ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- บริษัทเรธีออน (Raytheon Company) เพิ่งจะออกแนะนำ ระบบยิงจรวดนำวิถี "อีเกิลไฟร์" (EagleFire) ในช่วงไม่กี่วันมานี้ ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดของจรวดยิงรถถังในครอบครัวโทว (TOW) และ เป็นการพัฒนาสูงสุดอีกขึ้นตอนหนึ่ง ของจรวดที่มีชื่อเสียง และ ใช้งานมานานที่สุด แพร่หลายที่สุด น่าเกรงขามที่สุดอีกรุ่นหนึ่งของโลก บริษัทนี้ยังกล่าวอีกว่า ระบบยิงรุ่นล่าสุด มีขนาดเล็กลงกว่า TOW-2 ประสิทธิภาพสูงกว่า ใช้ง่ายกว่าและราคาถูกลงอีกด้วย
"เราได้ปรับรุงการตรวจจับเป้าหมายและปฏิบัติการ จากที่เคยใช้ในระบบยิงจรวดโทว 2" ดเวน กูเดิน (Duane Gooden) รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายระบบสงครามทางบก (Land Warfare System) ระบุในคำแถลงฉบับหนึ่งที่ออกเมื่อวันศุกร์ โดยระบบยิง "ไฟอินทรี" ดูแลได้ง่ายกว่า และ เชื่อมั่นได้มากกว่า ทั้งนี้เป็นผลจาก อุปกรณ์ทดสอบ (Test Equipment) รุ่นใหม่ที่ติดตั้ง และ ลดจำนวนส่วนประกอบย่อยของระบบลง
สิ่งที่ปรับปรุงใหม่อื่นๆ ยังรวมทั้งกล้องเล็งเป้าหมาย ที่สามารถหาระยะยิงเอง ชุดหิ้วถือที่เข้ากับการยศาสตร์ กับขีดความสามารถในการทดสอบ (ก่อนยิง) ที่ติดตั้งมาในตัว และ ยังใช้แบตเตอรีลิเธียมไออน ที่ใช้งานได้ยาวนานถึง 9 ชั่วโมง นอกจากนั้่นก็ยังมีเครื่องชาร์จแบตฯ ไฟเอซี (กระแสสลับ) รุ่นใหม่ จากพาหนะที่ติดตั้งจรวดอีกด้วย
"เนื่องจากระบบใหม่ได้ลดความสลับซับซ้อนลง เรายังสามารถให้สมรรถนะที่เหนือกว่าในสัมภาระที่เล็กลง .. จรวดโทวอีเกิ้ลไฟร์เหมาะกับวิวัฒนการของจรวดในอนาคต" นายกูเดนกล่าว
โทวเป็นระบบอาวุธนำวิถีที่มีชื่อเสียงที่สุดรุ่นหนึ่งของโลก มีชื่อเต็มว่า Tube-launched, Optically-tracked, Wireless-guided Weapon System อันเป็นมาของชื่อเรียก TOW แต่ชื่ออย่างเป็นทางการาในระบบของกองทัพบกสหรัฐคือ จรวด BGM-71 นี่คือ จรวดที่ยิงจากท่อยิง นำวิถีด้วยการส่งสัญญาณอิเลกทรอนิกส์บังคับทิศทาง ผ่านสายไฟใยแก้วนำแสง ที่ติดตั้งอยู่ส่วนท้ายของจรวด ในขณะพุ่งไปโจมตีเป้าหมาย
.
.
.
