่ได้ติดอาวุธใด ที่จะต่อกรกับเรือฟรีเกตจีนลำนี้ได้ และ ฝ่ายจีนไม่ฟังสัญญาณแจ้งเตือนใดๆ ยังคงติดตามห่างๆ ต่อไป จนพ้นจากเขตทะเลแห่งนี้ เรือ LCS ถูกวิจารณ์อย่างหนักว่า เป็นเรือติดจรวดนำวิถี แต่ "เขี้ยวเล็บไม่ถึง" ไม่น่าเกรงขาม.

.
กองทัพเรือกล่าวว่าปัญหาเกี่ยวกับระบบขับเคลื่อน เริ่มปรากฏให้เห็นตั้งแต่ออกจากต้นทาง ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ขึ้นสัญญาณเตือนให้ทราบ จากนั้นวิศวกรได้เข้าตรวจสอบ นำไปสู่การทำความสะอาด นำเศษโลหะออกจากระบบน้ำมันหล่อลื่นของเครื่องยนต์ โดยปิดแกนหมุนกังหันเทอร์ไบน์สำหรับขับเคลื่อนเรือ อันเป็นมาตรการป้องกันอย่างหนึ่ง

จนถึงเช้าวันศุกร์ได้มีการทดลองเดินเครื่องและให้หมุนแกนกังหันอีกครั้งหนึ่ง และ พบว่าแรงดันน้ำมันหล่อลื่นในระบบเกียรค์ลดลงอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากยังมีเศษโลหะอุดตันในฟิลเตอร์

กองทัพเรือสหรัฐบอกกับนาวีไทม์สว่า ปัญหานี้ไม่พบในระบบเครื่องยนต์ของเรือโจมตีชายฝั่งลำอื่นๆ ในชั้นเดียวกัน ทำให้กัปตันติดสินใจสั่งทอดสมอ และ ในตอนสาย เรือแกร็ปเพิล (USNS Grapple) ซึ่งเป็นเรือลากจูงลำหนึ่ง ก็ไปถึงเรือมิลวอคี และลากเข้าฝั่งที่เมืองลิตเติ้ลครีค เป็นระยะทาง 40 ไมล์ทะเล หรือ ประมาณ 74 กิโลเมตร

เรือมิลวอคีออกจากต้นทางพร้อมลูกเรือทั้งหมด 104 คน ตามแผนการเดิมจะต้อง เปลี่ยนลูกเรือผลัดที่สองที่เมย์พอร์ตจำนวน 108 คน จึงทำให้ต้องดำเนินการเรื่องนี้ในรัฐเวอร์จิเนียแทน

ข่าวนี้ไปถึงรัฐสภาสหรัฐในตอนบ่ายวันศุกร์ วุฒิสมาชิกแม็คเคน ได้ออกคำแถลงฉบับหนึ่งส่งไปยังนาวีไทม์ส ระบุว่าปัญหาที่เกิดกับเครื่องยนต์เรือทำให้ "ไม่สบายใจ" และ เรียกร้องมีการตรวจสอบอย่างถ้วนถี่
.
<br><FONT color=#00003>เรือ USS Fort Worth, LCS 3 ลำเดียวกันและในเหตุการณ์เดียวกับในคลิปข้างบน ซึ่งเป็นเรือชั้นฟรีดอมแบบเรือมิลวอคี USS Milwaukee, LCS 5 ขณะถูกเรือฟริเกตชั้นเจียงฮู (Jiang Hu-Class) หรือ Type 054A ของจีน สะกดรอย ติดตาม วันที่ 11 พ.ค.2558 ในทะเลจีนใต้ สื่อจีนนำภาพเหตุการณ์ไปเผยแพร่. -- Sina Online. </b>
2
"รายงานเกี่ยวกับเครื่องยนต์ดับ ระบบขับของเรือมิลวอคีหยุดลงทั้งระบบ นับเป็นสัญญาณเตือนที่ร้ายแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรือลำนี้เพิ่งขึ้นระว่างเพียง 20 วันที่แล้ว.."

"เรือของกองทัพเรือสหรัฐ สร้างขึ้นมาพร้อมระบบต่างๆ มากมาย เพื่อให้สามารถควบคุมและแล่นต่อไปได้ ในท่ามกลางปัญหาความขัดข้องทางวิศวกรรม ซึ่งทำให้เรื่องนี้น่าเป็นห่วงยิ่ง" วุฒิสมาชิกชื่อดัง ระบุในคำแถลง

ตามข้อมูลในเว็บไซต์กองทัพเรือสหรัฐ เรือมิลวอคีต่อจากอู่ต่อเรือมาริเน็ตมารีน (Marinette Marine) ในรัฐวิสคอนซิน เช่นเดียวกับรุ่นพี่ 2 ลำ ทำพิธีวางกระดูกงูในเดือน ต.ค.2554 ปล่อยลงน้ำ ธ.ค.2556 ทำพิธีตั้งชื่อในวันเดียวกัน โดยนางซิลเวีย พาเน็ตตา ภริยาอดีต รมว.กลาโหม ก่อนมีการจัดพิธีเข้าประจำการ วันที่ 21 พ.ย.2558

