xs
xsm
sm
md
lg

ลาก่อนฮัมวี.. สวัสดี L-ATV น้องใหม่ทนถึกบึกบึน เกราะเหล็กรอบคัน RPG ไม่ได้แอ้ม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

<FONT color=#00003>อ๊อชคอชดีเฟนส์ บริษัทลูกของกลุ่มอ๊อชคอช คอร์ปอเรชั่น บริษัทผลิตรถบรรทุกหนักเก่าแก่อายุกว่า 90 ปี เรียกยานยนต์ต้นแบบของตนในภาพนี้ว่า L-ATV (Light Combat Tactical All-Terrain Vehicle) หรือ ยานยนต์โจมตีทางยุทธวิธีสำหรับทุกสภาพพื้นที่ ซึ่งจะเป็นผู้สืบทอดภารกิจต่อจาก HMMWV ฮัมวี ที่เริ่มนับถอยหลังสู่การปลดประจำการ ในช่วง 10 เดือนข้างหน้านี้เป็นต้นไป และ กลายเป็นตำนาน 30 ปี ในช่วงหลังสงครามเวียดนาม. -- Oshkosh Defense. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - กลายเป็นข่าวใหญ่ทางด้านกลาโหมไปทั่วโลกในช่วง 24 ชั่วโมงมานี้ คงไม่มีอะไรเกินการเซ็นสัญญาว่าจ้างบริษัทผลิตรถบรรทุกแห่งหนึ่งในรัฐวิสคอนซิน ให้ผลิตยานยนต์ขนส่ง/โจมตีหุ้มเกราะรุ่นใหม่ สำหรับกองทัพบก กับกองกำลังนาวิกโยธินสหรัฐฯ เพื่อนำเข้าประจำการแทนฮัมวี (Humvee) ที่ผ่านการใช้งานมานาน 30 ปี ซึ่งเป็นสัญญาการจัดซื้อจัดจ้างมูลค่าราว 6,750 ล้านดอลลาร์ สำหรับยานยนต์รุ่นใหม่ 17,000 คัน ในระยะแรก

บริษัทอ๊อชคอช (Oshkosh) ผู้ผลิตรถบรรทุกหนัก กับยานยนต์หุ้มเกราะ ที่ก่อตั้งมานานกว่า 90 ปี ได้รับเลือกในการประกวดราคา โดยสามารถเอาชนะคู่แข่งที่ล้วนแต่เป็นบริษัทผลิตอาวุธชั้นนำระดับโลก คือ ล็อกฮีดมาร์ติน (Lockheed Martin) กับบริษัทบีเออีซีสเต็ม (BAE System Plc) ประเทศอังกฤษ กลุ่มหนึ่ง และอเมริกันเจเนอรัล (AM General) ผู้ผลิตรถฮัมวี ซึ่งในครั้งนี้ผนึกกำลังกับเจเนอรัลไดนามิกส์ (General Dynamics) บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำอีกกลุ่มหนึ่ง

กองทัพบก กับกองกำลังนาวิกโยธิน ประกาศเรื่องนี้วันอังคาร 25 ส.ค.ที่ผ่านมา ตามเวลาในสหรัฐฯ

นับเป็นการเริ่มนับถอยหลังอย่างเป็นทางการสำหรับการปลดระวางประจำการฮัมวี ยานขนส่งทางทหารชั้นนำ อันเป็นตำนานของโลกอีกรุ่นหนึ่งที่ผ่านงานมา 3 ทศวรรษ มีประสบการณ์โชกโชนในหลายสมรภูมิ ตั้งแต่การรุกรานประเทศปานามา สงครามในคาบสมุทรบัลข่าน ในโซมาเลีย สงครามคูเวต สงครามในอิรัก และอัฟกานิสถาน และอีกครั้งหนึ่งในอิรัก ในสงครามกวาดล้างกลุ่มสาธารณรัฐอิสลาม

ฮัมวี เป็นยานขนส่งทางทหารที่มีใช้ในหลายประเทศที่เป็นพันธมิตรของสหรัฐฯ ทั่วโลก รวมทั้งกองทัพบกไทย ที่เคยมีประจำการอยู่ราว 1,200 คัน