เริ่มใช้มาตั้งแต่สงครามเวียดนาม กำลังจะครบ 53 ปีในเดือน ธ.ค.ปีนี้ แต่กว่าห้าสิบปีที่ผ่านมา มีการพัฒนาและผลิตออกมาเป็น 3 รุ่นใหญ่ ซึ่งได้แก่ TOW 2A, TOW 2B "เอโร" (Aero) กับ TOW Bunker Buster ทั้งหมดมีขีดความสามารถในการยิงทำลายยานเกราะ ป้อมหรืออาคาร ที่มีระบบป้องกันแน่นหนา ยิงจากระยะไกลและมีความแม่นยำสูง แบ่งออกเป็นรุ่นย่อยอีกนับสิบรุ่นตามลักษณะของหัวรบ หรือ ระบบย่อยที่ติดตั้งเพิ่มเติม ในปัจมีใช้ในเกือบ 50 ประเทศทั่วโลก
จรวดยิงรถถังครอบครัวนี้ผ่านการใช้งาน พิสูจน์ตัวเองครั้งใหญ่ในสงครามอิรัก ปี 2534 และ อีกครั้งหนึ่งในปี 2546
ตามข้อมูลของบริษัทผู้ผลิต จนถึงปัจจุบันมีการจัดส่งจรวด BGM-71 ให้แก่กองทัพบกกับนาวิกโยธินสหรัฐ และ ลูกค้าอื่นๆ ที่เป็นชาติพันธมิตรในต่างแเดน รวมทั้งในกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมเป็นจำนวนกว่า 690,000 ลูก และ ติดตั้งบนยานพาหนะอีกกว่า 15,000 คัน สำหรับกองทัพสหรัฐจะยังใช้จรวดยิงรถถังรุ่นนี้ ต่อไปจนถึงปี 2468
เดือน มิ.ย.ปีที่แล้ว เรย์ธีออน ได้เซ็นความตกลงฉบับหนึ่งกลับกลุ่มบริษัททาเลส (Thales) แห่งฝรั่งเศส ในแผนความร่วมมือ 5 ปี เพื่อร่วมกันพัฒนาจรวดโทว เพื่อผลิตจรวดรุ่นใหม่สำหรับลูกค้า ที่จะเริ่มส่งมอบในปี 2548 นี้ ด้วยเงินลงทุนอีกหลายสิบล้านดอลลาร์
.
2
เดือน เม.ย.ปีที่แล้ว เรย์ธีออนออกคำแถลงฉบับหนึ่งจากสำนักงานใหญ่เมืองทูซอน รัฐแอริโซนา ระบุว่าได้เซ็นสัญญาจัดซื้อจัดหากับ "ลูกค้าระหว่างประเทศหนึ่งราย" มีมูลค่าประมาณ 750 ล้านดอลลาร์ และ จะมีการส่งมอบจรวดโทวจำนวนเกือบ 14,000 ลูก ตั้งแต่ปี 2558 นี้่เป็นต้นไป หลังจากได้รับอนุมัติจากรัฐบาล (และรัฐสภา) สหรัฐ โดยไม่ได้ระบุตัวตนของลูกค้ารายใหญ่ดังกล่าว แต่ทราบกันทั่วไปในวงการว่าเป็นซาอุดิอาระเบีย
ในช่วง 2-3 ปีมานี้ โลกได้เห็นการใช้จรวดโทวอย่างแพร่หลาย โดยนักรบกองทัพซีเรียเสรี หรือ Free Syrian Army ที่ต่อสู้กับรัฐบาลประธานาธิบดีบาร์ชาร์ อัล-อัสสาด โดยได้รับการสนับสนุนทั้งอาวุธยุทโธปกรณ์และงบประมาณ จากสหรัฐ กับชาติพันธมิตรกลุ่มนาโต้
ตามตัวเลขที่รวบรวมโดยแหล่งข่าวกลาโหมที่เชื่อถือได้ ในช่วง 2 ปีเศษมานี้มีรถถังรัฐบาลถูกยิงทำลายด้วยจรวดโทว กว่า 100 คัน ในสงครามกลางเมืองซีเรีย และ ถึงแม้ว่ารัสเซียจะออกปฏิบัติการทิ้งระบบฝ่ายต่อต้านรัฐบาลในกรุงดามันสกัส อย่างหนักในช่วงข้ามเดือนมานี้ก็ตาม กลุ่ม FSA ก็ยังออกปฏิบัติการด้วยจรวดโทวอย่างแพร่หลายต่อไป เนื่องจากใช้งานง่าย ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องผ่านการฝึกมากมาย และ ยังเป็นจรวดนำวิถีที่มีน้ำหนักเบาขนย้ายสะดวกด้วย
ไม่เพียงแต่จรวดยิงรถถัง TOW เท่านั้นที่ใช้ในสงครามกลางเมืองซีเรีย กลุ่มสาธารณรัฐอิสลามหรือ ISIS (หรือ IS, ISIL) และ กบฏกลุ่มอื่นๆ ยังคงใช้จรวดยิงรถถัง ที่ผลิตในโซเวียต/รัสเซีย ต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาลต่อไปเช่นกัน.