เช่นเดียวกันกับเรือ LCS ชั้นฟรีดอมอีกสองลำ คือ เรือฟรีดอม (USS Freedom, LCS 1) กับ เรือฟอร์ตเวิรธ (USS Forth Worth, LCS 3) เรือมิลวอคีเป็นเรือรบติดจรวดนำวิถี ขนาด 3,500 ตัน ยาว 115 เมตร กว้างสุด 17.5 เมตร ทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 45 นอต หรือ 83 กม./ชม. ซึ่งเป็นเรือรบที่แล่นได้เร็วที่สุดของกองทัพเรือในปัจจุบัน มีระยะปฏิบัติการถึง 6,500 กม. หรือ ออกปฏิบัติการในทะเลได้ครั้งละ 21 วัน

เรือชั้นฟรีดอมออกแบบให้กินน้ำตื้นเพียง 4 เมตร ทำให้แล่นปฏิบัติการใกล้ฝั่งได้ อันเป็นสิ่งที่เรือพิฆาต หรือเรือฟริเกต กระทั่งเรือคอร์แว็ต เมื่อก่อนไม่สามารถทำได้ นอกจากนั้นยังสร้างขึ้นมา ให้สามารถปรับแต่งคอนฟิกูเรชั่นได้ เพื่อปฏิบัติการในหลากหลายภารกิจ ทั้งสงครามบนผิวน้ำ สงครามใต้น้ำ ปราบโจรสลัด จนถึงงานค้นหากู้ภัย
.

<br><FONT color=#00003>พล.ร.อ.หญิงมิเชล ฮาวเวิร์ด (Michelle J Howard) รองผู้บัญชาการกองทัพเรือสหรัฐ ฝ่ายอำนวยการ ขณะทำพิธีขึ้นระวางเรือ USS Milwaukee, LCS 5 ที่อู่มาริเน็ตมารีน รัฐวิสคอนซิน 21 พ.ย.2558 คือปลายเดือนที่แล้ว ก่อนจะเกิดเหตุการณ์เครื่องดับกลางทะเลวันศุกร์ที่ผ่านมา. -- US Navy Photo/Mass Communication Specialist 2nd Class Christopher Lange. </b>
3
<br><FONT color=#00003>ลูกเรือของเรือมิลวอคียืนแถว ระหว่างพิธีขึ้นระวาง วันที่ 21 พ.ย.2558 เป็นเรือชั้นฟรีดอมลำที่สาม และ  เป็นลำที่ห้า ของเรือ LCS ทั้งหมด 7 ลำในปัจจุบัน ในขณะที่กำลังต่อลำที่แปด ตามโครงการรวม ซึ่งรวมทั้งเรือชั้นอินดีเพนเด้นต์จำนวนเท่ากัน รวมเป็นทั้งหมด 18 ลำ.  -- US Navy Photo/Mass Communication Specialist 2nd Class Christopher Lange. </b>
4
กองทัพเรือสหรัฐปลดระวางเรือฟรีเกตลำสุดท้ายเมื่อต้นปีนี้ ทำให้ไม่มีเรือชั้นโอลิเวอร์ ฮาซาร์ด เพอรี่ (Oliver Hazard Perry-Class) เหลืออยู่อีก ซึ่งเป็นไปตามนโยบายที่จะใช้เรือ LCS ปฏิบัติการแทนเรือฟริเกต

อย่างไรก็ตาม เรือ LCS ถูกวิจารณ์อย่างหนัก จากรัฐสภาและวงการกลาโหมของประเทศ ว่าเป็นเรือติดจรวดนำวิถี แต่ "เขี้ยวเล็บไม่ถึง" ซึ่งจะตกเป็นเหยื่อเรือข้าศึกได้ง่ายๆ นอกจากนั้นค่าใช้จ่ายดำเนินการ ก็ยังสูงกว่าเรือฟริเกต ทำให้กองทัพเรือตัดสินใจเมื่อปลายปีที่แล้ว เปลี่ยนคอนฟิกูเรชั่นเรือล็อตท้ายๆ ราว 10 ลำ ให้มีขีดความสามารถในระดับเรือฟริเกต และ สัญญาว่าเมื่อเวลาผ่านไป ค่าใช้จ่ายต่อเที่ยวปฏิบัติการจะค่อยๆ ลดลงสู่ "ระดับที่ยอมรับได้"

นอกจากเรือชั้นฟรีดอมทั้ง 3 ลำ ปัจจุบันยังมีเรือ LCS ชั้นอินดีเพนเด้นต์ (Independence-Class) ที่ต่อแล้วเสร็จอีก 3 ลำ คือ เรือ USS Independence, LCS 2 เรือโคโรนาโด (USS Coronado, LCS 4) และ เรือแจ็กสัน (USS Jackson, LCS 6) ที่เพิ่งจะขึ้นระวางประจำการ วันที่ 5 ธ.ค.ที่ผ่านมา เป็นลำล่าสุดของชั้น ในโครงการต่อเรือโจมตีชายฝั้งทั้งสองชั้น รวมกันทั้งหมด 18 ลำ

เดือน ต.ค.ปีที่แล้ว ได้มีพิธีปล่อยลงน้ำ และ ตั้งเชื่อให้แก่เรือดีทรอยต์ (USS Detroit, LCS 7) ซึ่งเป็นลำที่สี่ของเรือชั้นฟรีดอม ก่อนหน้านั้นในเดือน ส.ค. ได้มีการจัดพิธีปล่อยลงน้ำเรือชั้นอินดีเพนเด้นต์อีกลำหนึ่ง และ จัดพิธีตั้งชื่อในเดือน พ.ย.ถัดมา คือเรือมอนต์โกเมอรี (USS Montgomery, LCS 8) เป็นที่สี่และลำล่าสุดของชั้น.
กำลังโหลดความคิดเห็น