ประชุมทัพบกไทย-สหรัฐฯ มุ่งสร้างความร่วมมือด้านการทหาร ทบทวนกิจกรรมที่ดำเนินร่วมกัน จัดแผนปีหน้า รองเสธ.ทบ.เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยถกร่วม 76 นาย เล็งนำผู้แทนมะกันชมวัด-ร.ร.ทหาร ยันมะกันไม่ลดความช่วยเหลือด้านทหาร เข้าใจปัญหาการเมืองไทย คาดปีหน้าร่วมมือเหมือนเดิม ฝึกคอบร้าโกลด์ตามเดิมแม้ลดกำลัง แจงตัดงบไร้ปัญหาเหตุไม่มากอยู่แล้ว ส่วนใหญ่จัดซื้อเอง
วันนี้ (21 ก.ค.) ที่กองบัญชาการกองทัพบก ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก (ศปก.ทบ.) เมื่อเวลา 09.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กองทัพบกเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนเข้าบันทึกภาพช่วงเปิดการประชุมผู้บริหารระดับกลาง (Executive Steering Group : ESG) ระหว่างกองทัพบกไทย และกองทัพบกสหรัฐฯ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 มีฝ่ายไทยเป็นเจ้าภาพ โดยการประชุมดังกล่าวจัดขึ้นตามการอนุมัติหลักการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2554 ที่มีความมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาและเสริมสร้างความร่วมมือด้านการทหาร และการประชุมครั้งนี้จะมีการทบทวนกิจกรรมที่ดำเนินการร่วมกันในปี 2558 และจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมในปี 2559 กำหนดการประชุมระหว่างวันที่ 21-24 ก.ค.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ฝ่ายไทยมีจำนวน 51 นาย ประกอบด้วย กรมฝ่ายเสนาธิการ และหน่วยขึ้นตรงกองทัพบก โดยมี พล.ท.เสริมศักดิ์ นิยะโมสถ รองเสนาธิการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนกองทัพบก และฝ่ายสหรัฐฯ จำนวน 25 นาย ประกอบด้วย ผู้แทนกองทัพบกสหรัฐฯ กองทัพบกสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิค และ JUSMAGTHAI โดยมี Lt.Gen.Todd B.Mccaffrey เป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุม 76 นาย อย่างไรก็ตาม กองทัพบกจะได้นำคณะผู้แทนกองทัพบกสหรัฐฯ ไปทัศนศึกษาที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเยี่ยมชมโรงเรียนเสนาธิการทหารบก กรมการทหารช่าง และ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าด้วย
พล.ท.เสริมศักดิ์กล่าวภายหลังการประชุมว่า สำหรับกิจกรรมตามแผนการปฏิบัติร่วมระหว่างกองทัพบกไทย กับกองทัพบกสหรัฐฯ ประจำปี 2558 มีทั้งหมด 26 กิจกรรม ดำเนินการแล้ว 18 กิจกรรม และอยู่ระหว่างดำเนินการ 8 กิจกรรม เช่น กรมฝึกรหัสหนุมานการ์เดี้ยน 2015 จำนวน 11 กิจกรรมที่จัดขึ้นในพื้นที่จังหวัดสระบุรีเมื่อวันที่ 15-26 มิ.ย. 58 การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งกำลังบำรุง โดยฝ่ายไทยจัดเสนาธิการศึกษารายงานด้านการส่งกำลังบำรุงไปที่มลรัฐเท็กซัส เวอร์จิเนีย และวอชิงตันดีซี ในเดือน มิ.ย.58 การจัดเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ให้คำแนะนำด้านการส่งกำลังบำรุงอากาศยาน ที่ศูนย์การบินทหารบก จ.ลพบุรี ในห้วงเดือน มี.ค.-ก.