การจัดหายานยนต์รุ่นใหม่เป็นโครงการร่วมกันระหว่าง 2 หน่วยรบ จึงใช้ชื่อว่า Joint Light Tactical Vehicle หรือ JLTV โดยกองกำลังนาวิกโยธินจะซื้อ จำนวน 5,500 คัน ตั้งแต่นี้ไปจนถึงปี 2020 หรือตลอด 5 ปีข้างหน้า ในขณะที่กองทัพบกจะซื้อ 12,000 คัน ในชั้นแรกนี้ สัญญาจัดซื้อจัดจ้างที่เซ็นกันในวันอังคาร ระบุว่า การส่งมอบจะมีขึ้นใน 10 เดือนหลังจากนี้ และการสั่งซื้อเต็มอัตราของสองหน่วยรบจะเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561 เป็นต้นไป ซึ่งจะเป็นปีที่สายการผลิตเดินเครื่องได้เต็มกำลัง

เมื่อนับรวมตลอดระยะเวลาในโครงการจัดหา ทั้ง 2 เหล่าจะจัดซื้อยานยนต์รุ่นใหม่รวมกันประมาณ 55,000 คัน มูลค่าราว 30,000 ล้านดอลลาร์ กองทัพบกสหรัฐฯ ซึ่งจะซื้อ จำนวน 49,099 คัน ระบุในคำแถลงฉบับหนึ่งที่ออกในกรุงวอชิงตันดีซี
.

.
โครงการ JLTV ดำเนินมาเป็นเวลาหลายปี ผู้ร่วมการประกวดราคาทั้ง 3 ราย ได้นำเสนอรถต้นแบบจำนวนหลายสิบคัน ตามสเปกที่กองทัพสหรัฐฯ ต้องการ และได้เข้าสู่กระบวนการทดสอบ ภายใต้สภาพการณ์ต่างๆ ตลอด 14 เดือนที่ผ่านมา ทั้งในสภาพพื้นที่ทั่วๆ ไป ในทะเลทราย และ ในเขตภูเขาน้ำแข็งปกคลุม ภายใต้อุณหภูมิเย็นจัดอีกด้วย กองทัพบกกล่าว

ไม่เพียงแต่เตรียมปลดระวางประจำการฮัมวีตามอายุใช้งานเท่านั้น ทั้งกองทัพบก และกองกำลังนาวิกโยธินกำลังพยายามอย่างยิ่งในการจัดหายานยนต์ทดแทนที่มีคุณสมบัติเหนือกว่า มีการปกป้องคุ้มกันผู้โดยสารได้ดีกว่าฮัมวี โดยได้บทเรียนจากการสูญเสียกำลังมากขึ้นในสงครามอิรัก จากระเบิดที่ประกอบขึ้นเอง หรือ IED (Improvised Explosive Device) ที่ฝ่ายตรงข้ามวางดักไว้ริมถนน และตามเส้นทางต่างๆ

ตั้งแต่ไหนแต่ไรมา ฮัมวี ไม่ได้สร้างขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ในการสู้รบที่แนวหน้า ปัญหาก็จึงติดตามมามากมาย การสูญเสียกำลังพลมากขึ้น ทำให้ทั้งกองทัพบก และกองกำลังนาวิกโยธินต้องจัดหายานยนต์รุ่นใหม่เข้าไปใช้แทนเป็นการเฉพาะหน้า เรียกว่า “ยานคุ้มกันต่อต้านการลอบโจมตีด้วยวัตถุระเบิด (Mine Resistant Ambush Protected) สำหรับทุกสภาพพื้นที่ (M-ATV)” ซึ่งหุ้มเกราะหนาปกป้องผู้โดยสารจากอันตรายเมื่อถูกโจมตีด้วยอาวุธขนาดเล็ก ไปจนถึงปืนกล กระทั่งจรวดอาร์พีจี และ IED โดยเริ่มนำเข้าประจำการมาตั้งแต่ปี 2552 และบริษัทอ๊อชคอชเป็นผู้ผลิต

