xs
xsm
sm
md
lg

“ซูจี” เตือนอย่ากล่าวเกินจริงถึงชะตากรรมชาวโรฮิงญาในพม่า

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>อองซานซูจี หัวหน้าพรรค NLD ขณะกล่าวกับสื่อถึงการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้น ในการแถลงข่าวที่บ้านพักในนครย่างกุ้ง วันที่ 5 พ.ย.--Reuters/Jorge Silva.</font></b>

เอเอฟพี - อองซานซูจี หัวหน้าพรรคฝ่ายค้านของพม่ากล่าวว่า เป็นสิ่งสำคัญที่จะไม่กล่าวเกินจริงถึงชะตากรรมของชาวโรฮิงญาในประเทศ ที่หลายแสนคนถูกกันออกจากการเลือกตั้งครั้งสำคัญในวันอาทิตย์ (8)

ซูจี เผชิญต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากต่างชาติเกี่ยวกับการไม่พูดสนับสนุนชาวโรฮิงญา ชนกลุ่มน้อยมุสลิมที่ได้รับความยากลำบากจากเหตุรุนแรงระหว่างชุมชนในพม่าในช่วงที่ความรู้สึกชาตินิยมทางศาสนาขยายตัว

การเลือกตั้งทั่วไปในพม่าถูกยกว่าเป็นการเลือกตั้งครั้งที่เป็นธรรมที่สุดในรอบหลายทศวรรษ แต่กลับมีชาวโรฮิงญาหลายแสนคนจากรัฐยะไข่ถูกตัดสิทธิการมีส่วนร่วม

“มันเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่เราไม่ควรพูดเกินจริงถึงปัญหาดังกล่าว” ซูจี กล่าวต่อผู้สื่อข่าวที่ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติในการแถลงข่าวในนครย่างกุ้ง เมื่อถูกถามถึงชาวโรฮิงญาที่เป็นเหยื่อของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

“ฉันไม่ได้พูดว่านี่เป็นปัญหาเล็กๆ” ซูจี กล่าวเสริมอย่างรวดเร็ว และพูดว่า หากพรรคของเธอชนะ ทุกคนในประเทศจะได้รับการปกป้องคุ้มครองอย่างเหมาะสมตามกฎหมาย

เมื่อสัปดาห์ก่อน ศูนย์สิทธิมนุษยชนของโรงเรียนกฎหมายมหาวิทยาลัยเยล ในสหรัฐฯ ได้ออกบทวิเคราะห์ทางกฎหมายความยาว 80 หน้า อ้างว่าพบหลักฐานที่ระบุว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เกิดขึ้นต่อชาวโรฮิงญา

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ชาวโรฮิงญาหลายหมื่นคนได้หลบหนีออกจากยะไข่ทางทะเล ที่มักไปขึ้นฝั่งมาเลเซียเพื่อหาโอกาสที่ดีกว่า แต่เหตุปะทะรุนแรงในปี 2555 ในรัฐยะไข่ ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 200 คน และอีกราว 140,000 คน ต้องไร้ที่อยู่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวโรฮิงญา

รัฐบาลพม่าได้ยืนยันว่า ชาวโรฮิงญาไม่ได้เผชิญการกดขี่ข่มเหง และโต้แย้งว่า คนเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นผู้อพยพผิดกฎหมายจากบังกลาเทศ แม้ความจริงแล้วหลายคนใช้ชีวิตอยู่ในพม่ามาหลายชั่วอายุคนก็ตาม

ในรัฐยะไข่ ชาวโรฮิงญาเผชิญต่อข้อจำกัดเกี่ยวกับการจ้างงาน และการเดินทาง ซึ่งหลายคนอาศัยในค่ายผู้พลัดถิ่น

เมื่อเดือนก่อน องค์การนิรโทษกรรมสากลระบุว่า ชาวโรฮิงญาเผชิญต่อภาพอันเจ็บปวดของการโจมตีของกลุ่มม็อบ การเสียชีวิต และหายตัว ในรัฐยะไข่ ขณะที่มีการเตือนว่าผู้ลักลอบค้ามนุษย์อาจกลับมาดำเนินการต่อ

ความคิดเห็นของซูจีมีขึ้นเมื่อที่ปรึกษาพิเศษของสหประชาชาติด้านการป้องกันการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เตือนถึงการตกเป็นคนชายขอบของชนกลุ่มน้อยทางศาสนา โดยเฉพาะชาวมุสลิมโรฮิงญา

ไม่มีพรรคการเมืองใหญ่พรรคใด รวมทั้งพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยของซูจี ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งชาวมุสลิมลงแข่งขันในการเลือกตั้งวันอาทิตย์ แม้ชาวมุสลิมจะมีจำนวนอยู่ประมาณ 5% ของประชากรทั้งหมดในประเทศก็ตาม.
กำลังโหลดความคิดเห็น