ย. 58 การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญด้านข่าวกรองกำหนดดำเนินการในเดือน ส.ค.58 ที่มลรัฐฮาวาย การแลกเปลี่ยนด้านการศึกษาและวัฒนธรรม โดยฝ่ายสหรัฐฯ จัดนักเรียนนายร้อยสำรอง (ROTC) มาศึกษาวัฒนธรรมและสอนภาษาให้กับนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯจำนวน 8 คณะในเดือน พ.ค.-ส.ค. 58 รวมถึงการฝึกร่วมผสมภายใต้รหัส Balance Torch ซึ่งมีการฝึกเตรียมการไปแล้ว และจะมีการฝึกจริงในช่วงปลายเดือนนี้ นอกจากนั้นยังมีความร่วมมือด้านอื่น เช่น ด้านการแพทย์ ในส่วนของไทยได้เสนอจัดตั้งศูนย์แพทย์ทหารอาเซียน ที่กรมแพทย์ทหารบกเพื่อจัดทีมแพทย์ไปช่วยเหลือประเทศในอาเซียนในกรณีที่ประสบปัญหาภัยพิบัติ อย่างไรก็ตาม กิจกรรมต่างๆ ตามแผนงบประมาณปี 58 จะดำเนินการให้เสร็จสิ้นตามที่ได้จัดทำแผนไว้
พล.ท.เสริมศักดิ์กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพไทย และสหรัฐฯ ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน ว่าทางสหรัฐฯ ได้แจ้งว่าในปัจจุบันกองทัพสหรัฐฯ ไม่ได้ลดความช่วยเหลือทางด้านการทหาร และเข้าใจปัญหาบ้านเราโดยเฉพาะสถานการณ์ด้านการเมือง เมื่อไทยมีการเลือกตั้งโดยสมบูรณ์ตามโรดแมปที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) วางไว้ คิดว่าในปีหน้าความร่วมมือคงเหมือนเดิม เพราะความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพไทยและสหรัฐฯ มีมาอย่างยาวนาน แม้หลังวันที่ 22 พ.ค. 57 จะมีการพูดถึงการลดขนาดฝึกคอบร้าโกลด์ 2015 ลง แต่ก็ลดกำลังพลของกองทัพบกลงไปบ้างซึ่งการฝึกเป็นไปตามแผนเดิม สำหรับแผนการฝึกในปีงบประมาณ 2559 การฝึกคอบร้าโกลด์ยังเป็นไปตามแผนเดิม การประชุมในวันนี้จะการหารือในรายละเอียดว่าในปี 2559 จะฝึกอย่างไรบ้าง โดยบางส่วนเพิ่มขึ้น แต่บางส่วนที่ไม่มีความจำเป็นก็ตัดออกและเพิ่มในเรื่องใหม่ๆ เข้าไป โดยคอบร้าโกลด์ 2016 จะเน้นการฝึกในสถานการณ์ที่ไม่ใช่สงครามเป็นหลัก
รองเสนาธิการทหารบกกล่าวต่อว่า ส่วนการช่วยเหลือของสหรัฐฯ ด้านยุทโธปกรณ์นั้น ในที่ประชุมไม่ได้พูดถึง แต่เป็นความสัมพันธ์ที่ทางสหรัฐฯ มีกับไทย และไม่ได้ยกเลิก สำหรับที่มีข่าวว่าสหรัฐฯ ตัดงบฯ ด้านการทหารหลังวันที่ 22 พ.ค.นั้น ตนมองว่าความจริงงบฯ ช่วยเหลือถ้าคิดแล้วก็ไม่ได้มากมาย เราก็ช่วยเหลือตัวเองพอสมควร จะมีบางสิ่งที่มีความจำเป็นที่ต้องจัดหา เช่น ยุทโธปกรณ์บางส่วน เราขอความร่วมมือไป แต่ไม่ใช่ได้มาฟรี แต่ซื้อในราคามิตรภาพ หรือแบบรัฐต่อรัฐ ซึ่งทางสหรัฐฯ ก็ไม่ได้บอกว่าจะตัดความช่วยเหลือในด้านนี้ลง ในอดีตเราใช้ยุทโธปกรณ์ของสหรัฐฯ มาก แต่เพราะราคาค่อนข้างสูง ขณะที่งบประมาณของเราก็ค่อนข้างจำกัดก็ต้องจัดหาจากประเทศอื่นเพื่อทดแทนเพราะยุทโธปกรณ์ที่เสื่อมไปตามสภาพ โดยการซื้อขายของไทยกับสหรัฐฯ ยังคงเป็นระบบเอฟเอ็มเอส ที่สหรัฐฯ ต้องขออนุมัติจากรัฐบาลก่อน และสหรัฐฯ ก็ต้องดูว่าประเทศใดมีความสัมพันธ์กับเขาและเป็นประชาธิปไตย จึงจะขายให้ ยืนยันว่าช่วงที่ไทยยังไม่เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยจะไม่ส่งผลกระทบต่อความช่วยเหลือที่สหรัฐฯ มีต่อกองทัพไทย ทั้งนี้ การจัดซื้อยุทโธปกรณ์ของสหรัฐฯ เช่น การจัดหาเฮลิคอปเตอร์นั้นส่วนใหญ่เป็นปัญหาเรื่องงบประมาณของเราเอง เพราะเราต้องซื้อเงินผ่อน และอยากได้ของก่อน ขึ้นอยู่กับว่าเขาจะยอมรับเงื่อนไขเราได้หรือไม่