เพราะฉะนั้นยาน JLTV จะต้องเป็น MRAP หรือ M-ATV ไปในตัวด้วย ในขณะที่มีขนาดเล็กลง

กองทัพบกสหรัฐฯ กล่าวว่า JLTV ของอ๊อชคอช ได้เสนอหุ้มเกราะทั้งใต้ท้องรถ และรอบคัน เช่นเดียวกับกับ MRAP/M-ATV ซึ่งเกราะทั้งหมดจะกินน้ำหนักราว 2 ใน 3 ของรถ แต่บรรทุกกำลังพลได้มากขึ้น และทนทายาด เชื่อถือได้มากกว่าฮัมวี ยานยนต์แบบใหม่จะต้องเคลื่อนย้ายได้ด้วยเฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น ชินุก (CH-47 Chinook) หรือซูเปอร์สตาลเลียน (CH-53E Superstallion) หรือขนส่งได้ด้วยยานสะเทินน้ำสะเทินบก ซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้สำหรับ MRAP เนื่องจากขนาดอันใหญ่โต และมีน้ำหนักบรรทุกเต็มอัตรากว่า 14 ตัน
.
<FONT color=#000033>ภาพวันที่ 19 ส.ค.2558 ที่เผยแพร่ผ่านสำนักข่าวรอยเตอร์สัปดาห์นี้ เป็นการออกโชว์ของยานยนต์ต้นแบบ JLTV ของบริษัท ซึ่งวันอังคาร 25 ส.ค.ที่ผ่านมา ได้รับเลือกจากกองทัพบกกับเหล่านาวิกวิกโยธิน ให้เป็นผู้ผลิตลอตแรกจำนวน 17,000 คัน การส่งมอบจะเริ่มใน 10 เดือนข้างหน้า. -- Reuters/Oshkosh Corporation.</b>
2
อ๊อชคอซ เรียกรถต้นแบบของตนว่า L-ATV (Light Combat Tactical All-Terrain Vehicle) หรือ "ยานยนต์โจมตีขนาดเบาสำหรับทุกสภาพพื้นที่" และ ข้อมูลเบื้องต้นชี้ว่า L-ATV มีราคา 433,539 ดอลลาร์ต่อคัน เป็นราคาที่รวมค่าใช้จ่ายในการศึกษาวิจัย หรือ R&D ที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐเป็นผู้จ่าย เข้าไปด้วย

ข้อมูลของอ๊อชคอชระบุว่า L-ATV รุ่นพื้นฐาน มีมูลค่าการผลิตเฉลี่ยราว 200,000 ดอลลาร์ต่อคัน และ ได้ทำออกมา เสนอโครงการ JLTV หลายเวอร์ชั่น ทั้งในรูปแบบรถโจมตีทางยุทธวิธี (Combat Tactical Vehicle) ติดระบบปืนกลอัตโนมัติไร้การควบคุม ติดระบบจรวด อีกจำนวนหนึ่งเป็นรถสนับสนุนการโจมตี และ รถพยาบาล สำหรับกำลังพลบาดเจ็บ ฯลฯ เพื่อทดแทนภารกิจทั้งหมดขิงฮัมวี

จอห์น ไบรอัน (John Bryant) รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายโครงการกลาโหมของอ๊อชคอชกล่าวว่า ระบบ Core 1080 ที่ใช้ใน M-ATV ปัจจุบัน เป็นเหมือนระบบที่ใช้ในรถแข่ง ซึ่ง "คนขับสามารถเดินออกจากซากรถที่พังยับเยินน่าสะพรึงกลัว" ได้ ระบบดังกล่าวได้รับการพัฒนาขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง เพื่อใช้ใน JLTV ตามที่กองทัพต้องการ

บริษัทนี้เริ่มผลิต M-ATV ให้กองทัพบก ตามสัญญาจ้างเมื่อเดือน มิ.ย.2552 และ มีการทำสัญญาผลิตเพิ่มเติม เป็นล็อตเล็กๆ อีกหลายครั้งมาตั้งแต่นั้น รวมทั้งอีกกว่า 1,000 คันที่ผ่านการอัปเกรด/ติดตั้งระบบต่างๆ เพิ่มเติม ข้อมูลของกองทัพบกสหรัฐระบุว่า จนถึงปัจจุบันมีการนำเข้าประจำการยานพาหนะแบบนี้เกือบ 10,000 คัน

