xs
xsm
sm
md
lg

ชาวพม่าตัดสินชะตา "อองซานซูจี" กำหนดทิศทางประเทศ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>ภาพงดงาม -- ชาวพม่าเข้าแถวยาวรอใช้สิทธิ์หย่อนบัตรเลือกตั้งแต่เช้าตรู่ ในย่านหนึ่งของนครย่างกุ้ง ที่มีทั้งชาวพุทธ ชาวอิสลาม และ ชาวฮินดู อาศัยอยู่ด้วยกันอย่างหนาแน่น ประชาชนทุกศาสนาเคยอยู่ภายใต้ระบอบทหารมานาน และ ได้เห็นการปฏิรูปของรัฐบาลกึ่งพลเรือนมาเป็นเวลา 5 ปี แต่ในขณะเดียวกันก็มีสตรีอีกคนหนึ่ง ที่เคยนำการต่อสู้ และอยู่ในจิตใจของผู้คนมาเป็นเวลานานเกือบ 3 ทศวรรษเช่นกัน การเลือกตั้งวันอาทิตย์นี้ มีเดิมพันใหญ่เป็นอนาคตของ วีรสตรีประชาธิปไตย กับ อนาคตของประเทศ. -- REUTERS/Olivia Harris. </b>

MGRออนไลน์ -- ไม่ว่าใครจะชอบหรือไม่ชอบ หรือกระทั่งเกลียดนางอองซานซูจี ด้วยเหตุผลกลใดก็ตาม แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ชื่อนี้มีอิทธิพลมากมาย และ อยู่คู่การเมืองในพม่ามานาน ทั้งยังเป็นเสมือนปิศาจที่หลอกหลอนคณะปกครองทหารตั้งแต่ 30 ปีที่แล้ว และ บุตรีของบิดาแห่งเอกราชคือ นายพลอองซาน ก็ยังเป็นศูนย์กลางแห่งความสนใจ ในการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ วันอาทิตย์ 8 พ.ย.ขณะนี้

นักวิเคราะห์ นักวิชาการ หลายคน ได้ชี้ให้เห็น "จุดอ่อน" หรือ กระทั่ง "จุดดับ" ของนางซูจีเอาไว้มากมาย บางคนชี้ว่าชาวพม่าซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ อยู่ในพื้นที่ชนบท ห่างไกลจากข้อมูลข่าวสาร หาเช้ากินค่ำ ไม่รู้จักและไม่มีศรัทธาในตัวนางซูจี ซึ่งผู้นำฝ่ายค้านกับ (พรรค) สันนิบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ National League for Democracy กำลังจะพ่ายประธานาธิบดีเต็งเส่ง ผู้นำพรรครัฐบาล ที่มีกองทัพหนุนหลัง

แต่ถ้าหากภาพในช่วงรณรงค์หาเสียง ที่ดำเนินมาเกือบ 2 เดือน ไม่ใช่ภาพลวงตา และ บอกเล่าความเป็นจริงอะไรบางอย่าง ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ ก็อาจจะออกมาในทางตรงข้าม คือ ชาวพม่าหลายสิบล้านคน กำลังไปหย่อนบัตรเลือกนางซูจีขึ้นสู่อำนาจ เพื่อพัฒนาประเทศ ตามแนวทางประชาธิปไตยตะวันตกต่อไป และ นำพม่าให้พ้นจากระบอบทหารโดยสิ้นเชิง

ทั้งหมดต่อไปนี้เป็นมุมมองของเคลลี แม็กนามารา (Kelly McNamara) กับ หลา หลา ถาย (Hla Hla Htay) ผู้สื่อกับนักเขียน แห่งสำนักข่าวเอเอฟพี ที่รายงานจากนครนย่างกุ้ง :

ขณะไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง หย่อนบัตรลงคะแนนที่หน่วยเลือกตั้ง ที่โรงเรีบนหลังหนึ่งในนครย่างกุ้ง ตอนเช้าวันอาทิตย์นี้ นางซูจีสวมชุดวัฒนธรรมประจำชาติ มีดอกไม้แซมผม อันเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น มีผู้สื่อข่าวล้อมหน้าล้อมหลัง ผู้สนับสนุนจำนวนมากแห่กันไปที่นั่นพร้อมส่งเสียงตะโกน "ชัยชนะ ชัยชนะ" ทำให้ "วีรสตรีเพื่อประชาธิปไตย" ต้องเดินเบียดเสียดในฝูงชน