วันนี้ (21 ก.ค.) ที่กองบัญชาการกองทัพบก ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก (ศปก.ทบ.) เมื่อเวลา 09.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กองทัพบกเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนเข้าบันทึกภาพช่วงเปิดการประชุมผู้บริหารระดับกลาง (Executive Steering Group : ESG) ระหว่างกองทัพบกไทย และกองทัพบกสหรัฐฯ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 มีฝ่ายไทยเป็นเจ้าภาพ โดยการประชุมดังกล่าวจัดขึ้นตามการอนุมัติหลักการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2554 ที่มีความมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาและเสริมสร้างความร่วมมือด้านการทหาร และการประชุมครั้งนี้จะมีการทบทวนกิจกรรมที่ดำเนินการร่วมกันในปี 2558 และจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมในปี 2559 กำหนดการประชุมระหว่างวันที่ 21-24 ก.ค.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ฝ่ายไทยมีจำนวน 51 นาย ประกอบด้วย กรมฝ่ายเสนาธิการ และหน่วยขึ้นตรงกองทัพบก โดยมี พล.ท.เสริมศักดิ์ นิยะโมสถ รองเสนาธิการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนกองทัพบก และฝ่ายสหรัฐฯ จำนวน 25 นาย ประกอบด้วย ผู้แทนกองทัพบกสหรัฐฯ กองทัพบกสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิค และ JUSMAGTHAI โดยมี Lt.Gen.Todd B.Mccaffrey เป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุม 76 นาย อย่างไรก็ตาม กองทัพบกจะได้นำคณะผู้แทนกองทัพบกสหรัฐฯ ไปทัศนศึกษาที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเยี่ยมชมโรงเรียนเสนาธิการทหารบก กรมการทหารช่าง และ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าด้วย
พล.ท.เสริมศักดิ์กล่าวภายหลังการประชุมว่า สำหรับกิจกรรมตามแผนการปฏิบัติร่วมระหว่างกองทัพบกไทย กับกองทัพบกสหรัฐฯ ประจำปี 2558 มีทั้งหมด 26 กิจกรรม ดำเนินการแล้ว 18 กิจกรรม และอยู่ระหว่างดำเนินการ 8 กิจกรรม เช่น กรมฝึกรหัสหนุมานการ์เดี้ยน 2015 จำนวน 11 กิจกรรมที่จัดขึ้นในพื้นที่จังหวัดสระบุรีเมื่อวันที่ 15-26 มิ.ย. 58 การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งกำลังบำรุง โดยฝ่ายไทยจัดเสนาธิการศึกษารายงานด้านการส่งกำลังบำรุงไปที่มลรัฐเท็กซัส เวอร์จิเนีย และวอชิงตันดีซี ในเดือน มิ.ย.58 การจัดเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ให้คำแนะนำด้านการส่งกำลังบำรุงอากาศยาน ที่ศูนย์การบินทหารบก จ.ลพบุรี ในห้วงเดือน มี.ค.-ก.ย. 58 การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญด้านข่าวกรองกำหนดดำเนินการในเดือน ส.ค.58 ที่มลรัฐฮาวาย การแลกเปลี่ยนด้านการศึกษาและวัฒนธรรม โดยฝ่ายสหรัฐฯ จัดนักเรียนนายร้อยสำรอง (ROTC) มาศึกษาวัฒนธรรมและสอนภาษาให้กับนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯจำนวน 8 คณะในเดือน พ.