หลายปีมานี้ อ๊อชคอชยังได้รับว่าจ้าง ให้ทำการอัปเกรดรถฮัมวีอีกกว่าพันคัน ด้วยการติดตั้งระบบเสริมต่างๆ อันเป็นเทคโนโลยีของบริษัทเอง เช่น ระบบช่วงล่างขับเคลื่อนสี่ล้ออิสระ และ ระบบกันกระเทือน ปรับปรุงการกระจายกำลังของเครื่องยนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ระบบป้องกันผู้โดยสารภายใน หลายร้อยคันได้ติดตั้งป้อมปืน ที่ใช้ปืนกลอัตโนมัติไร้การควบคุม กำจัดอัตราเสี่ยงสำหรับพลปืน ที่จะต้องโผล่ท่อนบนของลำตัวขึ้นเหนือตัวรถ ซึ่งบ่อยครั้งตกเป็นเป้ากระสุนฝ่ายตรงข้าม
.

<FONT color=#00003>รถ M-ATV ต้นแบบของอ๊อชคอช มีเกราะรอบคัน พร้อมระบบเตือนภัย ระบบรบกวนคลื่นวิทยุ ป้องกันการโจมตีด้วยระเบิด ผลิตให้แก่กองทัพบกสหรัฐเพื่อใช้แทนฮัมวีเป็นการเฉพาะหน้า ไม่กี่ปีมานี้มีการผลิตออกมาราว 10,000 คัน การมี M-ATV เป็นข้อได้เปรียบสำคัญในการประกวดราคาโครงการ JLTV ครั้งนี้. -- Oshkosh Corporation. </b>
3
<FONT color=#00003>ยานยนต์ต้นแบบ JLTV ที่ AM General เรียกว่า Blast Resistant Vehicle Off-Road  ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา บริษัทนี้ผลิตฮัมวีกว่า 280,000 คัน และ ครั้งนี้ผนึกกำลังกับ General Dynamics ทำ BRV-O ออกมาแข่ง แต่ก็พ่าย L-ATV ของอ๊อชคอช และ บริษัทที่พ่ายการประกวดราคา มีสิทธิ์ยื่นประท้วงผลการตัดสินได้ภายใน 10 วัน. --  Reuters/AM General/Handout.</b>
4
<FONT color=#000033>ยานยนต์ต้นแบบ JLTV ของล็อกฮีดมาร์ติน อันเป็นผลผลิตร่วมกันกับบริษัท BAE Systems Plc จากอังกฤษ เคยเป็นเต็งหนึ่งในสายตาของหลายฝ่าย เนื่องจากทั้งสองบริษัทเป็นคู่สัญญาใหญ่ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ แต่ก็พ่ายยานยนต์ของอ๊อชคอช ซึ่งปัจจุบันก็เป็นผู้ผลิตรถหุ้มเกราะ ให้กองทัพบกใช้แทนฮัมวีเป็นการเฉพาะหน้า อ๊อชคอชยังได้รับว่าจ้างให้อัปเกรดฮัมวี จำนวนกว่าพันคัน. -- Reuters/Lockheed Martin.</b>
5
เกิดอะไรขึ้นกับฮัมวี?..

ไม่ได้บกพร่องอะไร เพียงแต่นำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ โดยเนื้อแท้ก็ยังเป็นพาหนะที่ผลิตขึ้นมาเพื่อการขนส่งในแนวหลัง ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อที่จะใช้ในการสู้รบปรบมือใดๆ มาตั้งแต่แรก ใต้ท้องจึงทำออกมาราบเรียบ เมื่อโดนระเบิดก็ไม่มีทางอื่น แต่จะพังยับเยินทั้งคัน หรือ กระเด็นกระดอนพลิกคว่ำไม่เป็นท่า ผู้โดยสารมีโอกาสรอดยาก หรือ ไม่ก็บาดเจ็บสาหัส ต่างกับยานยนต์ JLTV ที่บริษัทต่างๆ ผลิตออกมาแข่งขัน ที่ทำใต้ท้องเป็นรูปโค้งลง หรือ หักมุมอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อสะท้อนและลดผลกระทบจากแรงระเบิด