พรรค NLD มั่นใจว่า การเลือกตั้งที่สะอาดและยุติธรรม จะทำให้พรรคฝ่ายค้านใหญ่ได้ขึ้นสู่อำนาจ จัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ พ้นจากเงื้อมมือเผด็จการทหาร ที่ปกครองมายาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ ถึงแม้ว่าในช่วงปีหลังๆ จะยอมคลายมือลง และ พม่าบริหารโดยรัฐบาลกึ่งพลเรือน ตลอด 5 ปีที่ผ่านมาก็ตาม

แต่นางซูจีซึ่งเป็นเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพคนหนึ่ง ถูกกีดออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี โดยรัฐธรรมนูญที่เขียนขึ้นตามบัญชาของกองทัพ และ ที่ผ่านมา NLD กับบรรดาพรรคฝ่ายค้าน ต้องต่อสู้ในรัฐสภา ที่มีผู้แทนแต่งตั้งจากกองทัพรวมอยู่ด้วย 1 ใน 4

ผู้สนับสนุนเรียกขานด้วยความรักใครและศรัทธาว่า "แม่ซู" (Mother Suu) นางซูจีเป็นหัวขบวนของฝ่ายประชาธิปไตยในพม่า และ เป็นกำลังหลักของ NLD ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านใหญ่ที่สุด

"ผมหย่อนบัตรลงคะแนนแล้ว ผมได้ทำหน้าที่ของผมแล้ว" นายมี้นออง (Myint Aung) วัย 74 ปี กล่าวที่หน่วยเลือกตั้ง หน่วยเดียวกับที่นางซูจีไปใช้สิทธิ์ เขาชูนิ้วก้อยที่จุ่มหมึกสีม่วงให้ดู อันเป็นเครื่องบ่งบอกว่าได้ใช้สิทธิ์แล้ว ทั้งยังพูดทีเล่นทีจริงอีกว่า .. "ผมเลือกคนๆ หนึ่งที่ประชาชน ต้องการให้บริหารประเทศ"
.
<FONT color=#00003>ผู้นำฝ่ายค้านไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ตอนเช้าวันอาทิตย์นี้ที่โรงเรียนหลังหนึ่งในนครย่างกุ้ง ท่ามกลางกองทัพผู้สื่อข่าวกับบรรดาผู้นับสนุน ปีนี้ 70 เวลาอาจจะหมดลงแล้วสำหรับการต่อสู้เพื่อไปสู่ตำแหน่งสูงสุดทางการเมือง แม่ซู กับพรรค NLD และพันธมิตรจะต้องได้เสียงถึง 2 ใน 3 ของรัฐสภา ในการเลือกโหวตประธานาธิบดีคนใหม่ ที่จะติดตามมาหลังการเลือกตั้ง. -- Associated Press/Khin Maung Win. </b>
2
<FONT color=#00003>ประธานาธิบดีเต็งเส่ง โบกมือให้ผู้สนับสนุน ขณะไปใช้สิทธิ์พร้อมกับนางจ่ายจายภริยาในกรุงเนปีดอ ปีนี้อายุ 70 เท่ากับนางอองซานซูจี แต่ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพ และ ต้องการเสียงประมาณกึ่งหนึ่ง หรือต่ำกว่านั้น เพื่อผนึกกำลังกับ สส.และ สว.โควตากองทัพอีก 1 ใน 4 ในการอยู่ในตำแหน่งต่อไปอีก 5 ปี. -- Associated Press/Aung Shine Oo. </b>
3
ชาวพม่าซึ่งหลายคนนุ่งโสร่งลองจี เครื่องแต่งกายของคนทั่วไป ไปเข้าคิวกันยาวเหยียดตั้งแต่ก่อนสว่าง ตามคูหาเลือกตั้งต่างๆ ทั่วประเทศ แสดงให้เห็นถึงความกระตือรือล้น ต่อการเลือกตั้งที่เป็นขีดหมายสำคัญ และ หวังกันว่าการเลือกตั้งวันนี้่จะเป็นครั้งที่ยุติธรรมที่สุด