ค.-ส.ค. 58 รวมถึงการฝึกร่วมผสมภายใต้รหัส Balance Torch ซึ่งมีการฝึกเตรียมการไปแล้ว และจะมีการฝึกจริงในช่วงปลายเดือนนี้ นอกจากนั้นยังมีความร่วมมือด้านอื่น เช่น ด้านการแพทย์ ในส่วนของไทยได้เสนอจัดตั้งศูนย์แพทย์ทหารอาเซียน ที่กรมแพทย์ทหารบกเพื่อจัดทีมแพทย์ไปช่วยเหลือประเทศในอาเซียนในกรณีที่ประสบปัญหาภัยพิบัติ อย่างไรก็ตาม กิจกรรมต่างๆ ตามแผนงบประมาณปี 58 จะดำเนินการให้เสร็จสิ้นตามที่ได้จัดทำแผนไว้
พล.ท.เสริมศักดิ์กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพไทย และสหรัฐฯ ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน ว่าทางสหรัฐฯ ได้แจ้งว่าในปัจจุบันกองทัพสหรัฐฯ ไม่ได้ลดความช่วยเหลือทางด้านการทหาร และเข้าใจปัญหาบ้านเราโดยเฉพาะสถานการณ์ด้านการเมือง เมื่อไทยมีการเลือกตั้งโดยสมบูรณ์ตามโรดแมปที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) วางไว้ คิดว่าในปีหน้าความร่วมมือคงเหมือนเดิม เพราะความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพไทยและสหรัฐฯ มีมาอย่างยาวนาน แม้หลังวันที่ 22 พ.ค. 57 จะมีการพูดถึงการลดขนาดฝึกคอบร้าโกลด์ 2015 ลง แต่ก็ลดกำลังพลของกองทัพบกลงไปบ้างซึ่งการฝึกเป็นไปตามแผนเดิม สำหรับแผนการฝึกในปีงบประมาณ 2559 การฝึกคอบร้าโกลด์ยังเป็นไปตามแผนเดิม การประชุมในวันนี้จะการหารือในรายละเอียดว่าในปี 2559 จะฝึกอย่างไรบ้าง โดยบางส่วนเพิ่มขึ้น แต่บางส่วนที่ไม่มีความจำเป็นก็ตัดออกและเพิ่มในเรื่องใหม่ๆ เข้าไป โดยคอบร้าโกลด์ 2016 จะเน้นการฝึกในสถานการณ์ที่ไม่ใช่สงครามเป็นหลัก
รองเสนาธิการทหารบกกล่าวต่อว่า ส่วนการช่วยเหลือของสหรัฐฯ ด้านยุทโธปกรณ์นั้น ในที่ประชุมไม่ได้พูดถึง แต่เป็นความสัมพันธ์ที่ทางสหรัฐฯ มีกับไทย และไม่ได้ยกเลิก สำหรับที่มีข่าวว่าสหรัฐฯ ตัดงบฯ ด้านการทหารหลังวันที่ 22 พ.ค.นั้น ตนมองว่าความจริงงบฯ ช่วยเหลือถ้าคิดแล้วก็ไม่ได้มากมาย เราก็ช่วยเหลือตัวเองพอสมควร จะมีบางสิ่งที่มีความจำเป็นที่ต้องจัดหา เช่น ยุทโธปกรณ์บางส่วน เราขอความร่วมมือไป แต่ไม่ใช่ได้มาฟรี แต่ซื้อในราคามิตรภาพ หรือแบบรัฐต่อรัฐ ซึ่งทางสหรัฐฯ ก็ไม่ได้บอกว่าจะตัดความช่วยเหลือในด้านนี้ลง ในอดีตเราใช้ยุทโธปกรณ์ของสหรัฐฯ มาก แต่เพราะราคาค่อนข้างสูง ขณะที่งบประมาณของเราก็ค่อนข้างจำกัดก็ต้องจัดหาจากประเทศอื่นเพื่อทดแทนเพราะยุทโธปกรณ์ที่เสื่อมไปตามสภาพ โดยการซื้อขายของไทยกับสหรัฐฯ ยังคงเป็นระบบเอฟเอ็มเอส ที่สหรัฐฯ ต้องขออนุมัติจากรัฐบาลก่อน และสหรัฐฯ ก็ต้องดูว่าประเทศใดมีความสัมพันธ์กับเขาและเป็นประชาธิปไตย จึงจะขายให้ ยืนยันว่าช่วงที่ไทยยังไม่เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยจะไม่ส่งผลกระทบต่อความช่วยเหลือที่สหรัฐฯ มีต่อกองทัพไทย ทั้งนี้ การจัดซื้อยุทโธปกรณ์ของสหรัฐฯ เช่น การจัดหาเฮลิคอปเตอร์นั้นส่วนใหญ่เป็นปัญหาเรื่องงบประมาณของเราเอง เพราะเราต้องซื้อเงินผ่อน และอยากได้ของก่อน ขึ้นอยู่กับว่าเขาจะยอมรับเงื่อนไขเราได้หรือไม่