แต่ถึงแม้ว่าจะมีปัญหาอยู่มาก ฮัมวียังคงเป็นที่พึ่งของกำลังพลหน่วยราบตลอดมา

ติดเครื่องยนต์ดีเซลวี8 ขนาด 6.2 ลิตร หรือ วี8 เทอร์โบดีเซล 6.5 ลิตร ที่ให้แรงบิดมหาศาล รองรับโครงสร้างที่มีน้ำหนักถึง 2.6 ตัน เมื่อบรรทุกเต็มอัตรา แต่การเสริมเกราะหนาตามจุดสำคัญต่างๆ เพื่อรองรับการสู้รบในระยะหลังๆ ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นมหาศาลเช่นกัน จากที่เคยแล่นฉลิว 89-113 กิโลเมตรต่อชั่วโมงตามสเป็กดั้งเดิม ขีดความสามารถต่างๆ ถูกลดทอนลงอย่างมากมาย

ฮัมวียังคงตกเป็นเหยื่อระเบิดแทบจะรายวัน ในสงครามต่อต้านกลุ่มรัฐอิสลามในอิรัก นายกรัฐมนตรีไฮเดอร์ อัล-อะบาดี (Haider al-Abadi) ให้สัมภาษณ์โทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นต้นเดือน มิ.ย. ระบุว่า ปีนี้ กองทัพรัฐบาลสูญเสียฮัมวีไปถึง 2,300 คัน ในการสู้รบกลุ่มไอซิส ที่เมืองโมซุล (Mosul) เพียงแห่งเดียว

ทั้งหมดเป็นยานยนต์ที่สหรัฐทิ้งเอาไว้ข้างหลัง เมื่อคราวถอนตัวออกจากอิรักในปลายปี 2554 ซึ่งเมื่อรวมกับอาวุธยุทโธปกรณ์อื่นๆ จะมีมูลค่ารวมกันราว 580 ล้านดอลลาร์ กองทัพสหรัฐกล่าวว่า ถ้าหากขนกลับไปด้วย ก็จะมีค่าใช้จ่ายถึง 1,700 ล้านดอลลาร์

ฮัมวี ผลิตออกมาภายใต้โครงการที่เรียกว่า High Mobility Multipurpose Wheeled Vehicle หรือ HMMWV อันเป็นที่มาของชื่อเล่น รถของบริษัทเอเอ็มเจเนอรัล ชนะการประกวดราคา กองทัพบกนำเข้าประจำการเมื่อปี พ.ศ.2527 เป็นการเปลี่ยนแปลงรถขนส่งของทหารครั้งใหญ่ที่สุด ในช่วงหลังสงครามเวียดนาม โดยปลดประจำการรถจี๊ปรุ่นต่างๆ ออกไป

ข้่อมูลของเอเอ็มเจเนอรัล ระบุว่า ถึงปัจจุบันมีการผลิตฮัมวีออกมาไม่ต่ำกว่า 281,000 คัน ผ่านการอัปเกรดออกมาเป็นเวอร์ชันต่างๆ ใช้รหัสเรียกต่างกันเป็น Sub-type หรือรุ่นย่อยหลายสิบรุ่น มีใช้ในกองทัพหลายประเทศ กองทัพบกไทยใช้รุ่นย่อยต่างๆ ของฮัมวี ไม่ต่ำกว่า 10 รุ่น ถึงกระนั้นคุณสมบัติดั้งเดิมก็ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลง คือ โดยพื้นฐานฮัมวีไม่ได้ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในแนวหน้า ไม่มีระบบป้องกันสารเคมี ไม่ได้ออกแบบมาป้องกันการถูกโจมตีด้วยอาวุธใดๆ

ยานยนต์ HMMWV ออกศึกจริงๆ ครั้งแรกเมื่อสหรัฐฯ ส่งกองทัพบุกปานามาในปี 2532 จากนั้นก็ผ่านมาอีกหลายสมรภูมิทั่วโลกทั้งในแอฟริกา ยุโรป และตะวันออกกลาง ซึ่งในเกือบจะทุกแห่งฮัมวี ถูกบังคับให้ออกรบในแนวหน้าคู่กับทหารรบ และนาวิกโนธินตลอดมา จึงเกิดการสูญเสียติดตามมามากมาย