ประเทศนี้ตกอยู่ใต้การปกครองที่โหดร้ายของกองทัพ เป็นเวลาห้าทศวรรษ โดยปฏิบัติต่อฝ่ายตรงข้ามอย่างรุนแรง หรือ ส่งเข้าคุก แต่ฉับพลันทันใดในปี 2554 คณะปกครองทหาร ก็ได้มอบโอนอำนาจให้รัฐบาลกึ่งพลเรือน ที่นำโดยบรรดาอดีตนายพลระดับสูง ซึ่งแต่นั้นมาได้ทำการปฏิรูปอย่างรอบด้าน ตั้งแต่เศรษฐกิจของประเทศที่เคยบริหารโดยรัฐ ผ่อนคลายกฎเหล็กต่างๆ รวมทั้งปล่อยผู้ที่ถูกจับกุมคุมขังโดยสาเหตุทางการเมืองหลายพันคน

มีชาวพม่า 30 ล้านคน มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งครั้งนี้ อันเป็นเหตุการณ์ที่มีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างขวาง ในประเทศที่มีดินแดนอันกว้างใหญ่แต่ยังยากจน ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวนมากยังคงวิตกว่า ฝ่ายทหารจะทำอย่างไรต่อไป ถ้าหากพวกเขาพ่ายแพ้การเลือกตั้งวันนี้

การเลือกตั้งครั้งก่อนๆ รวมทั้งเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ล้วนเต็มไปด้วยข่าวคราวเกี่ยวกับการโกง สารพัดหลากหลายวิธี แต่เจ้าหน้าที่คณะกรรมาธิการการเลือกตั้งแห่งชาติยืนยันว่า การเลือกตั้งล่วงหน้าที่ผ่านมา ดำเนินไปด้วยดี อย่างเรียบร้อย

"จนบัดนี้เราก็ยังไม่ได้รับการร้องเรียนใดๆ" นายวินนาย (Win Naing) เจ้าหน้าที่คณะกรรมาธิการฯ ดังกล่าวบอกเอเอฟพี

การลงคะแนนจะยุติลงในบ่ายวันนี้ ซึ่งเหลืออีกเพียงชั่วโมงเศษๆ ข้างหน้า แต่การนับคะแนนให้ครบทั้งหมดทั่วประเทศนั้น อาจจะต้องใช้เวลาอีกหลายวัน หรือ เร็วที่สุดก็อาจจะเป็นวันจันทน์ ความสนใจจึงพุ่งไปที่สำนักงานใหญ่พรรคฝ่ายค้านในนครย่างกุ้งทันที ซึ่งที่นั่นจะเฝ้าติดตามผลการนับคะแนนจากทั่วประเทศ แสดงผ่านจอขนาดใหญ่ให้ผู้คนทั่วไปได้ชม

*ถูกกันจากตำแหน่งประธนาธิบดี*

นางซูจีลงสนามเลือกตั้งครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2533 ซึ่งครั้งนั้นพรรคฝ่ายค้ายมีชัย โดยกวาดคะแนนแบบถล่มทลาย แต่ฝ่ายทหารเพิกเฉิยต่อผลการเลือกตั้งที่ออกมา และ ส่งนางซูจีเข้าคุกด้วยข้อหามากมาย ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้วิธีควบคุมตัว ให้อยู่ในบ้านพัก ตลอดเวลาอีก 20 ปีต่อมา

ตอนนี้อายุ 70 และ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ที่ร่างขึ้นมาภายใต้บัญชาของฝ่ายทหาร บัญญัติห้ามบุคคลใดก็ตามที่สมรส หรือ มีทายาทกับชาวต่างชาติ มิให้ขึ้นสู่ตำแหน่งสำคัญของชาติ ซึ่งนางซูจีแต่งงานกับศาสตราจารย์ชาวอังกฤษผู้หนึ่ง ที่ถึงแก่กรรมเมื่อหลายปีก่อน และ มีบุตร 2 คนที่มีสัญชาติอังกฤษ
.


4

5

6

7
<br><FONT color=#00003>ชาวมุสลิมพม่าที่ไม่ใช่โรฮิงญามีสิทธิ์เลือกตั้งเช่นพลเมืองทั่วไป แต่ชาวมุสลิมโรฮิงญาหลายแสนคนไม่เคยได้สัญชาติเป็นพลเมืองพม่า และ ไม่มีสิทธิ์กำหนดชะตาประเทศในการเลือตั้งวันอาทิตย์นี้ ชาวมุสลิมในภาพเข้าแถวกันรอคิว ที่หน่วยเลือกตั้งในนครมัณฑะเลย์ ไม่มีผู้ใดเดาใจได้ว่า คนกลุ่มนี้จะลงคะแนนให้พรรคใด. -- Associated Press/Hkun Lat. </b>
8
ทุกคนทราบดีว่า บทบัญญัติดังกล่าวมีขึ้นโดยพุ่งเป้าไปที่นางซูจีเป็นการเฉพาะ และ วันพฤหัสบดีทีผ่านมา ผู้นำฝ่ายค้านได้ประกาศให้สาธารณชนทั่วไปทราบว่า ถ้าหาก NLD มีชัย ก็จะได้เห็นนางอยู่ในตำแหนงที่ "อยู่เหนือประธานาธิบดี" ซึ่งเป็นการท้ายท้ายกองทัพ แต่ก็ไม่มีผู้ใดออกมาแสดงการขัดขวาง ความปรารถนาทางการเมืองนี้

นางซูจีเคยถูกประชาคมระหว่างประเทศ วิพากษ์วิจารณ์ กรณีที่ไม่ได้แสดงออก ในการปกป้องชาวมุสลิมในพม่าให้พ้นการกดขี่ข่มเหง โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวโรฮิงญาในรัฐระไคที่ไม่เคยสงบสุข และ ชาวโรฮิงญานับแสนๆ คนถูกกันออกไปจากการเลือกตั้งครั้งนี้ ด้วยคำอธิบายที่ว่า คนเหล่านั้นไม่ได้เป็นพลเมืองของพม่า หากเป็นเพียงคนพลัดถิ่น หรือ คนเข้าเมืองผิดกฎหมาย แม้ว่ามีจำนวนมากอาศัยอยู่ในพม่ามาเป็นเวลานานนับอายุคนก็ตาม

การเลือกตั้งครั้งนี้ยังไม่ได้รวมในหลายท้องถิ่นตามแนวชายแดนของประเทศ ซึ่งเป็นเบตที่ยังมีการสู้รบระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ

อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้สนับสนุนนางซูจี ซึ่งจำนวนมากเป็นผู้ไปใช้สืทธิ์ออกเสียงครั้งแรก ต่างเชื่อว่าผู้นำฝ่ายค้านกำลังจะกวาดชัยชนะอย่างท่วมท้นอีกครั้งหนึ่ง อันเป็นไปตามกำหนดชะตาของนาง ที่จะเป็นผู้นำบริหารประเทศ

"ฉันรู้สึกตื่นเต้น นอนไม่หลับทั้งคืน" ออนมา วิน (Ohnmar Win) วัย 38 ปีกล่าวกับเอเอฟพี

"มันเป็นการใช้สิทธิ์ครั้งแรกของฉัน ได้ทำดีที่สุดแล้ว เย็นวันนี้ฉันจะไปรอที่สำนักงานใหญ่เอ็นแอลดี เพื่อรอฟังผล" นางวินกล่าว

การจะมีเสียงข้างมากเพียงพอ ที่จะเลือกประธานาธิบดีได้โดยลำพังนั้น พรรคฝ่ายค้านใหญ่จะต้องมีเสียงข้างมาก 2 ใน 3 แต่ก็สามารถรวมกลุ่มเป็นพันธมิตรกับกับฝ่ายค้านกลุ่มอื่นๆ ได้

อีกซีกหนึ่งคือ พรรคสหภาพเพื่อสมานฉันท์และการพัฒนา (Union Solidarity and Development Party) หรือ USDP ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพ และ นำโดยบรรดานายพลเก่าที่เคยครองอำนาจมาก่อน รวมทั้งประธานาธิบดีเต็งเส่ง ที่เคยเป็นทั้งนายกรัฐมนตรี และ เลขาธิการที่ 1 คณะปกครองทหารเมื่อก่อน

"พรรคทหาร" หรือ USDP ต้องการเสียงเพียงประมาณ 1 ใน 4 เท่านั้น เพื่อผนึกกำลังกับผู้แทนจากกองทัพอีก 1 ใน 5 ที่เข้าสภา ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ และ ลงคะแนนเลือกธานาธิบดีกันอีกครั้งหนึ่ง ที่เชื่อกันว่าจะเป็นคนเดิม.
กำลังโหลดความคิดเห็น