ภาพยนตร์เรื่อง Blackhawk Down เมื่อหลายปีก่อนที่จำลองเหตุการณ์การสู้รบ และการกู้ภัยของทหารสหรัฐฯ ในเมืองโมกาดิชู ประเทศโซมาเลีย ในสมัยรัฐบาลประธานาธิบดีบิล คลินตัน ช่วยทำให้เห็นจุดเปราะบางของฮัมวีได้ดีพอสมควร โดยไม่ต้องไปดูในสมรภูมิจริง

กองทัพสหรัฐฯ หวังว่า ยานยนต์รุ่นต่างๆ ที่ผลิตออกมาภายใต้พื้นฐานของ JLTV จะทำหน้าที่แทนฮัมวีได้ทุกอย่าง และผู้โดยสารปลอดภัย ตั้งแต่ปีหน้านี้ไปตลอด 30-40 ปีข้างหน้า.
.

“ฮัมวี” ไม่ผิดAM General
“ฮัมวี” หรือ HMMWV ผลิตขึ้นมาใช้งานอเนกประสงค์ในแนวหลัง ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายนำไปใช้รบในแนวหน้า แต่ 30 ปีที่ผ่านมา ถูกนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ทำให้ต้องมีการอัปเกรด ดัดแปลง ติดตั้งอาวุธเพิ่มเติม แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้เป็นยานยนต์ที่สมบูรณ์แบบสำหรับการรบได้ และกลายเป็นเหยื่อของฝ่ายตรงข้าม นายกรัฐมนตรีอิรักเปิดเผยในเดือน มิ.ย.ปีนี้ว่า กองทัพรัฐบาลสูญเสียฮัมวีไปถึง 2,300 คัน ในการรบกับกลุ่มรัฐอิสลาม ที่เมืองโมซุลเพียงแห่งเดียว [ภาพทั้งหมดจากเว็บไซต์ AM General ยกเว้นที่ระบุเป็นอย่างอื่น].


6

7

8

9
<FONT color=#000033>ถึงขนาดนี้เลย HMMWV คันหนึ่งติดตั้งจรวดต่อสู้อากาศยานของบริษัทเรธีออน (Raytheon) ถูกนำไปโชว์ในงานปรารีสแอร์โชว์ เดือน มิ.ย.2550 ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา ฮัมวี ถูกนำไปใช้ผิดประเภทมากมาย จนกลายเป็น ยาบวดหาย เมื่อก่อนนี้ ที่นิยมใช้รักษาเกือบจะทุกอาการเจ็บป่วย. -- En.Wikipedia.Org/Jonesy22.</b>
10
<FONT color=#000033>ฮัมวี M1151 ที่ โม โดยบริษัทผู้ผลิต ปรับแต่งเพื่อใช้แทนรุ่น M1025A2 จนดูเปลี่ยนเป็นคนละคันคนละยี่ห้อ มีการทำเกราะหุ้มบนหลังคาสำหรับพลปืนกล หุ้มเกราะทั้ง 4 ประตูจนหนักอึ้ง ยังไม่นับรวมเกราะใต้ท้อง ช่วยได้มาก ผู้โดยสารปลอดภัยมากขึ้น แต่โดยโครงสร้างของรถ ไม่ได้ผลิตขึ้นมา รองรับการถูกโจมตีด้วยระเบิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง IED ที่เป็นปัญหาใหญ่ในช่วงสงครามอิรัก.  </b>
11
<FONT color=#000033>ภาพวันที่ 19 มิ.ย.2557 กองกำลังกลุ่มรัฐอิสลาม ที่ด่านตรวจใกล้กับบ่อน้ำมันเบจี (Beiji) อยู่ห่างจากกรุงแบกแดด ขึ้นไปทางทิศเหนือราว 250 กิโลเมตร ถ่ายกับรถฮัมวีที่ยึดได้จากกองทัพรัฐบาล ก่อนที่ฝ่ายหลังจะยึดบ่อน้ำมันแห่งนี้กลับคืนได้ ในเวลาต่อมา ฮัมวีถูกใช้งานหนักที่สุด และ สูญเสียมากที่สุดในอิรัก. -- Associated Press/File. </b>
12


กำลังโหลดความคิดเห็น